แผ่นดินไหวในอิยาเปล พ.ศ. 2558

แผ่นดินไหวในอิยาเปล พ.ศ. 2558 เป็นแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2558 ทางตอนใต้ของมหาสมุทรแปซิฟิก ห่างจากเมืองอิยาเปล นอกชายฝั่งประเทศชิลีราว 46 กิโลเมตร แผ่นดินไหวเกิดขึ้นเมื่อเวลา 19:54:32 น. ตามเวลาในประเทศชิลี (UTC–3) มีขนาดความรุนแรง 8.3-8.4 ตามมาตราขนาดโมเมนต์[6][1][7]

แผ่นดินไหวในอิยาเปล พ.ศ. 2558
แผนภาพระดับความรุนแรงของแผ่นดินไหวโดย USGS
เวลาสากลเชิงพิกัด2015-09-16 22:54:32
รหัสเหตุการณ์ ISC611531714
USGS-ANSSComCat
วันที่ท้องถิ่น16 กันยายน ค.ศ. 2015 (2015-09-16)
เวลาท้องถิ่น19:54:32 CST (UTC-3)
ระยะเวลา120 วินาที[1]
ขนาด8.3–8.4 Mw[1]
ความลึก22.4 กิโลเมตร (USGS)[1]
ศูนย์กลาง31°34′12″S 71°39′14″W / 31.570°S 71.654°W / -31.570; -71.654 (earthquake)[1]
พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบชิลี
อาร์เจนตินา[2]
ระดับความรุนแรงที่รู้สึกได้IX (ร้ายแรง) [1]
สึนามิใช่ (4.5 เมตร)
แผ่นดินไหวตาม31 คนในระดับ 6.0 Mw หรือรวมมากกว่า 5,000 คน (ณ มิถุนายน ค.ศ. 2017)
ผู้ประสบภัยเสียชีวิต 15 คนและหายตัว 6 คนในชิลี[3] เสียชีวิต 1 คนแะมีผู้บาดเจ็บเล็กน้อยในอาร์เจนตินา[4][5]

ธรณีวิทยา แก้

แผ่นดินไหวมีขนาด 8.3 ตามมาตราขนาดโมเมนต์ เกิดขึ้นเนื่องจากการเคลื่อนของรอยเลื่อนย้อนมุมต่ำ (thrust) บนรอยต่อระหว่างแผ่นเปลือกโลกนัซกากับแผ่นอเมริกาใต้ ตอนกลางของประเทศชิลี แผ่นนัซกาในบริเวณนี้เคลื่อนที่ไปทางทิศตะวันออก–ตะวันออกเฉียงเหนือ (ENE) ด้วยความเร็ว 74 มิลลิเมตรต่อปีเมื่อเทียบกับแผ่นอเมริกาใต้ และเริ่มมุดตัวลงใต้พื้นทวีปอเมริกาใต้บริเวณร่องลึกอาตากามา ซึ่งทอดตัวยาวขนานไปกับทวีปอเมริกาใต้ทั้งทวีป จุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหวครั้งนี้อยู่ห่างจากร่องลึกไปทางทิศตะวันตกราว 85 กิโลเมตร แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นในภูมิภาคนี้มีความสอดคล้องกันทั้งในด้านขนาด ที่ตั้ง และกลไกการเกิด[8]

โดยทั่วไปแล้วแผ่นดินไหวขนาดใหญ่มักจะแสดงในรูปของจุดบนแผนที่ แต่ความเป็นจริงแล้วศูนย์กลางของแผ่นดินไหวจะมีลักษณะเป็นพื้นที่ขนาดใหญ่ ซึ่งแผ่นดินไหวในครั้งนี้มีจุดศูนย์กลางครอบคลุมพื้นที่ขนาดยาวถึง 230 กิโลเมตร และกว้าง 100 กิโลเมตร[8]

ประเทศชิลีตั้งอยู่บนเขตรอยต่อระหว่างแผ่นเปลือกโลกที่มีพลังมากที่สุดแห่งหนึ่งบนโลก[9] ซึ่งทำให้พื้นที่ดังกล่าวมีประวัติการเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่มาตั้งแต่อดีต เช่น แผ่นดินไหวขนาด 8.8 เมื่อ พ.ศ. 2553 ทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 500 คน และก่อให้เกิดความเสียหายในพื้นที่ตอนกลางของประเทศ โดยจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวมีขนาดยาว 400 กิโลเมตรทอดตัวไปตามรอยต่อของแผ่นเปลือกโลก ตั้งอยู่ทางใต้ของแผ่นดินไหวครั้งนี้ นอกจากนี้ยังมีแผ่นดินไหวเมื่อ พ.ศ. 2557 ขนาด 8.2 ใกล้กับเมืองอิกิเก และแผ่นดินไหวครั้งรุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษย์เมื่อ พ.ศ. 2503 ขนาด 9.5 Mw ทางภาคใต้ของประเทศ ในรอบร้อยปีที่ผ่านมา พื้นที่รัศมี 400 กิโลเมตรรอบจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวในครั้งนี้ได้เกิดแผ่นดินไหวขนาดมากกว่า 7 Mw มาแล้ว 15 ครั้ง[8]

