ทฤษฎีโฟลจิสตัน (อังกฤษ: phlogiston theory) เป็นทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ที่ล้าสมัย กล่าวถึงโฟลจิสตันที่มีอยู่ภายในร่างของสิ่งต่างๆซึ่งจะปรากฏขึ้นมาเมื่อเกิดการเผาไหม้ โดยชื่อโฟลจิสตันนี้ได้มาจากภาษากรีกโบราณ ที่ว่า φλογιστόν phlogistón (การเผาไหม้ขึ้น) โดยทฤษฎีนี้ถูกกล่าวถึงครั้งแรกในปี พ.ศ. 2210 โดย Johann Joachim Becher ทฤษฎีนี้พยายามอธิบายเกี่ยวกับการสันดาป และการเกิดสนิมซึ่งในปัจจุบันรู้จักในนามของปรากฏการณ์ออกซิเดชัน

นายแพทย์ชาวเยอรมันผู้สนใจในการเล่นแร่แปรธาตุ

เนื้อหาของทฤษฎี แก้

Phlogisticated substances หรือสสารที่มีโฟลจิสตัน โดยโฟลจิสตันจะออกไปจากสสาร เมื่อสสารนั้นถูกเผา

    โดยทั่วไปแล้วเนื้อหาของทฤษฏีกล่าวถึงเมื่อวัตถุถูกเผาไหม้หรือเกิดการสันดาปในสภาวะที่มีอากาศจะทำให้สารโฟลจิสตันในวัตถุนั้นลอยออกไป

ประวัติ แก้

 
Georg Ernst Stahl นายแพทย์และนักเคมีชาวเยอรมันแห่งมหาวิทยาลับ Halle

ทฤษฏีโฟลจิสตันถูกกล่าวถึงครั้งแรกในปี ค.ศ.1667 โดย Johann Joachim Becher นายแพทย์ชาวเยอรมันได้นำความรู้ทางการแพทย์ของเขา มาเผยแพร่และต่อมาก็ได้พัฒนาเป็นทฤษฎีฟลอจิสตันในที่สุดโดยในหนังสือของ Becher กล่าวถึงทฤษฎีธาตุทั้ง 4 ที่เดิมมี 4 ธาตุคือดิน,อากาศ,ไฟ และน้ำ ตามหลักของอาริสโตเติลแต่ Becher ได้ดัดแปลงนำไฟและอากาศออกแล้วแทนที่ด้วยดิน 3 ชนิดได้แก่ terra lapidea, terra fluida, and terra pinguis โดย Becher เชื่อว่า terra pinguis เป็นปัจจัยที่สำคัญต่อการเผาไหม้อย่างหนึ่ง ต่อมาในปี ค.ศ.1703 ศาสตราจาร์ย Georg Ernst Stahl แพทย์และนักเคมีแห่งมหาวิทยาลัย Halle ได้ทำการเปลี่ยนชื่อ terra pinguis ของ Becher ไปเป็น โฟลจิสตันแทน

อ้างอิง แก้

  • Brock, William Hodson (1993). The Norton history of chemistry (Hardback), 1st American, New York: W. W. Norton. ISBN 0-393-03536-0.
  • Joseph Priestley; Heads of lectures on a course of experimental philosophy; London, Joseph Johnson, 1794.