นกเงือก
นกเงือก ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: โอลิโกซีน-ปัจจุบัน, 45–0Ma | |
---|---|
ส่วนหัวของนกกก (Buceros bicornis) | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Aves |
อันดับ: | Coraciiformes |
วงศ์: | Bucerotidae Rafinesque, 1815 |
สกุล[1] | |
| |
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์ของนกเงือก (ทั่วโลก) | |
ชื่อพ้อง[1] | |
|
นกเงือก เป็นนกขนาดใหญ่ ที่อยู่ในวงศ์ Bucerotidae ในอันดับนกตะขาบ (Coraciiformes) (บางข้อมูลซึ่งเป็นข้อมูลเก่าจะจัดให้อยู่ในอันดับ Bucerotiformes ซึ่งเป็นอันดับเฉพาะของนกเงือกเอง แต่ปัจจุบันนับเป็นชื่อพ้อง โดยนับรวมนกเงือกดินเข้าไปด้วย[1][2]) เป็นนกที่เชื่อว่าถือกำเนิดมานานกว่า 45 ล้านปีมาแล้ว[3]
ลักษณะ
แก้นกเงือก เป็นนกป่าขนาดใหญ่ ที่มีจุดเด่น คือ จะงอยปากหนาที่ใหญ่และมีโหนกทางด้านบนเป็นโพรง ภายในโพรงมีเนื้อเยื่อคล้ายฟองน้ำ[3] ส่วนใหญ่ลำตัวมีสีขาวดำหางยาว ปีกกว้างใหญ่ บินได้แข็งแรง เวลาบินจะโบกปีกช้า ๆ กินผลไม้เป็นอาหารหลัก และสัตว์เลื้อยคลานเล็ก ๆ เป็นอาหารเสริม ทำรังในโพรงไม้ ตัวเมียจะเข้าไปกกไข่ในโพรงโดยใช้โคลนและมูลปิดปากโพรงไว้ เหลือเพียงช่องพอให้ตัวผู้ยื่นส่งอาหารเข้าไปได้ เมื่อลูกนกโตพอแล้ว จึงเจาะโพรงออกมา[4]
และจากจะงอยปากและส่วนหัวที่ใหญ่เหมือนโหนกหรือหงอนนั้น ทำให้นกเงือกถูกใช้ในเชิงสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมมาแต่โบราณ โดยใช้ทำเป็นเครื่องประดับของชนเผ่าต่าง ๆ[5]
ชนิด
แก้พบทั่วโลกมี 55 ชนิด[6]ใน 14 สกุล (ดูในตาราง) มีการแพร่กระจายอยู่ในแถบเขตร้อน ของทวีปแอฟริกา และเอเชีย
การทำรัง
แก้นกเงือก มีลักษณะการทำรังที่แปลกจากนกอื่น คือ เมื่อถึงฤดูกาลทำรัง นกคู่ผัวเมียจะพากันหารัง ซึ่งได้แก่ โพรงไม้ตามต้นไม้ใหญ่ เช่น ต้นยาง ที่อยู่ในที่ลับตา เมื่อตัวเมียเข้าไปอยู่ในโพรง จะทำความสะอาดแล้วเริ่มปิดปากโพรง ด้วยวัสดุต่าง ๆ เช่น ดิน เปลือกไม้ ตัวเมียจะขังตัวเองอยู่ภายในเพื่อออกไข่และเลี้ยงลูก
แสดงความสมบูรณ์ของป่า
แก้นกเงือก เป็นดัชนีชี้วัดความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติได้ประการหนึ่ง เนื่องจากจะอาศัยอยู่ในป่าหรือพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์เท่านั้น เนื่องจากนกเงือกเป็นนกขนาดใหญ่ถึงใหญ่มาก กินทั้งผลไม้และสัตว์เป็นอาหาร อีกทั้งธรรมชาติในการหากินต้องอาศัยพื้นที่ป่าที่กว้าง[7] และยังเป็นตัวแพร่กระจายพันธุ์พืชชนิดต่าง ๆ ในป่าได้อย่างดีอีกด้วย เนื่องจากเป็นนกที่กินผลไม้ชนิดต่าง ๆ ได้ถึง 300 ชนิด และทิ้งเมล็ดไว้ตามที่ต่าง ๆ[3]
นกเงือกในประเทศไทย
แก้ประเทศไทยมีนกเงือก 13 ชนิด ด้วยกัน โดยในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ซึ่งมีอาณาเขตส่วนหนึ่งอยู่ในจังหวัดนครราชสีมา มี 4 ชนิด ได้แก่ นกกก หรือ นกกะวะ หรือ นกกาฮัง นกเงือกสีน้ำตาล นกเงือกกรามช้าง หรือ นกกู่กี๋ และนกแก๊ก หรือนกแกง และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฮาลา-บาลา พบ 9 ใน 12 ชนิดของนกเงือกที่พบในไทย ได้แก่ นกเงือกปากย่น นกเงือกชนหิน นกแก๊ก นกกก นกเงือกหัวหงอก นกเงือกปากดำ นกเงือกหัวแรด นกเงือกดำ นกเงือกกรามช้าง
ความแตกต่างของนกเงือก กับนกทูแคน
แก้คนไทยจำนวนไม่น้อย สับสนระหว่าง นกเงือก กับนกทูแคน (Toucan)[8] เนื่องจากทั้ง 2 ชนิด เป็นนกขนาดใหญ่ มีปากใหญ่คล้ายกัน
นกทูแคน (Toucan) เป็นนกพื้นเมืองของทวีปอเมริกาใต้ ไม่พบในประเทศไทย
ความแตกต่างที่ชัดเจน คือ นกเงือกมีโหนก นกทูแคน ไม่มีโหนก
รายชื่อนกเงือกและที่ชนิดนกเงือกที่พบในประเทศไทย
แก้- นกกก หรือ นกกะวะ หรือ นกกาฮัง (ชื่อภาษาอังกฤษ: Great hornbill; ชื่อวิทยาศาสตร์: Buceros bicornis)
- นกเงือกหัวแรด (ชื่อภาษาอังกฤษ: Rhinoceros hornbill; ชื่อวิทยาศาสตร์: Buceros rhinoceros)
