ราชอาณาจักรเครือจักรภพ

รัฐอธิปไตยอันถือเอาพระมหากษัตริย์สหราชอาณาจักรเป็นประมุขร่วม
(เปลี่ยนทางจาก อาณาจักรในเครือจักรภพ)

ราชอาณาจักรเครือจักรภพ (อังกฤษ: Commonwealth realm) คือรัฐเอกราชภายในเครือจักรภพแห่งประชาชาติที่มีพระมหากษัตริย์สหราชอาณาจักรทรงเป็นประมุขและใช้ลำดับการสืบราชบัลลังก์แบบเดียวกับรัฐสมาชิกอื่น ๆ ในเครือจักรภพ[1][2] ข้อมูลเมื่อ 2021 ซึ่งมีด้วยกันทั้งหมด 15 รัฐ รวมพื้นที่ทั้งหมด (ไม่นับรวมการอ้างสิทธิ์เหนือดินแดนแอนตาร์กติก) 18.8 ล้านตารางกิโลเมตร (7.3 ล้านตารางไมลส์) และมีประชากรรวมกันกว่า 137 ล้านคน[3] โดยรัฐที่มีประชากรมากที่สุดหกลำดับแรก ได้แก่ สหราชอาณาจักร, แคนาดา, ออสเตรเลีย, ปาปัวนิวกินี, นิวซีแลนด์ และจาเมกา

อาณาจักรในเครือจักรภพ (สีน้ำเงิน) และอาณาจักรในเครือจักรภพในอดีต (สีแดง)

อาณาจักรในเครือจักรภพทั้งหมดล้วนแล้วแต่เคยเป็นอาณานิคมของสหราชอาณาจักรด้วยกันทั้งสิ้น ยกเว้นเพียงแต่สหราชอาณาจักรและปาปัวนิวกินี (ก่อนได้รับเอกราชเคยเป็นเพียงดินแดนสองแห่งที่ถูกปกครองโดยอาณานิคมออสเตรเลีย) พระราชบัญญัติเวสต์มินสเตอร์มีผลบังคับใช้ใน พ.ศ. 2474 นับเป็นการสถาปนาอาณาจักรในเครือจักรภพขึ้นเป็นครั้งแรกโดยการให้เอกราชทางนิติบัญญัติแก่อาณานิคมหลายแห่ง ซึ่งในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 หรือต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ได้กลายมาเป็นเขตปกครองตนเองเรียบร้อยแล้ว และจึงกลายมาเป็นอาณาจักรในเครือจักรภพด้วยการที่สหราชอาณาจักรการมอบเอกราชให้โดยตรง

เป็นช่วงเวลาหนึ่งแล้วที่การใช้คำว่า เขตปกครอง ยังคงมีไว้เพื่อใช้หมายถึงอาณาจักรที่ไม่ได้อยู่ในเครือจักรภพอังกฤษ แม้ว่าสถานะอย่างเป็นทางการของเขตปกครองเหล่านั้นจะเปลี่ยนไปแล้วก็ตาม มีบางครั้งที่การเรียกใช้ชื่อดังกล่าวปรากฏให้เห็นในปัจจุบัน แต่พบได้น้อยครั้งลงอย่างต่อเนื่องเมื่อคำว่า อาณาจักร ถูกนำมาใช้อย่างเป็นทางการพร้อมกับที่สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 เสด็จขึ้นครองราชย์ใน พ.ศ. 2495 ซึ่งบังคับให้ต้องใช้สถานะที่ถูกต้องตามกฎหมายพร้อมด้วยพระราชอิสริยยศและพระราชนามแบบปัจจุบันในแต่ละประเทศ[1] อย่างไรก็ตามคำว่า อาณาจักรในเครือจักรภพ เป็นเพียงคำอธิบายอย่างไม่เป็นทางการ ไม่ใช่คำที่ใช้อย่างเป็นทางการ

