เศรษฐกิจเยอรมนี

ประเทศเยอรมนี ถือเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในยุโรป มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 4 ของโลกหากวัดตามราคาตลาด และเป็นอันดับ 5 ของโลกหากวัดตามอำนาจซื้อ ทั้งนี้ใน ค.ศ. 2017 กิจกรรมทางเศรษฐกิจของเยอรมนีมีคิดเป็น 27% ของกิจกรรมทางเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศที่ใช้สกุลเงินยูโรตามรายงานของไอเอ็มเอฟ[14] เยอรมนียังเป็นหนึ่งในชาติผู้ร่วมก่อตั้งสหภาพยุโรปและยูโรโซน[15][16]

เศรษฐกิจเยอรมนี
แฟรงก์เฟิร์ต เป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจของเยอรมนี
สกุลเงินยูโร (EUR)
ปีงบประมาณปีปฏิทิน
ภาคีการค้าEU, WTO และ OECD
สถิติ
จีดีพี3.951 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (ตัวเงิน, 2018)
4.343 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (PPP, 2018) [1]
จีดีพีเติบโต+1.9% (2016)[2], +2.5% (2017), +1.5% (2018)
จีดีพีต่อหัว47,662 ดอลลาร์สหรัฐ (2018, ตัวเงิน)[1]
ภาคจีดีพีเกษตรกรรม: 0.7%, อุตสาหกรรม: 30.7%, ภาคบริการ: 68.6% (ปมก. 2017)
เงินเฟ้อ (CPI)1.927% (2018)[3]
ประชากรยากจน16.7% (2015)[4]
จีนี31.1 (2018)
แรงงาน41.99 ล้านคน (ต.ค. 2019)[5]
ภาคแรงงานเกษตรกรรม (1.6%), อุตสาหกรรม (24.6%), ภาคบริการ (73.8%) (2011)
ว่างงาน3.1% (ต.ค. 2019)[6]
อุตสาหกรรมหลักเหล็กและเหล็กกล้า, ถ่านหิน, ปูนซีเมนต์, เชื้อเพลิงธรรมชาติ, เคมี, พลาสติก, เครื่องจักรกล, พาหนะ, รถไฟ, ต่อเรือ, อากาศยานและอวกาศ, เครื่องมือช่าง, เครื่องใช้ไฟฟ้า, เทคโนโลยีสารสนเทศ, ระบบและเครื่องมือแพทย์, เวชภัณฑ์, อาหารและเครื่องดื่ม, สิ่งทอ
อันดับความคล่องในการทำธุรกิจ22 (2020)[7]
การค้า
มูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้น $1.434 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (ปมก.2017)[8]
สินค้าส่งออกยานยนต์, เครื่องจักรกล, เคมีภัณฑ์, คอมพิวเตอร์และวงจรไฟฟ้า, เครื่องใช้ไฟฟ้า, เวชภัณฑ์, โลหะ, อุปกรณ์คมนาคม, อาหาร, สิ่งทอ, ยางและผลิตภัณฑ์พลาสติก
ประเทศส่งออกหลัก
มูลค่านำเข้าเพิ่มขึ้น $1.135 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (ปมก.2017)[8]
สินค้านำเข้าเครื่องจักรกล, อุปกรณ์ประมวลผล, พาหนะ, เคมีภัณฑ์, น้ำมันและแก๊ส, โลหะ, เครื่องใช้ไฟฟ้า, เวชภัณฑ์, อาหาร, ผลผลิตทางการเกษตร
ประเทศนำเข้าหลัก
FDI1.653 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (ธ.ค. 2017)
หนี้ต่างประเทศ5.084 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (2017)
การคลังรัฐบาล
หนี้สาธารณะ60.9% ของจีพีดี (2018)[10]
รายรับ$1.665 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (ปมก.2017)
รายจ่าย$1.619 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (ปมก.2017)
อันดับความเชื่อมั่นStandard & Poor's: AAA[11]
แนวโน้ม: คงที่[12]
Moody's: Aaa[12]
แนวโน้ม: คงที่
Fitch: AAA[12]
แนวโน้ม: คงที่
ทุนสำรอง3.6 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ (มิ.ย. 2018)[13]
แหล่งข้อมูลหลัก: CIA World Fact Book
หน่วยทั้งหมด หากไม่ระบุ ถือว่าเป็นดอลลาร์สหรัฐ

