เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองแสง

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองแสง ประกาศเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเมื่อ พ.ศ. 2517 มีอาณาเขตครอบคลุมท้องที่ตำบลตะกุกเหนือ อำเภอวิภาวดี และตำบลเขาพัง ตำบลไกรสร อำเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีเนื้อที่ 772,500 ไร่ ถูกเพิกถอนเขตน้ำท่วมและพื้นที่เขื่อนรัชชประภาเมื่อ พ.ศ. 2526 เนื้อที่ 49,875 ไร่ พ.ศ. 2528 เนื้อที่ 31 ไร่ และพ.ศ. 2529 เนื้อที่ 526 ไร่ รวม 50,472 ไร่ ปัจจุบันเหลือเนื้อที่ 722,068 ไร่ หรือ 1,155.3 ตารางกิโลเมตร

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองแสง
ไอยูซีเอ็นกลุ่ม 4 (เขตบริหารสิ่งแวดล้อม)
แผนที่แสดงที่ตั้งเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองแสง
แผนที่แสดงที่ตั้งเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองแสง
ที่ตั้งของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองแสง
แผนที่แสดงที่ตั้งเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองแสง
แผนที่แสดงที่ตั้งเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองแสง
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองแสง (ประเทศไทย)
ที่ตั้งจังหวัดสุราษฎร์ธานี
พิกัด9°10′N 98°35′E / 9.167°N 98.583°E / 9.167; 98.583
พื้นที่1,155 ตารางกิโลเมตร (722,000 ไร่)
จัดตั้ง8 พฤษภาคม พ.ศ. 2529
หน่วยราชการกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

ลักษณะภูมิประเทศ

แก้

เป็นเทือกเขาสลับซับซ้อนความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 100 เมตร ขึ้นไปมียอดเขาวงเป็นยอดเขาสูงสุด 1,272 เมตร มีความลาดชันสูงเป็นเขาหินปูน พื้นที่จดเขตน้ำท่วมเขื่อนรัชชประภา มีแนวน้ำท่อมจากทิศใต้ไปตามลำห้วยคลองแสงผ่ากลางเขตไปด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ทิศเหนือและทิศตะวันตก จดแนวเขตจังหวัดสุราษฎร์ธานี ยอดเขาอื่นๆที่ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของพื้นที่สูงลดหลัดลงมาตามลำดับ ได้แก่ เขาวงสูง 1,272 เมตร เขาใหญ่ 825 เมตร ทางทิศตะวันตก มีเขาชาลี สูง 864 เมตร พื้นที่ ทางด้านตะวันอออกเฉียงใต้ ในแนวเทือกเขาหินปูนมียอดเขาสูงที่สำคัญ ได้แก่ เขาหน้านกฮูกสูง 738 เมตร เขาถ้ำจันทร์สูง 773 เมตร และเขาพังสูง 785 เมตร สภาพพื้นที่ในระดับสูงตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือและลาดลงสู่ด้านตะวันออกเฉียงใต้

ลักษณะภูมิอากาศ

แก้

มีฝนตกชุกระหว่างปลายเดือนเมษายน-มกราคม อุณหภูมิในช่วงระยะ 5 ปี ที่ผ่านมา 15.10-38.00 องศา ปริมาณน้ำฝน 1,741.40 มม.

ทรัพยากรป่าไม้

แก้

เป็นป่าดิบชื้น ชนิดไม้สำคัญคือ ตะเคียนทอง ตะเคียนหิน ยาง เสียดช่อ จำปา ยูง กระบาก นาคบุตร พยอม ตะแบก สมอพิเภก กระท้อน หว้า ปาล์ม ไผ่หลายชนิด และหวาย

ทรัพยากรสัตว์ป่า

แก้

1. สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม เช่น ชะนีมือขาว ค่างแว่นถิ่นใต้ ค่างดำมลายู บ่าง พญากระรอกดำ พญากระรอกบินต่างๆ กระทิง สมเสร็จ เสือโคร่ง เสือดาว เสือดำ วัวแดง กวาง เก้ง เลียงผา กระจง ลิง หมี หมาใน ชะมด] อีเห็น ช้างป่า และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง นากจมูกขน ที่เป็นสัตว์ที่หายากมาก เป็นต้น

2. สัตว์ปีก เช่น นกเงือก นกกก นกชนหิน เหยี่ยว ไก่ฟ้า นกหว้า นกยูง และนกชนิดต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก

3. สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก ได้แก่ จงโคร่ง หรือกง คางคกห้วย กบทูด ชะง่อนหิน เมืองใต้ ปาดน้ำตาล และ อึ่งอ่างมลายู

4. สัตว์เลื้อยคลาน ที่น่าสนใจในพื้นที่ได้แก่ ตุ๊ดตู่ เห่าช้าง เต่าจักร

5. ปลาน้ำจืด ปลาตะพัดหรือ ปลามังกร ปลาน้ำจืดที่ใกล้จะสูญพันธุ์

อ้างอิง

แก้