แกรนด์เอ็กซ์
แกรนด์เอ็กซ์ (อังกฤษ: GRAND EX) เป็นวงดนตรีแนวสตริงคอมโบที่มีชื่อเสียงและประวัติยาวนาน ก่อตั้งโดย นคร เวชสุภาพร ชักชวนเพื่อน ๆ ที่วิทยาลัยบพิตรพิมุข ตั้งวงดนตรีชื่อว่า “Extreme” ต่อมาประกวดวงสตริงคอมโบชิงแชมป์ประเทศไทยครั้งที่ 3 โดยใช้ชื่อแกรนด์เอ็กซ์
ที่มาของชื่อวง
แก้เพราะความชื่นชอบเพลงใต้ดินของวงแกรนด์ฟังก์เรลโรด กับวงเดอะ จิมมี่ เฮนดริกซ์ เอ็กซ์พีเรียนซ์ จึงนำชื่อของทั้งสองวงมารวมกันเป็น GRAND EXPERIENCE แต่เนื่องจากออกเสียงยาก ประกอบกับในช่วงนั้นที่ประเทศญี่ปุ่นมีงานเอ็กซ์โป ซึ่งในโปสเตอร์เขียนว่า EX’ 70 ซึ่งย่อมาจาก “เอ็กซ์โป 1970” จึงได้นำมาใช้และทำให้ชื่อวงถูกทอนลงกลายเป็น EX’ แทน จึงเรียกว่า แกรนด์เอ็กซ์
ประวัติ
แก้ก่อตั้งวง
แก้วงแกรนด์เอ็กซ์ รวมตัวกันก่อตั้งใน พ.ศ. 2512 โดยกลุ่มนักเรียนชั้น ม.ศ. 5 วิทยาลัยบพิตรภิมุข นำโดย นคร เวชสุภาพร (ตำแหน่งกีตาร์โซโลและหัวหน้าวง) ร่วมด้วยเพื่อน ๆวิทยาลัยเดียวกัน คือ กำธร คุณานุกูล (กีตาร์คอร์ด) วราวุธ หิรัญวรรณ (เบส) ดำรง ชื่นเจริญสุข (โฆษกและนักร้องนำ) ณรงค์ เผือกห้าวหาญ (นักร้องนำ), ประสิทธิ์ ไชยะโท (กลอง) และ สมมาตร ธูปจินดา (ออร์แกน)
สมาชิกวงแกรนด์เอ็กซ์เข้าร่วมประกวดวงสตริงคอมโบชิงแชมป์ประเทศไทยใน พ.ศ. 2515 ประเภทนักเรียนนักศึกษา ซึ่งการประกวด 2 ครั้งก่อนหน้านั้น คือ พ.ศ. 2512, และ พ.ศ. 2513 ( พ.ศ. 2514 งดเพราะเหตุการณ์ความวุ่นวายทางการเมือง) โดยวง “ดิอิมพอสซิเบิ้ล” คว้าแชมป์ไปครองทั้งสองครั้ง รวมถึงครั้งที่ 3 ใน พ.ศ. 2515 ด้วย
ผลการประกวดในประเภทนักเรียนนักศึกษานั้น วงมัมมี่ได้เป็นแชมป์ ส่วนแกรนด์เอ็กซ์ได้รางวัลรองชนะเลิศคู่กับรางวัลขวัญใจสื่อมวลชนมาครอง ด้วยแนวทางการแต่งตัวที่เข้าตาสื่อ คือแม้จะเล่นเพลงร็อคดุ ๆ แต่พวกเขาแต่งตัวสุภาพเรียบร้อย ใส่กางเกงขายาวสีดำ เสื้อเชิ้ตสีขาว ผูกเนคไท สวนทางกับวงอื่น ๆ
หลังการประกวด สมาชิกบางคนเรียนจบ โดยแต่ละคนแยกย้ายกันไปเรียนต่อในระดับอุดมศึกษา แต่นคร เวชสุภาพร ยังคงหาสมาชิกวง โดยลงทุนถึงขนาดสละสิทธิ์ไม่เรียนในมหาวิทยาลัยที่เอ็นท์ติด แต่เลือกที่จะเรียนในมหาวิทยาลัยเปิดที่เพื่อน ๆ นักดนตรีส่วนใหญ่เรียนอยู่ ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการซ้อมดนตรีและการทำวง
