โปเกมอน เทรดดิงการ์ดเกม
โปเกมอน เทรดดิงการ์ดเกม (อังกฤษ: Pokémon Trading Card Game) โดยทั่วไปเรียกชื่อย่อว่า PTCG หรือ โปเกมอน TCG ส่วนในประเทศญี่ปุ่นโดยทั่วไปเรียกชื่อว่า โปเกมอน การ์ดเกม (ญี่ปุ่น: ポケモンカードゲーム; โรมาจิ: Pokemon Kādo Gēmu, "Pokémon Card Game") เป็นเกมการ์ดสะสม (collectible card game) ของแฟรนไชส์โปเกมอน วางจำหน่ายครั้งแรกเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2539 (ค.ศ. 1996) โดยบริษัท ครีเซอร์ส ในประเทศญี่ปุ่น ส่วนในประเทศสหรัฐอเมริกาตีพิมพ์ครั้งแรกโดยบริษัท วิซาร์ดออฟเดอะโคสต์ อย่างไนก็ดีบริษัท เดอะโปเกมอนคอมพานี อินเตอร์เนชั่นแนล ก็เข้ามาทำหน้าที่ตีพิมพ์แล้วเผยแพร่การ์ดเกมโปเกมอนเมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2546 (ค.ศ. 2003)[2]
โลโก้ โปเกมอน เทรดดิงการ์ดเกม (ด้านบน) และหลังการ์ด | |
ผู้ออกแบบ |
|
---|---|
ผู้จัดพิมพ์ | บริษัทโปเกมอน ญี่ปุ่น มีเดียแฟกทอรี (ตุลาคม 2539 – พฤศจิกายน 2543) สหรัฐ วิซาดส์ออฟเดอะโคสต์ (ธันวาคม 2541 – กรกฎาคม 2546) |
วันเปิดตัว | 20 ตุลาคม 1996 |
ประเภท | ของสะสม |
ผู้เล่น | 2 |
ทักษะ | เกมไพ่ เลขคณิต การอ่าน |
ช่วงอายุ | 6+ |
เวลาในการเล่น | 2–120 นาที |
โอกาสการสุ่ม | บางครั้ง (ลำดับการจั่วไพ่, ลูกเต๋า, โยนเหรียญ) |
เว็บไซต์ | tcg |
ประวัติ
แก้โปเกมอน เทรดดิงการ์ดเกม เป็นการ์ดเกมที่จำลองการต่อสู้ของโปเกมอน อย่างไรก็ตามไม่ได้อิงจากเกมโดยตรง จึงมีรูปแบบการเล่นที่แตกต่างกัน
ข้อมูลเบิ้องต้น
แก้การเล่น
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ประเภทของโปเกมอน
แก้สี | ประเภท TCG | ประเภทจากเกม |
---|---|---|
สีเขียว | พืช | พืช, แมลง, พิษ (1996–2007) |
สีแดง | ไฟ | ไฟ |
สีน้ำเงิน | น้ำ | น้ำ, น้ำแข็ง |
สีเหลือง | ไฟฟ้า | ไฟฟ้า |
สีม่วง | พลังจิต | พลังจิต, ผี, พิษ (2007–2019), แฟรี (2019–) |
สีน้ำตาล | ต่อสู้ | ต่อสู้, หิน, ดิน |
สีดำ | มืด | ความมืด, พิษ (2019–) |
สีเงิน | โลหะ | เหล็ก |
สีทอง | มังกร | มังกร (2012–2019, 2021–) |
สีมาเจนต้า | แฟรี | แฟรี (2014–2019) |
สีขาว | ไร้สี | ปกติ, มังกร (1996–2012), บิน |
ประเภทของการ์ด
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
การ์ดโปเกมอน
แก้ประเภทของการ์ดโปเกมอน มีดังนี้
โปเกมอนทั่วไป
แก้- โปเกมอนพื้นฐาน (たねポケモン, Basic Pokémon)
- โปเกมอนร่างพัฒนา (進化ポケモン, Evolved Pokémon)
โปเกมอนรูปแบบพิเศษ
แก้- โปเกมอน V (ポケモンV)
-
- โปเกมอน V MAX (ポケモンVMAX)
- โปเกมอน V Star (ポケモンVStar)
- โปเกมอน ex (ポケモンex)
โปเกมอนรูปแบบพิเศษในอดีต
แก้- โปเกมอนชั่วร้าย (わるいポケモン, Dark Pokémon)
