โกปาแอร์ไลน์

สายการบินแห่งชาติของประเทศปานามา

โกมปัญญิอา ปานาเมญญา เด อาเบียซิออน (สเปน: Compañía Panameña de Aviación, S.A.) ดำเนินการในชื่อ โกปาแอร์ไลน์ (สเปน: Copa Airlines) และเรียกโดยทั่วไปว่า โกปา เป็นสายการบินประจำชาติและสายการบินที่ใหญ่ที่สุดของประเทศปานามา โดยมีฐานการบินในท่าอากาศยานนานาชาติโตกูเมนในปานามาซิตี สายการบินให้บริการเที่ยวบินสู่จุดหมายปลายทาง 88 แห่งใน 30 ประเทศ โกปาเป็นสมาชิกของกลุ่มพันธมิตรทางการบินสตาร์อัลไลแอนซ์[2]

โกปาแอร์ไลน์
IATA ICAO รหัสเรียก
CM CMP COPA
ก่อตั้ง21 มิถุนายน ค.ศ. 1944 (1944-06-21) (80 ปี)
เริ่มดำเนินงาน15 สิงหาคม ค.ศ. 1947 (1947-08-15) (77 ปี)
AOC #DCIF003F[1]
ท่าหลักปานามาซิตี-โตกูเมน
เมืองสำคัญซานโฮเซเดคอสตาริกา-ฮวนซานตามาเรีย
สะสมไมล์คอนเน็กไมล์
พันธมิตรการบินสตาร์อัลไลแอนซ์
บริษัทลูกวินโก
โกปาแอร์ไลน์โคลัมเบีย
ขนาดฝูงบิน92
จุดหมาย88
บริษัทแม่โกปาโฮลดิง
สำนักงานใหญ่ปานามา ปานามาซิตี, ปานามา
บุคลากรหลักPedro Heilbron (ซีอีโอ)
เว็บไซต์www.copaair.com

กิจการองค์กร

แก้

สำนักงานใหญ่

แก้

โกปาแอร์ไลน์มีสำนักงานใหญ่ในอาคารตอร์เรนอร์เตที่อุทยานธุรกิจโกมเปลโฆในปานามาซิตี[3]

อัตลักษณ์องค์กร

แก้

โลโก้

แก้

ลักษณะของโลโก้โกปาแอร์ไลน์จะเป็นเส้นโค้งสีขาวที่ประกอบเป็นลูกโลกบนพื้นหลังสีน้ำเงิน โดยตั้งแต่การเข้าถือหุ้น 51% ของคอนติเนนตัลแอร์ไลน์ในปี 1998[4] โกปาและคอนติเนนตัลก็ได้มีส่วนประกอบองค์กรหลายอย่างที่ใช้ร่วมกันหรือมีลักษณะคล้ายคลึงกัน รวมถึงโลโก้สายการบินที่มีแรงบันดาลใจหลักจากของคอนติเนนตัล

ลวดลายอากาศยาน

แก้

นับตั้งแต่การดำเนินงานในปี 1947 โกปาแอร์ไลน์ได้ใช้ลวดลายต่าง ๆ บนอากาศยานมากมาย ทั้งเครื่องบินที่ใช้ใบพัดและเครื่องบินไอพ่น จนถึงปัจจุบันโกปาแอร์ไลน์ได้ใช้ลวดลายอากาศยานดังต่อไปนี้:

  • โกมปัญญิอา ปานาเมญญา เด อาเบียซิออน (ค.ศ. 1947–1961)
  • บูเอเลโกปา (ค.ศ. 1961–1965)
  • โกปาปานามา (ดั้งเดิม) - ลำตัวสีขาวมีชีตไลน์สีแดงหรือเขียว (ค.ศ. 1965–1971)
  • โกปาปานามา (อัพเกรดครั้งที่ 1) - ชีตไลน์สีแดงและสีส้ม ลำตัวสีขาว (ค.ศ. 1971–1980)
  • โกปาปานามา (อัพเกรดครั้งที่ 2) - ชีตไลน์สีแดงและสีเหลือง ลำตัวสีขาว (ค.ศ. 1980–1990)
  • โกปา "สไตล์บิลบอร์ด" - ชีตไลน์สีแดงและเหลืองพร้อมลำตัวสีขาว และโลโก้ "โกปา" ที่ส่วนหน้าของลำตัวกว้างและส่วนท้าย (ค.ศ. 1990–1999)
  • โกปาแอร์ไลน์ (ดั้งเดิม) - ลำตัวสีขาวและสีเทา มีเส้นโกงสีทองอยู่ตรงกลาง และสัญลักษณ์ลูกโลกบริเวณแพนหาง โดยส่วนใหญ่จะมีลักษณะคล้ายคลึงกับลวดลายของคอนติเนนตัลในปี 1991 ยกเว้นสัญลักษณ์ "ลูกโลก" มีการออกแบบที่แตกต่างกัน (ค.ศ. 1999–2012)
  • โกปาแอร์ไลน์ (ปรับปรุงครั้งที่ 1) - เหมือนกับต้นฉบับ แต่เปลี่ยนแบบอักษร "Copa Airlines" เป็นฟอนต์ sans ซึ่งคล้ายกับฟอนต์ที่ยูไนเต็ดแอร์ไลน์ใช้ (ค.ศ. 2012–ปัจจุบัน)

