ฮิโระ ซางะ

(เปลี่ยนทางจาก ฮิโระ ซะงะ)

ฮิโระ ซางะ (ญี่ปุ่น: 嵯峨 浩โรมาจิSaga Hiro) (16 มิถุนายน พ.ศ. 2457 - 20 มิถุนายน พ.ศ. 2530) ทรงเป็นธิดาของ ขุนนางซาเนโตะ ซางะ และเป็นพระญาติกับสมเด็จพระจักรพรรดิโชวะ พระองค์ทรงอภิเษกสมรสในปีพ.ศ. 2481 กับเจ้าชายผู่เจี๋ย พระอนุชาในจักรพรรดิผู่อี๋ หลังจากทรงอภิเษกสมรสแล้วทรงได้รับการระบุพระนามไว้ว่า อ้ายซินเจว๋หลัว ฮิโระ (愛新覺羅•浩) หรือ อ้ายซินเจว๋หลัว ฮ่าว ตามภาษาแมนจู และ ไอชิงกากูระ ฮิโระ ตามสำเนียงญี่ปุ่น หลังจากการเสด็จสวรรคตของจักรพรรดิผู่อี๋ในปี พ.ศ. 2510 พระสวามีของพระนางได้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์แมนจูกัว ทำให้พระนางทรงดำรงเป็นสมเด็จพระจักรพรรดินีแห่งแมนจูกัว อย่างไม่เป็นทางการ

ฮิโระ ซางะ

ซางะ ฮิโระ (嵯峨浩)

อ้ายซินเจว๋หลัว ฮิโระ (愛新覺羅•浩)
ผู้อ้างสิทธิในตำแหน่งสมเด็จพระจักรพรรดินีแห่งจักรวรรดิจีนและจักรวรรดิแมนจูกัว
ประสูติ16 มิถุนายน พ.ศ. 2457
โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
สวรรคต20 มิถุนายน พ.ศ. 2530
ปักกิ่ง ประเทศจีน
(พระชนมายุ 73 พรรษา)
พระราชสวามีเจ้าชายผู่เจี๋ย
พระราชบุตรเจ้าหญิงฮุ่ยเฉิง
เจ้าหญิงหยุนเฉิง

อ้ายซินเจว๋หลัว ฮิโระ (愛新覺羅•浩)
ราชวงศ์ชิง
พระราชบิดาซาเนโตะ ซางะ

พระประวัติ แก้

 
ภาพงานมงคลสมรสของเจ้าชายผู่เจี๋ยและฮิโระ ซางะ ในปี ค.ศ. 1938

ตระกูลซางะอยู่ในชั้นคุเงะสายโอริมาจิ ซันโจ ซึ่งเป็นสายตระกูลฟูจิวาระทางเหนือ ฮิโระเกิดในปี พ.ศ. 2457โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เป็นบุตรีคนแรกของขุนนางซาเนโตะ ซางะ เมื่อเธอเติบโตขึ้น จึงได้เข้าศึกษาในโรงเรียนกากูชูอิง ซึ่งเป็นโรงเรียนสตรีล้วน

ในปี พ.ศ. 2480 เธอได้รู้จักกับเจ้าชายผู่เจี๋ย พระอนุชาในจักรพรรดิผู่อี๋แห่งราชวงศ์ชิง ซึ่งได้เข้าศึกษาที่โรงเรียนการทหารญี่ปุ่น และได้มีการจัดเตรียมพิธีดูตัว โดยพระองค์ได้เลือกรูปภาพของเธอจากรูปสตรีหลายใบที่เสนอโดยกองทัพคันโตของญี่ปุ่น การสมรสครั้งนี้เป็นไปด้วยเหตุผลทางการเมืองเพื่อสานสัมพันธไมตรีอันเหนียวแน่นระหว่าง 2 ชนชาติคือชาวญี่ปุ่นและชาวแมนจู

