พญากระรอกดำ
สถานะการอนุรักษ์
CITES Appendix II (CITES)[2]
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Mammalia
อันดับ: Rodentia
วงศ์: Sciuridae
วงศ์ย่อย: Ratufinae
สกุล: Ratufa
สปีชีส์: R.  bicolor
ชื่อทวินาม
Ratufa bicolor
(Sparrman, 1778)
ชนิดย่อย
  • R. b. bicolor
  • R. b. condorensis
  • R. b. felli
  • R. b. gigantea
  • R. b. hainana
  • R. b. leucogenys
  • R. b. melanopepla
  • R. b. palliata
  • R. b. phaeopepla
  • R. b. smithi
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์ของพญากระรอกดำ
ชื่อพ้อง

พญากระรอกดำ (อังกฤษ: Black giant squirrel, Malayan giant squirrel; ชื่อวิทยาศาสตร์: Ratufa bicolor) เป็นกระรอกชนิดหนึ่ง ที่อยู่ในวงศ์ย่อยพญากระรอก (Ratufinae) เป็นกระรอกชนิดหนึ่งที่ใหญ่ที่สุดในโลก และเป็นกระรอกชนิดที่ใหญ่ที่สุดที่พบในประเทศไทย หางยาวเป็นพวง ขนตามลำตัวและหางสีดำสนิท บางตัวอาจมีสะโพก หรือโคนหางออกสีน้ำตาล ขนบริเวณแก้มและท้องสีเหลือง เท้าหน้ามี 4 นิ้ว เท้าหลังมี 5 นิ้ว เล็บยาวและโค้งช่วยในการยึดเกาะต้นไม้ และสะดวกในการเคลื่อนไหวไปมา ขนาดโตเต็มที่มีความยาวลำตัวและหัว 33-37.5 เซนติเมตร ความยาวหาง 42.5-46 เซนติเมตร น้ำหนัก 1-1.6 กิโลกรัม

มีการกระจายพันธุ์ในแคว้นอัสสัม ของอินเดีย, ภาคตะวันออกของเนปาล, ภาคใต้ของจีน, พม่า, ไทย, ลาว, กัมพูชา, เวียดนาม, มาเลเซีย, เกาะสุมาตรา, เกาะชวา, เกาะบาหลี มีทั้งหมด 10 ชนิดย่อย มีพฤติกรรมมักอาศัยอยู่ในป่าที่มีเรือนยอดไม้สูง เช่น ป่าเบญจพรรณและป่าดิบแล้ง มักพบเห็นอยู่ตามเรือนยอดไม้ที่รกทึบและใกล้ลำห้วย หากินในเวลากลางวันและหลับพักผ่อนในเวลากลางคืน มีความปราดเปรียวว่องไว สามารถกระโดดไปมาบนยอดไม้ได้ไกลถึง 22 ฟุต ปกติจะอาศัยอยู่ตามลำพัง ยกเว้นในฤดูผสมพันธุ์หรือมีลูกอ่อนที่อาจเห็นเป็นคู่หรือเป็นกลุ่มเล็ก ๆ ผสมพันธุ์ได้เมื่ออายุได้ 2 ปี ตั้งท้องนาน 28 วัน ออกลูกครั้งละ 1-2 ตัว โดยที่ตัวเมียมีเต้านมทั้งหมด 3 คู่ รังสร้างขึ้นโดยการนำกิ่งไม้สดมาขัดสานกันคล้ายรังนกขนาดใหญ่ และอาจจะมีรังได้มากกว่าหนึ่งรัง ปัจจุบันมีผู้สามารถเพาะขยายพันธุ์ได้ที่เลี้ยงได้แล้ว และนิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยง

พญากระรอกดำ ยังมีชื่อเรียกอื่นอีกว่า "กระด่าง" ในภาษาใต้เรียก "พะแมว"[3]

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. Walston, J., Duckworth, J. W., Molur, S. (2008). Ratufa bicolor. In: IUCN 2008. IUCN Red List of Threatened Species. Downloaded on 6 January 2009.
  2. "Appendices | CITES". cites.org. สืบค้นเมื่อ 2022-01-14.
  3. สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในประเทศไทยและภูมิภาคอินโดจีน (กองทุนสัตว์ป่าโลก สำนักงานประเทศไทย, กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2543) โดย กองทุนสัตว์ป่าโลก ISBN 974-87081-5-2

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

  ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Ratufa bicolor ที่วิกิสปีชีส์