ลัทธิไตรราษฎร์
ลัทธิไตรราษฎร์ หรือ สามหลักการแห่งประชาชน (จีน: 三民主义; จีน: 三民主義; พินอิน: Sān Mín Zhǔyì; อังกฤษ: Three Principles of the People, Three People's Principles, San-min Doctrine, หรือ Tridemism) เป็นปรัชญาการเมืองซึ่งซุน ยัดเซ็น พัฒนาขึ้นเป็นส่วนหนึ่งของปรัชญาที่ทำให้ประเทศจีนเป็นดินแดนอันเสรี รุ่งเรือง และทรงอำนาจ
สามหลักการแห่งประชาชน | |||||||||||||||||||||||||||||||
ดร.ซุน ยัตเซ็น ผู้วางหลักการของหลักลัทธิไตรราษฎร์ | |||||||||||||||||||||||||||||||
อักษรจีนตัวเต็ม | 三民主義 | ||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
อักษรจีนตัวย่อ | 三民主义 | ||||||||||||||||||||||||||||||
|
ลัทธิไตรราษฎร์ประกอบด้วยหลักการสามข้อ ได้แก่ "ประชาชาติ" (民族; people's rule) คือ ความนิยมชาติ, "ประชาสิทธิ์" (民權; people's right) คือ ประชาธิปไตย, และ "ประชาชีพ" (民生; people's livelihood) คือ ความอยู่สุขสวัสดีของผองชน
การนำหลักการทั้งสามไปใช้นั้นก่ออิทธิพลและผลลัพธ์ที่เด่นชัดที่สุดเป็นการจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินของสาธารณรัฐจีนในไต้หวัน อนึ่ง
ปรัชญานี้ถูกอ้างว่าเป็นรากฐานที่สำคัญของนโยบายของสาธารณรัฐจีนซึ่งดำเนินการโดย พรรคก๊กมินตั๋ง (國民黨) หลักการเหล่านี้เป็นดังเสาค้ำชาติไต้หวันที่ แบกไว้บนบ่า หลักการทั้งสามยังปรากฏในท่อนแรกของเพลงชาติสาธารณรัฐจีนด้วย
ต้นกำเนิด
แก้ในปี ค.ศ. 1894 เมื่อมีการก่อตั้งสมาคมฟื้นฟูประเทศจีน (ซิงจงฮุ่ย) ในขณะนั้น ดร.ซุน ยัตเซ็น มีเพียงสองหลักการ ได้แก่ ชาตินิยมและประชาธิปไตยเท่านั้น ดร.ซุนได้หยิบความคิดที่สาม คือ สวัสดิการ หรือ ความเป็นอยู่ของประชาชน ระหว่างการเดินทางสามปีของเขาไปที่ยุโรป จากปี ค.ศ. 1896 ถึง ค.ศ. 1898[1] เขาประกาศแนวคิดทั้งสามในฤดูใบไม้ผลิปี ค.ศ. 1905 ระหว่างเดินทางไปยุโรปอีกครั้ง ดร.ซุนกล่าวสุนทรพจน์ครั้งแรกในชีวิตของเขาเกี่ยวกับ "สามหลักการของประชาชน" ใน บรัสเซลส์[2] ดร.ซุนสามารถรวบรวมสมาชิกและจัดระเบียบสมาคมซิงจงฮุ่ย ในหลาย ๆ เมืองในยุโรป ในขณะนั้นมีสมาชิกประมาณ 30 คนในสาขาบรัสเซลส์ สมาชิก 20 คนใน เบอร์ลินและ 10 คนใน ปารีส[2] ในภายหลังจากได้มีการก่อตั้งขบวนการถงเหมิงฮุ่ยแล้ว ดร.ซุน ได้ตีพิมพ์บทบรรณาธิการลงในหนังสือพิมพ์ หมินเปา (民報) นี่เป็นครั้งแรกที่ความคิดถูกแสดงออกเป็นลายลักษณ์อักษร ต่อมาในฉบับครบรอบของ หมินเปา สุนทรพจน์อันยาวนานของดร.ซุนในหลักการสามประการถูกตีพิมพ์และบรรณาธิการของหนังสือพิมพ์ได้กล่าวถึงประเด็นการดำรงชีวิตของผู้คน[1]
อุดมการณ์กล่าวกันว่าได้รับอิทธิพลอย่างมากจากประสบการณ์ของดร.ซุน ขณะพำนักอยู่ในสหรัฐอเมริกาและมีองค์ประกอบของขบวนการก้าวหน้าของชาวอเมริกันและแนวความคิดของอับราฮัม ลินคอล์น ซุนให้เครดิตหนึ่งบรรทัดจากสุนทรพจน์ที่เกตตีสเบิร์กของลินคอล์น "รัฐบาลของประชาชน โดยประชาชน เพื่อประชาชน" เป็นแรงบันดาลใจให้กับหลักการสามประการของดร.ซุนมาใช้ในประเทศจีน[2] หลักสามประการของประชาชนของเฝดร.ซุนเชื่อมโยงระหว่างกันเป็นแนวทางในการพัฒนาสิ่งใหม่ๆ เพื่อให้จีนเข้าสู่ยุคสมัยใหม่ โดยมีผู้ขับเคลื่อนที่สำคัญคือ หู ฮั่นหมิน[3]
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 Li Chien-Nung, translated by Teng, Ssu-yu, Jeremy Ingalls. The political history of China, 1840–1928. Princeton, NJ: Van Nostrand, 1956; rpr. Stanford University Press. ISBN 0-8047-0602-6, ISBN 978-0-8047-0602-5. pp. 203–206.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 Sharman, Lyon (1968). Sun Yat-sen: His life and its meaning, a critical biography. Stanford: Stanford University Press. pp. 94, 271.
- ↑ "+{中華百科全書‧典藏版}+". ap6.pccu.edu.tw. สืบค้นเมื่อ 2015-12-24.