เรือง เรืองวีรยุทธ
พลเอก เรือง เรืองวีรยุทธ (?-?) หรือ ขุนเรืองวีรยุทธ อดีตนายทหารบกและนักการเมืองชาวไทย อดีตสมาชิก คณะราษฎร อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 อดีตปลัดกระทรวงกลาโหม อดีตจเรทหารบก อดีตเจ้ากรมพลาธิการทหารบก อดีตเจ้ากรมยุทธศึกษาทหารบก อดีตกรรมการสภามหาวิทยาลัยของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อดีตผู้ว่าราชการภาค ๒
เรือง เรืองวีรยุทธ | |
---|---|
![]() ภาพหมู่สมาชิกคณะราษฎรสายทหารบก พลเอกเรือง นั่งหน้าคนที่ 3 จากซ้าย | |
ปลัดกระทรวงกลาโหม | |
ดำรงตำแหน่ง 30 พฤศจิกายน 2488 – 20 พฤศจิกายน 2490 | |
ก่อนหน้า | พลเอก จิร วิชิตสงคราม |
ถัดไป | พลโท หลวงเสนาณรงค์ (ศักดิ์ เสนาณรงค์) |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | บุญเรือง วีระหงส์ ? |
เสียชีวิต | ? |
ศิษย์เก่า | โรงเรียนนายร้อยทหารบก |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
ยศ | ![]() |
พลเอกเรืองมีนามเดิมว่า บุญเรือง วีระหงส์ จบการศึกษาจาก โรงเรียนนายร้อยทหารบก หรือ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ในปัจจุบันพร้อมกับรับพระราชทานยศร้อยตรีเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2466[1] หลังจากนั้นได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ พระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น ขุนเรืองวีรยุทธ ศักดินา ๖๐๐ เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2473 [2]
ในเหตุการณ์ การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 เมื่อวันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 พลเอกเรืองซึ่งในขณะนั้นมียศเป็นร้อยโทและเป็นหนึ่งในสมาชิกของ คณะราษฎร ได้ทำหน้าที่เดินทางติดตาม พันโท พระประศาสน์พิทยายุทธ (วัน ชูถิ่น) ซึ่งเป็นหนึ่งในสี่ทหารเสือของคณะราษฎรเพื่อไปคุมพระองค์ จอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต จากที่ประทับ วังบางขุนพรหม มายัง พระที่นั่งอนันตสมาคม อันเป็นกองบัญชาการของคณะราษฎร
ต่อมาในวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2476 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ท่านขณะมียศเป็น ร้อยเอก[3] เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2[4] เมื่อมีการประกาศยกเลิกบรรดาศักดิ์ ขุนเรืองวีรยุทธ จึงกราบถวายบังคมลาออกจากบรรดาศักดิ์เมื่อวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2485[5] พร้อมกับใช้ชื่อราชทินนามเป็นชื่อสกุลว่า เรืองวีรยุทธ แทน วีระหงส์ เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2485[6]
ต่อมาในวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2487 พลเอกเรืองขณะมียศเป็น พันเอก[7] และดำรงตำแหน่งเป็น เจ้ากรมยุทธศึกษาทหารบก ได้รับโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง เจ้ากรมเตรียมการทหารอีกตำแหน่งหนึ่งโดยให้พ้นจากตำแหน่ง สารวัตรใหญ่ทหาร[8] โดยได้รับโปรดเกล้า ฯ พระราชทานยศ พลตรี เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม ปีเดียวกัน[9]
ต่อมาในวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2488 พลตรีเรืองพ้นจากตำแหน่ง เจ้ากรมเตรียมการทหาร คงเหลือเพียงแต่ตำแหน่ง เจ้ากรมยุทธศึกษาทหารบก เพียงตำแหน่งเดียว[10] กระทั่งวันที่ 30 พฤศจิกายน ปีเดียวกันได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ท่านเป็นปลัดกระทรวงกลาโหม[11] โดยได้รับโปรดเกล้าฯ พระราชทานยศ พลโท เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2489[12]
กระทั่งวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 พลโทเรืองพ้นจากตำแหน่ง ปลัดกระทรวงกลาโหม โดยมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่ง จเรทหารบก แทน พลตรีเดช เดชประดิยุทธ์ ที่ไปดำรงตำแหน่ง เสนาธิการทหารบก[13] จากนั้นในวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2493 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้พลโทเรืองพ้นจากตำแหน่ง จเรทหารบก และให้ไปดำรงตำแหน่ง เจ้ากรมพลาธิการทหารบก[14]โดยในปีเดียวกันก็ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการสภากรรมการทหารผ่านศึกแทนที่ พลโทจอน บูรณะสงครามที่ลาออกไปเมื่อวันที่ 13 