วงแกรนด์เอ็กซ์เริ่มเป็นที่รู้จักจากการเล่นตามคลับ ตามบาร์ และต่างจังหวัด โดยเล่นอยู่สักประมาณ 8 เดือน ก่อนที่เพื่อน ๆ บางคนในวงจะลาออกไป นคร เวชสุภาพรจึงได้ออกเดินทางหาสมาชิกคนใหม่ พร้อมกับปรับแนวทางของวงแกรนด์เอ็กซ์ใหม่เพื่อให้เป็นวงสตริงคอมโบอย่างเต็มรูปแบบ ด้วยการเสริมทัพทีมเครื่องเป่า คือ ชาย แสงชะอุ่ม (แซ็กโซโฟน), เสน่ห์ ศุภรัตน์ (ทรัมเป็ด) และสมศักดิ์ อภิวัฒน์วีรกุล (ทรอมโบน) เข้ามาในราว พ.ศ. 2517 และการเข้ามาของนักร้องนำคนใหม่ คือ วสันต์ แต้สกุล (นามสกุลตอนนั้น)
พ.ศ. 2519 มือเบสในยุคก่อตั้งกับมือคีย์บอร์ดลาออกไป วสันต์จึงต้องหันไปเล่นคีย์บอร์ดอีกทาง ส่วนมือเบสได้แอ๊ด - ทนงศักดิ์ อาภรณ์ศิริ มาเป็นสมาชิกคนใหม่
ในปีเดียวกันนี้ แกรนด์เอ็กซ์ได้ จำรัส เศวตาภรณ์ มาเพิ่มในฐานะนักร้องนำและกีตาร์คอร์ด ก่อนออกซิงเกิ้ลแรก “คู่นก” ตามมาใน พ.ศ. 2520
หลังจากนั้นวงแกรนด์เอ็กซ์ก็ได้ออกผลงาน ทัวร์คอนเสิร์ต และรับสมาชิกใหม่เพิ่มขึ้นมาเรื่อย ๆ อีกหลายปี จนกระทั่งได้ประกาศยุบวงใน พ.ศ. 2562 โดยจัดคอนเสิร์ตครั้งสุดท้ายในวันที่ 3 สิงหาคม ที่อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี[1]
สมาชิก
แก้สมาชิกดั้งเดิม
แก้- นคร เวชสุภาพร - หัวหน้าวงและมือกีตาร์
- ประสิทธิ์ ไชยะโท - มือกลอง (ปัจจุบัน ถึงแก่กรรมแล้ว)
- วราวุธ หิรัญวรรณ - มือเบส
- กำธร คุณานุกูล - มือกีตาร์และคอร์ด
- สมมาตร ธูปจินดา - ออร์แกน
- ดำรง ชื่นเจริญสุข - โฆษกและร้องนำ
- ณรงค์ เผือกห้าวหาญ - ร้องนำ
สมาชิกยุคออกแผ่นซิงเกิ้ล
แก้- นคร เวชสุภาพร กีตาร์, ร้องนำ (หัวหน้าวง)
- ประสิทธิ์ ไชยะโท กลอง, ร้อง (ปัจจุบัน ถึงแก่กรรมแล้ว)
- วสันต์ สิริสุขพิสัย ออร์แกน, ร้อง
- เสน่ห์ ศุภรัตน์ ทรัมเป็ต (ปัจจุบัน ถึงแก่กรรมแล้ว)
- สมศักดิ์ อภิวัฒน์ธีรกุล ทรอมโบน, เรียบเรียงเสียงประสาน (ขอลาออกเนื่องจากมีอาการไม่สบาย ได้ โชคดี พักภู่ เข้ามาเล่นทรอนโบน)
- ชาย แสงชะอุ่ม แซ็กโซโฟน (ลาออกจากวงต่อมาพนัส หิรัญกสิ เข้ามาเล่นแซกโซแฟนแทน)
