อ็องตวน ลาวัวซีเย

นักเคมีชาวฝรั่งเศส
(เปลี่ยนทางจาก อองตวน ลาวัวซิเอ)

ประวัติการทำงาน แก้

● ดำรงตำแหน่ง ศาสตราจารย์ สาขาบริหารธุรกิจ สังกัดคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งแต่ พ.ศ.2564

● คณบดีคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วาระที่ 1 ตั้งแต่ พ.ศ.2562 ถึง เมษายน 2566

● คณบดีคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วาระที่ 2 ตั้งแต่ พ.ศ.2566 ถึงปัจจุบัน

● อดีตหัวหน้าภาควิชาการตลาด คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี 2 วาระ ปี พ.ศ.2557-2562

● อดีตประธานคณะกรรมการดำเนินงานหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการตลาด คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี

● อดีตรองประธานคณะกรรมการดำเนินงานหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการตลาด คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี

● อดีตรองประธานกรรมการดำเนินงานหลักสูตรบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี

● อดีตหัวหน้าหน่วยงานสื่อสารองค์กร คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี

● อดีตกรรมการดำเนินงานหลักสูตรบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี

● กรรมการสภามหาวิทยาลัย ตั้งแต่วันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2565 ถึงปัจจุบัน

● คณะกรรมการนโยบายการเงิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

● คณะกรรมการพิจารณากำหนดตำแหน่งเชี่ยวชาญระดับต้น เชี่ยวชาญระดับกลาง และเชี่ยวชาญระดับสูง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

● คณะกรรมการประกันคุณภาพ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

● คณะกรรมการอำนวยการวิเคราะห์กรอบอัตรากำลังของมหาวิทยาลัย

● อดีตผู้อำนวยการหลักสูตรสหสาขาวิชาธุรกิจเทคโนโลยีและการจัดการนวัตกรรม บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อ็องตวน-โลร็อง เดอ ลาวัวซีเย (ฝรั่งเศส: Antoine-Laurent de Lavoisier เสียงอ่านภาษาฝรั่งเศส: [ɑ̃twan lɔʁɑ̃ də lavwazje] ; 26 สิงหาคม พ.ศ. 2286 - 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2337) เป็นนักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศสผู้ซึ่งต้องจบชีวิตลงโดยกิโยติน เขามีผลงานสำคัญคือ ได้ตั้งกฎการอนุรักษ์มวล (หรือกฎทรงมวล) และการล้มล้างทฤษฎีโฟลจิสตัน ซึ่งเป็นประโยชน์มากในการศึกษาวิชาเคมี

ชีวิตตอนต้น แก้

อ็องตวน ลาวัวซีเย เกิดในตระกูลผู้ดีตระกูลหนึ่ง ต่อมาได้ศึกษาต่อยังวิทยาลัยมาซาแร็ง (Mazarin College) ในสาขาวิชาคณิตศาสตร์ ดาราศาสตร์ พฤกษศาสตร์ และเคมี เขามีความสนใจอย่างแรงกล้าในวิชาเคมี โดยการชักจูงของเอเตียน กงดียัก (Étienne Condillac)

 
ภาพวาด เมอซีเยอร์ลาวัวซีเยและภรรยา (Portrait of Monsieur Lavoisier and his Wife) โดยฌัก-หลุยส์ ดาวิด จิตรกรชาวฝรั่งเศส

ต่อมา อ็องตวนได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกของสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งฝรั่งเศส พออายุได้ 25 ปี เขาได้เขียนบทความเกี่ยวกับการจุดไฟตามถนน ต่อมาในปี พ.ศ. 2314 เขาได้แต่งงานกับมารี-อาน ปีแยเร็ต ปอลซ์ (Marie-Anne Pierrette Paulze) ซึ่งมีอายุเพียง 13 ปี ในขณะที่อ็องตวนอายุได้ 28 ปี

