แบไต๋ไฮเทค

(เปลี่ยนทางจาก แบไต๋)

แบไต๋ ไฮเทค เป็นรายการโทรทัศน์ ประเภทวาไรตี้ทอล์กโชว์ เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ เริ่มออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 ออกอากาศทาง เนชั่นทีวี เป็นรายการสด ดำเนินรายการโดย พี่หนุ่ย พงศ์สุข หิรัญพฤกษ์, ศุภเดช สุทธิพงศ์คณาสัย หรือที่เรียกกันว่า "อ.ศุภเดช", ที่รัก บุญปรีชา หรือที่รู้จักกันในนาม "พี่หลาม จิ๊กโก๋ไอที", พีระพล ฉัตรอนันทเวช หรือที่รู้จักกันในนาม "ปีเตอร์กวง ควงมือถือ" และพิธีกรหญิง คือ เฟื่องลดา สรานี สงวนเรือง

แบไต๋ไฮเทค
สัญลักษณ์ของรายการแบไต๋ ไฮเทค Loca
ประเภทวาไรตี้ทอล์คโชว์
พัฒนาโดยบริษัท โชว์ไร้ขีด จำกัด
เทโร เอ็นเตอร์เทนเม้นท์
(2565)
พิธีกรพงศ์สุข หิรัญพฤกษ์
ศุภเดช สุทธิพงศ์คณาสัย
ที่รัก บุญปรีชา
พีระพล ฉัตรอนันทเวช (แบไต๋ไฮเทค X 2 และเดลี่ไฟว์ไลฟ์)
ฉัตรปวีณ์ ตรีชัชวาลวงศ์ (แบไต๋ไฮเทค X 2)
ลิซ่า แซดเลอร์ (เดลี่ไฟว์ไลฟ์ซีซั่นแรก)
ชนิดา ประสมสุข (เดลี่ไฟว์ไลฟ์ซีซั่นแรก)
ฮิโรโกะ ยามากิชิ (เดลี่ไฟว์ไลฟ์ซีซั่นแรก)
เอมี่ กลิ่นประทุม (เดลี่ไฟว์ไลฟ์ซี่ซั่นแรก)
ณัฐนันท์ จันทรเวช (เดลี่ไฟว์ไลฟ์ซี่ซั่นแรก)
สรานี สงวนเรือง (เดลี่ไฟว์ไลฟ์ซี่ซั่นสอง)
ประเทศแหล่งกำเนิดไทย ไทย
ภาษาต้นฉบับไทย ไทย
จำนวนตอน1,046
การผลิต
สถานที่ถ่ายทำแบไต๋ ดิจิตอลไลฟ์ สตูดิโอ ชั้น 4 อาคารดิจิตอลเกตเวย์ สยามสแควร์ กรุงเทพมหานคร, ประเทศไทย
ความยาวตอน
  • (แบไต๋ไฮเทคปีแรก) 2 ชั่วโมง
  • (แบไต๋ไฮเทค X2) 1 ชั่วโมง 30 นาที
  • (เดลี่ไฟว์ไลฟ์ ซีซั่นแรก) 1 ชั่วโมง (เฉพาะวันเสาร์),
    1 ชั่วโมง 30 นาที (วันอังคาร , วันศุกร์ และวันอาทิตย์) ,
    2 ชั่วโมง (เฉพาะวันจันทร์)
  • (เดลี่ไฟว์ไลฟ์ ซีซั่นสอง) 1 ชั่วโมง (จันทร์ - ศุกร์)
  • 26 พฤษภาคม 2557 - 31 กรกฎาคม 2557 : (โลกา) 1 ชั่วโมง (จันทร์-ศุกร์)
ออกอากาศ
เครือข่ายYouTube:beartai แบไต๋ (20 มิถุนายน 2566 - 9 เมษายน 2567)
ช่องในอดีต :ช่อง 7 HD (6 มิถุนายน - 30 ธันวาคม 2565) Loca (25 เมษายน 2557 - 23 พฤษภาคม 2557 (ทดลองออกอากาศ) (26 พฤษภาคม 2557 - 31 กรกฎาคม 2557)
เนชั่นทีวี (5 พฤศจิกายน 2549 - 31 ธันวาคม 2556)
วอยซ์ทีวี
(4 มิถุนายน 2554 - 21 มกราคม 2555)
C-CHANNEL
(6 มิถุนายน 2554 - 7 พฤศจิกายน 2554)
Gang Cartoon Channel
(7 มิถุนายน 2554 - 5 มิถุนายน 2555)
คมชัดลึก TV ( - 31 ธันวาคม 2556)
Dude TV (1 เมษายน 2556 - 23 พฤษภาคม 2557)
MCOT1 (1 เมษายน 2556 - 23 พฤษภาคม 2557)
Super บันเทิง (1 เมษายน 2556 - 23 พฤษภาคม 2557)
CAT Channel (18 มิถุนายน 2555 - 23 พฤษภาคม 2557)
ออกอากาศ5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549

หลังจากรายการแบไต๋ ไฮเทคลาจอในปี 2557 ปัจจุบันหันมาโฟกัสการผลิตสื่อออนไลน์แทน โดยนำเสนอเนื้อหาในลักษณะคลิปวิดีโอผ่านทาง Youtube และ Facebook ของแบไต๋ ควบคู่ไปกับเนื้อหาข่าวและบทความในเว็บแบไต๋ ซึ่งต่อมาขยายขอบเขตเนื้อหาในเชิงไลฟ์สไตล์และบันเทิงให้ชัดเจนขึ้นในชื่อ What The Fact ซึ่งยังเผยแพร่ในเว็บแบไต๋ ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น beartai BUZZ พร้อมมีช่องทางเฟซบุ๊กเพจของตัวเองที่แยกออกไป[1] และมีการร่วมงานกับเพจ Thai Gamer เพื่อขยายเนื้อหาด้านวิดีโอเกมให้ชัดเจนขึ้น ต่อมาได้มีการปรับเปลี่ยนเป็นนำเสนอเนื้อหาผ่านช่องทางของเพจ Thailand Game Show แทน

แบไต๋กลับมาออกอากาศอีกครั้งในชื่อใหม่ว่า แบไต๋ 7 เอชดี ทุกวันจันทร์-ศุกร์ 12.20 - 12.40 น. ทางช่อง 7 HD เริ่ม 6 มิถุนายน 2565 หลังยุติการออกอากาศนานในรอบ 7 ปี และลาจอในเทปสุดท้ายวันที่ 30 ธันวาคม 2565

จนวันที่ 20 มิถุนายน 2566 พิธีกรชุดแรกของแบไต๋คือ หนุ่ย, พี่หลาม และอ.ศุภเดช ได้กลับมารวมตัวเพื่อจัดรายการแบไต๋ไฮเทคอีกครั้งผ่านช่องทางออนไลน์[2] โดยวางตารางไลฟ์ทุกวันอังคาร เวลา 18.00 น. ผ่านทาง Youtube, Facebook และ TikTok ของแบไต๋