- ทนงศักดิ์ อาภรณ์ศิริ เบส
- จำรัส เศวตาภรณ์ กีตาร์, ร้องนำ (ลาออกจากวงไปเพราะต้องไปช่วยกิจการของทางบ้าน)
สมาชิกหลัก
แก้- นคร เวชสุภาพร กีตาร์, ร้องนำ (หัวหน้าวง) (พ.ศ. 2513-พ.ศ. 2531) (ปลายปี พ.ศ. 2531เป็นโปรดิวเซอร์ชุดได้ไหม)
- ประสิทธิ์ ไชยะโท กลอง, ร้องนำ (พ.ศ. 2513-พ.ศ. 2531) (ปลายปี พ.ศ. 2531เป็นโปรดิวเซอร์ชุดได้ไหม) (ปัจจุบัน ถึงแก่กรรมแล้ว)
- วสันต์ สิริสุขพิสัย ออร์แกน, ร้องนำ (พ.ศ. 2517-พ.ศ. 2528)
- เสน่ห์ ศุภรัตน์ ทรัมเป็ต,ร้องนำ (พ.ศ. 2517-พ.ศ. 2528) (ปัจจุบัน ถึงแก่กรรมแล้ว)
- ทนงศักดิ์ อาภรณ์ศิริ เบส,ร้องนำ (พ.ศ. 2517-พ.ศ. 2528)
- พนัส หิรัญกสิ แซ็กโซโฟน,ร้องนำ (พ.ศ. 2517-พ.ศ. 2528)
- โชคดี พักภู่ ทรอมโบน,ร้องนำ (พ.ศ. 2523-พ.ศ. 2531)
- ดนุพล แก้วกาญจน์ ร้องนำ (พ.ศ. 2523 - พ.ศ. 2528)
- ศรายุทธ สุปัญโญ คีย์บอร์ด,ร้องนำ (พ.ศ. 2525 - พ.ศ. 2527)
สมาชิกเพิ่มเติม
แก้- ไอศูรย์ วาทยานนท์ เข้ามาเพิ่มภายในวงแกรนเอ็กซ์ ในอัลบั้มชุดที่ 16 สายใย
- สุธี แสงเสรีชน เข้ามาร่วมงานในตำแหน่งกีตาร์โซโล และร้องนำ ในอัลบั้มพิเศษชุด ขวดโหล 2
- อริชัย อรัญนารถ และ จอนนี่ แอนโฟเน่ เข้ามาใน อัลบั้มพิเศษชุด ขวดโหล 1 และ 2
- พิทพล โชติสรยุทธ์ เข้ามาใน อัลบั้มชุดที่ 17 นิรันดร์กาล
- จาคมัย ศรีวาลัย เข้ามาใน อัลบั้มชุดที่ 19 ได้ไหม[2]
ผลงาน
แก้คู่นก (2519 ซิงเกิลเพลงไทยชุดแรก)
- คู่นก (จำรัส)
- ช้าหน่อยรัก (จำรัส)
- เพ้อรัก (นคร)
- เธอเท่านั้น (นคร)
ลูกทุ่งดิสโก้ชุดที่ 1 (สิงหาคม 2521)
- สาวอีสานรอรัก
- หลังคาแดง
- ฉันทนาที่รัก
- น้องใส่เสื้อลาย
- หิ้วกระเป๋า
- ปูไข่ไก่หลง
- ดอกอะไร
- สาวผักไห่
- แสบเข้าไปถึงทรวง
- หมดเสียแหละดี
- นิ้งหน่อง
- บ้านนี้ฉันรัก
- เหล้าจ๋า
- น้องใส่เสื้อลาย (บรรเลง)
- สาวผักไห่ (บรรเลง)
- หลังคาแดง (บรรเลง)
- สาวอีสานรอรัก (บรรเลง)
- ปูไข่ไก่หลง (บรรเลง)
ลูกทุ่งดิสโก้ชุดที่ 2 (มีนาคม 2523)
- จำอ้ายได้บ่นาง
- สาวอยู่บ้านได๋
- เทพธิดาเทวี
- ฝนตกรถติด
- หงส์ปีกหัก
- รักข้ามคลอง
- คุณนายโรงแรม
- แตงเถาตาย
- มอง
- ไก่นาตาฟาง
