มหาสงครามจอกศักดิ์สิทธิ์

(เปลี่ยนทางจาก เฟท/สเตย์ไนท์)

มหาสงครามจอกศักดิ์สิทธิ์ หรือ เฟต/สเตย์ไนต์ (ญี่ปุ่น: フェイト/ステイナイトโรมาจิFeito/sutei naito ทับศัพท์จาก Fate/stay night) เป็นเอโรเกะ สร้างโดยไทป์-มูน วางจำหน่ายครั้งแรกในปี 2547 ต่อมา สตูดิโอดีน ได้นำไปทำเป็นภาพยนตร์การ์ตูนฉายทางโทรทัศน์ โดยมีเจเนออนเป็นผู้ถือลิขสิทธิ์ ออกอากาศครั้งแรกวันที่ 6 มกราคม 2549 ถึงวันที่ 16 มิถุนายน 2549 นอกจากนี้ในปี 2550 ไทป์-มูน ได้นำมหาสงครามจอกศักดิ์สิทธิ์มาสร้างใหม่สำหรับเครื่อง เพลย์สเตชัน 2 ภายใต้ชื่อ "เฟต/สเตย์ไนต์ [เรียลตา นัว]" โดยตัดเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมสำหรับผู้เยาว์ออกทั้งหมด เฟต/สเตย์ไนต์ ยังถูกดัดแปลงเป็นมังงะ ซึ่งในขณะนี้กำลังตีพิมพ์ลงในนิตยสารโชเน็นเอซ ฉบับรายเดือน ต่อมาได้มีการดัดแปลงเป็น ภาพยนตร์อนิเมะโดยสตูดิโอดีนอีกครั้ง ในปี 2553 ในชื่อว่า "เฟต/สเตย์ไนท์ อันลิมิเต็ด กาชาเวิร์ค" และมีอนิเมะจากเนื้อเรื่องก่อนหน้าภาคหลักในชื่อ เฟท ซีโร่ ในปี 2555 โดยยูโฟเทเบิล และเขียบทโดยอุโรโบจิ เกน ก่อนที่ในปี 2557 จะมีการนำมาทำเป็นอนิเมะแบบ 24 ตอน ด้วยฝีมือของยูโฟเทเบิล ในชื่อ"เฟต/สเตย์ไนท์ อันลิมิเต็ด เบลดเวิร์คส์" เช่นกัน และในปี 2560 ก็ได้มีการทำเป็นภาพยนตร์อนิเมะไตรภาคโดยยูโฟเทเบิล ในชื่อ "เฟต/สเตย์ไนท์ เฮฟเว่นส์ ฟีล:เพรสตีจ ฟลาวเวอร์","เฟต/สเตย์ไนท์ เฮฟเว่นส์ ฟีล:ลอสต์ บัตเตอร์ฟลาย" ในปี 2561 และ "เฟต/สเตย์ไนท์ เฮฟเว่นส์ ฟีล:สปริง ซอง" ในปี 2563