- นกเงือกหัวหงอก (ชื่อภาษาอังกฤษ: White-crowned hornbill; ชื่อวิทยาศาสตร์: Berenicornis comatus)
- นกชนหิน (ชื่อภาษาอังกฤษ: Helmeted hornbill; ชื่อวิทยาศาสตร์: Rhinoplax vigil)
- นกแก๊ก หรือ นกแกง (ชื่อภาษาอังกฤษ: Oriental pied hornbill; ชื่อวิทยาศาสตร์: Anthracoceros albirostris)
- นกเงือกดำ (ชื่อภาษาอังกฤษ: Black hornbill; ชื่อวิทยาศาสตร์: Anthracoceros malayanus)
- นกเงือกคอแดง (ชื่อภาษาอังกฤษ: Rufous-necked hornbill; ชื่อวิทยาศาสตร์: Aceros nipalensis)
- นกเงือกสีน้ำตาลคอขาว (ชื่อภาษาอังกฤษ: Austen's brown hornbill; ชื่อวิทยาศาสตร์: Anorrhinus austeni)
- นกเงือกสีน้ำตาล (ชื่อภาษาอังกฤษ: Tickell's brown hornbill; ชื่อวิทยาศาสตร์: Anorrhinus tickelli)
- นกเงือกปากดำ (ชื่อภาษาอังกฤษ: Bushy-crested hornbill; ชื่อวิทยาศาสตร์: Anorrhinus galeritus)
- นกเงือกปากย่น (ชื่อภาษาอังกฤษ: Wrinkled hornbill; ชื่อวิทยาศาสตร์: Aceros corrugatus)
- นกเงือกกรามช้าง หรือ นกกู่กี๋ (ชื่อภาษาอังกฤษ: Wreathed hornbill; ชื่อวิทยาศาสตร์: Rhyticeros undulatus)
- นกเงือกกรามช้างปากเรียบ (ชื่อภาษาอังกฤษ: Plain-pouched hornbill; ชื่อวิทยาศาสตร์: Rhyticeros subruficollis)
โดยนกเงือกทุกชนิดในประเทศ จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง และมีการศึกษา วิจัย และอนุรักษ์นกเงือกมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2521 มีการจัดตั้งเป็นมูลนิธิศึกษาวิจัยนกเงือก โดยทางคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งได้กำหนดให้วันที่ 13 กุมภาพันธ์ ของทุกปี เป็น “วันรักนกเงือก” เพื่อเป็นการรณรงค์และสร้างความเข้าใจให้ทุกภาคส่วนตระหนักถึงการอนุรักษ์นกเงือกอย่างจริงจัง[9]
นักวิชาการที่ศึกษาเกี่ยวกับนกเงือกโดยเฉพาะ จนได้รับฉายาว่า "มารดาแห่งนกเงือก" คือ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.พิไล พูลสวัสดิ์[10]
รูปภาพ
แก้-
ชาวเผ่านาชิ ซึ่งเป็นชนพื้นเมืองของรัฐอรุณาจัลประเทศ ประเทศอินเดีย สวมเครื่องประดับศีรษะที่ทำจากโหนกของนกกก
-
ธงของรัฐชีน ประเทศพม่า ที่มีสัญลักษณ์รูปนกกก
-
นกแก๊ก ที่รัฐอัสสัม ประเทศอินเดีย
-
นกเงือกหัวแรด ที่สวนสัตว์แนชวิลล์ สหรัฐอเมริกา
-
นกเงือกที่สวนสัตว์พาต้า
-
สัญลักษณ์ของสโมสรฟุตบอลชัยนาท ฮอร์นบิล
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 1.2 "Bucerotidae". ระบบข้อมูลการจำแนกพันธุ์แบบบูรณาการ.
- ↑ Walters, Michael P. (1980). Complete Birds of the World. David & Charles PLC. ISBN 0715376667.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 "ลักษณะเด่นของนกเงือก". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2012-11-15.
- ↑ "วงศ์นกเงือก". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-02-23. สืบค้นเมื่อ 2012-11-13.
- ↑ Hodgson,BH (1833). "Description of the Buceros Homrai of the Himalaya". Asiat. Res. 18 (ฉบับที่ 2): 169–188.
- ↑ "นกเงือก". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-11-06. สืบค้นเมื่อ 2007-11-09.
- ↑ วันรัก"นกเงือก" สัตว์ที่เป็น "ดัชนีชี้วัดความสมบูรณ์ของป่าและธรรมชาติ" จากมติชน
- ↑ https://www.saranukromthai.or.th/sub/book/book.php?book=40&chap=3&page=t40-3-infodetail02.html
- ↑ ไทยโพสต์: 13 กุมภาพันธ์ 'วันรักนกเงือก' สัญลักษณ์ของรักแท้
- ↑ "ยกย่อง"พิไล" แม่ของนกเงือก จากข่าวสด". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-06-07. สืบค้นเมื่อ 2012-11-13.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- มูลนิธิศึกษาวิจัยนกเงือก เก็บถาวร 2012-01-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน