นายไตรรงค์ ติธรรม (เกิด 16 มกราคม พ.ศ. 2501) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดบึงกาฬ และ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดหนองคาย รวม 3 สมัย ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกในปี พ.ศ. 2550 ในสังกัดพรรคพลังประชาชน ปัจจุบันสังกัดพรรคเพื่อไทย

ไตรรงค์ ติธรรม
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด16 มกราคม พ.ศ. 2501 (66 ปี)
พรรคการเมืองเพื่อไทย
คู่สมรสนางภิรมย์รัตน์ ติธรรม

ประวัติ แก้

ไตรรงค์ ติธรรม เกิดเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2501 เป็นบุตรของนายคล่อง และนางตุ้ม ติธรรม มีพี่น้อง 8 คน สำเร็จการศึกษาศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาสังคมศึกษา จาก มหาวิทยาลัยรามคำแหง สมรสกับนางภิรมย์รัตน์ ติธรรม มีบุตร 2 คน

งานการเมือง แก้

ไตรรงค์ เข้าสู่วงการการเมืองด้วยการเป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดหนองคาย เขตอำเภอเซกา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531 ต่อมาลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดหนองคายติดต่อกันมาหลายครั้ง แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง อาทิ พ.ศ. 2544 สังกัดพรรคเสรีธรรม (พ.ศ. 2535) และ พ.ศ. 2548 ในสังกัดพรรคชาติไทย

จนกระทั่งปี พ.ศ. 2550 ไตรรงค์ได้รับการเลือกตั้งเป็นครั้งแรกในสังกัดพรรคพลังประชาชน (พ.ศ. 2541) ต่อมามีการตราพระราชบัญญัติตั้งจังหวัดบึงกาฬ พ.ศ. 2554 [1]มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2554 โดยถือให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดหนองคาย เขต 2 เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดบึงกาฬ ส่งผลให้นายไตรรงค์เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรชุดแรกของจากจังหวัดบึงกาฬ (ร่วมกับนายเชิดพงศ์ ราชป้องขันธ์ และนายยุทธพงษ์ แสงศรี)

ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 และ พ.ศ. 2562 ไตรรงค์ได้ลงสมัครเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดบึงกาฬ ในนามพรรคเพื่อไทย และได้รับการเลือกตั้งทั้ง 2 สมัย

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แก้

ไตรรงค์ ติธรรม ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 3 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 จังหวัดหนองคายจังหวัดบึงกาฬ สังกัดพรรคพลังประชาชน (พ.ศ. 2541)พรรคเพื่อไทย
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 จังหวัดบึงกาฬ สังกัดพรรคเพื่อไทย
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 จังหวัดบึงกาฬ สังกัดพรรคเพื่อไทย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. "พระราชบัญญัติตั้งจังหวัดบึงกาฬ พ.ศ. 2554" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-04-09. สืบค้นเมื่อ 2012-02-15.
  2. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๖, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๔ ข หน้า ๒, ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๗, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔

แหล่งข้อมูลอื่น แก้