มหาสงครามจอกศักดิ์สิทธิ์
フェイト/ステイナイト
(Fēito/sutei naito)
ชื่อภาษาอังกฤษFate/stay night
แนวแอคชั่น, แฟนตาซี, ดราม่า, พลังพิเศษ,
ทริลเลอร์
เกม
ผู้พัฒนาไทป์-มูน
ผู้จัดจำหน่ายไทป์-มูน
แนวเอโรเกะ, วิชวลโนเวล
เอนจินKiriKiri
แพลตฟอร์มวินโดวส์, เพลย์สเตชัน 2, เพลย์สเตชันวิต้า
อนิเมะโทรทัศน์
กำกับโดยยูจิ ยามากุชิ
สตูดิโอญี่ปุ่น สตูดิโอดีน
เครือข่ายญี่ปุ่น ไซตะมะทีวี, จิบะทีวี
อาเซียน แอนิแมกซ์เอเชีย
ฉาย 6 มกราคม พ.ศ. 2548 16 มิถุนายน พ.ศ. 2548
ตอน24 (รายชื่อตอน)
มังงะ
เขียนโดยไทป์-มูน
สำนักพิมพ์ญี่ปุ่น คาโดคาว่า โชเทน
ไทย บงกช พับลิชชิ่ง[1]
นิตยสารญี่ปุ่นโชเน็งเอซ
กลุ่มเป้าหมายโชเน็ง
วางจำหน่ายตั้งแต่กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548ธันวาคม พ.ศ. 2555
จำนวนเล่มญี่ปุ่นไทย 20
โอวีเอ
Fate/Prototype
กำกับโดยเชอิจิ คิชิ
อำนวยการโดยยูจิ ฮิกะ
เขียนบทโดยมาโคโตะ อูยชู
ดนตรีโดยยาสึฮารุ ทากานาชิ
สตูดิโอLerche
ฉาย31 ธันวาคม พ.ศ. 2554
ความยาว12 นาที
อนิเมะโทรทัศน์
เวทศาสตรา มหาสงคราม
กำกับโดยทากาฮิโร่ มิอุระ
เขียนบทโดยคิโนโกะ นัตสึ
ดนตรีโดยฮิเดยูกิ ฟูกะชาวะ
สตูดิโอยูโฟเทเบิล
เครือข่ายTokyo MX, GTV, GYT, BS11
ฉาย 4 ตุลาคม พ.ศ. 2557 27 มิถุนายน พ.ศ. 2558
ตอน26
โอวีเอ
เวทศาสตรา มหาสงคราม - ซันนีเดย์
สตูดิโอยูโฟเทเบิล
ฉาย7 ตุลาคม พ.ศ. 2558
ความยาว10 นาที
ภาพยนตร์อนิเมะ
กำกับโดยยูจิ ยามากุชิ
เขียนบทโดยซาโต้ ทาคุยะ
สตูดิโอญี่ปุ่น สตูดิโอดีน
ฉาย23 มกราคม พ.ศ. 2553

เรื่องย่อ(บทนำ)

แก้

เฟต/สเตย์ไนต์ เป็นเรื่องราวที่กล่าวถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงชีวิตของ เอมิยะ ชิโร่ นักเรียนช่างประจำวิทยาลัยโฮมุระบาระ ในเมืองฟุยูกิ สิบปีก่อนเขาได้ตกอยู่ท่ามกลางกองเพลิงขนาดมหึมาที่เผาผลาญเมืองและพรากครอบครัวอันเป็นที่รักของเขาไป ในขณะที่เขาอยู่กึ่งกลางระหว่างความเป็นความตาย ได้มีบุรุษลึกลับคนหนึ่งมาช่วยเขาไว้ เขาคือ เอมิยะ คิริซึงุ ซึ่งต่อมาเขาก็รับชิโร่มาเป็นบุตรบุญธรรม และอาศัยอยู่ที่บ้านคิริซึงุในเมืองฟุยูกิอย่างสงบสุข คืนหนึ่ง ในระหว่างที่พวกเขากำลังพูดคุยกันถึงเรื่องต่างๆ คิริซึงุก็ได้เปิดเผยความลับบางอย่างให้กับลูกชายของเขาว่า

"พ่อมีความลับอย่างนึงที่ไม่เคยบอกลูกเลย -พ่อเป็นจอมเวทย์"

