เสือโคร่งแคสเปียน

สปีชีส์ของเสือ
เสือโคร่งแคสเปียน
เสือโคร่งแคสเปียนในสวนสัตว์เบอร์ลิน ใน ค.ศ. 1899[1]
อีกภาพถ่ายหนึ่งที่เป็นภาพสี
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Mammalia
อันดับ: Carnivora
วงศ์: Felidae
สกุล: Panthera
สปีชีส์: P.  tigris
สปีชีส์ย่อย: P.  t. virgata
Trinomial name
Panthera tigris virgata
Illiger, 1815
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์ของเสือโคร่งแคสเปียน
ชื่อพ้อง
  • P. t. lecoqi Schwarz, 1916
  • P. t. trabata Schwarz, 1916
  • P. t. septentrionalis Satunin, 1904
  • P. t. sudanensis Deraniyagala, 1951

เสือโคร่งแคสเปียน หรือ เสือโคร่งเปอร์เซีย (อังกฤษ: Caspian tiger, Persian tiger; อาหรับ: ببر قزويني; ชื่อวิทยาศาสตร์: Panthera tigris virgata) เสือโคร่งสายพันธุย่อยสายพันธุ์หนึ่งที่สูญพันธุ์ไปแล้ว มีการกระจายพันธุ์อยู่ในภูมิภาคเอเชียกลางจนถึงตะวันออกกลาง เช่น อัฟกานิสถาน, เทือกเขาคอเคซัส, ภาคตะวันตกของจีน, ที่ราบสูงแมนจูเรีย, อิหร่าน, อิรัก, ตุรกี, มองโกเลีย, คาซัคสถาน, ทาจิกิสถาน, คีร์กีซสถาน, เติร์กเมนิสถาน และอุซเบกิสถาน

รวมถึงอาจจะแพร่กระจายพันธุ์ไปถึงซูดานในแอฟริกาเหนือด้วยก็เป็นได้ เนื่องจากมีผู้พบขนเสือโคร่งวางขายในตลาดของไคโร อียิปต์ ในปี ค.ศ. 1951 ซึ่งขนเสือผืนนี้มาจากซูดาน[2]

เสือโคร่งแคสเปียน มีลักษณะคล้ายคลึงกับเสือโคร่งไซบีเรีย (P. t. altaica) มาก นับเป็นเสือโคร่งที่มีขนาดใหญ่อีกสายพันธุ์หนึ่ง โดยตัวผู้ในเตอร์กิสถานมีความยาวลำตัว 270 เซนติเมตร นับเป็นสถิติที่ใหญ่สุดเท่าที่มีการบันทึกมา ในขณะที่ตัวเมียมีขนาดเล็กลงมา น้ำหนักตัวเต็มที่ประมาณ 240 กิโลกรัม ล่ากวางและหมูป่า รวมถึงไก่ฟ้า กินเป็นอาหาร[3]

ถิ่นที่อยู่อาศัยของเสือโคร่ง 2 สายพันธุ์นี้ต่อติดกัน โดยเสือโคร่งแคสเปียนจะกระจายพันธุ์อยู่แถบตะวันตกของภูมิภาคเอเชียกลาง และเสือโคร่งไซบีเรียจะกระจายพันธุ์อยู่ทางตะวันออกของภูมิภาคเอเชียกลางจนถึงเอเชียเหนือ เสือโคร่งแคสเปียน สูญพันธุ์ไปตั้งแต่ต้นทศวรรษที่ 70 โดยที่เทือกเขาคอเคซัสตัวสุดท้ายถูกฆ่าตายไปในปี ค.ศ. 1922 ใกล้กับทบิลิซี จอร์เจีย หลังจากไปฆ่าสัตว์เลี้ยงในฟาร์มของชาวบ้าน เสือโคร่งแคสเปียนตัวสุดท้ายในตุรกีถูกฆ่าในปี ค.ศ. 1970 ใกล้กับอูลูเดเร ฮักการี

ในอิรักเคยพบเสือโคร่งแคสเปียนเพียงตัวเดียว ถูกฆ่าใกล้กับโมซูล ในปี ค.ศ. 1887 ในอิหร่าน เสือโคร่งแคสเปียนตัวสุดท้ายถูกฆ่าในปี ค.ศ. 1959 ในโกลีสตาน เสือโคร่งแคสเปียนตัวหนึ่งในลุ่มแม่น้ำทาริม ของจีนถูกฆ่าตายในปี ค.ศ. 1899 ใกล้กับทะเลสาบลอปนอร์ในมณฑลซินเจียง และหลังจากทศวรรษที่ 20 ก็ไม่มีใครเห็นเสือโคร่งสายพันธุ์นี้ในลุ่มแม่น้ำนี้อีกเลย

