พระยาสมันตรัฐบุรินทร์ (ตุ๋ย บินอับดุลลาห์)

อำมาตย์เอก พระยาสมันตรัฐบุรินทร์ (ตุ๋ย บินอับดุลลาห์) (20 มกราคม พ.ศ. 2414 – 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2506) อดีตรัฐมนตรีที่ไม่ได้ประจำกระทรวง 3 สมัย อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสตูล คนแรก[1][2]

พระยาสมันตรัฐบุรินทร์
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสตูล
ดำรงตำแหน่ง
15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2476 – 9 ธันวาคม พ.ศ. 2480
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด20 มกราคม พ.ศ. 2414
อำเภอคลองสาน จังหวัดธนบุรี ประเทศสยาม
เสียชีวิต14 กรกฎาคม พ.ศ. 2506 (92 ปี)

ประวัติ

แก้

ตุ๋ย เป็นบุตรคนที่ 12 ของหลวงโกชาอิศหาก และนางเลี้ยบ บินอับดุลลาห์ เกิดวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2414 ที่ตำบลบางลำพูล่าง อำเภอคลองสาน จังหวัดธนบุรี ซึ่งขณะนั้นบิดาของเขาดำรงตำแหน่งล่ามมลายูที่กรมท่า ติดต่อกับต่างประเทศมีหน้าที่รับเครื่องราชบรรณาการของหัวเมืองประเทศราช บิดาของเขาจึงสนิทสนมกับสุลต่านทางมลายู

เมื่อเขาอายุ 8 ขวบ เจ้าเมืองปะลิสขอตัวไปเป็นบุตรบุญธรรม ได้เข้าเรียน ณ วัดบางลำพูล่าง จังหวัดธนบุรี หลังจากนั้นจึงได้กลับมารับราชการที่กรุงเทพมหานคร เมื่อปี พ.ศ. 2432 เป็นล่ามมลายู ต่อมาในปี พ.ศ. 2439 ได้รับยศเป็นขุนราชบริรักษ์ มณฑลปัตตานี ต่อจากนั้นเป็นนายอำเภอเบตง เป็นปลัดเมืองสตูล เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล และเกษียณอายุราชการ ในปี พ.ศ. 2472

พระยาสมันตรัฐบุรินทร์ ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรคนแรกของจังหวัดสตูล เป็นรัฐมนตรีในรัฐบาลพระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน)[3] ต่อมาได้เป็นรัฐมนตรีสั่งราชการกระทรวงมหาดไทย และปี พ.ศ. 2491 ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา

พระยาสมันตรัฐบุรินทร์ ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2506

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. อาร์วายทีไนน์,สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากการเลือกตั้งครั้งแรก
  2. ประกาศสภาผู้แทนราษฎร รายนามสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรปรเภทที่ 1
  3. "คณะรัฐมนตรีคณะที่ 5 ของไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-01-27. สืบค้นเมื่อ 2013-04-18.
  4. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๕๔ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๒๑๔, ๑๓ ธันวาคม ๒๔๘๐
  5. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๔ ตอนที่ ๔๗ ง หน้า ๑๒๑๐, ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๐๐
  6. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญ, เล่ม ๔๐ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๔๔๖, ๗ มกราคม ๒๔๖๖
  7. ราชกิจจานุเบกษา, บัญชีรายนามผู้ที่ได้รับพระราชทานเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ, เล่ม ๕๒ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๖๓๖, ๑๘ สิงหาคม ๒๔๗๘
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ส่งเหรียญจักรพรรดิมาลาไปพระราชทาน, เล่ม ๓๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๔๘, ๒ พฤษภาคม ๒๔๖๓
  9. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๗๖ ตอนที่ ๗๔ ง หน้า ๑๘๖๖, ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๐๒