พิไล พูลสวัสดิ์
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ พิไล พูลสวัสดิ์ (เกิดเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2489) เป็นนักวิทยาศาสตร์และนักอนุรักษ์ชาวไทย ที่มีผลงานวิจัยดีเยี่ยมด้านปักษีวิทยา (Ornithology) นิเวศวิทยาสัตว์ป่า (Wildlife Ecology) และปรสิตวิทยา (Parasitology: Avian diseases) เป็นผู้ที่มุ่งมั่นทำวิจัยระยะยาว เพื่อการอนุรักษ์สัตว์ป่าและทรัพยากรธรรมชาติให้คงอยู่อย่างยั่งยืน ทำกิจกรรมเผยเพื่อเผยแพร่ความรู้ในการอนุรักษ์นกเงือกและทรัพยากรธรรมชาติอย่างเข้มแข็ง จนได้รับการขนานนามว่า "มารดาแห่งนกเงือก (GREAT MOTHER OF THE HORNBILLS) เก็บถาวร 2007-09-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนก่อให้เกิดการขับเคลื่อนทางสังคมเพื่อการคุ้มครอง-อนุรักษ์นกเงือกและธรรมชาติ จนได้เป็นคนไทยคนแรกที่ได้รับรางวัลผู้ทรงเกียรติด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติระดับโลก พร้อมกันถึง 2 รางวัล เมื่อปี พ.ศ. 2549 ได้แก่รางวัล The 2006 ROLEX Awards for Enterprises จาก Rolex SA ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และ The 52nd Annual Chevron Conservation Awards จาก Chevron Corporation ประเทศสหรัฐอเมริกาและได้รับ พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา สาขาวิทยาศาสตร์ ประจำปี 2550 เก็บถาวร 2008-09-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุยเดช โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เป็นผู้แทนพระองค์
ประวัติการศึกษา
แก้- ปริญญาตรี ครุศาสตร์บัณฑิต (มัธยมศึกษา) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ประกาศนียบัตรชั้นสูง (นิวเคลียร์เทคโนโลยี) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ปริญญาโท วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (จุลชีววิทยา) มหาวิทยาลัยมหิดล
- ปริญญาเอก (D. Sc.) สาขาชีววิทยา (Avian Ecology) มหาวิทยาลัยโอซาก้าซิตี้ ประเทศญี่ปุ่น
ประวัติการทำงาน
แก้ตำแหน่งวิชาการ
- ศาสตราจารย์เกียรติคุณ: อาจารย์พิเศษ ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เก็บถาวร 2007-11-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
ตำแหน่งในสมาคมและองค์กรต่างๆ
- พ.ศ. 2528-ปัจจุบัน - ได้รับเลือกเป็นตัวแทนของประเทศไทยเป็นกรรมการใน International Ornithological Committee (IOC committee) แทน นายแพทย์บุญส่ง เลขะกุล
- พ.ศ. 2537-สิงหาคม 2550 - เลขาธิการมูลนิธิศึกษาวิจัยนกเงือก
- พ.ศ. 2539-ปัจจุบัน - ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ ของสมาคมอนุรักษ์นกและธรรมชาติแห่งประเทศไทย
- พ.ศ. 2541-2549 - ได้รับเลือกเป็น Executive Committee ใน IOC committee
- พ.ศ. 2543-2547 - ได้รับเลือกให้เป็น Corresponding Fellow จาก The American Ornithologists’ Union (AOU)
- พ.ศ. 2544-ปัจจุบัน - กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าแห่งชาติ
- พ.ศ. 2545–ปัจจุบัน - Advisory Board of Ornithological Science, Journal of Ornithological Society of Japan
- พ.ศ. 2545–ปัจจุบัน - กรรมการมูลนิธิพิทักษ์อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่
- พ.ศ. 2546–ปัจจุบัน - เป็นสมาชิกสามัญมูลนิธิบัณฑิตยสภาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย
- พ.ศ. 2547-ปัจจุบัน - ได้รับเลือกให้เป็น Honorary Fellow จาก The American Ornithologist's Union
- พ.ศ. 2548 - ที่ปรึกษา Singapore Hornbill Project, Palau Ubin (โครงการวิจัยร่วมระหว่าง National Park Boards และ Parks Management Department, Singapore เก็บถาวร 2007-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- พ.ศ. 2549 - ที่ปรึกษาคณะอนุกรรมาธิการอนุรักษ์นกเงือก และนกตะกรุม เพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืน ของคณะกรรมาธิการการท่องเที่ยว วุฒิสภา
- สิงหาคม พ.ศ. 2550-ปัจจุบัน - คณะกรรมการมูลนิธิศึกษาวิจัยนกเงือก