ประวัติ

แก้

รายการ แบไต๋ ไฮเทค เป็นรายการโทรทัศน์วาไรตี้ทอล์กโชว์ข่าวเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศในรูปแบบการถ่ายทอดสด ที่ผลิตขึ้นโดย บริษัท โชว์ไร้ขีด จำกัด ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันอาทิตย์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 จนถึง พ.ศ. 2557 ผู้ดำเนินรายการในตอนแรกคือ พงศ์สุข หิรัญพฤกษ์, อ.ศุภเดช สุทธิพงศ์คณาสัย และ ที่รัก บุญปรีชา ในช่วงแรกจะมีช่วงรายการหลัก ๆ เพียง 2 ช่วงคือ

  1. ยำใหญ่ IT News
  2. คอมหนูไม่รู้เป็นไร

แต่ต่อมาเมื่อวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2551 ทางรายการจึงได้มีการปรับปรุงรูปแบบและฉากหลังของรายการใหม่ โดยได้เพิ่มพิธีกรเข้ามาใหม่คือคุณ พีระพล ฉัตรอนันทเวช หรือที่รู้จักกันในนาม "ปีเตอร์กวงควงมือถือ" ซึ่งมาพร้อมกับช่วงใหม่ "ปีเตอร์กวงควงมือถือ" ซึ่งเป็นการนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับโทรศัพท์มือถือ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ และเมื่อวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2552 ทางรายการได้เพิ่มพิธีกรผู้หญิง คือ ฉัตรปวีณ์ ตรีชัชวาลวงศ์ หรือซี มาเป็นพิธีกรรายการในช่วงของข่าวสั้นทันโลกกับน้องซี

บางสัปดาห์จะมีการนำคนในวงการเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือคนที่นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้หรือไปแข่งขันจนเป็นประโยชน์ต่อประเทศ มาสัมภาษณ์ในรายการ โดยส่วนใหญ่จะสัมภาษณ์ว่าได้ทำอะไรบ้างหรือการแข่งขันที่ได้เข้าร่วมมีกติกาหรือการแข่งขันอย่างไรบ้าง เป็นต้น

มีการเพิ่มช่วงรายการ ชาวโลกในยูทูบ และ คนไทยในยูทูบ เพื่อเป็นการนำเสนอคลิปวิดีโอดี ๆ ที่เกิดขึ้นบนโลก หรือนำเสนอผลงานฝีมือคนไทยที่น่าสนใจจากยูทูบในช่วงเปิดรายการ นอกจากนี้ หากทางรายการมีรายงานพิเศษ ก็อาจจะเพิ่มช่วงรายการออกมา เช่น มันสมองคน IT, New Gadget, Special Scoop, รายงานพิเศษเรื่องต่าง ๆ เป็นต้น

จากนั้นได้เปลี่ยนเวลาออกอากาศจากแต่เดิมที่ออกอากาศทุกวันอาทิตย์ เวลา 22.15 น. จนถึงเวลา 23.45 น.โดยประมาณ เป็นทุกวันอาทิตย์ เวลา 21.45 น. จนถึงเวลา 23.15 น. (โดยมีเกาะติดข่าวร้อนคั่นเวลารายการ) เพื่อให้ผู้ที่รับชมรายการนี้ได้รับชมรายการได้เร็วขึ้น

และวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป รายการแบไต๋ไฮเทค เดลี่ ไฟว์ไลฟ์ โดยจะออกอากาศผ่าน 5 สถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม โดยนอกจาก เนชั่นทีวี แล้ว ยังจะมี Dude TV แมงโก้ทีวี (ปัจจุบันนี้เปลี่ยนชื่อเป็น คมชัดลึก ทีวี) แคท แชนแนล (กสท.) และ แก๊งการ์ตูน แชนแนล โดยจะออกอากาศครั้งแรกที่ช่อง Dude TV และหลังจากนี้จะฉายทางช่องอื่น ๆ ต่อไป โดยจะออกอากาศทุกวันศุกร์ ถึง วันอังคาร โดยจะออกอากาศดังนี้

วันที่ออกอากาศ ออกอากาศทางช่อง เวลาในการออกอากาศ พิธีกรดำเนินรายการ
วันศุกร์ Dude TV[3] 19.00 น. - 20.30 น. เอมี่ กลิ่นประทุม[4]
วันเสาร์ วอยซ์ทีวี[3] 16.00 น. - 17.30 น. ชนิดา ประสมสุข[4]
วันอาทิตย์ เนชั่นทีวี[3] 16.00 น. - 17.30 น. ลิซ่า แซดเลอร์[4]
วันจันทร์ ซี แชนแนล[3] 19.00 น. - 20.30 น. ณัฐนันท์ จันทรเวช[4]
วันอังคาร แก๊งการ์ตูน แชนแนล[3] 19.00 น. - 20.30 น. ฮิโรโกะ ยามากิชิ[4]

โดยเปลี่ยนสถานที่ถ่ายทำจากอาคารอินเตอร์ลิงก์ทาวเวอร์ เป็นที่ ดิจิตอล เกทเวย์ (Digital Gateway) สยามสแควร์แทน โดยผู้ชมสามารถเข้าไปนั่งดูรายการสดและมีส่วนร่วมกับรายการได้ ทั้งนี้จะยังมีพิธีกรที่จะมาดำเนินรายการเพิ่มอีก 5 คน ซึ่งมีดังนี้ เอมี่ กลิ่นประทุม, ลิซ่า แซดเลอร์, ณัฐนันท์ จันทรเวช หรือ ม็อค จี-ทเวนตี้, มะเหมี่ยว ชนิดา ประสมสุข และ ฮิโรโกะ ยามากิชิ (ซึ่งเคยโฆษณาเครื่องปรุงอาหาร) มาเป็นพิธีกร โดยในแบไต๋ไฮเทคใหม่จะขาด ซี ฉัตรปวีณ์ ตรีชัชวาลวงศ์ ไป เนื่องด้วยเวลาของรายการที่ปรับใหม่ จึงทำไม่สามารถมาร่วมดำเนินรายการได้ โดยในอนาคตอาจจะกลับมาดำเนินรายการได้

