จ่าอากาศเอก อังคาร ชมพูพวง ชื่อเล่น กี้ เกิดเมื่อวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2524 ที่ตำบลเขาพระงาม อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี เป็นนักมวยสากลสมัครเล่นทีมชาติไทย เดิมเคยชกมวยไทยมาก่อนในชื่อ "ผจญศึก ลูกพระบาท" เคยได้แชมป์ในรุ่นเวลเตอร์เวท ของเวทีลุมพินี

อังคาร ชมพูพวง
เกิดจ.อ.อังคาร ชมพูพวง
20 มกราคม พ.ศ. 2524 (43 ปี)
สถิติเหรียญโอลิมปิก
มวยสากลสมัครเล่น
เอเชียนเกมส์
เหรียญเงิน - รองชนะเลิศ กาตาร์ 2006 เวลเตอร์เวท
ซีเกมส์
เหรียญทอง - ชนะเลิศ โคราช 2007 เวลเตอร์เวท
สถิติเหรียญโอลิมปิก
วูซู
เอเชียนเกมส์
เหรียญทอง - ชนะเลิศ ปูซาน 2002 ฉางฉวน (70 ก.ก.)

จากนั้นได้สร้างชื่อครั้งแรกจากการเป็นนักกีฬาวูซูทีมชาติที่ได้รับเหรียญทองจากการแข่งขันเอเชียนเกมส์ 2002 ที่ เมืองปูซาน ประเทศเกาหลีใต้ จากนั้นได้เปลี่ยนมาชกมวยสากลสมัครเล่นในรุ่นเวลเตอร์เวทจนติดทีมชาติแข่งขันเอเชียนเกมส์ 2006 ที่กรุงโดฮา ประเทศกาตาร์ และมีโอกาสสร้างประวัติศาสตร์ถ้าได้เหรียญทองอีก ก็จะเป็นนักกีฬาคนแรกในประวัติศาสตร์ของทวีปเอเชียที่ได้เหรียญทองเอเชียนเกมส์ถึง 2 ครั้ง จาก 2 ประเภทกีฬา แต่อังคารก็ทำได้เพียงเหรียญเงิน

จากนั้นได้เหรียญทองจากการแข่งขันซีเกมส์ 2007 ที่จังหวัดนครราชสีมา ที่ไทยเป็นเจ้าภาพ อังคารได้มีโอกาสติดทีมชาติเข้าแข่งขันโอลิมปิก 2008 ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน ในรุ่นมิดเดิลเวท แทนที่สุริยา ปราสาทหินพิมาย เจ้าของเหรียญทองแดงในรุ่นนี้จากการแข่งขันโอลิมปิก 2004 ที่กรุงเอเธนส์ ประเทศกรีซ ที่ต้องถอนตัวไปเนื่องจากบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ

และในการแข่งขันครั้งนี้ ในรอบแรกอังคารสามารถเอาชนะ โช เดือก จิน นักมวยชาวเกาหลีใต้ไปได้ 9-3 หมัด และนับเป็นคนแรกในทีมมวยสากลสมัครเล่นไทย แต่ในรอบสอง อังคารต้องตกรอบเพราะพ่ายแพ้ให้แก่ วิเจนเดอร์ กุมาร นักมวยชาวอินเดียไป 13-3 หมัด เนื่องจากรูปร่างที่สู้ไม่ได้

ต่อมาอังคารจึงหันกลับไปชกมวยไทยอีกครั้ง[1] และเกือบถึงขั้นเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2553 ได้ไปชกมวยเค-วัน ที่กรุงลิสบอน ประเทศโปรตุเกส ในแบบมวยรอบคัดเลือกผู้ชนะเพื่อที่จะเข้ารอบชิงชนะเลิศที่ประเทศญี่ปุ่น ในรอบชิงดำ อังคารปักหลักแลกหมัดกับ คาร์โก้ ดราโก้ นักมวยชาวเนเธอร์แลนด์ เชื้อสายอาร์เมเนีย อย่างดุเดือด ก่อนจะแพ้คะแนนไปหวุดหวิด หลังลงเวทีเกิดอาการเจ็บหน้าอกจนทรุด แต่อังคารได้ปฏิเสธที่จะได้รับการตรวจจากแพทย์ และยังแข็งใจเดินทางกลับมายังประเทศไทยได้ เมื่อกลับมาถึงแล้ว ร่างกายทนไม่ไหวจนสลบล้มลงไป ญาติ ๆ ได้นำตัวส่งโรงพยาบาลลำนารายณ์ แพทย์ได้ทำการเอ็กซ์เรย์ พบว่าปอดฉีกและมีเลือดคั่งในปอด ต้องผ่าตัดด่วนเอาเลือดที่คั่งออก และนำส่งเข้าห้องไอซียูทันที [2]

ในส่วนของการชกรายการนี้ จึงเป็น เข้ม ศิษย์สองพี่น้อง ที่ได้รับสิทธิชกแทน[3]

ผลงาน

แก้
  • เหรียญทองเอเซียนเกมส์ พ.ศ. 2545 ประเทศเกาหลีใต้ (วูซู)
  • เหรียญเงินเอเชียนเกมส์ พ.ศ. 2549 ประเทศกาตาร์ (มวยสากลสมัครเล่น)
  • เหรียญทองซีเกมส์ พ.ศ. 2550 ประเทศไทย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

อ้างอิง

แก้