- สิงหาคม พ.ศ. 2550-ปัจจุบัน - ปฏิบัติงานแทน-รักษาการประธานมูลนิธิศึกษาวิจัยนกเงือก
เกียรติคุณและรางวัล
แก้- พ.ศ. 2553 - รางวัลศิษย์เก่าเกียรติยศ ประจำปี พ.ศ. 2553 จากคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- พ.ศ. 2550 - รางวัลบุคคลดีเด่นของชาติ ประจำปี พ.ศ. 2550 สาขาอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม จาก คณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี รัฐบาลไทย เก็บถาวร 2012-07-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- พ.ศ. 2550 - รางวัล BCST Swarovski Award (นักอนุรักษ์นกดีเด่น) จาก สมาคมอนุรักษ์นกและธรรมชาติแห่งประเทศไทย (Bird Conservation Society of Thailandและ Swarovski Optik ประเทศออสเตรีย เก็บถาวร 2007-06-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- พ.ศ. 2550 - รางวัลอาจารย์ดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ. 2549 เก็บถาวร 2012-07-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จากที่ประชุมประธานสภาอาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย (ปอมท)
- พ.ศ. 2549 - รางวัลผู้ทรงเกียรติ (คนไทยคนแรก) The 2006 Rolex Awards for Enterprise จาก Rolex SA ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
- พ.ศ. 2549 - รางวัล (คนไทยคนแรก) The 52nd Annual Chevron Conservation Awards จาก Chevron Corporation ประเทศสหรัฐอเมริกา
- พ.ศ. 2549 - รับพระราชทานรางวัลมหาวิทยาลัยมหิดล สาขาการวิจัย จากผลงานวิจัยเรื่อง "ชีววิทยาและนิเวศวิทยาของนกเงือก"
- พ.ศ. 2549 - รางวัลอาจารย์ตัวอย่าง ระดับศาสตราจารย์ ประจำปีการศึกษา 2548 จาก สภาอาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
- พ.ศ. 2547 - โล่เกียรติยศ ครุศาสตร์ดีเด่น จากสมาคมครุศาสตร์สัมพันธ์ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- พ.ศ. 2546 - รางวัลจากโครงการร่วมใจพัฒนาสิ่งแวดล้อมและสังคมไทย เรื่อง โครงการเยาวชนอนุรักษ์นกเงือกเทือกเขาบูโด จาก บริษัทฟอร์ดโอเปอเรชั่นส์ (ประเทศไทย) จำกัด (โครงการต่อเนื่อง)
- พ.ศ. 2545 - รางวัลจากโครงการร่วมใจพัฒนาสิ่งแวดล้อมและสังคมไทย เรื่อง โครงการชุมชนอนุรักษ์นกเงือกเทือกเขาบูโด จาก บริษัทฟอร์ดโอเปอเรชั่นส์ (ประเทศไทย) จำกัด (โครงการต่อเนื่อง)
- พ.ศ. 2544 - รางวัลจากโครงการร่วมใจพัฒนาสิ่งแวดล้อมและสังคมไทย เรื่อง โครงการชุมชนอนุรักษ์นกเงือกเทือกเขาบูโด จาก บริษัทฟอร์ดโอเปอเรชั่นส์ (ประเทศไทย) จำกัด
- พ.ศ. 2539 - โล่เกียรติยศนักอนุรักษ์ดีเด่น สาขาการวิจัยสัตว์ป่า จากคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และกรมป่าไม้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- พ.ศ. 2537 - เกียรติบัตรในด้านความสนใจในการรณรงค์ เพื่อรักษาสภาวะแวดล้อมที่ดีของประเทศไทย จากชมรมสภาวะแวดล้อมสยาม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ผลงานด้านการวิจัยและอนุรักษ์
แก้ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.พิไล พูลสวัสดิ์ เป็นหัวหน้าโครงการศึกษาชีววิทยาและนิเวศวิทยาของนกเงือกระยะยาวมาตั้งแต่ พ.ศ. 2521 และเมื่อ พ.ศ. 2546-ปัจจุบันเป็นหัวหน้าโครงการวิจัยร่วมจากหลายสถาบันเพื่อศึกษาลักษณะพันธุกรรม ประชากร และสถานภาพของนกเงือกในพื้นที่ผืนป่าและหย่อมป่าในประเทศไทย (โครงการร่วมกับกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืชมหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและสมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่าแห่งประเทศไทย)โดยได้รับทุนสนับสนุนจาก ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ เก็บถาวร 2007-08-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน และยังเป็นผู้ริเริ่มโครงการอุปการะครอบครัวนกเงือก ที่นำงานวิทยาศาสตร์มาเป็นสื่อกลางในการกระตุ้นให้คนเมืองเข้ามาสัมผัส และมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติร่วมกับชุมชนในท้องถิ่น