หลวงเจริญจรัมพร (เจริญ เจริญจรัมพร)

พลอากาศโท หลวงเจริญจรัมพร (21 ตุลาคม 2445 - 10 ธันวาคม 2506) อดีตนายทหารอากาศชาวไทย อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 อดีตกรรมการสภากรรมการทหารผ่านศึก อดีตรองเสนาธิการกลาโหม อดีตจเรทหารอากาศ อดีตผู้ว่าราชการภาค ๓ อดีตราชองครักษ์เวร อดีตราชองครักษ์พิเศษ

หลวงเจริญจรัมพร
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
เจริญ ไชยโกมล

21 ตุลาคม พ.ศ. 2445
ถนนเยาวราช จังหวัดพระนคร
เสียชีวิต10 ธันวาคม พ.ศ. 2506 (61 ปี)
จังหวัดพระนคร
คู่สมรสสมสวาท วัชรเสถียร
บุตร5 คน บุตรบุญธรรม 1 คน
บุพการี
  • ร้อยตรีนุช ไชยโกมล (บิดา)
  • แม้น ไชยโกมล (มารดา)
ศิษย์เก่าโรงเรียนนายร้อยทหารบก
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ ไทย
ยศ พลอากาศโท

ประวัติ แก้

พลอากาศโท หลวงเจริญจรัมพร เกิดเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2445 ที่ ถนนเยาวราช จังหวัดพระนคร (กรุงเทพมหานคร ในปัจจุบัน) เป็นบุตรชายของ ร้อยตรีนุช และ นางแม้น ไชยโกมล โดยมีชื่อเดิมว่า เจริญ ไชยโกมล ต่อมาเมื่อถวายบังคมลาออกจากบรรดาศักดิ์ก็ได้ใช้ราชทินนามมาเป็นนามสกุลจึงเปลี่ยนเป็น เจริญ เจริญจรัมพร ถึงแม้จะได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์กลับคืนในภายหลัง

ด้านชีวิตครอบครัวสมรสกับ คุณสมสวาท วัชรเสถียร มีบุตรธิดา 5 คนและบุตรสาวบุญธรรมอีก 1 คน

พลอากาศโท หลวงเจริญจรัมพร ออกจากประจำการเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2506[1] ก่อนจะถึงแก่อนิจกรรมด้วย โรคหัวใจ ที่บ้านพักเมื่อเวลา 22.45 น. ของวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2506 ขณะอายุได้ 61 ปี

รับราชการ แก้

  • 27 ธันวาคม พ.ศ. 2491 - จเรทหารอากาศ[2]
  • 1 มกราคม พ.ศ. 2495 - รองเสนาธิการกลาโหม[3]
  • 19 มีนาคม พ.ศ. 2496 - ผู้ว่าราชการภาค ๓[4]
  • 1 มิถุนายน พ.ศ. 2497 - พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการภาค ๓ เพื่อโอนกลับไปรับราชการทหารที่กระทรวงกลาโหม[5] โดยมี พลตรี แส น้อยเสรฐ มาดำรงตำแหน่งแทนเมื่อวันที่ 11 มิถุนายน ปีเดียวกัน[6]

ยศ แก้

  • 30 ธันวาคม พ.ศ. 2465 - ร้อยตรี [7]
  • พ.ศ. 2470 - ร้อยโท[8]
  • พ.ศ. 2474 - ร้อยเอก[9]
  • 1 เมษายน พ.ศ. 2479 - พันตรี ฝ่ายทหารอากาศ[10]
  • พ.ศ. 2479 - นาวาอากาศตรี[11]
  • พ.ศ. 2483 - นาวาอากาศโท[12]
  • 15 กันยายน พ.ศ. 2486 - นาวาอากาศเอก[13]
  • 1 มกราคม พ.ศ. 2492 - พลอากาศตรี[14]
  • 1 มกราคม พ.ศ. 2495 - พลอากาศโท[15]

