เชียงรุ่ง

นครในสิบสองปันนา มณฑลยูนนาน ประเทศจีน
(เปลี่ยนทางจาก เชียงรุ้ง)

เชียงรุ่ง หรือในภาษาจีนทับศัพท์เป็น จิ่งหง หรือออกเสียงในภาษาไทลื้อว่า เจงฮุ่ง (พม่า: ကျိုင်းဟုံ; จีน: ; พินอิน: Jǐnghóng; ไทลื้อ: ᨩ᩠ᨿᨦᩁᩩ᩵ᨦ; ไทยถิ่นเหนือ: ᨩ᩠ᨿᨦᩁᩩ᩵ᨦ; ลาว: ຊຽງຮຸ່ງ) เป็นนครระดับอำเภอ และเมืองหลวงของจังหวัดปกครองตนเองชนชาติไท สิบสองปันนา มณฑลยูนนาน ตอนใต้ของประเทศจีน มีชายแดนทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ติดกับประเทศพม่า และทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ติดกับประเทศลาว

เชียงรุ่ง

景洪市 · ကျိုင်းဟုံ · ᦋᦵᧂᦣᦳᧂᧈ

ຊຽງຮຸ່ງ
ภาพมุมสูงเมืองเชียงรุ่ง
ภาพมุมสูงเมืองเชียงรุ่ง
ที่ตั้งของเมืองเชียงรุ่ง (สีชมพู) ภายในจังหวัดสิบสองปันนา (สีเหลือง) มณฑลยูนนาน
ที่ตั้งของเมืองเชียงรุ่ง (สีชมพู) ภายในจังหวัดสิบสองปันนา (สีเหลือง) มณฑลยูนนาน
พิกัด: 22°00′32″N 100°47′49″E / 22.009°N 100.797°E / 22.009; 100.797
ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน
มณฑลยูนนาน
จังหวัดสิบสองปันนา
GB/T 2260 CODE[1]532801
พื้นที่
 • นครระดับอำเภอ7,133 ตร.กม. (2,754 ตร.ไมล์)
ความสูง558 เมตร (1,831 ฟุต)
ประชากร
 (ค.ศ. 2010)[2]
 • นครระดับอำเภอ519,935 คน
 • ความหนาแน่น73 คน/ตร.กม. (190 คน/ตร.ไมล์)
 • เขตเมือง205,000 คน
เขตเวลาUTC+8 (มาตรฐานจีน)
รหัสไปรษณีย์666100[3]
รหัสพื้นที่0691[3]
ภูมิอากาศAw
เว็บไซต์www.jhs.gov.cn
1สำนักงานสถิติมณฑลยูนนาน [1]
2Xishuangbanna Gov. [2]
3Yunnan Portal [3]

ที่มาของชื่อ

แก้

ที่มาชื่อนั้น มีตำนาน "พะเจ่าเหลบโหลก" (พระเจ้าเลียบโลก)[4] อยู่ว่า เมื่อครั้งองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จเหินฟ้าเลียบโลกมาโปรดสัตว์ถึงยังดินแดนริมฝั่งแม่น้ำของ (ภาษาไทลื้อ เรียกว่า น้ำของ ภาษาจีน เรียก หลานชาง คำว่าน้ำโขงจึงไม่มีในภาษาไทลื้อ) ในอาณาจักรของชาวไทลื้อแห่งนี้ ก็เป็นเวลารุ่งอรุณของวันใหม่พอดี จึงเรียกแห่งนี้ว่า "เชียง" ที่แปลว่า "เมือง" และ "รุ่ง" ที่แปลว่า "รุ่งอรุณ" ว่า "เชียงรุ่ง" จึงแปลได้ว่าเมืองแห่งรุ่งอรุณอันสดใส[5]

เชียงรุ่ง หากเทียบภาษา และสำเนียงไทลื้อแล้ว จะออกเสียงว่า "เจงฮุ่ง" ซึ่งหมายถึง เมืองแห่งรุ่งอรุณ คำว่า "เชียงรุ่ง" นั้นเป็นการเลียนในภาษาของชาวบางกอกเสียง ฮ จะเปลี่ยนเป็น ร เช่นคำว่า เฮา ในภาษาเหนือกลายมาเป็น เรา ในสำเนียงชาวบางกอก ภาษาเมื่อเทียบภาษาของชาวไทลื้อ เทียบสำเนียงภาษาไทลื้อแล้ว จะได้ความหมายดังนี้

  • ฮุง แปลว่า ตะไคร่น้ำ (หากฮุง) มีลักษณะสีเหลือง อาศัยอยู่บริเวณที่เป็นตาน้ำ หรือบ่อน้ำตามริมห้วย
  • ฮุ่ง แปลว่า เวลารุ่งเช้า (ยามค่ำคืนฮุ่ง) สว่าง แจ้ง (น.) ต้นละหุ่ง ผลของลูกละหุ่ง หรือ
  • ฮุ้ง แปลว่า นกชนิดหนึ่ง เป็นประเภทเดียวกับเหยี่ยว (ส่วนรุ้ง หรือ สายรุ้ง ที่เกิดบนฟ้านั้นชาวลื้อเรียกว่าแมงอี่ฮุม)
  • ภาษาไทลื้อไม่มีคำว่ารุ้ง การเรียกชื่อเมืองเชียงรุ้ง นั้นจึงไม่ถูกต้อง เพราะภาษาไทลื้อ ออกเสียงว่า เจงฮุ่ง (เดิม อาจออกเสียงว่า เจียงฮุ่ง แต่ปัจจุบัน (พ.ศ. 2552) อาจได้รับอิทธิพลจากการออกเสียงในภาษาจีนกลาง) เมื่อเทียบกับภาษาเขียนแล้วเชียงรุ่งในอักษรลื้อ ใช้ตัว ร แต่อ่านออกเสียงตัว ฮ ซึ่งการเรียกชื่อเมืองเชียงรุ่งในศัพท์ภาษาไทยนั้นจึงถูกต้องที่สุด[6][7]