- ใครลืมใครก่อน
- บ้านใกล้เรือนเคียง
เขิน (กรกฎาคม 2523)
- เขิน (นคร)
- เธอคือหัวใจ (ดนุพล)
- โอ้รัก (ดนุพล)
- รักแรกพบ (พนัส)
- กล่อมรัก (ดนุพล)
- ดอกไม้
- พบเธอในฝัน (ดนุพล)
- ช่างเถอะวันนี้ (ประสิทธิ์)
- สัญญา (นคร)
- ไกลตา ใกล้ใจ (เสน่ห์)
ผู้หญิง (มีนาคม 2524)
- แม่ใจร้าย (นคร)
- ต้อยติ่ง (ดนุพล)
- พลอยหุง (ดนุพล)
- มิใช่กากี (จุ๋ม เพลินพิศ เพียรเจริญ)
- เห็นแล้วหวั่นใจ (จุ๋ม เพลินพิศ เพียรเจริญ)
- พระรามหก (จุ๋ม เพลินพิศ เพียรเจริญ)
- พระรามหก (ดนุพล)
- อำแดงป้อม (พนัส)
- แม่จ๋า (จุ๋ม เพลินพิศ เพียรเจริญ)
- สิ้นสวาท (จุ๋ม เพลินพิศ เพียรเจริญ)
‘’บันทึกการแสดงสดที่ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (พฤศจิกายน 2523)
- หัวใจมีปีก (ดนุพล)
- พบรัก (ดนุพล)
- ได้ยังไง (นคร)
- I’ve Gotta Get A Message To You (ดนุพล)
- Spirits Havin’ Flown (ดนุพล)
- Another Brick In The Wall (วสันต์)
- Babe (ดนุพล)
- More Than I Can Say (ดนุพล)
- ไกลตา - ใกล้ใจ (เสน่ห์)
- เขิน (นคร)
แกรนด์เอ็กซ์ โอ (ตุลาคม 2524) (วงเรนโบว์ได้นำอัลบั้มนี้มาร้องใหม่ใน พ.ศ. 2537)
- ภาพดวงใจ (เสน่ห์)
- ลาก่อนความรัก (ดนุพล)
- ลมสวาท (ดนุพล)
- เกิดมาพึ่งกัน (นคร)
- คนธรรพ์รำพึง (ดนุพล)
- บัวน้อยคอยรัก (นคร)
- นิราศนุช (ดนุพล)
- ไก่ฟ้า (ประสิทธิ์)
- ทาสรัก (ดนุพล)
- สวรรค์ในเรือเพลง (ร้องหมู่)
บุพเพสันนิวาส (มีนาคม 2525)
- กลิ่นดอกโศก (นคร)
- อยากมีรัก (ดนุพล)
- บุพเพสันนิวาส (ร้องหมู่)
- อุษาสวาท (ดนุพล)
- นางนวล (พนัส)
- ดาวล้อมเดือน (ร้องหมู่, ดนุพล)
- สุดดินสุดฟ้า (ดนุพล)
- ปทุมไฉไล (ร้องหมู่)
- ชีวิตใหม่ (นคร)
- รักเดียว (วสันต์)
นิจนิรันดร์ (กันยายน 2525)
- บัวตูมบัวบาน (นคร)
- ผมไปไม่พ้น (ทนงศักดิ์)
- ลืมรัก (นคร)
- ง้อเพราะรัก (วสันต์)
- เพ็ญโสภา (ประสิทธิ์)
- อย่าเห็นกันดีกว่า (ดนุพล)
- คิดถึงเธออยู่ทุกลมหายใจ (พนัส)
- ชั่วนิจนิรันดร (ดนุพล)
- สายทิพย์ (ร้องหมู่)
- อย่าหย่า (ดนุพล)
พรหมลิขิต (ตุลาคม 2525)
- ฟลอร์เฟื่องฟ้า (ดนุพล)
- เดียวดาย (เสน่ห์)
- กังหันต้องลม (ดนุพล)