เมื่อเข้าสู่ซีซั่นที่สองของรูปแบบเดลี่ไฟว์ไลฟ์ รายการแบไต๋ไฮเทคได้ปรับรูปแบบการออกอากาศใหม่อีกครั้ง คือ ออกอากาศทุกวันจันทร์ถึงศุกร์ เวลา 19.15 น. ทาง Dude TV และ คม-ชัด-ลึก TV พร้อมกันสองสถานี และออกอากาศซ้ำอีกครั้งในเวลา 21.15 น. ทาง TRUE 72 และเวลา 01.15 น. ทางเนชั่นบันเทิง โดยหนุ่ย ได้กล่าวในรายการไว้ว่า "เพื่อให้ผู้ชมทางบ้านรับชมได้ง่ายขึ้น ไม่ต้องจำวันเวลาและช่องทางการออกอากาศให้สับสนอีกต่อไป" โดยในซีซั่นนี้ไม่มีพิธีกรหญิงร่วมดำเนินรายการเหมือนซีซั่นที่แล้ว แต่ในบางเทปอาจจะได้เห็นพิธีกรหญิงบางท่านมาทำหน้าที่แทนพิธีกรหลักที่ติดภารกิจในวันนั้นก็เป็นได้

แต่ในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2557 หนุ่ย พงศ์สุข หิรัญพฤกษ์ ได้ประกาศถอนตัวจากการเป็นพิธีกรของรายการ และยังไม่กำหนดวันที่จะกลับเข้ามา เนื่องจากความเฟื่องฟูของบริษัทโดยนำเวลาไปคิดรายการใหม่ขึ้นมา และได้พิธีกรหญิงคนใหม่ เฟื่องลดา สรานี สงวนเรือง เข้ามาแทนที่หนุ่ย

ชื่อรายการ

แก้

รายการ แบไต๋ ไฮเทค มีการเปลี่ยนชื่อ 5 ครั้ง เนื่องจากต้องปรับปรุงฉากหลังและรูปแบบของรายการให้ทันสมัยและเหมาะสมกับความก้าวหน้าทางด้านไอทีมากขึ้น

 
แบไต๋ ไฮเทค
(5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 -
30 ธันวาคม พ.ศ. 2550)
แบไต๋ ไฮเทค
(5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 -
30 ธันวาคม พ.ศ. 2550) 
 
แบไต๋ ไฮเทค X 2
(6 มกราคม 2551-
29 พฤษภาคม พ.ศ. 2554)
แบไต๋ ไฮเทค X 2
(6 มกราคม 2551-
29 พฤษภาคม พ.ศ. 2554) 
 
แบไต๋ ไฮเทค เดลี่ ไฟว์ไลฟ์
ศุกร์ - อังคาร
(3 มิถุนายน 2554 -
11 มิถุนายน 2555)
แบไต๋ ไฮเทค เดลี่ ไฟว์ไลฟ์
ศุกร์ - อังคาร
(3 มิถุนายน 2554 -
11 มิถุนายน 2555) 
ไฟล์:Beartai daily 5 live.jpg
แบไต๋ ไฮเทค เดลี่ ไฟว์ไลฟ์ Season 2
จันทร์ - ศุกร์
(18 มิถุนายน 2555 -
23 พฤษภาคม พ.ศ. 2557)
แบไต๋ ไฮเทค เดลี่ ไฟว์ไลฟ์ Season 2
จันทร์ - ศุกร์
(18 มิถุนายน 2555 -
23 พฤษภาคม พ.ศ. 2557) 
 
แบไต๋ ไฮเทค Loca
จันทร์ - ศุกร์
(26 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 -
31 กรกฎาคม 2557)
แบไต๋ ไฮเทค Loca
จันทร์ - ศุกร์
(26 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 -
31 กรกฎาคม 2557) 
ไฟล์:Beartaihitech2023.png
แบไต๋ ไฮเทค 2023
ทุกวันอังคาร
(20 มิถุนายน พ.ศ. 2566 -
9 เมษายน พ.ศ.2567)
แบไต๋ ไฮเทค 2023
ทุกวันอังคาร
(20 มิถุนายน พ.ศ. 2566 -
9 เมษายน พ.ศ.2567) 

วันและเวลาการออกอากาศ

แก้
  • ปี 2549 - 2551 วันอาทิตย์ เวลา 22.15 - 24.00 น.
  • ปี 2552 - 26 ธันวาคม พ.ศ. 2553 วันอาทิตย์ เวลา 22.15 - 23.45 น.
  • ปี 2554 - 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 วันอาทิตย์ เวลา 21.45 - 23.15 น. (มีเกาะติดข่าวร้อนคั่นเวลารายการ)
  • 3 มิถุนายน พ.ศ. 2554 - 4 ธันวาคม พ.ศ. 2554 วันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 16.00 - 17.30 น. วันจันทร์, อังคาร และศุกร์ เวลา 19.00 - 20.30 น.
  • 5 ธันวาคม พ.ศ. 2554 - 11 มิถุนายน พ.ศ. 2555 วันเสาร์ เวลา 16.00 - 17.00 น. วันอาทิตย์ เวลา 16.00 - 17.30 น. วันจันทร์ เวลา 18.00 - 20.00 น. วันอังคารและศุกร์ เวลา 19.00 - 20.30 น.
  • 18 มิถุนายน พ.ศ. 2555 - 31 ธันวาคม พ.ศ. 2556 วันจันทร์ - วันศุกร์ (เวลา 19.15 - 20.00 น. ทาง คม ชัด ลึก TV และ Dude TV เวลา 21.15 - 22.00 ทาง TRUE 72 เวลา 01.15 - 02.00 น. ทาง เนชั่นทีวี และ แคทแชนแนล (กสท.))
  • 1 มกราคม พ.ศ. 2557 - 27 เมษายน 2557 วันจันทร์ - วันศุกร์ (เวลา 19.00 - 20.00 น. ทาง MCOT1 และ Dude TV เวลา 21.00 - 22.00 น. Super บันเทิง เวลา 22.00 - 23.00 น. แคทแชนแนล(กสท.) และตลอด 24 ชั่วโมง ที่ beartai Hidef ที่ TOT iPTV ช่อง 54)
  • 28 เมษายน 2557 - 31 กรกฎาคม 2557 วันจันทร์ - วันศุกร์ (เวลา 22.00 - 23.00 น. ทาง Loca TV และตลอด 24 ชั่วโมง ที่ beartai Hidef ที่ TOT iPTV ช่อง 54)
  • มกราคม 2559 - เวลา 19.00น. ทาง Line TV
  • 20 มิถุนายน พ.ศ.2566 - ปัจจุบัน ทุกวันอังคาร (เวลา 18.00 น. ทางแพลตฟอร์ม ยูทูบ, เฟซบุ๊ก และ ติ๊กต็อก ของแบไต๋)

พิธีกรประจำรายการ

แก้
  • พงศ์สุข หิรัญพฤกษ์ (หนุ่ย) (5 พฤศจิกายน 2549 - 7 กุมภาพันธ์ 2557 / 12 กุมภาพันธ์ 2557, 14 พฤษภาคม 2557, 23 พฤษภาคม 2557 และ 31 กรกฎาคม 2557)
  • สรานี สงวนเรือง (เฟื่องลดา) (8 สิงหาคม 2556 - 31 กรกฎาคม 2557) (แทนหนุ่ยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ 7 กุมภาพันธ์ 2557)