อีกหนึ่งความเห็น เชื่อว่า "เชียงรุ่ง" ได้ชื่อมาจาก ตำนาน เรื่อง ท้าวฮุ่ง ท้าวเจือง ซึ่งขยายอำนาจจากเมืองพะเยาไปเมืองเงินยางเชียงแสน (อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย) จนถึงตอนใต้ของยูนนานที่สิบสองพันนา (จึงมีชื่อเมืองว่าเชียงรุ่ง หรือเจียงฮุ่ง จาก นามท้าวฮุ่ง)[8]

ภูมิศาสตร์

แก้
 
แม่น้ำโขงช่วงที่ไหลผ่านเชียงรุ่ง

เมืองเชียงรุ่งตั้งอยู่ละหว่างละติจูด 21°27' ถึง 22°36' เหนือ และลองจิจูด 100°25' ถึง 101°31' ตะวันออก ติดต่อกับเมืองผูเอ่อร์ทางทิศเหนือ อำเภอเมืองล้าทางทิศตะวันออก และอำเภอเมืองฮายทางทิศตะวันตก รวมทั้งติดต่อกับรัฐฉานของประเทศพม่าทางทิศใต้ มีเทือกเขาเหิงต้วน (เหิงตฺวั้น) กั้นทางทิศใต้ของเมือง และมีแม่น้ำโขง (ในประเทศจีนเรียกแม่น้ำหลานชาง) ไหลผ่านเมืองไปทางตะวันออกเฉียงใต้ไปยังประเทศลาวและประเทศพม่า

สภาพอากาศตอนบนเป็นเขตอบอุ่นและตอนล่างเป็นเขตอุ่นชื้น มีความชื้นมากในฤดูมรสุม และแห้งมากในฤดูหนาว ชั่วโมงแดดต่อปีก็คือ 1,800–2,300 ชั่งโมง อุณหภูมิเฉลี่ย 18.6 °C – 21.9 °C และ ปริมาณฝนเฉลี่ย 1,200–1,700 มิลลิเมตร/ปี[9]

ประชากร

แก้

เมืองเชียงรุ่งนั้น มีประชากรเป็นชาวไทลื้อเป็นหลัก โดยประชากรชนเผ่าต่าง ๆ รวมทั้งชาวจีนฮั่นและที่ไม่ใช่ชาวไท ผลสำรวจเมื่อปี พ.ศ. 2545 เชียงรุ่งมีประชากร 249,721 คน หรือประมาณร้อยละ 67.27 ของทั้งหมด ส่วนชาวไทนั้นมีร้อยละ 35 ของทั้งหมด มีชาวฮั่น 121,511 คน และ ร้อยละ 32.73 ของทั้งหมด[10]

การขนส่ง

แก้
 
ถนนสายหนึ่งที่มีต้นปาล์มจำนวนมากในเมืองเชียงรุ่ง
 
ท่าอากาศยานสิบสองพันนา กาดทราย
ลำดับเวลา
  • พ.ศ. 2497 (ค.ศ. 1954) เปิดถนนเชื่อมระหว่างคุนหมิง–เชียงรุ่ง
  • พ.ศ. 2508 (ค.ศ. 1965) เปิดใช้สะพานข้ามแม่น้ำโขง
  • พ.ศ. 2533 (ค.ศ. 1990) เปิดทำการสนามบินสิบสองปันนา ใช้เวลาเพียง 45 นาทีในการเดินทางระหว่างคุนหมิงกับเชียงรุ่ง

อ้างอิง

แก้
  1. "中华人民共和国国家统计局 >> 行政区划代码". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-21. สืบค้นเมื่อ 2009-01-29.
  2. "According to 2010 China National Census". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-25. สืบค้นเมื่อ 2018-12-14.
  3. 3.0 3.1 Area Code and Postal Code in Yunnan Province เก็บถาวร 2007-11-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  4. https://www.youtube.com/watch?v=67wnbcD8G18&t=1802s&ab_channel=โยธินคำแก้ว
  5. อาณาจักรเชียงรุ่งหรือสิบสองปันนา
  6. Civility and Savagery: Social Identity in Tai States. Turton, Andrew. Routledge, 2000. (ISBN 0700711732)
  7. Asian Borderlands: The Transformation of Qing China's Yunnan Frontier. Patterson Giersch, Charles. Harvard University Press, 2006. (ISBN 0674021711)
  8. http://www.sujitwongthes.com/wp-content/uploads/2016/05/language.pdf
  9. 景洪城市介绍
  10. "欢乐共享 与傣族人民一同放飞心情(2)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-04-14. สืบค้นเมื่อ 2015-12-22.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้