- หนึ่งในดวงใจ (ดนุพล)
- สู่อนาคต (ประสิทธิ์)
- สุขกันเถอะเรา (โชคดี)
- พรหมลิขิต (นคร)
- คิดถึง (ดนุพล)
- ยามรัก (ดนุพล)
- ลืมเสียเถิดอย่าคิดถึง (ดนุพล)
เพชร (กันยายน 2526)
- เพียงสบตา (ดนุพล)
- ความรักคือการให้ (เสน่ห์)
- น้ำค้าง (ประสิทธิ์)
- เพื่อน (ดนุพล)
- รักในซีเมเจอร์ (นคร)
- ทราย (บรรเลง)
- เพชร (ศรายุทธ)
- เจ้ากบ (วสันต์)
- อาลัย (วสันต์)
- หญิงหนึ่งคือเธอ (พนัส)
- หม้ายหัวใจ (ดนุพล)
- ทราย (บรรเลง)
บริสุทธิ์ (เมษายน 2527)
- เชื่อฉัน (ดนุพล)
- โลกที่ไม่เท่ากัน (ดนุพล)
- แอบมอง (ทนงศักดิ์)
- โบว์สีแดง (ประสิทธิ์)
- ผูกขวัญ (นคร)
- บริสุทธิ์ (บรรเลง)
- หนึ่งหทัย (วสันต์)
- ป้าแช่ม (โชคดี)
- วันที่จากเธอ (นคร)
- ไม้ใกล้ฝั่ง (พนัส)
- บริสุทธิ์ (ดนุพล)
ดวงเดือน (พฤศจิกายน 2527)
- ลาวดวงเดือน (ดนุพล)
- เหมือนไม่เคย (ดนุพล)
- ถ้าฉันจะรัก (ดนุพล)
- ดวงใจในฝัน (ดนุพล)
- เท่านี้ก็ตรม (ดนุพล)
- จำพราก (ดนุพล)
- ร.รอรัก (โชคดี)
- ธรณีสายเลือด (เสน่ห์)
- ทำบุญด้วยอะไร (วสันต์)
- กาลเวลา (พนัส)
- พรุ่งนี้ (ประสิทธิ์)
- เนื้อทองของพี่ (นคร)
- ลาวดวงเดือน (บรรเลง)
หัวใจสีชมพู (มีนาคม 2528)
- หัวใจสีชมพู (ดนุพล)
- ระฆังใจ (นคร)
- หนทางสู่รัก (ดนุพล)
- หัวใจที่ถอดวาง (ดนุพล)
- แพรพิศวาส (ร้องหมู่)
- ลุงเชย (โชคดี)
- จันทร์เจ้า (ประสิทธิ์)
- ไกลพี่ (ดนุพล)
- ขอใจให้พี่ (ดนุพล)
- เกินฝัน (นคร)
สายใย (กรกฎาคม 2528)
- คนธรรพ์รำพัน (ดนุพล)
- แปรงสีฟัน (นคร)
- รักอำพราง (ไอศูรย์)
- สายัณห์รัญจวน (ดนุพล)
- ไกลบ้าน (ดนุพล)
- สายใย (ไอศูรย์)
- กีฬามหาสนุก (โชคดี)
- ฝันดี (ประสิทธิ์)
- ยังคอย (ดนุพล)
- ไม่รักไม่ว่า (ดนุพล)
- ยอม (ดนุพล)
- รักเอย (นคร)
ขวดโหล 1 (กุมภาพันธ์ 2529)
- วัยสีชมพู (นคร)
- ทายาท
- เหตุผลที่ฉันร้องเพลง
- คนสวย (จอนนี่)
- ทรายกับทะเล (อริชัย)
- เบื้องหลังตัวโน้ต
- วิธีแก้โลกอับเฉา
- ไม่มีคำว่าสาย
- เสียงครวญจากคนหน้าตาธรรมดา
- โลกสวย
- วัยสีชมพู (บรรเลง)
ขวดโหล 2 (2529)
- ขอภาพไว้คั่นตำรา (สุธี)
- บาดเจ็บนิด ๆ (ไอศูรย์)
- บ๊าย บายความรัก
- ยิ้มแป้น (จอนนี่)