นอกจากที่จะได้รู้ความลับเรื่องนี้แล้ว เขายังได้รู้ถึงความเป็นมาต่างๆ ของพ่อบุญธรรมของเขาคนนี้ และยังได้ทราบถึงชีวิตอันล้มเหลวในอุดมการณ์ในการดำเนินชีวิตในเส้นทางของ "ผู้ผดุงคุณธรรม" (ญี่ปุ่น: 正義の味方โรมาจิSeigi no Mikata) หรือผู้ที่คอยปกป้องผู้บริสุทธิ์และผู้ที่อ่อนแอกว่า อย่างไร้ซึ่งการตอบแทน ชิโร่จึงขอให้คิริซึงุสอนเชิงเวท (ญี่ปุ่น: 魔術โรมาจิMajutsu) ให้กับเขาบ้าง อย่างไรก็ตาม ชิโร่ผู้ซึ่งไม่มีประสบการณ์ในการใช้เวทมนตร์มาก่อน ย่อมทำให้เขาใช้เวทมนตร์ทั่วไปไม่ได้ คิริซึงุจึงได้เตือนเขาว่าเส้นทางแห่งการเป็นจอมเวทนั้นจะนำพาหายนะมาสู่ตัวเขาเอง แต่เพราะว่าชิโร่ต้องการที่จะช่วยเหลือผู้บริสุทธิ์ เขาจึงได้สอนเวทเสริมความแข็งแกร่งให้กับวัตถุไว้ในขั้นพื้นฐานเท่านั้น หลังจากที่คิริซึงุเสียชีวิต ชิโร่ก็ต้องพบกับทางตัน คือเขาไม่สามารถพัฒนาเชิงเวทของเขาได้เลยตามที่เขาหวังไว้ว่าเขาจะทำได้เพื่อที่จะนำไปใช้ช่วยเหลือผู้อื่นเหมือนกับที่พ่อของเขาทำ

สิ่งหนึ่งที่ชิโร่ไม่เคยรู้มาก่อนเลยคือเมืองฟุยูกิที่เขาอาศัยอยู่นั้นได้ถูกจัดเตรียมไว้เพื่อเป็นสนามรบระหว่างจอมเวททั้งเจ็ดอย่างลับๆ ซึ่งจอมเวททั้งเจ็ดคนที่เข้ามาร่วมจะต้องเสี่ยงชีวิตเพื่อแย่งชิงจอกศักดิ์สิทธิ์ ที่สามารถประทานทุกสิ่งทุกอย่างที่ต้องการได้ ซึ่งสงครามจะเริ่มต้นทุกๆ 50 ปี อย่างครั้งล่าสุดคือสงครามจอกศักดิ์สิทธิ์ครั้งที่ 4 เมื่อ 16 ปีก่อนก็ได้เป็นชนวนทำให้เกิดสงครามจอกศักดิ์สิทธิ์ครั้งที่ 5 ขึ้นมาอีกภายในเวลา 10 ปีโดยหาสาเหตุไม่ได้ จอมเวทที่เข้าร่วมสงครามทุกคนนั้นจะถูกขนานนามว่า "มาสเตอร์" ผู้ซึ่งควบคุมวิญญานที่อยู่ในฐานะ "ข้ารับใช้" เพื่อใช้ในการต่อสู้ในสงคราม ซึ่งวิญญานเหล่านั้นคือวิญญานของเหล่าวีรชนในแต่ละยุคสมัยของโลก ซึ่งเป็นที่แน่นอนว่าวิญญานของวีรชน (ญี่ปุ่น: 英霊โรมาจิEirei) แต่ละคนนั้นย่อมมีความสามารถพิเศษเฉพาะตัว หรือที่เรียกว่า "โนเบิล แฟตาซึ่ม" (ญี่ปุ่น: 宝具โรมาจิHogu) ซึ่งมันจะเป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงตัวตนที่แท้จริงของข้ารับใช้แต่ละคนนั้นด้วย และมันจะทำให้คู่ต่อสู้ทราบถึงจุดอ่อนของข้ารับใช้คนนั้นๆ ทันที การอัญเชิญข้ารับใช้ของมาสเตอร์แต่ละคนนั้นจะมีแตกต่างกันไป ซึ่งบางกรณีจะเกี่ยวข้องกับสื่อที่ใช้อัญเชิญ และความคิดความต้องการของมาสเตอร์ ซึ่งถ้าหากมาสเตอร์คนไหนมีความคิดเดียวกันกับวีรชนคนใด วีรชนคนนั้นก็จะมาเป็นข้ารับใช้ให้กับมาสเตอร์คนนั้นๆ ซึ่งในแต่ละครั้งของสงครามจอกศักดิ์สิทธิ์ ข้ารับใช้จะถูกอัญเชิญออกมาจาก 1 ใน 7 ประเภทคือ เซเบอร์, อาเชอร์ , แลนเซอร์, เบอเซิร์กเกอร์, ไรเดอร์, แอสซาซิน และ แคสเตอร์