ผลกระทบ แก้

 
หินถล่มบนทางหลวงหมายเลข 5 ทางหลวงสำคัญของประเทศชิลี ตอนเหนือของอิยาเปล

หลังเหตุแผ่นดินไหว เบื้องต้นรัฐบาลชิลีได้ประกาศยอดผู้เสียชีวิต 5 รายและบาดเจ็บอีกอย่างน้อย 20 คน[9] จนถึงปัจจุบันมีผู้เสียชีวิตทั้งหมด 14 ราย โดยในจำนวนนี้มีผู้เสียชีวิตจากประเทศอาร์เจนตินา 1 ราย ส่วนผู้บาดเจ็บทั้งหมดมากกว่า 34 คน[10][5] นอกจากนี้ประชาชนในเมืองอิยาเปลยังไม่มีไฟฟ้าและน้ำประปาใช้เนื่องจากระบบทั้งสองเกิดความเสียหายจากแผ่นดินไหว[11] และแรงสั่นไหวยังรู้สึกได้บนอาคารสูงในกรุงบัวโนสไอเรส เมืองหลวงของประเทศอาร์เจนตินา และเมืองเซาเปาลูในประเทศบราซิล ซึ่งห่างจากจุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหวกว่า 1,100 กิโลเมตร และ 2,600 กิโลเมตรตามลำดับ[12]

คลื่นสึนามิ แก้

 
ความเสียหายจากแผ่นดินไหวในเมืองอิยาเปล
 
สึนามิได้พัดเรือขึ้นมาเกยบนชายฝั่งเมืองโกกิมโบ
 
ความเสียหายจากสึนามิในเขตชุมชนใกล้ชายฝั่งเมืองโกกิมโบ

ศูนย์เตือนภัยสึนามิแปซิฟิกในโฮโนลูลู รัฐฮาวาย ได้ประกาศเตือนภัยคลื่นสึนามิบริเวณชายฝั่งของชิลีและเปรูหลังเกิดแผ่นดินไหว 6 นาที[13] ซึ่งต่อมาได้คาดการณ์ความสูงของคลื่นว่าจะสูงมากกว่า 3 เมตรบริเวณชายฝั่งชิลี 1–3 เมตรบริเวณหมู่เกาะเฟรนช์โปลินีเซีย ซึ่งห่างออกไปในมหาสมุทรแปซิฟิกกว่า 7,800 กิโลเมตร 0.3–1 เมตรบริเวณชายฝั่งทวีปอเมริกาใต้ (นอกจากชิลี) และหมู่เกาะในโอเชียเนีย และต่ำกว่า 0.3 เมตรสำหรับชายฝั่งแปซิฟิกนอกเหนือจากที่กล่าวมา[14] ประกาศดังกล่าวครอบคลุมพื้นที่ทั้งมหาสมุทรแปซิฟิกและแจ้งเตือนไปยังประเทศเอกวาดอร์ เปรู นิวซีแลนด์ ฟีจี หมู่เกาะโซโลมอน รัฐฮาวาย และรัฐแคลิฟอร์เนีย ความสูงของคลื่นสึนามิที่กระทบแนวชายฝั่งของแคว้นโกกิมโบ ประเทศชิลี วัดได้ 4.5 เมตร คลื่นทำให้เกิดน้ำท่วมในเมืองโกกิมโบ ตองกอย และกองกอง (ใกล้กับบัลปาราอิโซ) ทางการชิลีได้อพยพประชาชนที่อาศัยอยู่ริมชายฝั่งราวหนึ่งล้านคน[9]

ความสูงของคลื่นที่วัดได้จากตำแหน่งต่าง ๆ[15]
ประเทศ/ดินแดน/รัฐ เมือง/สถานที่ ความสูง (เมตร)
  ชิลี โกกิมโบ 4.75
  ชิลี บัลปาราอิโซ 1.78
  เฟรนช์พอลินีเชีย นูกูฮีวา 1.37
  ชิลี ตัลกาอัวโน 1.28
  ชิลี หมู่เกาะควนเฟร์นันเดซ 1.21
  รัฐฮาวาย ฮีโล 0.93
  ชิลี เกาะอีสเตอร์ 0.83
  เอกวาดอร์ หมู่เกาะกาลาปาโกส 0.56
  เปรู กาเยา 0.52
  นิวซีแลนด์ ไครสต์เชิร์ช 0.25
  รัฐแคลิฟอร์เนีย แซนตามอนิกา 0.21
  วานูวาตู พอร์ตวิลา 0.21
  ญี่ปุ่น เนมูโระ 0.14
 