- คำสารภาพของรองเท้าผ้าใบ
- ขอภาพไว้คั่นตำรา (บรรเลง)
- ข่าวสด ๆ (โชคดี)
- แด่ดาวหางฮัลเล่ย์
- หมัดสีชมพู
- เพียงความทรงจำ
- เพลงอำลา
- บาดเจ็บนิด ๆ (บรรเลง)
นิรันดร์กาล (พฤษภาคม 2529)
- เก็บรัก (ไอศูรย์)
- เด็กผู้หญิง
- ความรัก (สุธี)
- พี่ยังรักเธอไม่คลาย (สุธี)
- ฉันอยู่คนเดียว
- รักครึ่งใจ (นคร)
- แรกรัก
- นิรันดร์กาล (สุธี)
- ฝันประหลาด (โชคดี)
- ใกล้เพียงลมหายใจ
- เพียงสองเรา
- ความหวัง
อยากให้ความรัก (แก่คนทั้งโลก) (กุมภาพันธ์ 2530)
- หนึ่งนาที
- เพียงคนเดียว (สุธี)
- ชู-บี-ดู-วา (ตรอกซอกซอยของความรัก)
- รักใครหรือยัง (อริชัย)
- หากรู้สักนิด (สุธี)
- รถไฟสายความรัก (คณิต, สุธี)
- อยากให้ความรัก (แก่คนทั้งโลก) (นคร)
- น้อย ๆ หน่อย (ประสิทธิ์)
- รักเขาข้างเดียว
- เพลิน
- ใครนะใคร ?
- คิด คิด คิด ถึงเธอ
ได้ไหม (พฤศจิกายน 2531)
- ได้ไหม (สุธี)
- ฝืด (ร้องหมู่)
- เกิดเป็นผู้ชาย (สุธี)
- ป.ล. โปรดตอบ
- ฉันเข้าใจ
- ทนไม่ไหว
- สะใจกว่า
- ใจหาย (สุธี)
- อย่าทิ้งกันไป (สุธี)
- ซุบซิบนินทา (อริชัย)
- ใจมันสั่ง (ไอศูรย์)
- ผูกพัน (สุธี)
ซิงเกิ้ล
แก้- หัวใจมีปีก
- พบรัก
- แค่หลับตา (พ.ศ. 2545)
อัลบั้มพิเศษ
แก้อัลบั้มชุดพิเศษบทเพลงพระราชนิพนธ์ (ดวงใจกับความรัก) (ธันวาคม 2530) อัลบั้มพิเศษเทิดพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ 5 ธันวาคม 2530
- ชะตาชีวิต
- ใกล้รุ่ง
- ลมหนาว
- OH I SAY
- แสงเทียน
- อาทิตย์อับแสง
- ค่ำแล้ว
- พรปีใหม่
- แก้วตาขวัญใจ
- ยามเย็น
- สายฝน
- ดวงใจกับความรัก
- แสงเดือน
- ยิ้มสู้
คอนเสิร์ต
แก้- คอนเสิร์ตเปิดอัลบั้มเอกซ์โอ ที่โรงละครแห่งชาติ (31 ต.ค. 2524)
- 7 สีคอนเสิร์ต แกรนด์เอ็กซ์ (2531)
- โลกดนตรี แกรนด์เอ็กซ์ (2524-26 ก.พ. 2532)
- คอนเสิร์ต ชุด นิจนิรันดร์ ที่สนามกีฬาไทย-ญี่ปุ่น ดินแดง (4 ก.ย. 2525)
- คอนเสิร์ต พรหมลิขิต ที่ศูนย์เยาวชนไทย-ญี่ปุ่น ดินแดง (26 ธ.ค. 2525)
- Valentine Laser Concert (13 ก.พ. 2526)
- Grand Ex’ Fan Club Meeting Summer Holiday:GXFCMSH (with monkey show) เพื่อก่อตั้งมูลนิธิแกรนด์เอ็กซ์ ที่ห้องมรกต โรงแรมอินทรา (2 พ.ค. 2526)
