อินสอน บัวเขียว

อินสอน บัวเขียว อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ ได้รับเลือกตั้งครั้งแรก ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2518 สังกัดพรรคสังคมนิยมแห่งประเทศไทย[1][2] อดีตรองหัวหน้าพรรคสังคมประชาธิปไตย อดีตกรรมการบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)[3] และเป็นเพื่อนสนิทของ ดร.ทักษิณ ชินวัตร[4]

อินสอน บัวเขียว
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่
ดำรงตำแหน่ง
26 มกราคม พ.ศ. 2518 – 12 มกราคม พ.ศ. 2519
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด13 ตุลาคม พ.ศ. 2492
เสียชีวิต24 ธันวาคม พ.ศ. 2561 (69 ปี)
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองสังคมนิยมแห่งประเทศไทย
ความหวังใหม่

ประวัติ แก้

อินสอน บัวเขียว จบการศึกษาระดับปริญญาตรี การศึกษาบัณฑิต (กศ.บ.) จากมหาวิทยาลัยบูรพา (วิทยาลัยวิชาการศึกษา บางแสน ในขณะนั้น) ปริญญาโท รัฐประศาสนศาสตร์ จากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ และ Doctorate of Public Administration, Century University, Albuquerque, New Mexico, USA

การทำงาน แก้

อินสอน บัวเขียว เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ที่ได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส. 15 คน จากผู้สมัครทั่วประเทศ 82 คน ของพรรคสังคมนิยมแห่งประเทศไทย ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2518[5]

หลังจากนั้นเป็นผู้ประสานงาน สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัย องค์การสหประชาชาติ ในปี พ.ศ. 2519 ถึงปี พ.ศ. 2523 ต่อมาเป็นผู้บริหารกลุ่มบริษัทสุราทิพย์ และ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) เป็นที่ปรึกษาบริษัท ลาว – ชินวัตร เทเลคอมมินิเคชั่น จำกัด (ปี พ.ศ. 2533 - 2538)[6]

ในปี พ.ศ. 2525 อินสอน บัวเขียว ร่วมฟื้นฟูพรรคสังคมประชาธิปไตย ร่วมกับ ชาญ แก้วชูใส และ ดร.สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จทางการเมือง ต่อมาในปี 2539 อินสอนได้ลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.จังหวัดเชียงใหม่ เขตเลือกตั้งที่ 2 สังกัดพรรคความหวังใหม่ ร่วมกับอำนวย ยศสุข และชูชัย เลิศพงศ์อดิศร แต่ได้รับเลือกตั้งนายอำนวยยศสุข เพียงคนเดียว[7]

ในปี พ.ศ. 2552 เข้าร่วมกับมิตรสหาย เช่น สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ, อุดม ขันแก้ว, ประชา อุดมธรรมานุภาพ, สรรเสริญ ศรีอุ่นเรือน และ ไม้หนึ่ง ก.กุนที เป็นต้น เพื่อรื้อฟื้นพรรคสังคมนิยม แต่ไม่ประสบความสำเร็จ

ถึงแก่อนิจกรรม แก้

อินสอน บัวเขียว ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2561[8]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. นักการเมืองท้องถิ่นจังหวัดเชียงใหม่. กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า. 2551
  2. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่
  3. อดีตกรรมการบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
  4. แม้จะเพลี้ยงพล้ำ…ก็อย่าดูเบา “ทักษิณ” - สำนักข่าวเจ้าพระยา
  5. "สุดอาลัย 'อุดร ทองน้อย' ตำนาน ส.ส.สังคมนิยม". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-26. สืบค้นเมื่อ 2019-03-10.
  6. ประวัติบริษัท ปตท.
  7. ผลการเลือกตั้ง เก็บถาวร 2004-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนเว็บไซต์กรมการปกครอง
  8. "ข่าวตาย" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-01-25. สืบค้นเมื่อ 2021-05-25.
  9. เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์มงกุฎไทย (ต.ม.)