รูปแบบรายการ

แก้

รูปแบบของรายการของแบไต๋ ไฮเทค แบ่งรายการออกเป็น 3 ยุค ดังนี้

รูปแบบรายการยุคแบไต๋ไฮเทคยุคแรก

แก้

จะมีช่วงรายการหลัก ๆ เพียง 2 ช่วงคือ

  1. ยำใหญ่ IT News
  2. คอมหนูไม่รู้เป็นไร

รูปแบบรายการยุคแบไต๋ไฮเทค เอกซ์ ทู

แก้
  1. Prelude (ต้นรายการ) - เป็นการนำเสนอเหตุการณ์และเรื่องราวของพิธีกรในรอบ 1 สัปดาห์ และนำเสนอของรางวัล/ผู้สนับสนุน รวมถึงไฮไลท์ประจำสัปดาห์
  2. ชาวโลกใน YouTube / คนไทยในยูทูบ - เป็นการนำเสนอคลิปวิดีโอจากยูทูบที่ชาวต่างชาติหรือคนไทยโพสต์ โดยมีความคิดสร้างสรรค์และน่าสนใจ
  3. ข่าวสั้นทันโลก - เป็นการนำเสนอข่าวสารเกี่ยวกับไอทีสารสนเทศและสินค้าไอทีสารสนเทศที่ออกใหม่
  4. Bestbuy แบไต๋ - เป็นการนำเสนอสินค้าผ่านรายการ (คล้าย ๆ รายการขายของที่มีในช่องฟรีทีวี) ในช่วงหลัง ๆ ช่วง Bestbuy ทางรายการได้เปลี่ยนเป็นช่วงหนุ่ยแนะนำ ทำทุก Deal แทน
  5. ยำใหญ่ IT News - เป็นการนำเสนอข่าวสารเกี่ยวกับไอทีสารสนเทศทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ
  6. ปีเตอร์กวงควงมือถือ - เป็นการนำเสนอข่าวสารเกี่ยวกับโทรศัพท์มือถือทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ พร้อมทั้งนำโทรศัพท์ที่ออกมาใหม่มาทำการวิจารณ์
  7. คอมหนู มือถือหนู ไม่รู้เป็นไร - เป็นการให้ผู้ชมทางบ้านเข้ามาสอบถามปัญหาเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์มือถือ พร้อมทั้งตอบคำถามชิงรางวัล

รูปแบบรายการยุคแบไต๋ไฮเทค เดลี่ ไฟว์ไลฟ์

แก้
  1. Prelude (ต้นรายการ) - เป็นการนำเสนอเหตุการณ์และเรื่องราวของพิธีกรรวมถึงเรื่องราวของรายการในแต่ละวัน และนำเสนอของรางวัล/ผู้สนับสนุน รวมถึงไฮไลท์ประจำสัปดาห์
  2. แบไต๋ Battle - เป็นการนำสินค้าเทคโนโลยีที่ออกมาใหม่ล่าสุด นำมาวิจารณ์กันว่าอันไหนมีประสิทธิภาพเหนือกว่ากัน โดยให้อาจารย์ศุภเดช กับพี่หลาม เป็นคู่ชก หากอันไหนมีประสิทธิภาพแย่ ฝ่ายที่ชนะก็จะชกต่อยทันที หากประสิทธิภาพนั้นเท่าเทียมกัน ก็จะเป็นการกอดกันแทน การชกกันในช่วงรายการเป็นการชกเพื่อความบันเทิงแก่ผู้ชม โดยไม่มีการชกกันจนต้องมีเลือดออกมาเหมือนมวยจริง ๆ โดยนำเสนอทุกวันจันทร์
  3. คนไทยใน YouTube - เป็นการนำเสนอคลิปวิดีโอจากยูทูบที่คนไทยโพสต์ โดยมีความคิดสร้างสรรค์และน่าสนใจ โดยอาจจะเชิญคนที่ทำคลิปสร้างสรรค์มาให้สัมภาษณ์ในรายการ (ในภายหลังได้ใช้ชื่อช่วงว่า "ชาวโลกในยูทูบ" แทน)
  4. งม App ในมหาสมุทร - เป็นการนำเสนอแอปพลิเคชันบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ที่เป็นประโยชน์หรือสร้างสรรค์ เช่น นำเสนอเกมสอนภาษาอังกฤษบน ไอแพด เป็นต้น
  5. ข่าวสั้นทันโลกไอที - เป็นช่วงที่มีรูปแบบแบบเดียวกับช่วงยำใหญ่ IT News แต่จะรายงานข่าวสั้นกว่า โดยจะรายงานก่อนเข้าข่าวยาว (ปัจจุบันคือช่วง "News Alert")
  6. ยำใหญ่ IT News - เป็นการนำเสนอข่าวสารเกี่ยวกับไอทีสารสนเทศทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ
  7. ปีเตอร์กวงควงมือถือ - เป็นการนำเสนอข่าวสารเกี่ยวกับโทรศัพท์มือถือทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ พร้อมทั้งนำโทรศัพท์ที่ออกมาใหม่มาทำการวิจารณ์
  8. มีฮาร์ดแวร์ Share ให้ชม - เป็นการนำเสนออุปกรณ์เทคโนโลยีที่ออกมาใหม่ โดยจะแสดงการใช้งานอุปกรณ์ทางรายการว่าภายในอุปกรณ์ที่ออกมานั้นมีอะไรบ้าง รวมถึงข้อดีข้อเสียของอุปกรณ์นั้น ๆ ที่นำมาแสดงในรายการทุกวันเสาร์
  9. คอมหนู มือถือหนู ไม่รู้เป็นไร - เป็นการให้ผู้ชมทางบ้านเข้ามาสอบถามปัญหาเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์มือถือ พร้อมทั้งตอบคำถามชิงรางวัล โดยจะแจกรางวัลและสอบถามปัญหาคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์มือถือ
  10. Sugoi Gadget (สุโค่ย แกดเจด) - จะนำเสนออุปกรณ์สินค้าเทคโนโลยีสารสนเทศและร้านค้าที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมาขายหรือจำหน่าย ซึ่งภาพนั้นมาจากย่าน อะกิฮะบะระ ประเทศญี่ปุ่น โดยจะนำเสนอทุกวันอังคาร
  11. Game Me More (เกม มี มอร์) - เป็นการนำเสนอข่าวสารเกี่ยวกับเกมที่ออกมาใหม่ และวิจารณ์เกมที่ออกมาใหม่ โดยจะนำเสนอทุกวันอังคาร
  12. หนุ่ยแนะนำ ทำทุก Deal - เป็นช่วงรายการที่ให้ผู้ที่อยากซื้อสินค้า สามารถซื้อของได้ในราคาที่ถูกลง โดยการซื้อเป็นกลุ่ม คือการซื้อตามจำนวนที่กำหนด โดยจะสามารถซื้อหลาย ๆ คนได้ แต่ถ้าครบตามจำนวนจะปิดการขาย หรือถ้าไม่ครบตามจำนวนก็จะไม่ขาย โดยจะคล้ายๆส่วนลด แต่ต้องสั่งซื้อเป็นกลุ่มถึงจะซื้อได้ในราคาที่ถูกลง
  13. ชาวโลกใน Youtube - เป็นการนำเสนอคลิปวิดีโอจากยูทูบที่ชาวต่างชาติโพสต์ โดยมีความคิดสร้างสรรค์และน่าสนใจ (ปัจจุบันคือช่วง "ดูชิวชิว เพิ่มวิวให้มันส์")
  14. Cosplay เจอจังจัง - เป็นการนำคนที่แต่งคอสเพลย์ตัวละครจากการ์ตูนชื่อดัง เชิญมาให้สัมภาษณ์ในรายการ โดยจะนำเสนอทุกวันอังคาร
  15. เจาะเกราะ Gamer - เป็นช่วงที่เกี่ยวกับเกมโดยเฉพาะ โดยจะมีพิธีกรภาคสนามออกไปสัมภาษณ์ผู้ที่ผลิตเกมออกสู่ตลาด รวมถึงพาไปพบกับบบรยากาศงานเกมที่จัดในประเทศ