- คอนเสิร์ต Meeting Puppy Love ที่ห้องมรกต โรงแรมอินทรา (5 มิ.ย. 2526)
- GX. Crocodile concert ที่ห้องมรกต โรงแรมอินทรา (17 ก.ค. 2526)
- คอนเสิร์ทเปิดอัลบั้ม เพชร ที่ศูนย์เยาวชนไทย-ญี่ปุ่น ดินแดง (21 ส.ค. 2526)
- Snow White Meeting Concert ที่ศูนย์เยาวชนไทย-ญี่ปุ่น ดินแดง (16 ต.ค. 2526)
- คอนเสิร์ต เดชไซอิ๋วผจญอภินิหารซานตาครอส หอประชุมใหญ่ ม.ธรรมศาสตร์ (25 ธ.ค. 2526)
- คอนเสิร์ตเปิดอัลบั้ม บริสุทธิ์ หอประชุมใหญ่ ม.ธรรมศาสตร์ (18 มี.ค. 2527)
- Meeting คอนเสิร์ต ลาไปอเมริกึ๋ย ที่ห้องมรกต โรงแรมอินทรา (15 เม.ย. 2527)
- คอนเสิร์ตเปิดอัลบั้ม ดวงเดือน-ครั้งสุดท้ายของแกรนด์เอ็กซ์ (23 ต.ค. 2527)
- คอนเสิร์ต น้ำหนึ่ง-การกลับมาของสมาชิกแกรนด์เอ็กซ์ยุคคลาสสิก แสดงสดเพื่อการกุศล ที่สนามเสือป่า (30 พ.ค. 2530)
- คอนเสิร์ต Grand Exhibition ที่อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี (16 มี.ค. 2545)
- คอนเสิร์ต แกรนด์ เอกซ์คลูซีฟ แอบรักเธออยู่ในใจ ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ (13-14 ส.ค. 2546)
- คอนเสิร์ต เพื่อนช่วยเพื่อน แด่โฆษกคนยาก ที่เสรีเซ็นเตอร์ (8 ก.ค. 2550) รวมศิลปิน
- คอนเสิร์ต ตำนานเพลง 3 ทศวรรษอโซน่า ที่ หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย (15 มิ.ย. 2551)
- คอนเสิร์ต A Special Tribute to Bee Gees ที่หอประชุมใหญ่ ม.ธรรมศาสตร์ (13 พ.ค. 2555) เฉพาะตึ๋ วสันต์
- คอนเสิร์ต Frame of Melody 50th แจ้ ดนุพล แก้วกาญจน์ 2009 ที่พารากอน ฮอลล์ สยามพารากอน (2 พ.ค. 2552) ในฐานะศิลปินรับเชิญ
- คอนเสิร์ต Grand Ex' Grand Concerts ที่อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี (18 มิ.ย. 2559)
- คอนเสิร์ต Grand Ex' บริบูรณ์-คอนเสิร์ตครั้งสุดท้ายอย่างเป็นทางการของแกรนด์เอ็กซ์ก่อนยุบวง ที่ อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี (3 ส.ค. 2562)
- คอนเสิร์ต การกุศล เพื่อคุณภาพชีวิต ที่หอประชุมใหญ่ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย (19 มี.ค. 2566)
บันทึกการแสดงสด