ข้ารับใช้ต้องอาศัยมานา (ญี่ปุ่น: 魔力โรมาจิMaryoku) จากมาสเตอร์เพื่อการคงสภาพอยู่บนโลก ส่วนมาสเตอร์เองก็ต้องการกำลังการต่อสู้จากข้ารับใช้และด้วยเหตุผลที่ว่าจอกศักดิ์สิทธิ์เป็นสิ่งที่มนุษย์ไม่สามารถจับต้องได้ เว้นแต่ข้ารับใช้เท่านั้นที่สามารถสัมผัสจอกได้ และจอกศักดิ์สิทธิ์จะปรากฏออกมาได้ ก็ต้องอาศัยการอัญเชิญจากมาสเตอร์ด้วยเช่นกัน จึงทำให้ข้ารับใช้และมาสเตอร์ต้องร่วมมือกันต่อสู้กับมาสเตอร์และข้ารับใช้คนอื่นๆ ซึ่งถ้าหากข้ารับใช้เกิดการขัดขืนต่อมาสเตอร์ มาสเตอร์จะมี "คำสั่งมนตรา" (ญี่ปุ่น: 令呪โรมาจิReiju) ไว้คอยควบคุมข้ารับใช้ ให้ทำในสิ่งที่มาสเตอร์ต้องการทุกอย่าง ซึ่งจะมีลักษณะเป็นลวดลายต่างๆ อยู่บนข้อมือของมาสเตอร์ทุกคน เว้นเสียแต่บางในกรณีของมาสเตอร์บางคนที่ไม่มีลายมนตราบนข้อมือ แต่จะมีอยู่บนสื่ออัญเชิญข้ารับใช้แทน นอกจากจะเอาไว้คอยควบคุมข้ารับใช้แล้ว มันยังเป็นสิ่งที่ยืนยันถึงการที่จะมีสิทธิในการครอบครองจอกศักดิ์สิทธิ์ด้วย หากมาสเตอร์คนใดสูญเสียข้ารับใช้ไปแล้ว สามารถที่จะทำสัญญากับข้ารับใช้ตนใหม่หากลายมนตรายังไม่ถูกใช้จนหมดไปหรือถูกทำลายลง ซึ่งถ้าหากไม่มีลายมนตราเหลืออยู่แล้ว มาสเตอร์ที่ไร้ลายมนตราสามารถไปขอรับการคุ้มครองจากผู้คุมกฎที่โบสถ์ประจำเมืองได้

เย็นวันหนึ่ง หลังจากที่ชิโร่ทำความสะอาดโรงฝึกยิงธนูของโรงเรียนเรียบร้อยแล้ว เขาก็ได้พบเห็นการต่อสู้ระหว่างข้ารับใช้สายอาเชอร์และแลนเซอร์อย่างบังเอิญ แลนเซอร์จึงทำการฆ่าปิดปากเขาเพื่อไม่ให้ความลับเรื่องสงครามจอกศักดิ์สิทธิ์รั่วไหลไปสู่คนทั่วไป ต่อมามาสเตอร์ของอาเชอร์ โทซากะ ริน ได้ช่วยเหลือเขาไว้โดยการใช้อัญมณีชุบชีวิตเขาขึ้นมา เมื่อชิโร่ตื่นขึ้นมาอีกทีก็พบว่าตัวเองรอดตายมาได้และนอนสลบอยู่ในโรงเรียน เขาจึงรีบเดินทางกลับบ้าน แต่แล้วก็ถูกแลนเซอร์ที่รู้ว่าเขายังไม่ตายมาไล่เอาชีวิตอีกครั้ง ชิโร่ซึ่งไม่มีพละกำลังพอที่จะต่อกรกับข้ารับใช้ซึ่งเป็นวีรชนในตำนานได้เลย จึงทำได้แต่ป้องกันตัวและหลบหนีเขาไปหลบในห้องเก็บของในสวนบ้านเขา ทันใดนั้นก็มีลายมนตราปรากฏขึ้นที่มือเขาในขณะที่เขากำลังหลบหนีไปซ่อนตัวในห้องเก็บของ สถานการณ์เลวร้ายลงทุกทีเมื่อแลนเซอร์หาเขาพบและจะสังหารเขาอีกครั้ง ทันใดนั้นได้มีหญิงสาวในชุดเกราะสีเงินปรากฏตัวออกมาซัดแลนเซอร์กระเด็นออกไป และหันมาถามชิโร่ว่า...