การเดินทางของคลื่นสึนามิในมหาสมุทรแปซิฟิก
การเดินทางของคลื่นสึนามิในมหาสมุทรแปซิฟิก 
 
ความสูงของคลื่นสึนามิในมหาสมุทรแปซิฟิก
ความสูงของคลื่นสึนามิในมหาสมุทรแปซิฟิก 
 
กราฟความสูงของคลื่นที่คาดการณ์และวัดได้ในบัลปาราอิโซและตัลกาอัวโน
กราฟความสูงของคลื่นที่คาดการณ์และวัดได้ในบัลปาราอิโซและตัลกาอัวโน 

เชิงอรรถ แก้

ก. ^ แผ่นดินไหวตามรวบรวมจาก United States Geological Survey (USGS) ดังนี้
  • "M6.4 – 58km W of Illapel, Chile". USGS.
  • "M6.1 – 44km WSW of Illapel, Chile". USGS.
  • "M6.2 – 70km W of Illapel, Chile". USGS.
  • "M7.0 – 25km W of Illapel, Chile". USGS.
  • "M6.4 – 64km NW of Illapel, Chile". USGS.
  • "M6.5 – 54km S of Ovalle, Chile". USGS.
  • "M6.7 – 53km W of Illapel, Chile". USGS.
  • "M6.3 – 90km NW of Valparaiso, Chile". USGS.
  • "M6.1 – 69km SW of Ovalle, Chile". USGS.
  • "M6.2 – 82km W of La Ligua, Chile". USGS.

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 "M 8.3 - 48km W of Illapel, Chile". United States Geological Survey. สืบค้นเมื่อ September 16, 2015.
  2. Akkoc, Raziye; Alexander, Harriet (September 17, 2015). "Tsunami warnings from California to New Zealand after 8.3 quake hits Chile". The Telegraph.
  3. "Chile quake death toll hits 13". Sky News Australia. September 19, 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 23, 2015. สืบค้นเมื่อ September 20, 2015.
  4. Safi, Michael (September 17, 2015). "Chile earthquake: massive 8.3 magnitude tremor strikes Santiago". The Guardian. สืบค้นเมื่อ September 17, 2015.
  5. 5.0 5.1 "Gobierno confirma que cifra de fallecidos por terremoto aumenta a 10" (ภาษาสเปน). Ahora Noticias. 17 กันยายน 2558. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-08-06. สืบค้นเมื่อ 2015-09-20.
  6. "Informe de sismo sensible". Centro Sismológico Nacional. 15 September 2015. สืบค้นเมื่อ 15 September 2016.[ลิงก์เสีย]
  7. "Strong quake shakes Chile capital, causing buildings to sway", Associated Press, September 16, 2015. Accessed September 16, 2015
  8. 8.0 8.1 8.2 "M8.3 – 46km W of Illapel, Chile" (ภาษาอังกฤษ). United States Geological Survey. 16 กันยายน 2558.
  9. 9.0 9.1 9.2 Ben Doherty (17 กันยายน 2558). "Tsunami warnings across Pacific after magnitude 8.3 earthquake hits Chile". The Guardian (ภาษาอังกฤษ).
  10. Safi, Michael (17 กันยายน 2558). "Chile earthquake: massive 8.3 magnitude tremor strikes Santiago". The Guardian (ภาษาอังกฤษ).
  11. "Tsunami warning after powerful earthquake hits Chile". Collie Mail (ภาษาอังกฤษ). 17 กันยายน 2558.
  12. Bonnefoy, Pascale; Romero, Simon (16 กันยายน 2558). "Chile Earthquake Strikes Coast, Forcing Residents to Evacuate". The New York Times. ISSN 0362-4331.
  13. Pacific Tsunami Warning Center (16 กันยายน 2558). "Tsunami Message Number 1" (ภาษาอังกฤษ). National Oceanic and Atmospheric Administration (NOAA). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-19. สืบค้นเมื่อ 2015-09-20.
  14. Pacific Tsunami Warning Center (17 กันยายน 2558). "Tsunami Message Number 11" (ภาษาอังกฤษ). National Oceanic and Atmospheric Administration. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-20. สืบค้นเมื่อ 2015-09-20.
  15. Pacific Tsunami Warning Center (17 กันยายน 2558). "Tsunami Message Number 27" (ภาษาอังกฤษ). National Oceanic and Atmospheric Administration. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-20. สืบค้นเมื่อ 2015-09-20.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้