- ปรากฏครั้งแรกในชุดที่ 4 แก๊งร็อกเก็ต ของ โปเกมอนการ์ดเกมรุ่นแรก มีการ์ดทุกระดับตั้งแต่ พื้นฐาน, ร่างขั้นที่ 1, ร่างขั้นที่ 2 ส่วนชื่อการ์ดโปเกมอนจะถูกกำกับว่า ...ชั่วร้าย (わるい○○) ในเทรดดิงการ์ดเกมรุ่นแรกและรุ่น neo ค่า HP มีจำนวนที่ต่ำกว่า แต่ท่าโจมตีมีค่าที่สูงกว่า ในกรณีที่ใช้วิวัฒนาการโปเกมอนชั่วร้ายจาก ร่างขั้นที่ 1 ไปสู่ ร่างขั้นที่ 2 ต้องวิวัฒนาการการ์ดโปเกมอนชั่วร้ายเหมือนกัน
- โปเกมอนที่มีเจ้าของ (名前の前に「〜の」がつくポケモン, Owner's Pokémon)
- ปรากฏครั้งแรกในชุดครึ่งหลัง โปเกมอนยิม ของ โปเกมอนการ์ดเกมรุ่นแรก เป็นการ์ดโปเกมอนที่เป็นเจ้าของ โดยชื่อการ์ดจะถูกกำกับว่า (ชื่อโปเกมอน)ของ(เจ้าของโปเกมอนที่ครอบครอง) ยกตัวอย่างเช่น อิชิซึบุเตะของทาเคชิ (タケシのイシツブテ), กอนเบของลารูส (ラルースのゴンベ)
- โปเกมอนเด็ก (ベイビィポケモン, Baby Pokémon)
- ปรากฏครั้งแรกในรุ่น neo ชุดที่ 1
- โปเกมอนใจดี (やさしいポケモン, Light Pokémon)
- ปรากฏครั้งแรกในรุ่น neo ชุดที่ 4
- โปเกมอนสีแตกต่าง (ひかるポケモン, Shining Pokémon)
- ปรากฏครั้งแรกในรุ่น neo ชุดที่ 4
- อันโนน (アンノーン)
- ปรากฏครั้งแรกในรุ่น neo ลักษณะเด่นของการ์ดจะเป็นตัวอักษรทั้ง 26 แบบ ไม่ซ้ำกัน และ "!" และ "?" เช่น อันโนน [A], อันโนน [B] โดย อันโนนสามารถจำกัดใส่สำรับได้ 4 ใบ ต่อตัวอักษร โดยมีกฏอันโนนเข้ามา นอกจากนี้ หากคำอธิบายของการ์ดระบุว่า อันโนน ก็ควรจะรวมกับ อันโนน ทั้งหมดนอกเหนือจากตัวอักษร อันโนน
- ในรุ่น DP ตัวอักษรและสัญลักษณ์ ไม่มีข้อจำกัดพิเศษเกี่ยวกับจำนวนจำกัดใส่สำรับการ์ดแบบรุ่น neo
- โปเกมอน ex (ポケモンex, โปเกมอนเอ็กตร้า)
- โปเกมอน 2 ประเภท (2つのタイプを持つポケモン, Dual-type Pokémon)
- โปเกมอนสตาร์ (ポケモン☆, Pokémon ☆)
- โฮรอนโปเกมอน (ホロンのポケモン, Holon Pokémon)
- เดลต้าไทป์ (δ-デルタ種, δ Delta Species)
- โปเกมอน เลเวล X (ポケモンLV.X)
- โปเกมอนเปลี่ยนฟอร์ม (フォルム違いのポケモン)
- SP โปเกมอน (SPポケモン, สเปเชียลโปเกมอน)
- อาร์เซอุส (アルセウス)
- โปเกมอนในตำนาน (伝説ポケモン, Pokémon LEGEND)
- เกรทโปเกมอน (グレートポケモン, Pokémon Prime)
- โปเกมอนฟื้นฟู (復元ポケモン, Restored Pokémon)
- โปเกมอน EX (ポケモンEX, โปเกมอนอีเอ็กซ์)
-
- โปเกมอน วิวัฒนาการร่าง M (M進化のポケモン, โปเกมอนวิวัฒนาการร่างเมก้า)
- โปเกมอนของแก๊งพลาสม่า (プラズマ団のポケモン)
- โปเกมอนวิวัฒนาการ BREAK (BREAK進化ポケモン, Pokémon BREAK)
- โปเกมอน GX (ポケモンGX)
-
- TAG TEAM
- อัลตร้าบีสต์ (ウルトラビースト)
- ปรืซึมสตาร์โปเกมอน (プリズムスターのポケモン)
การ์ดพลังงาน
แก้- พลังงานพื้นฐาน (基本エネルギー)
- ประเภทของการ์ดพลังงาน มีอยู่ 9 ประเภทคือ พืช, ไฟ, น้ำ, สายฟ้า, สุดยอด, ต่อสู้, ความมืด, เหล็ก และ แฟรี่
- การ์ดพลังงานพิเศษ (特殊エネルギーカード)
-
- ดับเบิลพลังงานไร้สี (ダブル無色エネルギー) / พลังงานคู่ (ツインエネルギー)
- พลังงานออโรร่า (オーロラエネルギー) / พลังงานสีรุ้ง (レインボーエネルギー)
- พลังงานยูนิต (ユニットエネルギー)
การ์ดเทรนเนอร์
