อองกิ๋น
อองกิ๋น[a], อองกิ๋ม[b] หรือองกิ๋น[c] มีชื่อในภาษาจีนกลางว่า หวาง ฉี (จีน: 王頎; พินอิน: Wáng Qí) ชื่อรอง ข่งชั่ว (จีน: 孔碩; พินอิน: Kǒngshuò) เป็นขุนพลและขุนนางของรัฐวุยก๊กในยุคสามก๊กของจีน ภายหลังเป็นขุนนางของราชวงศ์จิ้น
อองกิ๋น (หวาง ฉี) | |
---|---|
王頎 | |
เจ้าเมืองยีหลำ (汝南太守 หรูหนานไท่โฉ่ว) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. ? – ค.ศ. ? | |
กษัตริย์ | สุมาเอี๋ยน |
เจ้าเมืองเทียนซุย (天水太守 เทียนฉุ่ยไท่โฉ่ว) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. ? – ค.ศ. ? | |
กษัตริย์ | โจฮวน |
เจ้าเมืองไต้ฟาง (帶方太守 ไต้ฟางไท่โฉ่ว) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. 247 – ค.ศ. ? | |
กษัตริย์ | โจฮอง |
เจ้าเมืองเสวียนทู่ (玄菟太守 เสวียนทู่ไท่โฉ่ว) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. ? – ค.ศ. 247 | |
กษัตริย์ | โจฮอง |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | ไม่ทราบ นครไหลโจว มณฑลชานตง |
เสียชีวิต | ไม่ทราบ |
อาชีพ | ขุนพล, ขุนนาง |
ชื่อรอง | ข่งชั่ว (孔碩) |
ประวัติ
แก้อองกิ๋นเป็นชาวเมืองตงไหล (東萊郡 ตงไหลจฺวิ้น) ซึ่งอยู่ในนครไหลโจว มณฑลชานตงในปัจจุบัน[4]
เดิมอองกิ๋นทำหน้าที่รักษาชายแดนด้านตะวันออกเฉียงเหนือ ในช่วงต้นศักราชเจิ้งฉื่อ (正始; ค.ศ. 240-242) ในรัชสมัยของโจฮองจักรพรรดิลำดับที่ 3 ของวุยก๊ก อองกิ๋นดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าเมือง (太守 ไท่โฉ่ว) ของเมืองเสวียนทู่ (玄菟郡 เสฺวียนทูจฺวิ้น) ต่อมาไม่นานอองกิ๋นได้เข้าร่วมในสงครามกับอาณาจักรโคกูรยอ ในช่วงเวลานี้ อองกิ๋นได้รับคำสั่งจากบู๊ขิวเขียมให้ไปยังอาณาจักรพูยอเพื่อขอเสบียงอาหารให้กองทัพ[5]
ในปี ค.ศ. 247 อองกิ๋นได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าเมืองของเมืองไต้ฟาง (帶方郡 ไต้ฟางจฺวิ้น) เพื่อประสานสัมพันธไมตรีกับรัฐวะ (ญี่ปุ่น: 倭国, อักษรโรมัน: Wakoku; ประเทศญี่ปุ่นในปัจจุบัน)[6]
ในปี ค.ศ. 263 อองกิ๋นในเวลานั้นดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าเมืองของเมืองเทียนซุย (天水郡 เทียนฉุ่ยจฺวิ้น) ได้เข้าร่วมในการพิชิตจ๊กก๊กที่เป็นรัฐอริของวุยก๊ก โดยเตงงายให้ส่งอองกิ๋นให้นำกำลังทหารเข้าโจมตีค่ายของเกียงอุยขุนพลจ๊กก๊ก[7]
