อร่ามอาชว์วัต โล่ห์วีระ
อร่าม โล่ห์วีระ (เกิด 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2493) อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ[1] อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชัยภูมิ 6 สมัย
อร่าม โล่ห์วีระ | |
---|---|
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม | |
ดำรงตำแหน่ง 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 – 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | พรรคพลังประชารัฐ |
นอกจากนี้นายอร่ามยังเคยดำรงตำแหน่งทางการเมืองสำคัญหลายตำแหน่ง เช่นเลขาฯ รมช คลัง และที่ปรึกษา รมต พลังงาน ประธานมูลนิธิอร่าม โล่ห์วีระ และนายกสมาคมอีสานพัฒนา เป็นต้น
ในจังหวัดชัยภูมิ นายอร่าม เป็นผู้ผลักดันให้เกิดการจัดตั้ง มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ และได้เป็นผู้ผลักดันให้เกิดการขยายถนนสี่เลน ชัยภูมิ - สีคิ้ว และนายอร่าม เป็นผู้สั่งย้ายขนส่งหมอชิตเก่ามายังหมอชิตใหม่ ซึ่งตั้งบนถนนกำแพงเพชรในปัจจุบัน
ประวัติ
แก้อร่ามอาชว์วัต โล่ห์วีระ เดิมชื่อว่า "อร่าม" เกิดเมื่อเดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2493 มีชื่อจีนว่า "หลูเจิ้นยี่" ภูมิลำเนาเดิมเกิดที่บ้านเลขที่ 10 กข. ถนนนครนอก ตำบลบ่อยาง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา เป็นบุตรของนายสมบัติ โล่ห์วีระ กับนางเข็มทอง โล่ห์วีระ[2] เป็นบุตรคนที่ 5 ในจำนวนพี่น้องทั้งหมด 11 คน โดยในจำนวนนั้นมี พรทิพย์ โล่ห์วีระ จันทร์รัตนปรีดา[3] อดีตรองประธานวุฒิสภา และนายธเนศน์ โล่ห์วีระ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดคนแรกของจังหวัดชัยภูมิ
บิดาของนายอร่ามอาชว์วัต (นายสมบัติ) เป็นที่รู้จักกันในชื่อ นายบั๊ก แซ่โล้ว หรือ "โล้วฮวบฮิน" หรือ "หลูฝาชิง" เป็นชาวจีนแต้จิ๋ว เป็นบุตรชายคนโตของนายโล้วซีเคียม เกิดที่ตำบลแปะซัวเล่ง อำเภอโผวเล้ง จังหวัดแต้จิ๋ว มณฑลกวงตุ้ง ครอบครัวประกอบธุรกิจโรงงานผ้าทอมือ และได้เข้ารับการศึกษาในคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยกวางตุ้ง จึงเป็นผู้มีความรู้ทางคณิตศาสตร์ชั้นสูง ต่อมาได้เดินทางมายังประเทศไทย ประกอบอาชีพค้าขาย ทำกิจการโรงสีข้าวหลายแห่ง เช่น โรงสีไทยดำรง โรงสีไทยรุ่งเรือง โรงสีไทยวัฒนา โรงสีชัยวิบูรณ์ เป็นต้น มารดาของนายอร่ามอาชว์วัต (นางเข็มทอง) สกุลเดิมแซ่เหล็ง เดิมมีอาชีพเป็นครูประชาบาล เป็นธิดาของนายก๋งจิว ชาวจีนไหหลำ และนางนิล ราษฎรตำบลบ้านเขว้า อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ โดยมีบรรพบุรุษอพยพมาจากประเทศลาว คุณตาทวดของนางเข็มทองคือ ขุนพินิจวงษ์ศักดา กำนันคนแรกของตำบลบ้านเขว้า และพี่ชายของยายนิลคือ อำมาตย์โท ขุนไอยเรศพิจารณ์ลักษณ์ เมื่อบิดาและมารดานายอร่ามอาชว์วัตได้สมรสกัน ได้เดินทางไปค้าขายที่จังหวัดสงขลา เนื่องจากต้องการอยู่ใกล้ชิดอากงโล้วซีเคียม ซึ่งค้าขายอยู่ที่ปีนัง และต่อมาเมื่ออากงเสียชีวิตลง ได้ย้ายครอบครัวกลับมายังจังหวัดชัยภูมิ ต่อมาในปี พ.ศ. 2566 นายอัครแสนคีรี โล่ห์วีระ บุตรชายของนายอร่ามได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 26และบุตรี นางสาวอรอาภา โล่ห์วีระ ได้รับแต่งตั้งเป็น รองผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิ
การศึกษา
แก้นายอร่ามอาชว์วัต โล่ห์วีระ จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษา จากโรงเรียนชัยภูมิภักดีชุมพล จังหวัดชัยภูมิ และจบการศึกษาระดับปริญญาตรี รัฐศาสตรบัณฑิต (ปกครอง) จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง ระดับปริญญาโท สำเร็จการศึกษารัฐศาสตรมหาบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช และรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระดับปริญญาเอก จบการศึกษาระดับรายวิชา สังคมศาสตรดุษฎีบัณฑิต ภาควิชาอาชญาวิทยา มหาวิทยาลัยมหิดล และได้รับดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยแห่งแคลิฟอร์เนีย
การทำงาน
แก้นายอร่ามอาชว์วัต โล่ห์วีระ เคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีและที่ปรึกษารัฐมนตรีหลายกระทรวง เคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดชัยภูมิ 6 สมัย เคยดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมาธิการสามัญและคณะกรรมาธิการวิสามัญ สภาผู้แทนราษฎร และกรรมาธิการงบประมาณหลายสมัยติดต่อกัน รวมทั้งเป็นผู้ก่อตั้งสมาคมชาวไร่อ้อย จังหวัดชัยภูมิ และดำรงตำแหน่งนายกชาวไร่อ้อย จังหวัดชัยภูมิ[4]
ในปี 2562 เขาลงสมัคร ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ลำดับที่ 43[5] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง
อร่าม ได้รับเลือกตั้งเป็นนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ ในการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดในประเทศไทย พ.ศ. 2563 จากนั้นในวันอาทิตย์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2566 นายอร่ามจึงได้เข้ามาร่วมงานกับพรรคสร้างอนาคตไทย[6]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2540 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[7]
- พ.ศ. 2539 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[8]
อ้างอิง
แก้- ↑ เช็กผลเลือกตั้ง นายก อบจ. 76 จังหวัด กกต.ประกาศแล้ว
- ↑ ประวัติผู้สมัคร ส.ส.[ลิงก์เสีย]
- ↑ บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของนางพรทิพย์ จันทร์รัตนปรีดา[ลิงก์เสีย]
- ↑ สิงห์เฒ่าชัยภูมิ 'อร่าม' ชน 'ชาลีเครือ"
- ↑ เปิด 150 รายชื่อผู้สมัครส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์พรรคประชาธิปัตย์
- ↑ "อุตตม-สนธิรัตน์" จบดีล "อร่าม โล่ห์วีระ" ถกเลือกตั้ง โวยก "ชัยภูมิ" แน่
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๑, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-10-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๘, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๙