ในปี 1999 โกปาแอร์ไลน์เริ่มใช้ลวดลายปัจจุบัน ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับลวดลายปี 1991 ของคอนติเนนตัลแอร์ไลน์ หลังจากคอนติเนนตัลถือหุ้นเพิ่เป็น 51% แม้ว่าคอนติเนนทอลจะหยุดดำเนินการในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2012 จากการควบรวมกิจการกับยูไนเต็ดแอร์ไลน์ โกปาและยูไนเต็ดยังคงใช้การออกแบบโลโก้ "ลูกโลก" ที่คล้ายกัน

จุดหมายปลายทาง

แก้

โกปาแอรไลน์ให้บริการไปยัง 88 ปลายทางใน 30 ประเทศ ในอเมริกาเหนือ อเมริกากลาง อเมริกาใต้ และแคริบเบียน

ข้อตกลงการบินร่วม

แก้

ณ เดือนตุลาคม ค.ศ. 2023 โกปาแอร์ไลน์ได้ทำข้อตกลงการบินร่วมกับสายการบินดังต่อไปนี้:[5]

ฝูงบิน

แก้

ฝูงบินปัจจุบัน

แก้
ฝูงบินของโกปาแอร์ไลน์
โบอิง 737-700 ของโกปา
โบอิง 737-800 ของโกปา

ณ เดือนตุลาคม ค.ศ. 2023 โกปาแอร์ไลน์มีเครื่องบินประจำการในฝูงบินดังนี้:[9][10]

ฝูงบินของโกปาแอร์ไลน์
เครื่องบิน ประจำการ คำสั่งซื้อ ผู้โดยสาร หมายเหตุ
J Y รวม
โบอิง 737-700 9 12 112 124 [11]
114 126
โบอิง 737-800 58 16 138 154 สองลำจะถูกดัดแปลงสำหรับการขนส่งสินค้า[12]
144 160
150 166
โบอิง 737 แมกซ์ 8 70 รอประกาศต่อไป ผู้ให้บริการโบอิง 737 แมกซ์ 9 รายแรกในลาตินอเมริกา

ไม่มีการระบุรุ่นของเครื่องบินที่สั่งซื้ออย่างชัดเจน[13]

โบอิง 737 แมกซ์ 9 26 16 150 166[14]
12 162 174[15]
โบอิง 737 แมกซ์ 10 30 รอประกาศต่อไป [16]
ฝูงบินของโกปาแอร์ไลน์คาร์โก
โบอิง 737-800BCF 1 1 สินค้า เริ่มส่งมอบตั้งแต่ ค.ศ. 2021.[17]
รวม 94 101

โกปาแอร์ไลน์มีอายุฝูงบินเฉลี่ย 9.4 ปี

ฝูงบินในอดีต

แก้

โกปาแอร์ไลน์เคยให้บริการเครื่องบินดังต่อไปนี้:

ฝูงบินในอดีตของโกปาแอร์ไลน์
เครื่องบิน รวม เริ่มประจำการ ปลดประจำการ หมายเหตุ
โบอิง 707-320ซี 1 1993 1994
โบอิง 727-100 1 1985 1987 เช่าจากเอเวอร์กรีนอินเตอร์เนชันแนลแอร์ไลน์
โบอิง 737-100 1 1980 1980 เช่าจากแอร์ฟลอริดา
1 1988 1993 เสียหายและปลดประจำการในเที่ยวบินที่ 301
โบอิง 737-200 21 1988 2005
1 1988 1992 เกิดอุบัติเหตุในเที่ยวบินที่ 201
โบอิง 737-700 11 1999 2020
คอนแวร์ ซีวี-240 1 1968 1969
คอนแวร์ ซีวี-340 1 1968 1974
เคอร์ติส ซี-46 คอมมานโด 3 1956 1960
ดักลาส ซี-47 สกายเทรน 3 1947 1982
ดักลาส ดีซี-6บี 1 1981 1982
เอ็มบราเออร์ อี190เออาร์ 15 2005 2020
ฮ็อคเกอร์-ซิดเดลี่ย์ เอชเอส 748 2 1969 1978
ล็อคฮีด แอล-188เอ อิเล็กตรา 3 1971 1986
มาร์ติน 4-0-4 1 1961 1965

