สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดบึงกาฬ

จังหวัดบึงกาฬ มีเขตเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 3 เขต (สำหรับการเลือกตั้ง พ.ศ. 2566)[1] และมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งได้ 3 คน จากทั้งหมด 400 คนทั่วประเทศในสภาผู้แทนราษฎรไทย

ประวัติศาสตร์ แก้

หลังจากที่ประเทศไทยเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475 ได้มีการจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2476 การเลือกตั้งครั้งนี้เป็น "การเลือกตั้งทางอ้อมครั้งแรกและครั้งเดียวของไทย" โดยขณะนั้นบึงกาฬยังเป็นเพียงอำเภอหนึ่งของจังหวัดหนองคาย

ปี พ.ศ. 2554 บึงกาฬยกฐานะขึ้นเป็นจังหวัด และได้แยกเขตการเลือกตั้งที่ 2 ของจังหวัดหนองคาย (จากการเลือกตั้ง พ.ศ. 2550) มาเป็นเขตการเลือกตั้งของจังหวัดบึงกาฬ โดยมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรชุดแรก คือ นายยุทธพงษ์ แสงศรี นายเชิดพงศ์ ราชป้องขันธ์ และนายไตรรงค์ ติธรรม

เขตเลือกตั้ง แก้

การเลือกตั้ง เขตเลือกตั้ง แผนที่ จำนวน ส.ส.
พ.ศ. 2554 · เขตเลือกตั้งที่ 1 : อำเภอโซ่พิสัย, อำเภอปากคาด, อำเภอเมืองบึงกาฬ และอำเภอบุ่งคล้า
· เขตเลือกตั้งที่ 2 : อำเภอบึงโขงหลง, อำเภอเซกา, อำเภอพรเจริญ และอำเภอศรีวิไล
  2 คน (เขตละ 1 คน)
พ.ศ. 2557
พ.ศ. 2562
พ.ศ. 2566 · เขตเลือกตั้งที่ 1 : อำเภอศรีวิไลและอำเภอเมืองบึงกาฬ
· เขตเลือกตั้งที่ 2 : อำเภอบุ่งคล้า, อำเภอบึงโขงหลง และอำเภอเซกา
· เขตเลือกตั้งที่ 3 : อำเภอพรเจริญ, อำเภอโซ่พิสัย และอำเภอปากคาด
  3 คน (เขตละ 1 คน)

รายนามสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขต แก้

ชุดที่ 23; พ.ศ. 2550 แก้

      พรรคพลังประชาชน (พ.ศ. 2550) → พรรคเพื่อไทย
เขต ชุดที่ 23 พ.ศ. 2550
2 นายยุทธพงษ์ แสงศรี
นายเชิดพงศ์ ราชป้องขันธ์
นายไตรรงค์ ติธรรม

ชุดที่ 24–26; พ.ศ. 2554–2566 แก้

      พรรคเพื่อไทย
      พรรคภูมิใจไทย
ชุดที่ การเลือกตั้ง เขตเลือกตั้งที่ 1 เขตเลือกตั้งที่ 2 เขตเลือกตั้งที่ 3
ชุดที่ 24 พ.ศ. 2554 นายเชิดพงศ์ ราชป้องขันธ์ นายไตรรงค์ ติธรรม
ชุดที่ 25 พ.ศ. 2562
ชุดที่ 26 พ.ศ. 2566 นายสยาม เพ็งทอง นายสุวรรณา กุมภิโร นายนิพนธ์ คนขยัน

อ้างอิง แก้

  1. "ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งและเขตเลือกตั้งของแต่ละจังหวัดจะพึงมี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 140 (14 ก): 38–42. 3 มีนาคม 2566.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้