เชิดพงศ์ ราชป้องขันธ์

นายเชิดพงศ์ ราชป้องขันธ์ (เกิด 27 ธันวาคม พ.ศ. 2497) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดบึงกาฬ และ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดหนองคาย รวม 3 สมัย ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกในปี พ.ศ. 2550 ในสังกัดพรรคพลังประชาชน ปัจจุบันสังกัดพรรคเพื่อไทย

เชิดพงศ์ ราชป้องขันธ์
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรบึงกาฬ เขต 1
ดำรงตำแหน่ง
3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 – 9 ธันวาคม พ.ศ. 2556
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด27 ธันวาคม พ.ศ. 2497 (69 ปี)
พรรคการเมืองเพื่อไทย
คู่สมรสนางสุจิตรา ราชป้องขันธ์

ประวัติ

แก้

เชิดพงศ์ ราชป้องขันธ์ เกิดเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2497 เป็นบุตรของนายผง และนางทองสี ราชป้องขันธ์ มีพี่น้อง 6 คน สำเร็จการศึกษาครุศาสตรบัณฑิต สาขาสังคมศึกษา วิทยาลัยครูอุดรธานี และการศึกษามหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาการให้คำปรึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม สมรสกับนางสุจิตรา มีบุตร 2 คน

งานการเมือง

แก้

อดีตเป็นข้าราชการครู ในพื้นที่อำเภอบึงกาฬ จังหวัดหนองคาย เข้าสู่วงการการเมืองเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2550 โดยลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดหนองคาย เขต 2 สังกัดพรรคพลังประชาชน และได้รับการเลือกตั้งเป็นครั้งแรก ต่อมามีการตราพระราชบัญญัติตั้งจังหวัดบึงกาฬ พ.ศ. 2554 [1] มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2554 โดยถือให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดหนองคาย เขต 2 เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดบึงกาฬ ส่งผลให้นายเชิดพงศ์เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรชุดแรกของจากหวัดบึงกาฬ (ร่วมกับนายไตรรงค์ ติธรรม และนายยุทธพงษ์ แสงศรี)

ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 นายเชิดพงศ์ลงสมัครเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดบึงกาฬ ในนามพรรคเพื่อไทย และได้รับการเลือกตั้งอีกครั้ง โดยเอาชนะนายสงกรานต์ คำพิไสย์ จากพรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน และนางแว่นฟ้า ทองศรี ภรรยานายทรงศักดิ์ ทองศรี จากพรรคภูมิใจไทย ซึ่งเป็นผู้ผลักดันให้จัดตั้งจังหวัดบึงกาฬ[2]

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

แก้

เชิดพงศ์ ราชป้องขันธ์ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 3 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 จังหวัดหนองคายจังหวัดบึงกาฬ สังกัดพรรคพลังประชาชน (พ.ศ. 2541)พรรคเพื่อไทย
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 จังหวัดบึงกาฬ สังกัดพรรคเพื่อไทย
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 จังหวัดบึงกาฬ สังกัดพรรคเพื่อไทย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "พระราชบัญญัติตั้งจังหวัดบึงกาฬ พ.ศ. 2554" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-04-09. สืบค้นเมื่อ 2012-02-15.
  2. หนองคายภูมิใจไทย-เพื่อไทยฟัดกันนัว สนามใหม่บึงกาฬวัดบารมี “พินิจ”[ลิงก์เสีย]
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓ เก็บถาวร 2022-10-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๖, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๖ เก็บถาวร 2022-04-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๓๐ ข หน้า ๑๒, ๖ ธันวาคม ๒๕๕๖
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา เก็บถาวร 2022-11-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๑๒๓, ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๓

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้