บริการ

แก้
 
โบอิง 737-800 ของโกปาในลวดลายคอนเน็กไมล์

โปรแกรมสะสมไมล์

แก้

คอนเน็คไมล์คือระบบสะสมคะแนนของสายการบินโกปาแอร์ไลน์ ที่ให้สิทธิพิเศษแกลูกค้าที่ใช้บริการเป็นประจำไม่ว่าจะเป็นการใช้ไมล์สะสมซื้อบัตรโดยสาร ผู้ใช้บริการเองยังสามารถสะสมไมล์ของยูไนเต็ดแอร์ไลน์ และคู่ค้าอื่นๆ นอกจากโกปาแอร์ไลน์

สิทธิประโยชน์ของผู้ที่มีคะแนนสะสมระดับพรีเมียร์ที่จะได้รับเช่น การเช็กอิน การขึ้นเครื่อง การอัปเกรด และส่วนลดในการใช้เลาจน์ที่สนาบิน (ยูไนเต็ด คลับ/โกปา คลับ) และรวมถึงคอนติเนนทอลยูไนเต็ด โกปาแอร์ไลน์เริ่มเปลี่ยนใช้บริการสะสมไมล์วันพาสเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2554 และเริ่มใช้ไมล์เลจพลัสเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2555[18]

ในเดือนมีนาคม 2558 โกปาแอร์ไลน์ได้เปลี่ยนชื่อระบบการสะสมไมล์อีกครั้งจากไมล์เลจพลัสเป็นชื่อใหม่ภายใต้ชื่อ คอนเน็คไมล์ [19][20] สำหรับระบบใหม่นี้ใช้งานแบบเต็มรูปแบบวันที่ 1 กรกฎาคม 2558

ห้องโดยสาร

แก้

ชั้นธุรกิจ

แก้

สำหรับชั้นธุรกิจมีให้บิรการบนเครื่องบินทุกลำของโกปาแอร์ไลน์ ผู้โดยสารชั้นธุรกิจสามารถใช้บริการเช็คอินผ่านเคาเตอร์แยกจากผู้โดยสารปกติรวมถึงยังใช้ความสำคัญในการบอร์ดดิ้งและกระเป้าสัมภารั รวมถึงการเข้าใช้ใน โกปา/ยูไนเต็ด คลับ และเลาจ์อื่น ๆ ของสารการบิน และรวมถึงการได้คะแนนโบนัสไมล์ ในเที่ยวบินได้รวมเครื่องดื่ม อาหาร หมอนและผ้าห่ม สำหรับการเดินทางในเที่ยวบินนานาชาติจะให้บริการด้วยเบาะหนังและที่วางเท้าและสามารถปรับระดับการนอนได้ มีปลั๊กไฟฟ้าขนาด 110 โวลต์ และโต๊ะ พอร์ตเชื่อมต่อยูเอ็สบี และชุดอุปกรณ์ความบันเทิงส่วนตัว

ชั้นประหยัด

แก้

ที่นั่งช้นประหยัดมีให้บริการบนเครื่องบินทุกลำ บนเครื่องบินใหม่ของโบอิ้ง 737-800เอส ที่นั่งชั้นประหยัดจะสามารถปรับเบาะที่ศีรษะได้และมีจอแสดงผลขนาด 5 นิ้วแบบทัชสกรีน ส่วนตัว ส่วนเครื่องบินแบบอื่นๆ นั้นจะช่องเสียบหูฟังให้ อาหารและของว่างมีให้บริการทั้งภายในประเทศและเที่ยวบินต่างประเทศ

โกปา คลับ

แก้

โกปา คลับ คือ ระบบสมาชิกของโกปาแอร์ไลน์ซึ่งทำร่วมกับสารการบินยูไนเต็ดแอร์ไลน์ โกปาคลับ เลาจ์มีให้บริการที่ท่าอากาศยานนานาชาติโตกูเมน