ผลงานที่สำคัญ แก้

ด้านวิทยาศาสตร์ แก้

 
รูปปั้นของอ็องตวน ลาวัวซีเย

ช่วงปี พ.ศ. 2318 อ็องตวนได้พัฒนาการผลิตดินปืน และการใช้โพแทสเซียมไนเตรต หรือดินประสิว ในการเกษตร งานที่สำคัญอย่างหนึ่งของเขาก็คือ การทดลองเกี่ยวกับปฏิกิริยาการเผาไหม้ เขากล่าวว่าการเผาไหม้เป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับออกซิเจน และการสลายสารอาหารในสิ่งมีชีวิต ก็คือปฏิกิริยาการเผาไหม้เช่นเดียวกัน เพียงแต่ช้าและอ่อนกว่า จนทำให้ทฤษฎีโฟลจิสตัน ซึ่งกล่าวว่า เมื่อสสารถูกเผาไหม้ ก็จะปล่อยสารที่เรียกว่าโฟลจิสตันออกมา ต้องมีอันยกเลิกไป

นอกจากนี้ อ็องตวนยังได้ค้นพบว่า "อากาศที่ไหม้ไฟได้" ของเฮนรี คาเวนดิช ซึ่งอ็องตวนเรียกมันว่า ไฮโดรเจน (ภาษากรีกหมายถึง ผู้สร้างน้ำ) เมื่อรวมกับออกซิเจนจะได้หยดน้ำ ซึ่งไปตรงกับผลการทดลองของโจเซฟ พริสต์ลีย์

ในด้านปริมาณสัมพันธ์ (stoichiometry) อ็องตวนได้ทดลองเผาฟอสฟอรัสและกำมะถันในอากาศ และพิสูจน์ได้ว่ามวลของผลิตภัณฑ์มีมากกว่ามวลของสารตั้งต้น ซึ่งมวลที่เพิ่มได้มาจากอากาศนั่นเอง จึงทำให้เกิดกฎการอนุรักษ์มวล หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า กฎทรงมวล

หนังสือของเขาชื่อ Traité Élémentaire de Chimie พิมพ์เมื่อปี พ.ศ. 2332 ภายในมีเนื้อหาเกี่ยวกับกฎการอนุรักษ์มวล และปฏิเสธการมีอยู่ของทฤษฎีโฟลจิสตัน

ด้านกฎหมายและการเมือง แก้

นอกจากที่อ็องตวนจะศึกษาวิทยาศาสตร์แล้ว เขายังศึกษากฎหมายและการเมืองจนได้เป็นเนติบัณฑิต เมื่ออายุ 26 ปี เขาได้เป็นเจ้าพนักงานเก็บอากร ซึ่งเขาก็ได้ปรับปรุงระบบภาษีอากรและการคลัง พร้อมกับพัฒนาหน่วยวัดในระบบเมตริก ให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วประเทศฝรั่งเศส

ชีวิตบั้นปลาย แก้

ต่อมาอ็องตวนถูกกล่าวหาว่าเป็นกบฏโดยคณะปฏิวัติฝรั่งเศส และถูกตัดสินให้ประหารชีวิตโดยการตัดศีรษะ เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2337 ผู้พิพากษาให้เหตุผลในการตัดสินครั้งนี้ว่า “สาธารณรัฐของเราไม่ต้องการนักปราชญ์” จนทำให้โฌแซ็ฟ-หลุยส์ ลากร็องฌ์ นักคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศส กล่าวอย่างโศกเศร้าเสียใจว่าฝรั่งเศสจะไม่มีอะไรที่เหมือนผลงานของอ็องตวนไปชั่วศตวรรษ หนึ่งปีครึ่งให้หลังปรากฏว่าความผิดของอ็องตวนนั้นหามีไม่ ทรัพย์สินส่วนตัวของเขาถูกส่งให้แก่ภรรยาหม้าย พร้อมด้วยข้อความว่า "ถึงแม่หม้ายลาวัวซีเย ผู้ถูกตัดสินอย่างผิดพลาด"

แหล่งข้อมูลอื่น แก้