ในรัชสมัยของจักรพรรดิสุมาเอี๋ยนแห่งราชวงศ์จิ้น อองกิ๋นได้ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าเมืองของเมืองยีหลำ (汝南郡 หรู่หนานจฺวิ้น)[8]
ทายาท
แก้หวาง หมี (王彌) ผู้นำกลุ่มโจรในรัชสมัยจักรพรรดิจิ้นหฺวายตี้แห่งราชวงศ์จิ้นตะวันตก เป็นหลานชายของอองกิ๋น
ดูเพิ่ม
แก้หมายเหตุ
แก้- ↑ ชื่อที่ปรากฏในสามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ตอนที่ 85[1]
- ↑ ชื่อที่ปรากฏในสามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ตอนที่ 86[2]
- ↑ ชื่อที่ปรากฏในสามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ตอนที่ 86[3]
อ้างอิง
แก้- ↑ ("เตงงายรู้ดังนั้นก็ให้จูกัดสูคุมทหารหมื่นห้าพันยกไปตั้งสกัดต้นทางเกียงอุยไว้ มิให้เข้าไปเมืองเสฉวนได้ แล้วให้อองกิ๋นคุมทหารหมื่นห้าพันเร่งยกไปตีทัพเกียงอุยทิศข้างขวา แล้วจึงให้คันห่องคุมทหารหมื่นห้าพันยกไปตีทัพเกียงอุยทิศข้างซ้าย แล้วจึงให้เอียวหัวคุมทหารหมื่นห้าพันเปนกองหนุนตีกระหนาบเกียงอุยข้างหลัง") "สามก๊ก ตอนที่ ๘๕". วัชรญาณ. สืบค้นเมื่อ November 8, 2024.
- ↑ ("ครั้นจูกัดเจี๋ยมแจ้งดังนั้นก็โกรธฉีกหนังสือทิ้งเสียในทันใด แล้วสั่งให้ทหารตัดสีสะผู้ถือหนังสือนั้นเสีย จึงให้บ่าวซึ่งตามมานั้นเอาสีสะคืนไปให้แก่เตงงาย ๆ เห็นดังนั้นก็โกรธ จึงให้อองกิ๋มกับตันหองสองนายคุมทหารเปนกองหลังก็ยกทหารรีบขึ้นไปจะรบกับจูกัดเจี๋ยม") "สามก๊ก ตอนที่ ๘๖". วัชรญาณ. สืบค้นเมื่อ November 8, 2024.
- ↑ ("ฝ่ายเตงงายครั้นปราบปรามอาณาประชาราษฎรให้เปนปรกติแล้ว จึงตั้งให้สุม่อเปนที่ขุนนางผู้ใหญ่ว่าราชการเมือง แล้วให้องกิ๋นเทียนหองสองนายออกไปตั้งปราบปรามหัวเมืองทั้งปวง") "สามก๊ก ตอนที่ ๘๖". วัชรญาณ. สืบค้นเมื่อ November 8, 2024.
- ↑ (頎字孔碩,東萊人) อรรถาธิบายจากชื่อ-ยฺหวี่ในสามก๊กจี่ เล่มที่ 28.
- ↑ (正始中,幽州刺史毌丘儉討句麗,遣玄菟太守王頎詣夫餘,位居遣大加郊迎,供軍糧。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 30.
- ↑ (其八年,太守王頎到官。倭女王卑彌呼與狗奴國男王卑彌弓呼素不和,遣倭載斯、烏越等詣郡說相攻擊狀。遣塞曹掾史張政等因齎詔書、黃幢,拜假難升米爲檄告喻之。) กิชิวาจินเด็ง.
- ↑ (艾遣天水太守王頎等直攻維營,隴西太守牽弘等邀其前,金城太守楊欣等詣甘松。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 28.
- ↑ (王彌,東萊人也。家世二千石。祖頎,魏玄菟太守,武帝時,至汝南太守。) จิ้นชู เล่มที่ 100.
บรรณานุกรม
แก้- ตันซิ่ว (ศตวรรษที่ 3). สามก๊กจี่ (ซานกั๋วจื้อ).
- เผย์ ซงจือ (ศตวรรษที่ 5). อรรถาธิบายสามก๊กจี่ (ซานกั๋วจื้อจู้).
- ฝาง เสฺวียนหลิง (648). จิ้นชู.