กันยายน[15] แต่หลังจากดำรงตำแหน่งได้ 2 ปี 9 เดือน พลโทเรืองก็ต้องพ้นจากตำแหน่งเจ้ากรมพลาธิการทหารบก ไปสำรองราชการกองทัพบก โดยมี พลตรี ปรุง รังสิยานนท์ รองเจ้ากรมพลาธิการทหารบก ขึ้นมารับตำแหน่งแทน เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2495 [16] ต่อมาพลโทเรืองซึ่งขณะนั้นสำรองราชการสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม[17]ได้โอนย้ายมารับราชการที่กระทรวงมหาดไทยเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2496[18] ต่อมาในวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2496 พลโทเรืองได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการภาค ๒ พร้อมกับนายทหารอีก 2 ท่านที่โอนย้ายมาพร้อมกันคือ พลอากาศโท หลวงเจริญจรัมพร (เจริญ เจริญจรัมพร) ที่ได้รับแต่งตั้งเป็น ผู้ว่าราชการภาค ๓ และ พลตรี หลวงกัมปนาทแสนยากร (กำปั่น อุตระวณิชย์) ที่ได้รับแต่งตั้งเป็น ผู้ว่าราชการภาค ๕[19]
โดยยศทางทหารสุดท้ายคือ พลเอก ซึ่งได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ พระราชทานเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2500[20]
งานด้านการศึกษา
แก้ในวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2486 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้พลเอกเรืองขณะมียศเป็น พันเอก เป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัยของ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พร้อมกับ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร [21] ก่อนจะพ้นจากตำแหน่งเนื่องจากครบวาระเมื่อวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2488 โดย พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร ได้ดำรงตำแหน่งสืบต่อไป [22]
ยศ
แก้เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. ๒๔๗๗ – เหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ (พ.ร.ธ.) [26]
- พ.ศ. ๒๔๘๔ – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)[27]
- พ.ศ. ๒๔๙๑ – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[28]
- พ.ศ. ๒๔๙๓ – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[29]
- พ.ศ. 2512 – เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามมหาเอเชียบูรพา (ช.ส.)[30]
อ้างอิง
แก้- ↑ พระราชทานยศทหารบก (หน้า ๒๗๘๕)
- ↑ พระราชทานบรรดาศักดิ์ (หน้า ๙๕๕)
- ↑ ประกาศพระราชทานยศทหาร (หน้า ๒๖๓)
- ↑ พระราชกฤษฎีกาตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 พุทธศักราช ๒๔๗๖
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ข้าราชการกราบถวายบังคมลาออกจากบรรดาศักดิ์ (หน้า ๑๗๘)
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตใช้ราชทินนามเป็นชื่อสกุล (หน้า ๓๔๘)
- ↑ ประกาศกระทรวงกลาโหม เรื่อง พระราชทานยศทหาร (หน้า ๑๘๒๘)
- ↑ เรื่องย้ายและแต่งตั้งนายทหาร
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร (หน้า ๒๒๙๒)
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ (หน้า ๙๗๒)
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ (หน้า ๓๐๖๙)
- ↑ ประกาศกระทรวงกลาโหม เรื่อง แต่งตั้งกรรมการสภากรรมการทหารผ่านศึก
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งผู้ว่าราชการภาค
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร
- ↑ เรื่อง ตั้งกรรมการสภามหาวิทยาลัย
- ↑ เรื่อง กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ
- ↑ พระราชทานยศ (หน้า ๕๕๖)
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร (หน้า ๒๑๓)
- ↑ ประกาศกระทรวงกลาโหม เรื่อง พระราชทานยศทหาร (หน้า ๓๓๑๙)
- ↑ บัญชีรายนามผู้ได้รับพระราชทานเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ (ป. พัน ๒ หน้า ๒๒๕๓)
- ↑ "แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (หน้า ๒๙๕๑)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-05-28. สืบค้นเมื่อ 2020-01-28.
- ↑ แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
- ↑ แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (หน้า ๖๓๔๖)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๘๖ ตอนที่ ๑๑๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๙, ๒๖ ธันวาคม ๒๕๑๒