พระราชพิธีหมั้นได้จัดขึ้นที่สถานเอกอัครราชทูตแมนจูกัวประจำกรุงโตเกียวในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2481 ตามมาด้วยการอภิเษกสมรสอย่างเป็นทางการที่ห้องโถงที่ตั้งกองทัพหลวงญี่ปุ่นที่คุดันซางะ ในกรุงโตเกียววันที่ 3 เมษายน ปีเดียวกัน ทั้งคู่ได้ย้ายไปที่เมืองฉางชุน เมืองหลวงของแมนจูกัว ทั้งคู่ให้กำเนิดพระธิดา 2 พระองค์ ทำให้ชีวิตการสมรสเริ่มมีความสุข

ระหว่างการอพยพของแมนจูเรียจากการโจมตีของสหภาพโซเวียต เจ้าหญิงฮิโระต้องแยกจากเจ้าชายผู่เจี๋ย ขณะที่เจ้าชายผู่เจี๋ยต้องติดตามจักรพรรดิผู่อี๋พระเชษฐาเสด็จลี้ภัยทางเครื่องบิน เจ้าหญิงฮิโระและเจ้าหญิงหยุนเฉิงพระธิดาได้ถูกส่งไปเกาหลีโดยทางรถไฟพร้อมกับสมเด็จพระจักรพรรดินีวั่นหรง รถไฟพระที่นั่งได้ถูกควบคุมโดยกองทัพพรรคคอมมิวนิสต์จีนที่ตาลิทโจว แมนจูกัวในเดือนมกราคม พ.ศ. 2489 ในเดือนเมษายนทั้งหมดทรงถูกคุมขังไว้ที่คุกเมืองฉางชุน จนได้รับการปล่อยตัวและถูกคุมขังอีกครั้งที่คุกมณฑลจี๋หลิน เมื่อกองทัพพรรคก๊กมินตั๋งได้ทิ้งระเบิดมณฑลจี๋หลิน[1] ทั้งหมดจึงถูกย้ายไปคุมขังที่คุกเมืองหยานจี เจ้าหญิงฮิโระและพระธิดาได้ถูกย้ายไปคุมขังที่คุกเมืองเซี่ยงไฮ้[2] และได้รับการส่งกลับไปยังญี่ปุ่น ในปี พ.ศ. 2504 หลังจากพระสวามีทรงพ้นโทษ ทั้งคู่ได้รับการยินยอมให้ประทับอยู่ร่วมกันที่เมืองปักกิ่งโดยโจว เอินไหล ตั้งแต่ พ.ศ. 2504 ซึ่งทั้ง 2 พระองค์ไม่เคยห่างกัน โดยใช้ชีวิตแบบสามัญชน จนกระทั่ง พ.ศ. 2530 เจ้าหญิงฮิโระ ซางะสิ้นพระชนม์ สิริพระชนมายุ 73 พรรษา

พระธิดา แก้

  • เจ้าหญิงฮุ่ยเซิง (慧生) ประสูติเมื่อปี พ.ศ. 2482 ที่เมืองฉางชุน ทรงศึกษาที่โรงเรียนกากูชูอิง พระนางทรงถูกปลงพระชนม์ที่อิซุ ใกล้กรุงโตเกียวในวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2500 แต่บางหลักฐานกล่าวว่าทรงกระทำอัตวินิบาตกรรมพระองค์เอง
  • เจ้าหญิงหยุนเซิง (嫮生) ประสูติเมื่อปี พ.ศ. 2484 ทรงศึกษาที่โรงเรียนกากูชูอิง หลังจากนั้นทรงอภิเษกสมรสกับอดีตชนชั้นสูงในโตเกียว และทรงมีบุตรธิดารวม 5 พระองค์ ปัจจุบันยังทรงดำรงพระชนม์ชีพอยู่

อ้างอิง แก้

  1. Lebra, Above the Clouds pp.213
  2. Behr, The Last Emperor, p. 268-9

แหล่งข้อมูลอื่น แก้