อุบัติเหตุและอุบัติการณ์สำคัญ

แก้
  • 6 มิถุนายน ค.ศ. 1992; โกปาแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 201 ใช้เครื่องบินโบอิง 737-200 แอดวานซ์ (ทะเบียน HP-1205CMP) เกิดพลิกคว่ำและตกลงในพื้นที่ช่องโหว่ดาริเอนระหว่างทำการบินจากปานามาซิตีไปยังกาลิ ผู้โดยสารและลูกเรือทั้งหมด 47 คนเสียชีวิตทั้งหมด สาเหตุเกิดการความเสียหายของอุปกรณ์การบินและการตั้งค่าที่ไม่ถูกต้อง เที่ยวบิน 201 เป็นอุบัิเหตุร้ายแรงครั้งแรกและครั้งเดียวของโกปาแอร์ไลน์จนถึงปัจจุบัน[21]
  • 19 พฤศจิากายน ค.ศ. 1993 โกปาแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 301 ใช้เครื่องบินโบอิง 737-100 (ทะเบียน HP-873CMP) ได้รับความเสียหายเกินกว่าจะซ่อมแซมได้ เมื่อเครื่องบินไถลออกนอกทางวิ่งขณะลงจอดที่ท่าอากาศยานนานาชาติโตกูเมนหลังเที่ยวบินจากไมแอมี รัฐฟลอริดา พร้อมผู้โดยสาร 86 คน และลูกเรือ 6 คน นักบินไม่สามารถจัดแนวเครื่องบินให้ตรงกับทางวิ่งได้จากมีลมพัดผ่านอย่างรุนแรง ซึ่งทำให้ล้อลงจอดด้านหน้าหลุดออก ไม่มีรายงานการบาดเจ็บ[22]
  • 7 สิงหาคม ค.ศ. 1994 โกปาแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 317 มีความพยายามจี้เครื่องบินของโกปาแอร์ไลน์ขณะเดินทางจากปานามาซิตีไปยังกัวเตมาลาซิตี แต่เหตุการณ์ครั้งนี้เป็นความเข้าใจผิดของเจ้าหน้าที่ปานามา[23]

ในวัฒนธรรมสมัยนิยม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "Federal Aviation Administration - Airline Certificate Information - Detail View". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-06-01. สืบค้นเมื่อ 2023-10-27.
  2. "Star Alliance Member Airlines". Star Alliance. สืบค้นเมื่อ 27 October 2023.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  3. "Copa Airlines Headquarters and Office Locations". craft.co. สืบค้นเมื่อ 27 October 2023.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  4. Garbuno, Daniel Martínez; Hardiman, Jake (2020-07-30). "Why Are Copa & United's Liveries So Similar?". Simple Flying (ภาษาอังกฤษ).
  5. "Profile on Copa Airlines". CAPA. Centre for Aviation. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-10-30. สืบค้นเมื่อ 2016-10-30.
  6. "Air Europa and Copa Airlines announce a new code-share agreement".
  7. "EVA Air / Copa Airlines begins codeshare service from Nov 2018". Routesonline. 1 November 2018.
  8. "Copa Airlines / Turkish Airlines begins codeshare flights from May 2017".
  9. "Hub of the Americas". Copa Airlines. Retrieved January 29, 2015.
  10. "Copa Airlines Fleet Details and History". Planespotters.net (ภาษาอังกฤษ). 2023-10-26.
  11. Mayer, Erick Haw (2021-08-06). "Copa Airlines regresa a número negros y todo va mejorando". Noticias de Aviación Transponder 1200 (ภาษาสเปนแบบเม็กซิกัน). สืบค้นเมื่อ 2023-01-24.
  12. "Panama's Copa Air to convert two B737-800s into freighters". Ch-Aviation. 27 August 2021.
  13. "Boeing: Copa Airlines selects the 737 MAX with 61 airplane order". www.boeing.com. สืบค้นเมื่อ 2023-01-24.
  14. "Detalles técnicos Boeing MAX 9 | Copa Airlines". www.copaair.com (ภาษาสเปน). สืบค้นเมื่อ 2023-01-24.
  15. https://www.copaair.com/es/web/pa/boeing-737-max-9-b. {{cite web}}: |title= ไม่มีหรือว่างเปล่า (help)
  16. "Boeing, Copa Airlines Announce Selection of 15 737 MAX 10s" (Press release). Boeing Commercial. 21 July 2017.
  17. "Panama's Copa Airlines adds first freighter". Ch-Aviation. 20 December 2021.
  18. "United Hub - United Airlines News, Products, MileagePlus®, Mobile, Web and More". Onepassmergerupdates.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-12. สืบค้นเมื่อ 2012-08-20.
  19. "Introduction". Copa Airlines. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-01-27. สืบค้นเมื่อ January 30, 2015.
  20. "Introduction". Copa Airlines. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-03-20. สืบค้นเมื่อ March 18, 2015.
  21. "ASN Aircraft accident Boeing 737-204 Advanced HP-1205CMP Tucutí". aviation-safety.net.
  22. "ASN Aircraft accident Boeing 737-112 HP-873CMP Panama City-Tocumen International Airport (PTY)". aviation-safety.net.
  23. "Database: 7 August 1994". Aviation Safety Network. สืบค้นเมื่อ January 30, 2015.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้