เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเวียงลอ

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเวียงลอ เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าที่มีพื้นที่ครอบคลุมท้องที่ 4 อำเภอ ได้แก่ ท้องที่อำเภอจุน อำเภอดอกคำใต้ อำเภอเชียงคำ และอำเภอปง มีพื้นที่ประมาณ 231,875 ไร่ หรือ 371 ตารางกิโลเมตร เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเวียงลอตั้งอยู่ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติทั้งสิ้น 4 แห่ง คือ ป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่จุน อำเภอจุน เนื้อที่ประมาณ 96,875 ไร่ ป่าสงวนแห่งชาติป่าห้วยดอกเข็ม และป่าแม่อิงฝั่งขวา อำเภอดอกคำใต้ เนื้อที่ประมาณ 49,375 ไร่ ป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่ยม อำเภอปง เนื้อที่ประมาณ 43,750 ไร่ และป่าสงวนแห่งชาติป่าน้ำแวน และป่าห้วยไคร้ อำเภอเชียงคำ เนื้อที่ประมาณ 41,875 ไร่ [1] สำนักงานที่ทำการเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเวียงลอ ตั้งอยู่เลขที่ 321 ท้องที่บ้านเซี๊ยะ หมู่ที่ 4 ตำบลจุน อำเภอจุน จังหวัดพะเยา โดยอยู่ห่างจากอำเภอจุนตามทางหลวงหมายเลข 1021 ประมาณ 10 กม. โดยที่ทำการเขตตั้งอยู่ใกล้กับอ่างเก็บน้ำแม่จุนภายในพื้นที่บริเวณสำนักงานเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเวียงลอมีพื้นที่สำหรับรับรองนักท่องเที่ยว(ลานกางเต็นท์) หรือผู้ที่สนใจในกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ หรือผู้ที่สนใจในการศึกษา ค้นคว้า และทำวิจัยในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเวียงลอ สามารถติดต่อได้ด้วยตนเองที่สำนักงานเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเวียงลอ หรือทาง FacebookFanPage : เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเวียงลอ จังหวัดพะเยา

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเวียงลอ

ประวัติความเป็นมา แก้

 
แผนที่ป่าสงวนภายในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเวียงลอ

เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน ปี พ.ศ. 2535 จังหวัดพะเยาได้รับการร้องขอจากราษฎรในท้องที่อำเภอจุน จังหวัดพะเยา ให้ดำเนินการประกาศพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่จุน และป่าสงวนแห่งชาติในบริเวณใกล้เคียง ให้เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าซึ่งมีพื้นที่ป่าครอบคลุมท้องที่ทั้ง 4 อำเภอ ได้แก่ ท้องที่อำเภอจุน อำเภอดอกคำใต้ อำเภอเชียงคำ และอำเภอปง เพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ไว้ให้เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารที่สำคัญของแม่น้ำอิง และแม่น้ำยม รวมทั้งคุ้มครองสัตว์ป่าชนิดที่สำคัญของท้องถิ่นที่อาศัยอยู่ชุกชุมหลายชนิด เช่น เลียงผา เก้ง กวาง และนกยูงไทย เป็นต้น ซึ่งจังหวัดพะเยาได้พิจารณาเสนอเรื่องไปยังกรมป่าไม้ เพื่อพิจารณากำหนดให้เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า

 
แผนที่แสดงที่ตั้งหน่วยงานในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเวียงลอ

ในระหว่างขั้นตอนการสำรวจพื้นที่เพื่อกำหนดให้เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า คณะผู้สำรวจจากส่วนอนุรักษ์สัตว์ป่า สำนักอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ กรมป่าไม้ ได้ประสานกับส่วนราชการ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง อันได้แก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และประชาชนในชุมชนที่อยู่อาศัยโดยรอบพื้นที่ที่ทำการสำรวจ และนำเสนอข้อมูลที่สำรวจต่อกรมป่าไม้ ซึ่งต่อมาคณะกรรมการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าแห่งชาติได้พิจารณาให้ความเห็นชอบ โดยให้ประกาศพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าน้ำแวน และป่าห้วยไคร้ ป่าแม่จุน ป่าแม่ยม และป่าห้วยดอกเข็มและป่าแม่อิงฝั่งขวา ให้เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ซึ่งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา " ฉบับกฤษฎีกา เล่ม 114 ตอนที่ 19 ก เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน ปี พ.ศ. 2540 " โดยตั้งชื่ออย่างเป็นทางการว่า "เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเวียงลอ" ตามชื่อเมืองลอในอดีต นับเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าที่ประกาศเป็นลำดับที่ 44 ของประเทศไทย [1]


ข้อมูลหน่วยงานในสังกัด แก้

หน่วยงานที่ทำหน้าที่ดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติ ในสังกัดเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเวียงลอ มีด้วยกันทั้งสิ้น 7 แห่ง ดังนี้

ลำดับ ชื่อหน่วยงาน ที่ตั้ง ปีที่จัดตั้ง พิกัด
1 ที่ทำการเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเวียงลอ บ้านเซี๊ยะ หมู่ที่ 4 ตำบลจุน อำเภอจุน 2540 621118 E

2132196 N

2 หน่วยพิทักษ์ป่าที่ วล.1 (น้ำแวน) บ้านใหม่นาสา หมู่ที่ 13 ตำบลฝายกวาง อำเภอเชียงคำ 2541 633854 E

2140647 N

3 หน่วยพิทักษป่าที่ วล.2 (ห้วยชมภู) บ้านใหม่ดอนเจริญ หมู่ที่ 11 ตำบลสันโค้ง อำเภอดอกคำใต้ 2542 615718 E

2121380 N

4 หน่วยพิทักษ์ป่าที่ วล.3 (แม่ต๋ำ) บ้านแม่ต๋ำท่าข้าม หมู่ที่ 7 ตำบลน่ำแวน อำเภอเชียงคำ 2556 627934 E

2150862 N

5 หน่วยพิทักษ์ป่าที่ วล.4 (ห้วยแก่น) บ้านดอนทอง หมู่ที่ 12 ตำบลออย อำเภอปง 2561 636289 E

2128938 N

6 จุดสกัดที่ วล.1 (ผาสุข) บ้านผาฮาว หมู่ที่ 3 ตำบลทุ่งผาสุข อำเภอเชียงคำ 2555 633216 E

2149436 N

7 จุดสกัดที่ วล.2 (แม่ทะลาย) บ้านแม่ทะลาย หมู่ที่ 2 ตำบลพระธาตุขิงแกง อำเภอจุน 2559 625285 E

2128170 N


ทรัพยากรป่าไม้ แก้

มีสภาพป่า 3 ชนิด คือ

ทรัพยากรสัตว์ป่า แก้

มีสัตว์ป่าของท้องถิ่นที่สำคัญอยู่หลายชนิด ได้แก่ นกยูง เลียงผา เก้ง ไก่ฟ้า กระรอก อีเห็น งูชนิดต่างๆ นกเขา ลิงลม หมี หมาป่า กระจง ตะกวด ลิงวอก นกกระราง หมูป่า เป็นต้น

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 หนังสือข้อมูลพื้นฐาน เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเวียงลอ จังหวัดพะเยา จัดทำโดย ส่วนอนุรักษ์สัตว์ป่า สำนักอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ กรมป่าไม้ จัดทำเมื่อปี พ.ศ. 2541