แก้บันทึกการแสดงสดที่แมนฮัตตันคลับ (กุมภาพันธ์ 2523)
- TRAGEDY
- REACHING OUT
- MEDLEY NEW YORK MINING DISASTER/RUN TO ME/WORLD/HOLIDAY/I CAN'T SEE NOBODY/I STARTED A JOKE/MASSACHUSETTS
- คู่นก
- รักแรกพบ
- ในห้วงกรรม
- ดอกไม้ในสลัม
- อาหารเจ็ดวัน
บันทึกการแสดงสด หอประชุมจุฬา (มิถุนายน 2524)
- หัวใจมีปีก
- พบรัก
- ได้ยังไง
- I've Gotta a Message to You
- Spirits (Havin' Flown)
- Another Brick in the Wall
- Babe
- More Than I Can Say
- ไกลตา ใกล้ใจ
- เขิน
Valentine Laser Concert (กุมภาพันธ์ 2526)
- หัวใจมีปีก
- อยากมีรัก
- DADDY'S HOME
- เมดเล่ย์ (เขิน - ดอกไม้ - กล่อมรัก - รักแรกพบ - โอ้รัก - ทาสรัก - บัวน้อยคอยรัก)
- LET'S TWIST AGAIN
- IF YOU LEAVE ME NOW
- HOW CAN YOU MEND A BROKEN HEART
- I'VE GOTTA A MESSAGE TO YOU
- HARD TO SAY I'M SORRY
- รักเดียว
บันทึกการแสดงสดสังข์ทองคอนเสิร์ต (มิถุนายน 2527)
- สายทิพย์
- ดาวล้อมเดือน
- ฟลอร์เฟื่องฟ้า
- พลอยหุง
- ภาพดวงใจ
- IF YOU LEAVE ME NOW (ต้นฉบับ: ชิคาโก)
- HARD TO SAY I'M SORRY (ต้นฉบับ: ชิคาโก)
- เพชร
- EVERYBODY WANTS YOU (ต้นฉบับ: บิลลี่ สไควเออร์)
- หัวใจมีปีก
- โลกที่ไม่เท่ากัน
- ป้าแช่ม
- บริสุทธิ์น้อย
เกร็ด
แก้- ใน พ.ศ. 2528 สมาชิก 5 คนได้ขอลาออกประกอบด้วย วสันต์ สิริสุขพิสัย, เสน่ห์ ศุภรัตน์, ทนงศักดิ์ อาภรณ์ศิริ, พนัส หิรัญกสิ, ศรายุทธ สุปัญโญ โดยที่ วสันต์, เสน่ห์, ทนงศักดิ์, พนัส ได้ตั้งวงขึ้นใหม่ในชื่อ “เพื่อน”
โดยยังมีสมาชิกอีก 4 คน นครเวช สุภาพร, ประสิทธิ์ ไชยะโท, โชคดี พักภู่ และ ดนุพล แก้วกาญจน์ ผลิตผลงานต่อไปภายใต้ชื่อใหม่ว่า “แกรนด์เอ็กซ์ แฟมิลี่”
- ดนุพล แก้วกาญจน์ ได้ขอลาออกเมื่อเสร็จสิ้นอัลบั้มชุดที่ 16 เรียบร้อยแล้วไปเป็นศิลปินเดี่ยว ส่วน นคร, ประสิทธิ์ และ โชคดี หันไปทำงานเบื้องหลังแทน
อ้างอิง
แก้- ↑ ข่าวสด (23 เมษายน 2019). "แจ้ ดนุพล นำทีม แกรนด์เอ็กซ์ ชวนแฟนเพลงชมคอนเสิร์ตครั้งสุดท้าย ปิดตำนานวง". www.khaosod.co.th. สืบค้นเมื่อ 26 เมษายน 2019.
- ↑ คุณ ไก่ สุธีร์ แสงเสรีธรรม ????