สุริยา ปราสาทหินพิมาย
จ่าสิบเอก สุริยา ปราสาทหินพิมาย (เกิดวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2522; เป็นหลานปู่ของสุข ปราสาทหินพิมาย) เป็นนักมวยสากลสมัครเล่นทีมชาติไทย เจ้าของเหรียญเงิน เอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 14 ที่เกาหลีใต้ จากนั้นมาคว้าเหรียญทองแดง ในกีฬาโอลิมปิก ครั้งที่ 28 ที่กรุงเอเธนส์ ประเทศกรีซในรุ่นมิดเดิลเวท 75 กก. และคว้าเหรียญทองกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 25 ที่จังหวัดนครราชสีมา แต่ภายหลังตรวจพบสารต้องห้ามและถูกริบเหรียญรางวัล และทำให้ต้องหยุดชกไปหลายปี
สุริยา ปราสาทหินพิมาย ต.ภ. | |
---|---|
รุ่น | มิดเดิลเวท |
เกิด | 2 เมษายน พ.ศ. 2522![]() |
ผู้จัดการ | พ.อ.ณัฐ ศรีอินทร์[1] |
สถิติเหรียญโอลิมปิก | ||
---|---|---|
มวยสากลสมัครเล่น | ||
โอลิมปิกฤดูร้อน | ||
![]() |
เอเธนส์ 2004 | มิดเดิลเวท |
เอเชียนเกมส์ | ||
![]() |
บูซาน 2002 | มิดเดิลเวท |
ซีเกมส์ | ||
![]() |
ซีเกมส์ 2007 | มิดเดิลเวท |
โปเปนเชนโก เมโมเรียล | ||
![]() |
โปเปนเชนโก เมโมเรียล 2010 | มิดเดิลเวท |
ต่อมาในปี พ.ศ. 2553 สุริยาหวนกลับคืนมาชกมวยอีกครั้ง แทนที่ อังคาร ชมพูพวง ที่หันกลับไปชกมวยไทย ซึ่งสุริยาก็สามารถทำผลงานได้ดี ด้วยการคว้าเหรียญทองแดงมวยสากลสมัครเล่นรายการ โปเปนเชนโก เมโมเรียล ที่กรุงมอสโก ประเทศรัสเซีย ร่วมกับนักมวยสากลสมัครเล่นทีมชาติไทยหลายคน[2] สุริยา ปราสาทหินพิมาย ยังได้เข้าร่วมการแข่งขันมวยไทย ในรายการศึกวันมวยไทยนายขนมต้ม โดยได้พบกับ ชิคกี้ แบงค็อกบ็อกซิ่ง ในการชิงแชมป์รุ่นมิดเดิลเวท WPMP ที่เซ็นทรัลเวิลด์ ในวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2555 [3][4] และสุริยาเป็นฝ่ายชนะคะแนน[5]
ปัจจุบัน สุริยา ปราสาทหินพิมาย มีค่าตัวในการแข่งขันที่ 3 หมื่นบาท และรับราชการทหารอยู่ที่ กองบัญชาการช่วยรบที่ 2 จังหวัดนครราชสีมา โดยมียศสิบเอก[1]
โอลิมปิก 2004 แก้
สุริยาลงแข่งขันในรุ่นมิดเดิลเวท (75 กิโลกรัม) ในการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 2004 ที่เมืองเอเธนส์ ประเทศกรีซ เส้นทางสู่เหรียญทองแดงของสุริยา คือ
- รอบ 32 คนสุดท้าย: ชนะ โยเซฟ ลูเบก้า จากยูลานด้า 30-21 หมัด
- รอบ 16 คนสุดท้าย: ชนะ เจวิด ทากิเยฟ จากอาเซอร์ไบจาน 19-19 หมัด (สุริยาชนะด้วยคะแนนดิบ)
- รอบก่อนรองชนะเลิศ: ชนะ โอเร็กซ์ มาสคิน จากยูเครน 28-22 หมัด
- รอบรองชนะเลิศ: แพ้ เกฟดาเบก เกดาเบคอฟ จากรัสเซีย 18-24 หมัด
เกียรติประวัติ แก้
- แชมป์สหพันธ์มวยไทยอาชีพโลก (WPMF)[6]
- สิ่งที่ชกฝ่ายต่างประเทศ ของ สุริยา ปราสาทหินพิมาย
- ชนะคะแนน ชุย ซีแบน (กัมพูชา) ที่ เวทีมวยลุมพินี
- ชนะคะแนน ซีโบว ดาดาน (กัมพูชา) ที่ เวทีมวยลุมพินี
- ชนะคะแนน โซโมซิโอ บิซากาดะ (ซามัว) ที่ เวทีมวยลุมพินี
- ชนะคะแนน โจ ลีมาน (กัมพูชา) ที่ เวทีมวยลุมพินี
- ชนะคะแนน ทอน ลาซู (กัมพูชา) ที่ เวทีมวยลุมพินี
- ชนะคะแนน เคน นูมอร์ (กัมพูชา) ที่ เวทีมวยลุมพินี
- ชนะคะแนน ดอน เคซิมอร์ (กัมพูชา) ที่ เวทีมวยลุมพินี
- ชนะคะแนน ซิม บิงเบอร์ (กัมพูชา) ที่ เวทีมวยลุมพินี
- ชนะคะแนน ดัส ฮันไซ (กัมพูชา) ที่ เวทีมวยลุมพินี
- ชนะคะแนน เคน อิสมาน (กัมพูชา) ที่ เวทีมวยลุมพินี
- ชนะคะแนน ซิม เดม่า (กัมพูชา) ที่ เวทีมวยลุมพินี
- แชมป์สภามวยไทยโลก (WBC MUAYTHAI)
- ชิง ชนะคะแนน แดนนี่ บิลล์ (แคเมอรูน) ที่ เวทีมวยลุมพินี
- ป้องกันตำแหน่งแชมป์ครั้งที่ 1 ชนะคะแนน คิม ลีเฮียง (เกาหลีใต้) ที่ เวทีมวยลุมพินี
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้
อ้างอิง แก้
- ↑ 1.0 1.1 เทพ เทวลัย. 50 คำตอบมวยดัง. น็อกเอาต์ฉบับมวยสยาม. ปีที่ 24 ฉบับที่ 2017. วันที่ 13-19 มิถุนายน 2555. ISSN 15135438. หน้า 24
- ↑ "สุริยา"แจ้งเกิดใหม่[ลิงก์เสีย] จากเดลินิวส์
- ↑ ศึกนายขนมต้มทุกรุ่นพร้อมชก. ข่าวสด. ปีที่ 21 ฉบับที่ 7771. วันศุกร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2555. หน้า 13
- ↑ สังคมชัดลึก. คมชัดลึก. ปีที่ 11 ฉบับที่ 3794. วันเสาร์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2555. หน้า 22
- ↑ ไทยรัฐ. ปีที่ 63 ฉบับที่ 19781. วันจันทร์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2555. หน้า 30
- ↑ น็อกเอาต์ฉบับมวยสยาม. ปีที่ 24 ฉบับที่ 2005. วันที่ 21-27 มีนาคม 2555. ISSN 15135438. หน้า 52
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๑๙ ข ๘ ตุลาคม ๒๕๔๗ หน้า ๑๐