บรรดาศักดิ์ แก้

  • 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2475 - หลวงเจริญจรัมพร ศักดินา ๘๐๐[16]

งานการเมือง แก้

วันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494 พลอากาศตรี หลวงเจริญจรัมพร (ยศในขณะนั้น) ได้รับแต่งตั้งให้เป็น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ประเภทที่ 2[17] ก่อนจะพ้นจากตำแหน่งเมื่อวันเสาร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500

หน้าที่พิเศษ แก้

  • พ.ศ. 2479 - ราชองครักษ์เวร[18]
  • พ.ศ. 2482 - ราชองครักษ์เวร[19]
  • 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2492 - ราชองครักษ์เวร[20]
  • 13 มีนาคม พ.ศ. 2493 - กรรมการสภากรรมการทหารผ่านศึก[21]
  • 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2495 - ราชองครักษ์พิเศษ[22]
  • 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2499 - กรรมาธิการการปกครอง สภาผู้แทนราษฎร[23]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารออกจากประจำการ
  2. ประกาศกระทรวงกลาโหม เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ (หน้า ๓๘)
  3. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ
  4. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งผู้ว่าราชการภาค
  5. ประกาศสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง ให้ข้าราชการพ้นจากตำแหน่ง
  6. ประกาศสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งผู้ว่าราชการภาค ๓
  7. พระราชทานยศทหารบก (หน้า ๒๘๐๔)
  8. พระราชทานยศทหารบก (หน้า ๔๑๘)
  9. พระราชทานยศทหารบก (หน้า ๓๒๓)
  10. พระราชทานยศทหารบก (หน้า ๓๖๓)
  11. ประกาศกระทรวงกลาโหม เรื่อง พระราชทานยศทหารอากาศ (หน้า ๒๕๕๒)
  12. ประกาศกระทรวงกลาโหม เรื่อง พระราชทานยศทหาร
  13. "พระราชทานยศทหาร (หน้า ๓๒๒๗)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-01-31. สืบค้นเมื่อ 2020-01-31.
  14. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร (หน้า ๑๑๙๖)
  15. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร
  16. พระราชทานบรรดาศักดิ์ (หน้า ๖๒๑)
  17. ประกาศ แต่งตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2
  18. แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ตั้งราชองครักษ์
  19. ตั้งราชองครักษ์
  20. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ตั้งราชองครักษ์เวร (หน้า ๖๓๗)
  21. ประกาศกระทรวงกลาโหม เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการสภากรรมการทหารผ่านศึก
  22. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ตั้งราชองครักษ์พิเศษ (หน้า ๒๒๙๕)
  23. ประกาศสภาผู้แทนราษฎร เรื่อง ตั้งกรรมาธิการสามัญ
  24. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2012-05-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๖ ตอนที่ ๑๑๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๘, ๑๖ ธันวาคม ๒๕๐๒
  25. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๔ ตอนที่ ๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๗, ๑๒ มกราคม ๒๕๐๐
  26. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๕๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๖๘๔, ๓ มิถุนายน ๒๔๘๔
  27. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๗๙ ตอนที่ ๘๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๙๑๓, ๘ กันยายน ๒๕๐๕
  28. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความ ผู้ที่ได้รับพระราชทานเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ, เล่ม ๕๒ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๕๔๖, ๑๑ สิงหาคม ๒๔๗๘
  29. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๗๓ ตอนที่ ๖๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๑๐ สิงหาคม ๒๔๙๙
  30. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๕๕ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๒๒๙, ๒๔ กันยายน ๒๔๘๑
  31. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๖๓ ตอนที่ ๒๔ ง หน้า ๕๙๖, ๒๓ เมษายน ๒๔๘๙
  32. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๗๒ ตอนที่ ๖๓ ง หน้า ๒๐๔๙, ๒๓ สิงหาคม ๒๔๙๘

บรรณานุกรม แก้