ภาคการบริการถือเป็นภาคเศรษฐกิจที่สำคัญที่สุดของเยอรมนีโดยคิดเป็น 70% ของจีดีพี รองลงมาคือภาคอุตสาหกรรมที่ 29.1% และภาคเกษตรกรรมที่ 0.9% ทั้งนี้ เศรษฐกิจของเยอรมนีพึ่งพาการส่งออกในสัดส่วนที่สูงราว 41% ของจีดีพี[17][18] ใน ค.ศ. 2016 เยอรมนีเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่เป็นอันดับสามของโลกด้วยมูลค่ากว่า 1.21 ล้านล้านยูโร (1.27 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ) และยังเป็นหนึ่งในประเทศที่ได้ดุลการค้าสูงที่สุดในโลกด้วยมูลค่ากว่า 3.1 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ สินค้าส่งออกที่สำคัญของเยอรมนีคือยานยนต์, เครื่องจักรกล, เคมีภัณฑ์, เครื่องใช้ไฟฟ้า, อุปกรณ์ไฟฟ้า, เวชภัณฑ์, อุปกรณ์คมนาคม, โลหะภัณฑ์, อาหาร, ยาง และพลาสติก[5] เยอรมนีเป็นประเทศที่มีอุตสาหกรรมการผลิตขนาดใหญ่ที่สุดในยุโรปและไม่ค่อยได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจตกต่ำมากนัก [19] เยอรมนีเป็นประเทศที่มุ่งเน้นการวิจัยซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับอุตสาหกรรมได้จริง มหาวิทยาลัยต่าง ๆมีความร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรมในการคิดค้นผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมที่ตอบโจทย์อุตสาหกรรมนั้น[20]

เยอรมนีเป็นประเทศที่อุดมไปด้วยป่าไม้, แร่โพแทช, เกลือ, ยูเรเนียม, นิกเกิล, ทองแดง และแก๊สธรรมชาติ พลังงานที่ใช้ในเยอรมนีนั้นมาจากถ่านหินเป็นหลัก (ราว 50%) ตามด้วยพลังงานนิวเคลียร์, แก๊สธรรมชาติ, พลังงานลม, พลังงานชีวมวล, พลังน้ำ และโซลาร์ เยอรมนียังเป็นผู้ผลิตกังหันลมผลิตไฟฟ้ารายใหญ่ของโลก[21] ปัจจุบันพลังงงานหมุนเวียนสามารถผลิตไฟฟ้าได้กว่า 27% ของปริมาณไฟฟ้าที่ใช้ทั้งประเทศ[22]

บริษัทเยอรมันกว่า 99% เป็นธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลางที่เรียกว่า "มิทเทิลชตันท์" (Mittelstand) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นธุรกิจครอบครัว และจากการจัดอันดับ Fortune Global 2000 ในปี ค.ศ. 2015 ซึ่งเป็นการจัดอันดับบริษัทที่มีรายได้สูงที่สุดสองพันแห่งของโลก ปรากฏมีบริษัทสัญชาติเยอรมันติดอับดับกว่า 53 บริษัท โดย 5 อันดับแรกคือ ฟ็อลคส์วาเกิน, อลิอันซ์, ไดมเลอร์, บีเอ็มดับเบิลยู และซีเมนส์[23]

ระบบเศรษฐกิจ แก้

ภาคอุตสาหกรรม แก้

เยอรมนีเป็นผู้นำในด้านอุตสาหกรรมหนักมาตั้งแต่ก่อนการรวมชาติเยอรมันในปี ค.ศ. 1871 อุตสาหกรรมของเยอรมันก้าวกระโดดอย่างมโหฬารในสมัยจักรวรรดิเยอรมัน จักรวรรดิเยอรมันได้กลายเป็นมหาอำนาจด้านอุตสาหกรรม, การทหาร, เทคโนโลยี และวิทยาศาสตร์ของโลก โดยได้รับรางวัลโนเบลมากกว่าชาติอื่น ๆ[24] จักรวรรดิเยอรมันเป็นประเทศที่ส่งออกสินค้าได้มากเป็นอันดับสองของโลกรองจากสหราชอาณาจักร องค์ความรู้ที่สั่งสมและพัฒนาต่อยอดอยู่เสมอตลอดระยะเวลาว่าศตวรรษ ได้กลายเป็นต้นทุนทางปัญญาที่สำคัญของอุตสาหกรรมเยอรมันในปัจจุบัน