เป็นผู้ก่อตั้งมูลนิธิศึกษาวิจัยนกเงือก ซึ่งให้ทุนสนับสนุนงานวิจัยด้านชีววิทยา-นิเวศวิทยาของนกเงือกและนิเวศวิทยาทั่วไป และสร้างนักวิจัยรุ่นใหม่ จัดตั้งศูนย์กลางประสานงานทางวิชาการ งานวิจัยและให้การฝึกอบรม จัดประชุมวิชาการเกี่ยวกับการวิจัยนกเงือกในระดับชาติและนานาชาติ ส่งเสริมนักวิจัยหลากหลายสาขาทั้งในและต่างประเทศ ให้ทำงานเชิงบูรณาการ โดยใช้นกเงือกเป็นสัตว์เป้าหมายในการวิจัย ซึ่งรูปแบบและผลการวิจัยสามารถประยุกต์ใช้ในการจัดการเพื่อการอนุรักษ์นกเงือก ซึ่งเป็น Umbrella และ Keystone species และใกล้สูญพันธุ์อย่างเหมาะสม จนทำให้เป็นโครงการวิจัยด้านอนุรักษ์สัตว์ป่าและทรัพยากรธรรมชาติที่มีศักยภาพในการชี้นำสังคม เป็นที่ยอมรับจากคณะทำงานด้านการท่องเที่ยวและสิ่งแวดล้อม วุฒิสภา ใช้เป็นต้นแบบในการจัดการอนุรักษ์ สัตว์ป่า และสิ่งแวดล้อมในประเทศ เป็นผู้ริเริ่มปลุกจิตสำนึกของพรานล่านกเงือกและชาวบ้านให้หันมาเป็นผู้อนุรักษ์ธรรมชาติและสัตว์ป่า โดยใช้นกเงือกเป็นสื่อจนเกิดความร่วมมือระหว่างชุมชน โรงเรียน เยาวชน และนักวิจัย
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. พิไล พูลสวัสดิ์ มีผลงานวิจัยตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ มีบทความที่กล่าวถึงงานวิจัยในวารสารทางวิชาการและนิตยสารชั้นนำ ภาพยนตร์สารคดีในประเทศและต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง อาทิเช่น
- Profile: Pilai Poonswad, "Subduing Poachers, Ducking Insurgents to Save a Spendid Bird"
Science 3 August 2007: Vol. 317. no. 5838, pp. 592-593
Science Magazine คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เก็บถาวร 2007-08-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- "Birds as Barometers" SAWASDEE, April 2002: 32-37.
- "Hornbills of Asia". WE, March 2001: 42-58.
- "The Shrinking World of Hornbills". NATIONAL GEOGRAPHIC, Vol. 196 (1) , July 1999.
- "Hornbills in Thailand". THAIWAYS Vol. 11 (14) , 1994: 42-48.
- "In Search of the Rufous-necked Hornbil". GARUDA, March 1994: 22-25.
- "A Room With A Narrow View". EARTHWATCH, July 1988: 16-21.
ผลงานที่ได้รับการเผยแพร่เป็นภาพยนตร์สารคดี อาทิเช่น
- NATIONAL GEOGRAPHIC "The 2006 Rolex Awards for Enterprise" (2007)
- TELE IMAGE NATURE "Untamed Asian Jungle" สำหรับ DISCOVERY CHANEL (2000)
- FOX FAMILY STATION. " World Gone Wild" (1999)
- NHK. "Great Nature Special" (1998)
- BBC. "Sir David Attenborough's Life of Bird Series" (1998)
- NHK. "The Family on Earth" (1990)
- THE CHEDO - ANGIER. "State of the World" สำหรับสถานีโทรทัศน์ WGBH เมือง Boston (1988)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2550 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[1]
- พ.ศ. 2545 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[2]
- พ.ศ. 2550 – เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา (ร.ด.ม.(ศ)) สาขาวิทยาศาสตร์[3]
- พ.ศ. 2542 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[4]
อ้างอิง
แก้- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2010-10-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๔ ตอนที่ ๑๘ ข หน้า ๘, ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-05-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๒๖, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา เก็บถาวร 2009-02-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๑ ข หน้า ๗, ๑๓ มิถุนายน ๒๕๕๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๔๑๓, ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๓
รางวัลเกียรติยศ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เก็บถาวร 2007-06-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Coraciiformes Taxon Advisory Grop