สมเสร็จ [8] (อังกฤษ: Tapir) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมกินพืชขนาดใหญ่ เป็นสัตว์มีหน้าตาประหลาด มีลักษณะของสัตว์หลายชนิดผสมอยู่ในตัวเดียวกัน มีจมูกที่ยื่นยาวออกมาคล้ายงวงของช้าง ลำตัวคล้ายหมูที่มีขายาว หางสั้นคล้ายหมีและมีกีบเท้าคล้ายแรด อาศัยในป่าทึบในแถบอเมริกาใต้, อเมริกากลาง, และ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีทั้งหมดสี่ชนิด คือ สมเสร็จอเมริกาใต้, สมเสร็จมลายู, สมเสร็จอเมริกากลาง และสมเสร็จภูเขา ทั้งสี่ชนิดถูกจัดสถานะเป็นใกล้สูญพันธุ์หรือเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ สมเสร็จเป็นญาติใกล้ชิดกับสัตว์กีบคี่อื่น ได้แก่ ม้า และแรด

สมเสร็จ
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: 33.9–0Ma Early Oligocene[1] – ปัจจุบัน
สมเสร็จพันธุ์ เรียงจากซ้ายบนตามเข็มนาฬิกา: สมเสร็จอเมริกาใต้ (Tapirus terrestris), สมเสร็จภูเขา (Tapirus pinchaque), สมเสร็จมลายู (Tapirus indicus)และ สมเสร็จอเมริกากลาง (Tapirus bairdii)
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอต
Eukaryota
อาณาจักร: สัตว์
Animalia
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
Chordata
ชั้น: สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
Mammalia
อันดับ: อันดับสัตว์กีบคี่
Perissodactyla
อันดับย่อย: Ceratomorpha
Ceratomorpha
วงศ์ใหญ่: Tapiroidea
Tapiroidea
วงศ์: Tapiridae
Tapiridae
Gray, 1821[2][3]
สกุลต้นแบบ
Tapirus
Brisson, 1762
สกุล[7]
About 15
ชื่อพ้อง[3]
  • Elasmognathinae Gray, 1867
กีบเท้าของสมเสร็จมลายู (ขวา) เท้าหน้ามี 4 กีบ, (ซ้าย) เท้าหลังมี 3 กีบ)
สมเสร็จ กับปฏิกิริยาอ้าปากสูดกลิ่น

การจำแนก

แก้

สกุลที่ยังไม่สูญพันธ์:

สกุลของสมเสร็จที่สูญพันธุ์ไปแล้วตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์:

ลักษณะ

แก้

ขนาดขึ้นอยู่กับชนิด โดยมากยาวประมาณ 2 เมตร สูง 1 เมตร จรดหัวไหล่ หนัก 150-300 กิโลกรัม ขนสั้นมีสีน้ำตาลถึงเทาเกือบดำ ยกเว้นสมเสร็จมลายู ที่มีสีขาวพาดกลางลำตัว และสมเสร็จภูเขา ที่มีขนยาว สมเสร็จทุกชนิดมีหูรูปไข่ ปลายหูสีขาว มนกลม ก้นห้อย หางอวบ สั้น ขาหน้ามีกีบเท้า 4 กีบ ขาหลังมี 3 กีบ ช่วยให้สามารถเดินบนโคลนหรือพื้นที่อ่อนนุ่มได้ ลูกสมเสร็จมีขนลายทาง หรือลายจุดเพื่อพรางตัว เพศเมียมีเต้านมเต้าคู่เดียว[9]

สมเสร็จมีฟันซึ่งสามารถเขียนเป็นสูตรได้ว่า   ทั้งหมด 42-44 ซี่ มีฟันเขี้ยวสั้น ๆ ซึ่งไม่เหมือนสัตว์กีบคู่อย่างอื่น เช่น แรด[10][11]

พฤติกรรมและความผูกพันกับมนุษย์

แก้

สมเสร็จ ทั้งหมดมีพฤติกรรมและความเป็นอยู่ใกล้เคียงกัน โดยเป็นสัตว์ที่หากินตามลำพังหรือเป็นคู่ในป่าดิบชื้น ที่มีความชุ่มชื้นหรือใกล้แหล่งน้ำ โดยจะใช้จมูกที่ยาวเหมือนงวงในการช่วยดมกลิ่นและดึงกิ่งไม้ในพุ่มไม้กินเป็นอาหาร ซึ่งสมเสร็จสามารถที่จะกินไม้ที่มีพิษบางชนิดได้ด้วย เป็นสัตว์ที่ชอบแช่น้ำหรือโคลน เมื่อยามพบกับศัตรูจะหนีลงไปในน้ำ ซึ่งบางครั้งอาจแช่ลงไปทั้งตัวโผล่มาแค่งวงเพื่อหายใจก็ได้ เป็นสัตว์ที่หากินในเวลากลางคืน ลูกอ่อนที่เกิดมาใหม่จะมีลวดลายตามตัวเหมือนแตงไทย คล้ายลูกหมูป่า

สมเสร็จ เป็นสัตว์ที่มีระบบสายตาที่ไม่ดี แต่มีระบบประสาทรับฟังทางหูและดมกลิ่นดีเยี่ยม ปกติเป็นสัตว์ที่มีอุปนิสัยเรียบร้อย ไม่ก้าวร้าว แต่เคยมีรายงานว่า สมเสร็จอเมริกากลางตัวหนึ่งในสวนสัตว์โจมตีด้วยกรามใส่ผู้ดูแลซึ่งเป็นผู้หญิง เมื่อปี ค.ศ. 1998 จนได้รับบาดเจ็บสาหัสถึงขั้นพิการแขนขาด[12] สมเสร็จเป็นสัตว์ที่อ้างอิงถึงในวัฒนธรรมและความเชื่อของญี่ปุ่น ด้วยการเป็นปีศาจตนหนึ่งที่กินความฝัน หรือฝันร้ายของผู้คนในนอนหลับเมื่อยามค่ำคืน เรียกว่า "บะกุ" (ญี่ปุ่น: 獏, 貘) เป็นต้น[13]

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ FW1
  2. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Gray, 1821
  3. 3.0 3.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ MSW1
  4. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ FW2
  5. 5.0 5.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ MSW2
  6. 6.0 6.1 6.2 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Hulbert, 2010
  7. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ GBIF
  8. ผสมเสร็จ จากพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542
  9. Gorog, A. 2001. Tapirus terrestris, Animal Diversity Web. Retrieved June 19, 2006.
  10. Ballenger, L. and P. Myers. 2001. "Tapiridae" (On-line), Animal Diversity Web. Retrieved June 20, 2006.
  11. Huffman, Brent. Order Perissodactyla at Ultimate Ungulate
  12. "Woman's arm bitten off in zoo attack", Associated Press report by Jay Hughes, 20 Nov 1998
  13. แล็ฟคาดิโอ เฮิร์น แปลโดย ปาริฉัตร เสมอแข, ผุสดี นาวาวิจิต. เรื่องผีผี. กรุงเทพมหานคร : ผีเสื้อ, พ.ศ. 2543. ISBN 974-14-0143-4

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

  ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Tapiridae ที่วิกิสปีชีส์