ภาคอุตสาหกรรมและการก่อสร้างครองสัดส่วน 29% ของจีดีพีเยอรมนีในปี 2008 มีประชากรวัยทำงาน 29% ทำงานอยู่ในภาคเศรษฐกิจนี้[25] เยอรมนีมีความเป็นเลิศทางด้านยานยนต์, เครื่องจักรกล, เครื่องใช้ไฟฟ้า และเคมีภัณฑ์ เยอรมนีสามารถผลิตรถยนต์ได้ถึง 6 ล้านคันในปี 2016 และมากเป็นอันดับสี่ของโลกรองจากจีน, สหรัฐ และญี่ปุ่น รถยนต์ที่ผลิตในเยอรมนีถือเป็นรถยนต์ระดับพรีเมี่ยม และเยอรมนีครองส่วนแบ่งตลาดรถยนต์กลุ่มนี้ถึง 90% ของส่วนแบ่งตลาดโลก รถยนต์ที่ผลิตในเยอรมนีส่วนมากเป็นการผลิตเพื่อส่งออก โดยในปี 2016 เยอรมนีสามารถส่งออกรถยนต์ได้เป็นมูลค่าถึง 1.51 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐซึ่งเป็นอันดับหนึ่งของโลก (คิดเป็น 21.8% ของมูลค่าการส่งออกรถยนต์ทั่วโลก) ตามด้วยญี่ปุ่นและสหรัฐ[26]

เยอรมนียังมีอุตสาหกรรมการทหารชั้นแนวหน้าของโลก โดยในปี 2015 เยอรมนีเป็นผู้ส่งออกอาวุธยุทโธปกรณ์อันดับสามของโลกรองจากสหรัฐและรัสเซียด้วยมูลค่ากว่า 4.2 พันล้านยูโร ซาอุดีอาระเบียถือเป็นลูกค้ารายใหญ่ที่สุดที่นำเข้าอาวุธจากเยอรมนี [27]

ภาคการบริการ แก้

ภาคการบริการในเยอรมนีครองสัดส่วน 69% ของจีดีพีเยอรมนีในปี 2008 มีประชากรวัยทำงาน 67.5% ทำงานอยู่ในภาคเศรษฐกิจนี้[25] กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่สำคัญในภาคการบริการได้แก่ บริการด้านการเงิน การเช่า และการประกอบธุรกิจ (30.5%); ด้านการค้า การท่องเที่ยว ภัตตาการ การโรงแรม และขนส่ง (18%); กิจกรรมด้านบริการอื่น ๆ (21.7%) นอกจากนี้ เยอรมนียังถือเป็นประเทศที่มีผู้มาเยือนเป็นอันดับ 7 ของโลก โดยมีผู้มาเยือนกว่า 39 ล้านคนในปี 2015 สร้างรายได้เข้าประเทศราว 3.6 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ กิจกรรมการท่องเที่ยวในเยอรมนีสร้างงานราว 2 ล้านตำแหน่ง

รัฐในเยอรมันเรียงตามขนาดเศรษฐกิจ แก้

 
ขนาดเศรษฐกิจของแต่ละรัฐในประเทศเยอรมนี
ราชชื่อรัฐในเยอรมนีเรียงตามจีดีพีในปี 2018
รัฐ อันดับ ผลิตภัณฑ์มวลรวม
(พันล้านยูโร)
% ต่อจีดีพีรวม ยูโรต่อหัว
  ประเทศเยอรมนี   3,386.0 100.00 40,786
  นอร์ทไรน์-เว็สท์ฟาเลิน 1 705.0 20.82 39,315
  บาวาเรีย 2 625.1 18.46 47,805
  บาเดิน-เวือร์ทเทิมแบร์ค 3 511.4 15.10 46,201
  เฮ็สเซิน 4 296.1 8.74 47,263
  นีเดอร์ซัคเซิน 5 292.0 8.62 36,582
  ไรน์ลันท์-ฟัลทซ์ 6 149.1 4.40 36,508
  เบอร์ลิน 7 147.0 4.34 40,340
  ซัคเซิน 8 126.3 3.73 30,979
  ฮัมบวร์ค 9 120.3 3.55 65,345
  ชเลสวิช-ฮ็อลชไตน์ 10 97.0 2.86 33,494
  บรันเดินบวร์ค 11 73.7 2.18 29,351
  ทือริงเงิน 12 63.8 1.88 29,771
  ซัคเซิน-อันฮัลท์ 13 63.5 1.88 28,759
  เมคเลินบวร์ค-ฟอร์พ็อมเมิร์น 14 44.9 1.33 27,908
  ซาร์ลันท์ 15 35.9 1.06 36,263
  เบรเมิน 16 34.2 1.01 50,147

