รัฐชีน
ชีน[2] หรือ ชิน[2] (พม่า: ချင်းပြည်နယ်) เป็นหนึ่งในรัฐที่ตั้งอยู่ทางตะวันตกของประเทศพม่า มีเมืองหลักคือฮาคา
รัฐชีน ချင်းပြည်နယ် | |
---|---|
การถอดเสียงเป็นอักษรโรมัน | |
• พม่า | hkyang: pranynai |
ที่ตั้งรัฐชีนในประเทศพม่า | |
พิกัด: 22°0′N 93°30′E / 22.000°N 93.500°E | |
ประเทศ | พม่า |
ภูมิภาค | ตะวันตก |
เมืองหลัก | ฮาคา |
การปกครอง | |
• มุขมนตรี | ซะไล่ง์ลยาน-ลแว (เอ็นแอลดี) |
พื้นที่[1] | |
• ทั้งหมด | 36,018.8 ตร.กม. (13,906.9 ตร.ไมล์) |
ประชากร (พ.ศ. 2557)[1] | |
• ทั้งหมด | 478,801 คน |
• ความหนาแน่น | 13 คน/ตร.กม. (34 คน/ตร.ไมล์) |
ประชากรศาสตร์ | |
• กลุ่มชาติพันธุ์ | ชีน |
• ศาสนา | คริสต์, พุทธเถรวาท, Laipian, วิญญาณนิยม, อิสลาม |
เขตเวลา | UTC+6:30 (เวลามาตรฐานพม่า) |
รหัส ISO 3166 | MM-14 |
อาณาเขตติดต่อ
แก้รัฐชีนมีอาณาเขตติดต่อดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับรัฐมณีปุระ (ประเทศอินเดีย)
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับภาคซะไกง์และภาคมะกเว
- ทิศใต้ ติดต่อกับรัฐยะไข่
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับประเทศบังกลาเทศและรัฐมิโซรัม (ประเทศอินเดีย)
การแบ่งเขตการปกครอง
แก้รัฐชีนแบ่งออกเป็น 6 จังหวัด ดังนี้
จังหวัด | อำเภอ | ||||
---|---|---|---|---|---|
อักษรไทย | อักษรพม่า | อักษรโรมัน | อักษรไทย | อักษรพม่า | อักษรโรมัน |
พะล่าน | ဖလမ်း | Falam | พะล่าน | ဖလမ်း | Falam |
มี่นดะ | မင်းတပ် | Mindat | มี่นดะ | မင်းတပ် | Mindat |
กานแปะและ | ကန်ပက်လက် | Kanpetlet | |||
ฮาคา | ဟားခါး | Hakha | ฮาคา | ဟားခါး | Hakha |
ทานตะลาน | ထန်တလန် | Thantlang | |||
ตี้เดน | တီးတိန် | Tedim | ตี้เดน | တီးတိန် | Tedim |
ตู้นซาน | တွန်းဇံ | Tonzang | |||
มะตูปี | မတူပီ | Matupi | มะตูปี | မတူပီ | Matupi |
ปะและวะ | ပလက်ဝ | Paletwa | ปะและวะ | ပလက်ဝ | Paletwa |
ประชากร
แก้เชื้อชาติ ส่วนใหญ่เป็นชาวชีน นอกจากนั้นมีชาวมารา ชาวคูมี และชาวพม่า
ศาสนา ส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์ นอกนั้นนับถือศาสนาพุทธ
ประเพณีท้องถิ่น
แก้ลามะคาหรือประเพณีการเก็บเกี่ยว เองคาหรือประเพณีอุ่นเรือน นอกจากนั้นยังมียูลักควาโดหรือวันปีใหม่ ควางเจวหรือวันฉลองตรงกับวันที่ 20 กุมภาพันธ์
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 "Union of Myanmar". City Population. สืบค้นเมื่อ 2009-04-10.
- ↑ 2.0 2.1 "ประกาศสำนักงานราชบัณฑิตยสภา เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 139 (พิเศษ 205 ง). 1 กันยายน 2565.