"ท่านคือมาสเตอร์ของข้าใช่หรือไม่?"

การพัฒนา

แก้

สื่อ

แก้

ด้วยความนิยมอย่างล้นหลามของแฟนๆ ช่วยผลักดันให้ เฟท/สเตย์ไนต์ ได้พัฒนาออกมาเป็นรูปแบบต่างๆ ที่มากกว่าการเป็นวิดีโอเกม เช่นได้เป็นอนิเมะ และมังงะ อย่างเป็นทางการ และแฟนๆ ยังนำไปเขียนเป็นโดจิน และโดจินซอฟต์ (เช่น เฟทัล/เฟค) ที่เป็นเกมต่อสู้โดยการนำตัวละครใน เฟท/สเตย์ไนต์ และสถานที่ต่างๆ ในเรื่องมารวมไว้ในเกม

วิดีโอเกม

แก้

แรกเริ่มเดิมที เฟท/สเตย์ไนต์ เป็นเกม วิชช่วล โนเวล ที่สร้างโดย ไทป์-มูน และวางจำหน่ายที่ญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2546 ซึ่งเป็นผลงานชิ้นแรกของกลุ่มนี้หลังจากที่ได้เลื่อนระดับขั้นจากกลุ่มเซอร์เคิลมาเป็นบริษัทขนาดย่อม ต่อมา เฟท/สเตย์ไนต์ ก็ได้พัฒนามาจนกระทั่งมีเวอร์ชันสำหรับทุกเพศทุกวัย ซึ่งนั่นก็คือ เฟท/สเตย์ไนต์ ~เรียลต้า นัวร์~ สำหรับเครื่องเล่น เพลย์สเตชัน 2 และ เพลย์สเตชัน พอร์เทเบิล ในวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2550

เนื้อเรื่อง

แก้

Fate, Unlimited Blade Works และ Heaven's Feel คือเนื้อเรื่องย่อยทั้ง 3 ที่เราจะพบในเกม ซึ่งในตัวเกมจะบังคับให้ผู้เล่นต้องเล่นแต่ละเนื้อเรื่องไปตามลำดับและมีนางเอกในแต่ละเนื้อเรื่องต่างกันออกไป

ในเนื้อเรื่องย่อยนี้จะมีเซเบอร์เป็นตัวละครหลัก โดยจะกล่าวถึงความฝันของชิโร่ในการเป็นผู้ผดุงคุณธรรมและความปรารถนาของเซเบอร์ในการกอบกู้ประเทศของเธอ เนื้อเรื่องในส่วนนี้ถูกนำไปทำเป็นอนิเมะโดยสตูดิโอดีน

Unlimited Bladeworks
แก้

ในเนื้อเรื่องย่อยนี้จะมีโทซากะ ริน เป็นตัวละครหลัก โดยจะเน้นไปถึงการฝ่าฟันอุปสรรคของชิโร่ในการเป็นผู้ผดุงคุณธรรมและอดีตของอาร์เชอร์ที่ต้องการจะแก้ไขให้สำเร็จ เนื้อเรื่องในส่วนนี้มีการทำเป็นภาพยนตร์อนิเมะโดยดีน และอนิเมะซีรีส์โดยยูโฟเทเบิล