เสือโคร่งแคสเปียนหายไปจากลุ่มแม่น้ำมานัสในเทือกเขาเทียนซานทางตะวันตกของอุรุมชี ในทศวรรษที่ 60 ที่แม่น้ำไอรี ซึ่งเป็นแหล่งอาศัยสำคัญแหล่งสุดท้ายในบริเวณทะเลสาบบัลฮัช มีผู้พบครั้งสุดท้ายในปี ค.ศ. 1948 และตอนปลายแม่น้ำอามูดาร์ยาบริเวณชายแดนระหว่างเติร์กเมนิสถาน, อุซเบกิสถาน และอัฟกานิสถาน เชื่อว่าสูญพันธุ์ไปตั้งแต่ต้นทศวรรษที่ 70 แล้ว แม้จะมีรายงานอย่างไม่เป็นทางการว่าพบเสือโคร่งแคสเปียนบริเวณทะเลอารัลใกล้กับนูคัส ในปี ค.ศ. 1968 หรือในเขตสงวนทางธรรมชาติทิโกรวายาบัลกา ซึ่งเป็นป่ากกริมแม่น้ำอามูดาร์ยา บริเวณชายแดนทาจิกิสถานและอัฟกานิสถาน มีผู้พบเห็นครั้งสุดท้ายในปี ค.ศ. 1953[4] แต่มีผู้อ้างว่าพบเห็นรอยเท้าคล้ายรอยเท้าเสือโคร่งขนาดใหญ่ในปี ค.ศ. 1995 แต่ทั้งหมดนี้ก็ยังไม่มีหลักฐานอะไรยืนยันในเชิงวิชาการได้อย่างแท้จริง[5] [3]

โครงการนำกลับคืนสู่ธรรมชาติ

แก้

จากการค้นพบเมื่อเร็ว ๆ นี้ว่าเสือโคร่งไซบีเรียเป็นญาติใกล้ชิดที่สุดของเสือโคร่งแคสเปียน การอภิปรายจึงเริ่มขึ้นว่าเสือโคร่งไซบีเรียอาจเหมาะสมสำหรับการนำกลับคืนสู่พื้นที่ปลอดภัยในเอเชียกลางที่เสือโคร่งแคสเปียนเคยอาศัยอยู่หรือไม่ [6] แม่น้ำอามูดาร์ยาได้รับการเสนอว่าเป็นเขตที่มีศักยภาพสำหรับโครงการดังกล่าว การศึกษาความเป็นไปได้เริ่มต้นขึ้นเพื่อตรวจสอบว่าพื้นที่นั้นเหมาะสมหรือไม่ และการริเริ่มดังกล่าวจะได้รับการสนับสนุนจากผู้มีอำนาจตัดสินใจที่เกี่ยวข้องหรือไม่ ประชากรเสือโคร่งที่มีชีวิตประมาณ 100 ตัวต้องการพื้นที่อย่างน้อย 5,000 กม. (1,900 ตร.ไมล์) ของผืนดินขนาดใหญ่ที่มีที่อยู่อาศัยต่อเนื่องกัน มีประชากรเหยื่อมากมาย ที่อยู่อาศัยดังกล่าวยังไม่มีอยู่ในขณะนี้ และไม่สามารถจัดหาได้ในระยะสั้น ภูมิภาคที่เสนอจึงไม่เหมาะสำหรับการนำกลับคืนสู่ธรรมชาติ อย่างน้อยก็ในขั้นตอนปัจจุบัน [7]

แม้ว่าการฟื้นฟูเสือโคร่งแคสเปียนจะกระตุ้นให้เกิดการพูดคุย แต่สถานที่สำหรับเสือโคร่งกลับไม่มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างเต็มที่ในการวางแผน แต่จากการสำรวจทางนิเวศวิทยาเบื้องต้นพบว่าพื้นที่ที่มีประชากรขนาดเล็กในเอเชียกลางบางแห่งได้อนุรักษ์ที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติที่เหมาะสมสำหรับเสือโคร่ง[8]

อ้างอิง

แก้
  1. Nowell, K. & Jackson, P. (1996). "Tiger, Panthera tigris (Linnaeus, 1758)" (PDF). Wild Cats: status survey and conservation action plan. Gland, Switzerland: IUCN/SSC Cat Specialist Group. pp. 55–65.
  2. Mazák, V. Velké kočky a gepardi, SZN, Praha 1980, p.142
  3. 3.0 3.1 "สารคดี เทือกเขาปามีร์ : ดินแดนแห่งความลับ Pamir, Land of Secret ตอน 3 คลิป 2/2". ช่อง 7. September 3, 2016. สืบค้นเมื่อ September 4, 2016.
  4. Geptner, V.G., Sludskii, A. A., (1972) Mlekopitaiuščie Sovetskogo Soiuza. Vysšaia Škola, Moskva. (In Russian; English translation: Heptner, V.G.; Sludskii, A.A.; Bannikov, A.G.; (1992) Mammals of the Soviet Union. Volume II, Part 2: Carnivora (Hyaenas and Cats). Smithsonian Institution and the National Science Foundation, Washington DC). Pp. 95–202
  5. "Panthera tigris virgata". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-04-12. สืบค้นเมื่อ 2010-02-20.
  6. Luo, S.-J.; Johnson, W. E. & O'Brien, S. J. (2010). "Applying molecular genetic tools to tiger conservation". Integrative Zoology. 5 (4): 351–362. doi:10.1111/j.1749-4877.2010.00222.x. PMC 6984346. PMID 21392353.
  7. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Jungius09
  8. Driscoll, C.A.; Chestin, I.; Jungius, H.; Pereladova, O.; Darman, Y.; Dinerstein, E.; Seidensticker, J.; Sanderson, J.; Christie, S.; Luo, S.J.; Shrestha, M.; Zhuravlev, Y.; Uphyrkina, O.; Jhala, Y.V.; Yadav, S.P.; Pikunov, D.G.; Yamaguchi, N.; Wildt, D.E.; J.L.D. Smith; L. Marker; P.J. Nyhus; R. Tilson; D.W. Macdonald & O’Brien, S.J. (2012). "A postulate for tiger recovery: the case of the Caspian Tiger". Journal of Threatened Taxa. 4 (6): 2637–2643. doi:10.11609/jott.o2993.2637-43.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้