สมาชิกในปัจจุบัน

แก้
ประเทศ[หมายเหตุ 1] ประชากร [4](พ.ศ. 2560) ราชาธิปไตย วันที่
[หมายเหตุ 2]
ผู้สำเร็จราชการ นายกรัฐมนตรี ธงพระอิสริยยศ
  แอนทีกาและบาร์บิวดา 100,963 พระมหากษัตริย์แอนติกาและบาร์บูดา 1981 ร็อดนีย์ วิลเลียมส์ แกสตัน บราวน์
  ออสเตรเลีย 24,125,848 พระมหากษัตริย์ออสเตรเลีย 1901 เดวิด เฮอร์ลีย์ แอนโทนี แอลบานีส
  บาฮามาส 391,232 พระมหากษัตริย์บาฮามาส 1973 คอร์เนลีส เอ. สมิท ฮิวเบิร์ต มินนิส
  เบลีซ 366,954 พระมหากษัตริย์เบลีซ 1981 ฟรอยลา ซาลาม Johnny Briceño
  แคนาดา 36,289,822 พระมหากษัตริย์แคนาดา 1867 แมรี ไซมอน จัสติน ทรูโด  
  กรีเนดา 107,317 พระมหากษัตริย์เกรเนดา 1974 Cécile La Grenade ดิคคอน มิตเชลล์
  จาเมกา 2,881,355 พระมหากษัตริย์จาเมกา 1962 แพทริก อัลเลน แอนดรูว์ โฮลเนสส์
  นิวซีแลนด์[หมายเหตุ 3] 4,660,833 พระมหากษัตริย์นิวซีแลนด์ 1907 ซินดี้ คิโร คริส ฮิปกินส์
  ปาปัวนิวกินี 8,084,991 พระมหากษัตริย์ปาปัวนิวกินี 1975 Bob Dadae James Marape
  เซนต์คิตส์และเนวิส 54,821 พระมหากษัตริย์เซนต์คิตส์และเนวิส 1983 แทบลีย์ ซีตัน ทิโมธี แฮร์ริส
  เซนต์ลูเชีย 178,015 พระมหากษัตริย์เซนต์ลูเชีย 1979 เอร์โรล ชาลส์ ฟิลิป เจ. ปีแอร์
  เซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์ 109,643 พระมหากษัตริย์เซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์ 1979 ซูซาน ดูแกน ราล์ฟ กอนซัลเวส
  หมู่เกาะโซโลมอน 599,419 พระมหากษัตริย์หมู่เกาะโซโลมอน 1978 เดวิด วูนากิ มานาสเซห์ โซกาแวร์
  ตูวาลู 11,097 พระมหากษัตริย์ตูวาลู 1978 โตฟีงา วาเอวาลู ฟาลานี กาอูเซอา นาตาโน
  สหราชอาณาจักร[หมายเหตุ 4] 65,788,574 พระมหากษัตริย์สหราชอาณาจักร 1801 ไม่มี[5] ริชี ซูแน็ก  
 

สมาชิกในอดีต

แก้

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 "What is a Commonwealth Realm?". Royal Household. สืบค้นเมื่อ 6 October 2009.
  2. Royal Household. "Her Majesty the Queen". Queen's Printer. สืบค้นเมื่อ 23 January 2011.
  3. Figures totaled from 2011 CIA World Fact Book
  4. "การประเมินประชากรโลก พ.ศ. 2560". ESA.UN.org (custom data acquired via website). United Nations Department of Economic and Social Affairs, Population Division. สืบค้นเมื่อ 10 September 2017.
  5. "Governor-General". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-12-10. สืบค้นเมื่อ 2022-08-18.

บรรณานุกรม

แก้
  • Bogdanor, V.; The Monarchy and the Constitution; Oxford: Oxford University Press; 1995
  • Cox, Noel; "The Theory of Sovereignty and the Importance of the Crown in the Realms of The Queen"; Oxford University Commonwealth Law Journal; Vol. 2, No. 2; 2002
  • Forsey, Eugene; Royal Power of Dissolution on Parliament in the British Commonwealth; Toronto: Oxford University Press; 1968 [1943]
  • Maitland, F; "The Crown as a Corporation"; Law Quarterly Review; Vol. 17, No. 131; 1901
  • McIntyre; P.; "The Strange Death of Dominion Status", Journal of Imperial and Commonwealth History; Vol. 27, No. 2; 1999; 193–212


อ้างอิงผิดพลาด: มีป้ายระบุ <ref> สำหรับกลุ่มชื่อ "หมายเหตุ" แต่ไม่พบป้ายระบุ <references group="หมายเหตุ"/> ที่สอดคล้องกัน