Heaven's Feel
แก้

ในเนื้อเรื่องย่อยนี้จะมีมาโต้ ซากุระ เป็นตัวละครหลัก โดยจะกล่าวถึงความขัดแย้งระหว่างความฝันของชิโร่กับความเป็นจริง และอดีตอันโหดร้ายที่ซากุระต้องเผชิญ รวมถึงจุดประสงค์ที่แท้จริงในการจัดสงครามจอกศักดิ์สิทธิ์ขึ้นมา เนื้อเรื่องในส่วนนี้ถูกทำเป็นภาพยนตรือนิเมะไตรภาคโดยยูโฟเทเบิล โดยเจตนาของผู้สร้างเกมนั้น ถือว่าเนื้อเรื่องย่อยนี้คือฉากจบที่แท้จริงของตัวเกม

เนื้อเรื่องอื่น

แก้

เมื่อ 28 ตุลาคม 2548 ไทป์-มูนได้ปล่อยไซด์ สตอรี่ของ เฟท/สเตย์ไนต์ ออกมา ภายใต้ชื่อว่า เฟท/ฮอลโลว์ อทาราเซีย ซึ่งเป็นแฟนดิกส์ที่จะมีไซด์สตอรี่ของ เฟท/สเตย์ไนต์ ซึ่งจะกล่าวถึงเนื้อเรื่องเพียงแค่ครึ่งปีหลังจากเหตุการณ์ใน เฟท/สเตย์ไนต์ และมีตัวละครเพิ่มมาไม่ว่าจะเป็นอเวนเจอร์, บาเซตต์ ฟราก้า แม็กเรมินซ์ และ คาเรน ออร์เทนเซีย พร้อมทั้งการกลับมาของตัวละครเดิมเช่น เอมิยะ ชิโร่ และ โทซากะ ริน

เมื่อ 22 พฤศจิกายน 2549 ไทป์-มูน ได้ประกาศที่จะวางจำหน่ายนิยายในซีรีส์เฟทเรื่องใหม่ ภายใต้ชื่อว่า เฟท/ซีโร่ ซึ่งเป็นเรื่องราวก่อนเหตุการณ์ใน เฟท/สเตย์ไนต์ โดยจะมุ่งไปที่สงครามจอกศักดิ์สิทธิ์ครั้งที่ 4 เล่มแรกวางจำหน่ายในวันที่ 12 ธันวาคม 2549 ซึ่งเกิดจากการร่วมมือกันระหว่าง ไทป์-มูน และ ไนโตรพลัส

ผลงานแปลจากผู้ติดตาม

แก้

ต้นฉบับของ "เฟท/สเตย์ไนต์" ได้ถูกนำมาแปลเป็นภาษาอังกฤษโดยกลุ่มแฟนผลงานที่ใช้ชื่อว่า Miror Moon ส่วนเวอร์ชันทดลองของ "เฟท/สเตย์ไนต์" นั้นได้กลุ่มแฟนอีกกลุ่มหนึ่งมาแปล นั่นคือกลุ่ม insani นั่นเอง และในรูปแบบอนิเมะก็ยังได้รับการแปลเป็นแฟนซับโดยกลุ่มแฟนๆ จากทั่วสารทิศ ไม่ว่าจะเป็น อังกฤษ, เกาหลี, จีน, สเปน, ฮีบรู, ฝรั่งเศส, สโลวีเนีย, เยอรมัน, อิตาเลียน, โปรตุเกส หรือแม้แต่ ไทย

มังงะ

แก้

เฟท/สเตย์ไนต์ ในรูปแบบมังงะ ภาพโดย ดัดโตะ นิชิวาคิ ตีพิมพ์ลงในนิตยสาร โชเน็น เอซ ภายใต้ลิขสิทธิ์สำนักพิมพ์คาโดคาว่า โชเท็น เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2548 ซึ่งเนื้อหาจะเน้นนำเสนอโดยอ้างอิงจากในเกมเป็นหลัก และยังเน้นหนักไปที่บท อันลิมิเตด เบลด เวิร์คส ให้เด่นชัดขึ้นกว่าฉบับอนิเมะอีกด้วย พร้อมทั้งยังเสริมเนื้อหาให้สัมพันธํเข้ากับ เฟท/ฮอลโลว์ อทาราเซีย และ เฟท/ซีโร่ อีกด้วย