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 ที่มา: กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund)
  2. "Homepage - Federal Statistical Office (Destatis)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-01-28. สืบค้นเมื่อ 2017-08-01.
  3. "Homepage - Federal Statistical Office (Destatis)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-01-28. สืบค้นเมื่อ 2017-08-01.
  4. "Homepage - Federal Statistical Office (Destatis)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-01-28. สืบค้นเมื่อ 2017-08-01.
  5. 5.0 5.1 Destatis. "CIA Factbook". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-05-02. สืบค้นเมื่อ 23 April 2015.
  6. "Homepage - Federal Statistical Office (Destatis)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-02-02. สืบค้นเมื่อ 2017-08-01.
  7. "Ease of Doing Business in Germany". Doingbusiness.org. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 October 2017. สืบค้นเมื่อ 2017-11-21.
  8. 8.0 8.1 "Europe :: Germany". The World Factbook. Central Intelligence Agency. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-05-30. สืบค้นเมื่อ 15 June 2019.
  9. 9.0 9.1 "Germany - WTO Statistics Database". World Trade Organization. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 September 2017. สืบค้นเมื่อ 1 March 2017.
  10. "Germany Government Debt: % of GDP". CEIC Data - UK. 2018. สืบค้นเมื่อ 2018-08-04.
  11. "Sovereigns rating list". Standard & Poor's. สืบค้นเมื่อ 26 May 2011.
  12. 12.0 12.1 12.2 Rogers, Simon; Sedghi, Ami (15 April 2011). "How Fitch, Moody's and S&P rate each country's credit rating". The Guardian. London. สืบค้นเมื่อ 31 May 2011.
  13. "Germany Foreign Exchange Reserves". CEIC Data - UK. 2018. สืบค้นเมื่อ 2018-08-05.
  14. http://www.imf.org/en/News/Articles/2017/07/05/na070717-germany-spend-more-at-home
  15. Alfred Dupont CHANDLER, Takashi Hikino, Alfred D Chandler, Scale and Scope: The Dynamics of Industrial Capitalism 1990
  16. "Scale and Scope — Alfred D. Chandler, Jr. | Harvard University Press". Hup.harvard.edu. สืบค้นเมื่อ 2014-08-13.
  17. Library of Congress – Federal Research Division (April 2015). "Country Profile: Germany" (PDF). p. 10. สืบค้นเมื่อ 23 April 2015. Exports are responsible for one-third of total economic output, and at the prevailing dollar–euro exchange rate, no country exports more merchandise.
  18. "Germany's capital exports under the euro | vox". Voxeu.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-02-22. สืบค้นเมื่อ 2014-08-13.
  19. http://www.economist.com/node/21552567
  20. https://www.asme.org/engineering-topics/articles/manufacturing-processing/how-does-germany-do-it
  21. Wind Power เก็บถาวร 10 ธันวาคม 2006 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Federal Ministry of Economics and Technology (Germany) Retrieved 30 November 2006.
  22. Nicola, Stefan (9 May 2014). "Renewables Meet Record 27 Percent of German Electricity Demand". Bloomberg. สืบค้นเมื่อ 2015-04-23.
  23. "Forbes Global 2000: Germany's Largest Companies". Forbes. May 2014. สืบค้นเมื่อ 2015-04-13.
  24. "Nobel Prizes by Country – Evolution of National Science Nobel Prize Shares in the 20th Century, by Citizenship (Juergen Schmidhuber, 2010)". Idsia.ch. สืบค้นเมื่อ 2 December 2012.
  25. 25.0 25.1 CIA. "CIA Factbook". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-02-11. สืบค้นเมื่อ 2 August 2009.
  26. Car Exports by Country DANIEL WORKMAN. 10 May 2017
  27. Germany is the world’s third biggest weapons exporter