วิธีการติดต่อรายการ

แก้

เป็นการให้ผู้ชมสามารถมีส่วนร่วมกับรายการ ไม่ว่าจะเป็นการสอบถามปัญหาคอมพิวเตอร์ของผู้ชม ปัญหาระบบเครือข่าย ปัญหาโทรศัพท์มือถือที่ผู้ชมใช้อยู่ ฯลฯ และนอกจากนี้ยังมีการตอบคำถามเพื่อชิงรางวัลที่รายการนำมาแจกทุกสัปดาห์

วิธีการติดต่อรายการในยุคแรก (ช่วงแบไต๋ไฮเทค ปี 2549 - 2551)

แก้

สำหรับวิธีการติดต่อรายการ ในช่วงแรกมีช่องทางการติดต่อ 4 ช่องทางคือ โทรศัพท์ผ่านรายการในช่วงคอมนู๋ ไม่รู้เป็นไร, ส่งข้อความโดยใช้บริการข้อความสั้น (SMS), ติดต่อรายการผ่าน วินโดวส์ไลฟ์ เมสเซนเจอร์ และผ่านเว็บแคม (คือให้ผู้ชมทางบ้านบันทึกคลิปวิดีโอเกี่ยวกับปัญหาคอมพิวเตอร์ผ่านเว็บแคมส่งมายังรายการ) แต่ต่อมาการติดต่อรายการผ่าน วินโดวส์ไลฟ์ เมสเซนเจอร์ อาจทำให้พิธีกรไม่สามารถตอบกลับข้อความจากผู้ชมทางบ้านได้ จึงหันมาใช้การติดต่อรายการผ่านกระดานสนทนาของเว็บไซต์รายการแทน จึงทำให้ผู้ชมทางบ้านสามารถแสดงความคิดเห็นผ่านกระดานสนทนาของเว็บไซต์รายการได้

วิธีการติดต่อรายการในยุคแบไต๋ไฮเทค เอกซ์ทู (ปี 2551 - 2554)

แก้

ต่อมาเมื่อมาถึงช่วงของแบไต๋ไฮเทค เอกซ์ทู ออกอากาศไปได้สักระยะหนึ่ง ทางรายการจึงตัดการติดต่อรายการผ่านเว็บแคมออกไป เนื่องจากเกิดปัญหาบางประการ ช่องทางการติดต่อของรายการจึงเหลือเพียง 3 ช่องทางคือ โทรศัพท์ผ่านรายการในช่วงคอมนู๋มือถือนู๋ ไม่รู้เป็นไร,ส่งข้อความโดยใช้บริการข้อความสั้น (SMS) และ กระดานสนทนา ของเว็บไซต์รายการ แต่พอในปี พ.ศ. 2552 รายการแบไต๋ ไฮเทค จึงเพิ่มช่องทางการติดต่อรายการผ่าน ทวิตเตอร์ ของพิธีกร ซึ่งทำให้ผู้ชมทางบ้านหลายท่านตัดสินใจสมัคร ทวิตเตอร์ เพื่อติดต่อกับพิธีกรรายการ หลังจากนั้นการติดต่อผ่าน ทวิตเตอร์ ของรายการได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก จนเมื่อมาถึงปี พ.ศ. 2553 ทางรายการจึงงดการส่งข้อความผ่านทาง SMS แล้วเปลี่ยนมาใช้เป็นการส่งข้อความผ่านทวิตเตอร์ โดยการใส่แท็กข้อความ #beartai ตามหลังข้อความที่ผู้ชมทางบ้านได้พิมพ์เข้ามา และปี พ.ศ. 2554 มีแฟนรายการได้สร้าง แฟนเพจ ของรายการที่ เฟซบุ๊ก โดยผู้ชมสามารถที่จะเข้าไปแสดงความคิดเห็นหรือพูดคุยได้ที่หน้า แฟนเพจ ได้เช่นกัน

วิธีการติดต่อรายการในยุคแบไต๋ไฮเทค เดลี่ ไฟว์ไลฟ์ และ แบไต๋ไฮเทค โลก้า (ปี 2554 - 2557)

แก้

สำหรับวิธีการติดต่อรายการในยุคแบไต๋ไฮเทค เดลี่ ไฟว์ไลฟ์ ผู้ชมสามารถพูดคุยหรือเสนอความคิดเห็นรายการทาง แฟนเพจ ของรายการที่ เฟซบุ๊ก ทาง กระดานสนทนา ของเว็บไซต์รายการ และทาง ทวิตเตอร์ โดยพิมพ์ข้อความที่ต้องการสื่อสารแล้วต่อท้ายด้วย #Beartai หรือ #แบไต๋ แล้วข้อความจะปรากฏบนหน้าจอในช่วงที่รายการออกอากาศ

แขกรับเชิญ

แก้

แขกรับเชิญที่เชิญมาให้สัมภาษณ์ จะมาจากช่วงคนไทยใน YouTube โดยจะนำเสนอคลิปที่สร้างสรรค์และได้รับความนิยมในช่วงนั้นในรายการ และเชิญผู้ที่ทำคลิปดังกล่าวมาให้สัมภาษณ์ทางรายการ และมาจากช่วงแบไต๋ ใครเอ่ย? จะเป็นการเชิญผู้ที่มีชื่อเสียงบนอินเทอร์เน็ตมาให้สัมภาษณ์

