แฮร์มัน เฟเกอไลน์
ฮันส์ อ็อทโท เกออร์ค แฮร์มัน เฟเกอไลน์ (เยอรมัน: Hans Otto Georg Hermann Fegelein) เป็นผู้บัญชาการระดับสูงของหน่วยวัฟเฟิน-เอ็สเอ็สแห่งนาซีเยอรมนี เขาเป็นหนึ่งในคณะผู้ติดตามของฮิตเลอร์และมีศักดิ์เป็นน้องเขยของเอฟา เบราน์ ภริยาของฮิตเลอร์
แฮร์มัน เฟเกอไลน์ | |
---|---|
ชื่อเล่น | "เฟลเกอไลน์" |
เกิด | 30 ตุลาคม ค.ศ. 1906 อันส์บัค ราชอาณาจักรบาวาเรีย จักรวรรดิเยอรมัน |
เสียชีวิต | 28 เมษายน ค.ศ. 1945 เบอร์ลิน เสรีรัฐปรัสเซีย นาซีเยอรมนี | (38 ปี)
รับใช้ |
|
แผนก/ | ไรชส์แวร์ วัฟเฟิน-เอ็สเอ็ส |
ประจำการ | ค.ศ. 1925–1945 |
ชั้นยศ | นายกลุ่มตรี (Brigadeführer) |
เลขประจำตัว | พรรคนาซี #1,200,158 SS #66,680 |
บังคับบัญชา | |
การยุทธ์ | สงครามโลกครั้งที่สอง |
บำเหน็จ | กางเขนเหล็กกางเขนอัศวินประดับด้วยใบโอ๊กและดาบ |
ความสัมพันธ์ |
|
เดิมเขาเป็นทหารใน ไรชส์แวร์ ก่อนที่จะโอนย้ายมาสังกัดหน่วยเอ็สเอ็สใน ค.ศ. 1933 และกลายเป็นหัวหน้าหน่วยพลม้าของเอ็สเอ็ส ต่อมาใน ค.ศ. 1939 เฟเกอไลน์เป็นหนึ่งในผู้บัญชาการในการบุกครองโปแลนด์ โดยเป็นผู้บัญชาการกองพันเอ็สเอ็สในกรุงวอร์ซอ หลังจากนั้น ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1940 เขาก็เข้าร่วมยุทธการที่เบลเยียมและยุทธการที่ฝรั่งเศสในฐานะสมาชิกของหน่วย SS-Verfügungstruppe (ต่อมาถูกเปลี่ยนชื่อเป็น วัฟเฟิน-เอ็สเอ็ส) ทังนี้ในปี ค.ศ. 1941 หน่วยทหารในบัญชาของเขาได้ทำให้พลเรือนในเบลารุสซึ่งเป็นแนวรบด้านตะวันออกเสียชีวิตถึง 17,000 คน
เมื่อเขาได้รับบาดเจ็บจากการปฏิบัติหน้าที่ใน ค.ศ. 1943 เขาก็ได้รับคำสั่งจากไฮน์ริช ฮิมเลอร์ ให้ไปเป็นผู้แทนของเอ็สเอ็สประจำสำนักงานใหญ่ของฮิตเลอร์ เฟเกอไลน์เป็นหนึ่งในผู้รอดชีวิตจากแผนลอบสังการฮิตเลอร์เมื่อ 20 กรกฎาคม ค.ศ. 1944 เขาเป็นหนึ่งในเจ้าหน้าที่ที่ประจำอยู่ใน ฟือเรอร์บุงเคอร์ ในกรุงเบอร์ลินช่วงปลายสงคราม เมื่อเรื่องที่ฮิมเลอร์กำลังเจรจากับฝ่ายสัมพันธมิตรถูกบีบีซีแฉในวันที่ 28 เมษายน ค.ศ. 1945 เฟเกอไลน์ได้พยายามหลบหนีและถูกยิงเสียชีวิตในวันนั้น เป็นเวลาสองวันก่อนที่ฮิตเลอร์จะยิงตัวตาย
อ้างอิง
แก้- Beevor, Antony (2002). Berlin – The Downfall 1945. New York: Viking-Penguin. ISBN 978-0-670-03041-5.
- Berger, Florian (1999). Mit Eichenlaub und Schwertern. Die höchstdekorierten Soldaten des Zweiten Weltkrieges [With Oak Leaves and Swords. The Highest Decorated Soldiers of the Second World War] (ภาษาเยอรมัน). Wien, Austria: Berger. ISBN 3-9501307-0-5.
- Eberle, Henrik; Uhl, Matthias, บ.ก. (2005). The Hitler Book: The Secret Dossier Prepared for Stalin. New York: Public Affairs.
- Eberle, Henrik; Uhl, Matthias (2011). Das Buch Hitler: Geheimdossier des NKWD für Josef W. Stalin, zusammengestellt aufgrund der Verhörprotokolle des Persönlichen Adjutanten Hitlers, Otto Günsche und des Kammerdieners Heinz Linge, Moskau 1948/49 [The Hitler Book: The Secret NKWD Dossier Prepared for Josef W. Stalin, Compiled on the Basis of Interrogation Records of Hitler's Personal Adjutant, Otto Günsche and the Valet Heinz Linge, Moscow 1948/49] (ภาษาเยอรมัน). Bergisch Gladbach, Germany: Bastei Lübbe. ISBN 978-3-404-64219-9.
- Fellgiebel, Walther-Peer (2000) [1986]. Die Träger des Ritterkreuzes des Eisernen Kreuzes, 1939–1945: Die Inhaber der höchsten Auszeichnung des Zweiten Weltkrieges aller Wehrmachtteile [The Bearers of the Knight's Cross of the Iron Cross 1939–1945 — The Owners of the Highest Award of the Second World War of all Wehrmacht Branches] (ภาษาเยอรมัน). Friedberg, Germany: Podzun-Pallas. ISBN 978-3-7909-0284-6.