แอนิเมชัน

แก้

เฟท/สเตย์ไนต์ ในรูปแบบอนิเมะ ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2549 และสิ้นสุดเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2549 ความยาวทั้งหมด 24 ตอนโดย Studio DEEN ภายใต้ชื่อว่า Fate Project ด้วยความร่วมมือของ Geneon Entertainment, TBS,CREi,ไทป์-มูน และ Frontier Works Inc. ต่อมาก็ได้ออกอากาศอย่างเป็นสากลในช่อง อะนิแม็กซ์ ในปี 2550 อีกทั้งยังมีฉบับภาษาอังกฤษ เพื่อออกอากาศในเขต เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในเดือน เมษายน ปี พ.ศ. 2550 พร้อมทั้งยังมีการเผยแพร่ลิขสิทธิ์ไปยัง อเมริกาเหนือ อีกด้วย ซึ่งเนื้อหาในอนิเมะนั้นจะเน้นหนักไปในเนื้อหาของเกม ในส่วนของบทเฟท มีการเสริมเนื้อหาในส่วนของ อันลิมิเต็ด เบลด เวิร์คส และ เฮฟเว่นส ฟีล อีกด้วย แต่จะไม่เพิ่มเติมเนื้อหาในส่วนของ เฟท/ฮอลโลว์ อทาราเซีย เลยแม้แต่นิดเดียว ซึ่งในฉบับอนิเมะนี้ ก็ได้คุณ คาวาอิ เคนจิ ซึ่งเป็นผู้แต่งเพลงในซีรีส์ของเฟท ในต้นฉบับของเกม มาเป็นผู้แต่งเพลงให้ในฉบับอนิเมะด้วย ซึ่งจะเห็นได้จากการนำซาวนด์แทร็กในเกม มารีมิกซ์ใหม่เพื่อใช้ในฉบับอนิเมะโดยเฉพาะ อย่างเช่นเพลง "Yakusoku Sareta Shouri No Tsurugi"(約束されたの剣), "Emiya" และ "This Illusion" ซึ่งต่อมาได้ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น "disillusion" เพื่อใช้เป็นเพลงเปิดสำหรับฉบับอนิเมะ

เพลงประกอบ

แก้
เวอร์ชันเกม
ชื่อเพลง เรียบเรียง, ดนตรี เนื้อร้อง นักร้อง ประเภท
"THIS ILLUSION" NUMBER201 เคย์ตะ ฮากะ M.H. เพลงเปิด
"days" NUMBER201 เคย์ตะ ฮากะ CHINO เพลงปิด
"Ougon no Kagayaki"' (ญี่ปุ่น: 黄金の輝きโรมาจิ"Ougon no kagayaki"ทับศัพท์: lit.ประกายทอง) NUMBER201 เคย์ตะ ฮากะ MAKI เพลงเปิด (เรียลตา นัวร์)
เวอร์ชันอนิเมะ
ชื่อเพลง ทำนอง เรียบเรียง เนื้อร้อง นักร้อง วันวางจำหน่ายซิงเกิล ประเภท
"Disillusion"
(ตอนที่ 1-14)[2]
NUMBER201 คาวาอิ เคนจิ เคย์ตะ ฮากะ ซาจิ ทาอินากะ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 เพลงเปิด
(ญี่ปุ่น: "คิราเมคุ นามิดะ วะ โฮชิ นิ"โรมาจิきらめく涙は星に
lit. หยาดน้ำตาส่องประกายกลายเป็นดวงดาว)
(ตอนที่ 15-23)[3]
KATE โทโมจิ โซกาวะ, NUMBER201 เคย์ตะ ฮากะ ซาจิ ทาอินากะ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 เพลงเปิด
(ญี่ปุ่น: "Anata ga Ita Mori"โรมาจิあなたがいた森
lit. พงไพรที่มีเธอ)
(ตอนที่ 1-13,15-23)[4]
จูไค 15 มีนาคม พ.ศ. 2549 เพลงปิด
(ญี่ปุ่น: "Hikari"โรมาจิヒカリ; lit. แสงสว่าง)
(ตอนที่ 14)[5]
จูไค 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 เพลงปิด
(ญี่ปุ่น: "คิมิ โตะ โนะ อาสุ"โรมาจิ君との明日ทับศัพท์: lit. พรุ่งนี้ที่มีเธอ)
(ตอนที่ 24)[6]
ซาจิ ทาอินากะ ทาคาฮิโระ ทาเนโกะ ซาจิ ทาอินากะ ซาจิ ทาอินากะ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 เพลงปิด