วันที่ออกอากาศ แขกรับเชิญ ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับ
3 มิถุนายน พ.ศ. 2554 ทีมงานกระตั้วฟิล์ม การทำภาพยนตร์ล้อเลียนและภาพยนตร์สั้นที่เคยทำ (ให้สัมภาษณ์ในช่วงคนไทยใน YouTube)
4 มิถุนายน พ.ศ. 2554 กฤษณ์ บุญญะรัง (บี้ เดอะสกา) คลิปเต้นเพลงล้อเลียน กลัวที่ไหน ของ บี้ เดอะสตาร์ ซึ่งมีผู้ที่เข้ามาชมคลิปมากกว่า 1,700,000 ครั้ง และประวัติของเจ้าของคลิป (ให้สัมภาษณ์ในช่วงคนไทยใน YouTube)
5 มิถุนายน พ.ศ. 2554 ฐาวรา สิริพิพัฒน์ (@DrPopPop) การที่มีผู้คนติดตาม Dr.Pop ในเว็บสังคมออนไลน์ ทวิตเตอร์ จนติดอันดับของเว็บ http://www.lab.in.th/thaitrend/ และประวัติเรื่องราวต่างๆ (ให้สัมภาษณ์ในช่วงแบไต๋ ใครเอ่ย?)
5 มิถุนายน พ.ศ. 2554 หมวดแวน กรวิก จันทร์เด่น (DJ VAN) โชว์คลิปแสดง บีตบ็อกซ์ ลง YouTube รวมถึงการนำเสนอการใช้อุปกรณ์เทคโนโลยีมาช่วยในการทำเสียง บีตบ็อกซ์ (ให้สัมภาษณ์ในช่วงคนไทยใน YouTube)
6 มิถุนายน พ.ศ. 2554 จินตนัดดา สัมมะกานนท์ (แป้งโกะ) - (ให้สัมภาษณ์ในช่วงคนไทยใน YouTube)
7 มิถุนายน พ.ศ. 2554 อภิชัย จารุรัตนเกื้อ (ปิ๊น) โชว๋คลิปคนที่ชื่นชอบตัวละครเรยา หรือชมพู่ อารยา เอ ฮาร์เก็ต ที่แสดงในละครเรื่อง ดอกส้มสีทอง อยากขอจูบเรยาตัวจริง (ให้สัมภาษณ์ในช่วงคนไทยใน YouTube)
11 มิถุนายน พ.ศ. 2554 สัพพัญญู ยอดศรี (พีท ชื่อใน YouTube โคม ปะการัง) โชว์คลิปทำผมเลียนแบบ โดม ปกรณ์ ลัม และสัมภาษณ์เกี่ยวกับแรงบันดาลใจที่ทำให้พีททำคลิปดังกล่าว โดยมีผู้ชมคลิปดังกล่าว 800,000 ครั้ง รวมถึงประวัติส่วนตัว (ให้สัมภาษณ์ในช่วงคนไทยใน YouTube)
14 มิถุนายน พ.ศ. 2554 อภิชยา คุณีย์พันธุ์ (GIFT_TU) การแต่งคอสเพลย์ โดยแต่งเป็นฮัทสึเนะ มิกุ ซึ่งเป็นตัวละครที่มาจากโปรแกรมสังเคราะห์เสียง โวคาลอยด์ และสัมภาษณ์เกี่ยวกับข้อดีของการแต่งคอสเพลย์ (ให้สัมภาษณ์ในช่วง Cosplay เจอจังจัง)
17 มิถุนายน พ.ศ. 2554 ชุน วู แสดงการเล่นโยโย่จากการประกวดเป็นแชมป์ในประเทศไทย ปัจจุบันเป็นครูสอนเล่นโยโย่ และประวัติเกี่ยวกับการเล่นโยโย่ในประเทศไทยรวมถึงความนิยมของการเล่นโยโย่ (ให้สัมภาษณ์ในช่วง ชาวโลกใน YouTube)
19 มิถุนายน พ.ศ. 2554 วิญญู วงศ์สุรวัฒน์ (จอห์น วิญญู) การที่มีผู้ชมคลิกเข้าชมเว็บไซต์ http://ihere.tv 20 ล้านคลิก จากรายการทางอินเทอร์เน็ต "เจาะข่าวตื้น" ที่ฉายผ่านเว็บ ihere.tv และ YouTube และการที่เขาทำรายการดังกล่าวทางอินเทอร์เน็ต รวมถึงอุปสรรคต่าง ๆ ของรายการที่ประสบมา จนสามารถประสบความสำเร็จจนถึงทุกวันนี้ (ให้สัมภาษณ์ในช่วง แบไต๋ ใครเอ่ย?)
21 มิถุนายน พ.ศ. 2554 สุภัทรา เล้าอรุณ (Kaoru Echi), มาริสา พึ่งผล (Amayarenflys) แต่งคอสเพลย์เป็นตัวละคร Squall Leonhart จากเกม ไฟนอลแฟนตาซี VIII และตัวละคร Sora จากเกม คิงดอมฮารตส์ โดยสัมภาษณ์เกี่ยวกับการแต่งกายคอสเพลย์รวมถึงแรงบันดาลใจที่แต่งเป็นตัวละครดังกล่าว (ให้สัมภาษณ์ในช่วง Cosplay เจอจังจัง)
25 มิถุนายน พ.ศ. 2554 พชรพล จั่นเที่ยง (วิทย์ AF1) ครบรอบ 2 ปีต่อการจากไปของ ไมเคิล แจ็กสัน ราชาเพลงป็อป โดยสัมภาษณ์เกี่ยวกับการที่เขาชอบไมเคิล แจ็กสันตั้งแต่เด็ก และโชว์การเต้นเพลง ของ ไมเคิล แจ็กสัน ด้วยเกม Michael Jackson The Experience โดยใช้อุปกรณ์ Microsoft Kinect บนเครื่อง เอกซ์บอกซ์ 360 ในการเต้น (ให้สัมภาษณ์ในช่วง คนไทยใน YouTube)

