เจ๊ะอับดุลลาห์ หลังปูเต๊ะ
เจ๊ะอับดุลลาห์ หลังปูเต๊ะ (16 ตุลาคม พ.ศ. 2433 – 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2529) อดีตรัฐมนตรีหลายกระทรวง และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสตูล 5 สมัย
เจ๊ะอับดุลลาห์ หลังปูเต๊ะ | |
---|---|
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข | |
ดำรงตำแหน่ง 1 มกราคม พ.ศ. 2501 – 7 สิงหาคม พ.ศ. 2501 | |
นายกรัฐมนตรี | จอมพล ถนอม กิตติขจร |
ดำรงตำแหน่ง 23 กันยายน พ.ศ. 2500 – 26 ธันวาคม พ.ศ. 2500 | |
นายกรัฐมนตรี | พจน์ สารสิน |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 16 ตุลาคม พ.ศ. 2433 อำเภอละงู จังหวัดสตูล |
เสียชีวิต | 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2529 (96 ปี) |
ประวัติ
แก้เจ๊ะอับดุลลาห์ เกิดเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2433 เป็นบุตรของนายเจ๊ะมูฮำมัด สะอาด นางเจ๊ะรอมมะห์ หวันสู[1]
เจ๊ะอับดุลลาห์ หลังปูเต๊ะ เสียชีวิตด้วยโรคชรา เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2529 สิริอายุรวม 96 ปี
การทำงาน
แก้เจ๊ะอับดุลลาห์ เริ่มรับราชการในตำแหน่งเสมียนศาล แขวงละงู เมื่อปี พ.ศ. 2448 แต่ขอลาออกเพื่อไปประกอบอาชีพค้าขายส่วนตัว ต่อมา พ.ศ. 2459 ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นที่ปรึกษาด้านศาสนา ประจำอำเภอทุ่งหว้า และกิ่งอำเภอละงู จากนั้น พ.ศ. 2463 ได้เดินทางไปทำงานเป็นนักหนังสือพิมพ์ที่ประเทศอินโดนีเซียและมลายู จนกระทั่งปี พ.ศ. 2469 พระยาสมันต์รัฐบุรินทร์ (ตุ๋ย บินอับดุลลาห์) ได้แต่งตั้งให้เป็นกอฎีทั่วไป ทำหน้าที่ด้านกฎหมายครอบครัวอิสลามล่วงมาปี และ พ.ศ. 2473 มีพระบรมราชโองการให้เป็นดาโต๊ะยุติธรรมประจำศาลจังหวัดสตูล
งานการเมือง
แก้เจ๊ะอับดุลลาห์ ได้รับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรก ใน เดือนมกราคม พ.ศ. 2489 และได้รับเลือกติดต่อกัน จนถึง เดือนธันวาคม พ.ศ. 2500 รวม 5 สมัย
เจ๊ะอับดุลลาห์ ได้รับโปรดเกล้าฯ ให้เป็นรัฐมนตรีหลายกระทรวง ได้แก่ เป็นรัฐมนตรีไม่ประจำกระทรวง ในรัฐบาลจอมพลแปลก พิบูลสงคราม เมื่อ พ.ศ. 2491 เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในรัฐบาลนายพจน์ สารสิน[2][3] และในรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แก้เจ๊ะอับดุลลาห์ หลังปูเต๊ะ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด 5 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มกราคม พ.ศ. 2489 จังหวัดสตูล สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2491 จังหวัดสตูล
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2495 จังหวัดสตูล
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 จังหวัดสตูล สังกัดพรรคเสรีมนังคศิลา[4]
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป ธันวาคม พ.ศ. 2500 จังหวัดสตูล สังกัดพรรคสหภูมิ → พรรคชาติสังคม[5]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2500 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)[6]
อ้างอิง
แก้- ↑ ประวัติ เจ๊ะอับดุลลาห์ หลังปูเต๊ะ[ลิงก์เสีย]
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี (จำนวน ๒๙ ราย)
- ↑ "คณะรัฐมนตรีคณะที่ 27 จากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-04. สืบค้นเมื่อ 2018-04-09.
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั่วไป
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั่วไป พ.ศ. ๒๕๐๐ ครั้งที่ ๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-11-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๕ ตอนที่ ๓ ง หน้า ๔๒, ๗ มกราคม ๒๕๐๑