นอกจากนั้นอัลบั้มซาวนด์แทร็ค Avalon - Fate/Stay Night ยังได้รับการเรียบเรียงใหม่โดย WAVE และ K.JUNO โดยเรียบเรียงเพลง "This Illusion" ให้เป็นภาษาอังกฤษ พร้อมทั้งมี 2 เวอร์ชัน คือ "Illusion/Vision" และ "Illusion/Fate" อีกด้วย

การตอบรับ

แก้

เฟต/สเตย์ไนต์ เป็นวิชชวล โนเวล ที่มียอดจำหน่ายสูงที่สุดในปี 2547[7] นอกจากนี้ เฟต/ฮอลโลว์ อทาราเซีย "แฟนดิสก์" ซึ่งเป็นภาคต่อของเฟต/สเตย์ไนต์ ยังเป็นวิชชวล โนเวล ที่มียอดจำหน่ายเป็นอันดับที่สองของปี 2548[8]

ในปี 2549 เจเนออนและสตูดิโอดีนได้นำ เฟต/สเตย์ไนต์ มาดัดแปลงเนื้อหาและสร้างเป็นภาพยนตร์การ์ตูนความยาว 24 ตอน ในปีเดียวกัน ไทป์-มูน ยังได้ประกาศจะวางแผง เฟต/สเตย์ไนต์ สำหรับเครื่องเพลย์สเตชัน 2 ภายใต้ชื่อ "เฟต/สเตย์ไนต์ [เรียลตา นัว]" ในครึ่งปีหลัง แต่เลื่อนมาจำหน่ายในปี 2550 แทน ไทป์-มูน ยังได้ร่วมมือกับไนโตรพลัสเขียนนวนิยายเรื่อง เฟต/ซีโร่ เล่าเรื่องสงครามจอกศักดิ์สิทธิ์ครั้งที่เกิดขึ้นก่อนสงครามใน เฟต/สเตย์ไนต์ นอกจากนี้ เมื่อต้นปี 2550 เจเนออนยังได้จัดรายการวิทยุ "เฟต/สเตย์ ทูน" โดยมี คานะ อุเอดะ และ อายาโกะ คาวาสุมิ นักพากย์ผู้รับบทเป็นตัวละครเอกในการ์ตูนโทรทัศน์ เป็นพิธีกรอีกด้วย

อ้างอิง

แก้
  1. "การประกาศลิขสิทธิ์ในการตีพิมพ์ฉบับภาษาไทย ของบริษัท บงกช พับลิชชิ่ง จำกัด". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-26. สืบค้นเมื่อ 2007-08-02.
  2. "รายละเอียดแผ่นซิงเกิล disillusion โดย Amazon.cp.jp" (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2006-11-30.
  3. "รายละเอียดแผ่นซิงเกิล "Kirameku Namida wa Hoshi ni" โดย Amazon.cp.jp" (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2006-11-30.
  4. "รายละเอียดแผ่นซิงเกิล "Anata ga Ita Mori" โดย Amazon.cp.jp" (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2006-11-30.
  5. "รายละเอียดแผ่นซิงเกิล "Anata ga Ita Mori" โดย Amazon.cp.jp" (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2006-11-30.
  6. "รายละเอียดแผ่นซิงเกิล "Kimi to no Ashita" โดย Amazon.cp.jp" (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2007-02-16.
  7. "ลำดับยอดจำหน่ายวิชชวล โนเวล ในปี 2547 ของ Getchu.com". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-20. สืบค้นเมื่อ 2006-11-30.
  8. "ลำดับยอดจำหน่ายวิชชวล โนเวล ในปี 2548 ของ Getchu.com". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-10-03. สืบค้นเมื่อ 2006-11-30.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้