ปัญหาของการออกอากาศ

แก้
  • เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2549 รายการแบไต๋ ไฮเทค ไม่สามารถออกอากาศได้ เนื่องจากเกิดเหตุระเบิดในกรุงเทพมหานครประมาณ 7 จุดในเวลาไล่เลี่ยกัน ทำให้มีรายการข่าวมาแทรกรายการแทน จึงทำให้ไม่สามารถออกอากาศได้
  • เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 รายการแบไต๋ ไฮเทค ต้องงดออกอากาศไป 1 สัปดาห์ เนื่องด้วยเหตุการณ์จากการชุมนุมของกลุ่ม พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย จึงทำให้ตอนนั้นมีรายการข่าวมานำเสนอแทน และได้เลื่อนมาออกอากาศในวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 แทน
  • เมื่อวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2553 รายการแบไต๋ ไฮเทค ต้องงดออกอากาศ 1 สัปดาห์เนื่องจากพิธีกรทุกคนติดภารกิจ จึงไม่สามารถออกอากาศได้ และได้เลื่อนมาออกอากาศในวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2553 แทน
  • เมื่อวันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2553 รายการแบไต๋ ไฮเทค ต้องงดออกอากาศ 1 สัปดาห์ เนื่องจากเกิดเหตุการสลายการชุมนุมบริเวณสะพานผ่านฟ้าลีลาศของกลุ่ม แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ หรือ นปช. จึงทำให้รายการ คมชัดลึก มาออกอากาศแทน และได้เลื่อนมาออกอากาศในวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2553 แทน
  • เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 รายการแบไต๋ ไฮเทค ต้องงดออกอากาศสด 1 สัปดาห์ ทางรายการจึงนำเทปการออกอากาศเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 มาออกอากาศแทน
  • เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 รายการแบไต๋ ไฮเทค ไม่สามารถออกอากาศสดได้ เนื่องจากอยู่ในช่วงประกาศเคอร์ฟิวของ ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือ ศอฉ. ในช่วงเวลา 23.00 - 05.00 น. ทางรายการจึงทำการบันทึกเทปรายการแล้วนำมาออกอากาศทันทีหลังจากถ่ายบันทึกเทปรายการเสร็จ นับว่าเป็นครั้งแรกของรายการที่ทำการบันทึกเทปรายการแล้วนำมาออกอากาศในทันที
  • สำหรับปัญหาการออกอากาศในยุคของแบไต๋ ไฮเทค เดลี่ ไฟว์ไลฟ์ ในช่วงแรก ๆ จะมีปัญหาทางด้านระบบเสียงพูด และการนำเสนอคลิปข่าวในช่วงของยำใหญ่ IT News
  • เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 รายการแบไต๋ ไฮเทค ต้องงดออกอากาศ 1 วัน เนื่องจากมี การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย พ.ศ. 2554 ทำให้ทางสถานีต้องออกอากาศรายงานผลการเลือกตั้งแทน และได้เลื่อนมาออกอากาศมาเป็นวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 แทน
  • เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 รายการแบไต๋ ไฮเทค ต้องงดออกอากาศทาง C CHANNEL เพราะ C CHANNEL เปลี่ยนเป็น C SPORT ทำให้รายการแบไต๋ ไฮเทค ต้องเปลี่ยนมาออกอากาศทาง Mango TV
  • ในช่วงเดือน เมษายน และ พฤษภาคม พ.ศ. 2555 รายการแบไต๋ ไฮเทค ไม่สามารถออกอากาศสดทางช่อง Dude TV ได้ เนื่องจากทางสถานีได้ย้ายระบบการออกอากาศไปเป็นของกรมประชาสัมพันธ์ (ในช่วงเวลานั้น) จึงทำให้ระบบการถ่ายทอดสดของสถานีนั้นยังไม่สามารถทำได้ ทางรายการจึงแก้ปัญหาด้วยการบันทึกเทปหลังจากจบการถ่ายทอดสดในวันอาทิตย์ เพื่อให้สามารถมีรายการออกอากาศในสถานีได้ในทุกวันศุกร์
  • เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2555 รายการแบไต๋ ไฮเทค ต้องเลื่อนการออกอากาศทางช่องแก๊งการ์ตูน จากเดิม 19.30 น. เป็น 22.30 น. แทน เนื่องจากมีปัญหาในการออกอากาศรายการสดของทางสถานี โดยทีมงานได้ทำการบันทึกเทปในระหว่างการออกอากาศช่วง 19.30 น. ซึ่งผู้ที่ชมผ่านทางอินเทอร์เน็ตในช่วงเวลานั้นสามารถรับชมได้ตามปกติ

รายการอื่น ๆ

แก้

แบไต๋ไอที

แก้

แบไต๋ไอที เป็นรายการที่อยู่ในช่อง 9 วันอังคาร เวลา 23:30 - 00:00 ซึ่งในปี 2556 ออกอากาศทุกวันศุกร์ เวลา 00.15 - 00.45 น. มีพิธีกรหลักคือ หนุ่ย พงศ์สุข หิรัญพฤกษ์ และพิธีกรหน้าใหม่คือ เฟื่องลดา สรานี สงวนเรือง นอกจากนี้ยังได้ ครูทอม คำไทย หรือ จักรกฤต โยมพยอม สุดยอดแฟนพันธุ์แท้สุนทรภู่มาช่วยและโดยยังมีสี่พิธีกรหลักจาก รายการแบไต๋ไฮเทคเดลี่ไฟว์ไลฟ์ มาเป็นพิธีกรเสริม แบ่งเป็นช่วงดังนี้

  1. แบไต๋อะไรดี เป็นข่าวสั้น ๆ ในช่วงเริ่มต้น โดยจะเป็นข่าวในเทคโนโลยีทั่วไป
  2. กูรูรู้จริง โดยเป็นการนำเสนอ ข่าวหัวข้อเทคโนโลยีที่น่าสนใจจากสามพิธีกรคือ อ.ศุภเดช ศุภเดช สุทธิพงศ์คณาสัย, พี่หลาม ที่รัก บุญปรีชา และ ปีเตอร์กวง พีรพล ฉัตรอนันทเวช โดยผลัดกันมานำข้อมูลที่น่าสนใจมาให้ชมกัน
  3. เที่ยวไทยไฮเทค ทุกๆสิ้นเดือน จะเปลี่ยนช่วงรายการจาก "กูรูรู้จริง" มาเป็นช่วงนี้ เป็นช่วงแนะนำการท่องเที่ยวจากพิธีกร แบไต๋ไอที โดยใช้เทคโนโลยีในปัจจุบันมาช่วยให้การท่องเที่ยวในครั้งนี้สนุกสนานและสะดวกสบายยิ่งขึ้น
  4. คำไทยในเน็ต เป็นช่วงที่นำเสนอ คำไทยที่ใช้แพร่หลายในอินเทอร์เน็ตและสาระภาษาไทยที่น่าสนใจโดย ครูทอม คำไทย หรือ จักรกฤต โยมพยอม

อินโนเวชั่น 9

แก้

Innovation 9 อยู่ในช่วงคลุกวงข่าว ช่อง Modernine TV โดยร่วมกับ สำนักนวัตกรรมแห่งชาติ หรือ NiA นำเสนอโดย หนุ่ย พงศ์สุข หิรัญพฤกษ์ ซึ่งนำเสนอนวัตกรรมที่น่าสนใจทั้งในไทย และทั่วโลก โดยแบ่งเป็นช่วงดังนี้

  1. นวัตกรรมโลก โดยนำเสนอเกี่ยวกับ นวัตกรรมที่น่าสนใจจากทั่วโลก
  2. นวัตกรรม คนไทยทำได้ เป็นนวัตกรรมที่น่าสนใจจากคนไทย