แก้การ์ดที่ช่วยเหลือในการต่อสู้ มี 3 ประเภทประกอบไปด้วย ไอเท็ม, ซัพพอร์ต และ สเตเดียม
ไอเท็ม
แก้การ์ดไอเท็มสามารถใช้ได้ทุกครั้งต่อเทิร์นที่ใช้
ซัพพอร์ต
แก้การ์ดซัพพอร์ตสามารถใช้ได้แค่ 1 ใบ ต่อ 1 เทิร์น
สเตเดียม
แก้การ์ดสเตเดียมที่จะให้เอฟเฟกต์กับทั้งสองฝ่าย
ในรูปแบบอื่น
แก้แอพพลิเคชัน
แก้- โปเกมอน เทรดดิงการ์ดเกม ออนไลน์
- ได้ต้นแบบมาจาก โปเกมอน เทรดดิงการ์ดเกม การเล่นจะเหมือนการ์ดจริงทุกประการ ปัจจุบันปิดให้บริการแล้วตั้งแต่วันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2566
- โปเกมอน เทรดดิงการ์ดเกม ไลฟ์
- ได้รับสืบทอดมาจาก โปเกมอน เทรดดิงการ์ดเกม ออนไลน์ ปรับปรุงอินเตอร์เฟสทั้งใหญ่และการเล่นเอฟเฟคต่อสู้เคลื่อนไหวแบบ 3 มิติ เปิดให้บริการในวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2566 (ส่วนในประเทศไทยไม่สามารถเล่นได้แตกต่างโปเกมอน เทรดดิงการ์ดเกม ออนไลน์ เมื่อก่อนเล่นในไทยได้)
- โปเกมอน เทรดดิงการ์ดเกม พ็อกเก็ต
- เป็นฉบับย่อส่วนของ โปเกมอน เทรดดิงการ์ดเกม จะตัดบางส่วนตัวอย่าง จำนวนการ์ด 60 ใบเหลือเพียง 20 ใบเท่านั้น เปิดให้บริการในวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2567
โปเกมอน เทรดดิงการ์ดเกม ประเทศไทย
แก้ก่อนปี พ.ศ. 2562 ไม่มีผู้แทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการสำหรับโปเกมอน เทรดดิงการ์ดเกมในประเทศไทย ร้านการ์ดบางแห่งนำเข้าการ์ดจากต่างประเทศ โดยปกติจะเป็นการ์ดภาษาอังกฤษนำเข้าจากประเทศสหรัฐอเมริกา
ปัจจุบันโปเกมอน เทรดดิงการ์ดเกมในประเทศไทย ได้มีลิขสิทธิ์แปลเป็นภาษาไทยอย่างเป็นทางการแล้ว ในเดือน มกราคม พ.ศ. 2562 ผลิตจากประเทศญี่ปุ่นโดยบริษัท โปเกมอน จำกัด นำเข้าโดยบริษัท ดี ซูพรีม จำกัด ผู้จัดจำหน่ายโดยบริษัท ทรู ดิสทริบิวชั่น แอนด์ เซลส์ จำกัด วางจำหน่ายครั้งแรกที่งานเปิดตัวการ์ดเกมโปเกมอน PokemonTCG 1st Impact Challenge ในวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2562[3] ส่วนวางจำหน่ายร้านการ์ดทั่วประเทศ เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562[4] และร้านสะดวกซื้อเซเว่น อีเลฟเว่นใกล้บ้าน เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562[5] ปัจจุบันได้เพิ่มวางจำหน่ายที่ร้านนายอินทร์และร้าน B2S
อ้างอิง
แก้- ↑ "Pokemon Rulebook" (PDF). The Pokémon Company. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-08-10. สืบค้นเมื่อ 2023-09-07.
- ↑ Kaufeld, John; Smith, Jeremy (2006). Trading Card Games For Dummies. For Dummies. John Wiley & Sons. ISBN 0470044071.
- ↑ "งานเปิดตัวโปเกมอน เทรดดิงการ์ดเกม PokémonTCG 1st Impact Challenge".
- ↑ "1 ก.พ. 62 วางจำหน่ายที่ร้านการ์ดทั่วประเทศ".
- ↑ "7 ก.พ. 62 วางจำหน่ายที่ 7-Eleven สาขาใกล้บ้าน".