แบไต๋ยุคหลังรายการทีวี

แก้

หลังจากยุติการออกอากาศในปี 2557 แบไต๋หันมาทำสื่อผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้น มีการร่วมงานกับ LINE TV เพื่อผลิตเนื้อหาเฉพาะสำหรับไลน์ทีวี แบไต๋ในยุคปัจจุบันนี้มีเว็บแบไต๋, เฟซบุ๊กของแบไต๋ และยูทูบของแบไต๋เป็นช่องทางหลัก ซึ่งเนื้อหาของแบไต๋ในยุคนี้ยังคงเน้นที่เทคโนโลยีเป็นหลัก แต่มีการขยายเนื้อหาในหมวดไลฟ์สไตล์ของแบไต๋ให้ครอบคลุมมากขึ้น จึงสร้างเป็นแบรนด์ใหม่ในชื่อ What The Fact ซึ่งถือเป็นสื่อไลฟ์สไตล์-บันเทิงในเครือของแบไต๋ นอกจากนี้ยังได้ร่วมงานกับเพจ Thai Gamer เพื่อโฟกัสเนื้อหาด้านวิดีโอเกมให้มากขึ้น

ความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของแบไต๋ในยุคออนไลน์คือ ชล วจนานนท์ เข้ามาร่วมงานกับแบไต๋ในฐานะบรรณาธิการบริหารในปี 2562[5] และเสริมทัพพิธีกรให้มีความหลากหลาย และเหมาะสมสำหรับเนื้อหาที่แตกต่างกันในโลกออนไลน์มากขึ้น โดยที่หนุ่ย-พงศ์สุข หิรัญพฤกษ์เป็นพิธีกรหลักเช่นเดิม และมีพิธีกรที่เข้ามาเสริมคือ

แบไต๋ 7 HD

แก้

แบไต๋หวนกลับมาออกอากาศทางโทรทัศน์อีกครั้ง โดยร่วมกับช่อง 7 และบริษัท Tero Entertainment ผลิตรายการ 'แบไต๋ 7 HD' ออกอากาศทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 12.20 - 12.40 น. โดยออกอากาศครั้งแรกวันที่ 6 มิถุนายน 2565 ถึงวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2565[6] และมีรายการในรูปแบบออนไลน์ความยาว 1 ชั่วโมงทุกวันจันทร์ และวันพุธ 18.30 น. ถึงวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2565

เนื้อหาของ แบไต๋ 7 HD จะประกอบด้วยข่าวสารด้านเทคโนโลยี นวัตกรรม รวมถึงการแนะนำวิธีเลือกซื้อเลือกใช้อุปกรณ์เทคโนโลยีต่าง ๆ พร้อมช่วงสัมภาษณ์บุคคลที่อยู่ในแวดวงเทคโนโลยีและวิทยาการในไทย[7]

พิธีกรประจำรายการ

แก้

beartai Hitech (2566)

แก้

พิธีกรชุดแรกของแบไต๋คือ หนุ่ย พงศ์สุข, พี่หลาม จิ๊กโก๋ไอที และอ.ศุภเดช ได้กลับมารวมตัวกันอีกครั้งเพื่อจัดรายการแบไต๋ไฮเทคร่วมกันเป็นครั้งแรกในรอบเกือบ 9 ปีตั้งแต่เทปสุดท้ายของ beartai Hitech Loca ซึ่งจะไลฟ์ทุกวันอังคารเวลา 18.00 น. ผ่านช่องทางโซเซียลมีเดียของแบไต๋คือ Youtube, facebook และ TikTok

โดยในไลฟ์แรกของรายการ วันที่ 20 มิถุนายน 2566 หนุ่ย พงศ์สุข ได้อธิบายลักษณะรายการแบไต๋ไฮเทคในปี 2566[8] ไว้ว่า แบไต๋ไฮเทคยุคนี้เปลี่ยนจากรายการเล่าข่าวไอทีแบบที่เคยจัดมา มาเป็นรายการขยี้ข่าวไอทีที่น่าสนใจในแต่ละสัปดาห์ จึงไม่ได้เน้นเล่าข่าวจำนวนมาก แต่เป็นการถกเถียงประเด็นไอทีเพียง 1-2 ประเด็นต่อไลฟ์ เพื่อให้ผู้ชมได้ฟังมุมมองจากพิธีกรทั้ง 3 โดยประเด็นที่นำมาถกเถียงกันในไลฟ์แรกคือ "อนาคต Metaverse หลัง Vision Pro เปิดตัว"

หนุ่ย พงศ์สุขยังได้พูดถึงอนาคตของรายการว่า มีการติดต่อปีเตอร์ กวง ควงมือถือ และเฟื่องลดา เพื่อกลับมาร่วมงานกันในไลฟ์ต่อ ๆ ไปอีกด้วย

วันที่ 9 เมษายน 2567 ได้ยุติการออกอากาศสดในซีซั่นแรก โดยในวันนั้นมีการจัดกิจกรรม "แฟนพันธุ์แท้แบไต๋ไฮเทค" เพื่อรำลึกถึงความหลังของรายการตั้งแต่อดีตและพูดคุยเทคโนโลยี โดยรวมพิธีกรทั้ง 4 คน เช่น หนุ่ย-พงศ์สุข, หลาม จิ๊กโก๋ไอที, อาจารย์ศุภเดช และปีเตอร์กวง ควงมือถือ

อ้างอิง

แก้
  1. "beartai BUZZ". www.facebook.com.
  2. beartai Hitech : อนาคต Metaverse หลัง Vision Pro เปิดตัว?, สืบค้นเมื่อ 2023-06-22
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 [http://game.sanook.com/gameupdate/snews_12904.php เปิดตัว 'แบไต๋ไฮเทค Daily 5 LIVE' 5 วัน 5 ช่องดาวเทียมชั้นนำ
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 ข้อมูลแบไต๋ไฮเทครูปแบบใหม่ จากคำพูดของนายห้าง(หนุ่ย พงศ์สุข)[ลิงก์เสีย]
  5. ล้อมวงคุยถึงอนาคตของ #beartai กับ “ชลลี่ วจนานนท์” บก.บริหารคนใหม่และหนุ่ย พงศ์สุข CEO คนเดิม
  6. รายการ แบไต๋7HD ไอทีและยานยนต์ 06.06.65 ตอนที่ 1, สืบค้นเมื่อ 2022-06-06
  7. "ช่อง 7HD จับมือ เทโรฯ ดึง "หนุ่ย-แบไต๋" บุกตลาดไอทีและยานยนต์ ควบออนแอร์-ออนไลน์ 6 มิ.ย. นี้". teroasia.com.
  8. ชูเชิด, เอกพล (2023-06-21). "รวมพลคนแบไต๋ รายการ 'Beartai Hitech' ไลฟ์แรก 20 มิ.ย. สุดชื่นมื่น เฮฮายิ่งกว่าเดิม! #beartai". #beartai (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้