หม่อมเอลีซาเบท รังสิต ณ อยุธยา

หม่อมเอลีซาเบท รังสิต ณ อยุธยา (15 กันยายน พ.ศ. 2435 – 29 กันยายน พ.ศ. 2516) นามเดิม เอลีซาเบท ชาร์นแบร์เกอร์ (เยอรมัน: Elisabeth Scharnberger)[1] เป็นสุภาพสตรีชาวเยอรมัน ที่ต่อมาเป็นหม่อมในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร

หม่อม

เอลีซาเบท รังสิต ณ อยุธยา

เกิดเอลีซาเบท ชาร์นแบร์เกอร์
15 กันยายน พ.ศ. 2435
เสียชีวิต29 กันยายน พ.ศ. 2516 (81 ปี)
คู่สมรสสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร (พ.ศ. 2445–2494)
บุตร

ประวัติ แก้

หม่อมเอลีซาเบทเป็นบุตรคนเล็กจากจำนวนพี่น้องสามคน ซึ่งมารดาเป็นแม่เลี้ยงเดี่ยว เธอได้พบรักกับสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทรขณะเสด็จไปศึกษาในประเทศเยอรมนี[2]

ต่อมาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทรได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตเสกสมรสกับหม่อมเอลีซาเบทจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวแล้ว ทั้งสองจึงจดทะเบียนสมรส ณ ที่ทำการอำเภอเวสต์มินสเตอร์ กรุงลอนดอน เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2445 โดยกระทำอย่างเงียบ ๆ เพราะ "สมัยนั้นเจ้านายในยุโรปซึ่งทรงคบหาสมาคมด้วยอย่างกว้างขวางนั้น ทรงถือว่าเป็นเรื่องเสียหาย อย่างมากถ้าเจ้านายทำการสมรสกับสามัญชน ดังนั้นเพื่อหลีกเลี่ยงเรื่องวุ่นวายต่าง ๆ ที่เยอรมนี จึงทรงเลือกจดทะเบียนสมรสอย่างเงียบ ๆ ที่กรุงลอนดอนแทน"[2]

หลังการเสกสมรส หม่อมเอลีซาเบทจึงตามเสด็จสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทรกลับกรุงสยาม เบื้องต้นหม่อมเอลีซาเบทต้องปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรมไทยในฐานะหม่อมห้าม เช่น การเรียนภาษาไทย ตามด้วยคำราชาศัพท์ การใช้กิริยามารยาทอย่างชาววัง โดยได้รับการอบรมจากพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเยาวภาพงศ์สนิท พระโสทรเชษฐภคินีของกรมพระยาชัยนาทนเรนทร จนหม่อมเอลีซาเบทสามารถนุ่งโจงกระเบน และหมอบคลาน เข้าเฝ้าสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าด้วยกิริยามารยาทที่เรียบร้อย[2]

หม่อมเอลีซาเบทมีพระโอรสธิดาสามองค์ คือ

  1. หม่อมเจ้าปิยะรังสิต รังสิต (25 ธันวาคม พ.ศ. 2456 – 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2533) เสกสมรสกับหม่อมราชวงศ์ผ่องลักษณ์ ทองใหญ่, หม่อมเจ้าวิภาวดี รัชนี และบุญพิทักษ์ แสงฤทธิ์ มีโอรส-ธิดาสี่คน
  2. หม่อมเจ้าสนิทประยูรศักดิ์ รังสิต (19 สิงหาคม พ.ศ. 2460 – 10 กันยายน พ.ศ. 2538) เสกสมรสกับอามีเลีย มอนตอลติ และนาลินี สุขนิล มีโอรส-ธิดาสี่คน
  3. หม่อมเจ้าจารุลักษณ์กัลยาณี รังสิต (7 สิงหาคม พ.ศ. 2467 – 3 สิงหาคม พ.ศ. 2555) ลาออกจากฐานันดรศักดิ์เพื่อสมรสกับนายแพทย์เฉลิม บูรณะนนท์[3] มีบุตรสองคน

หม่อมเอลีซาเบท รังสิต ณ อยุธยา ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2516 สิริอายุได้ 81 ปี 14 วัน โดยศพของหม่อมเอลีซาเบทถูกฝังที่เมืองไฮเดิลแบร์ค ประเทศเยอรมนี[4]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. จุลจักรพงษ์, พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า. เจ้าชีวิต-สยามก่อนยุคประชาธิปไตย. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : ริเวอร์บุ๊คส์. 2536, หน้า 343
  2. 2.0 2.1 2.2 วีระยุทธ ปีสาลี (10 สิงหาคม 2561). "สะใภ้เจ้า : จากสตรีสามัญสู่สายสัมพันธ์แห่งราชตระกูล". ศิลปวัฒนธรรม. (39:10),หน้า 78
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักพระราชวัง เรื่อง ลาออกจากฐานันดรศักดิ์ (หม่อมเจ้าจารุลักษณ์กัลยาณี รังสิต), เล่ม 62, ตอน 39 ง, 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2488 หน้า 1113
  4. ชีวิตเหมือนฝัน : นายพุ่มสกี้ พระสหายสนิทสมเด็จเจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ ผู้จากเมืองไทยไปกว่า 33 ปี
  5. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม 67, ตอน 25 ง, 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2493, เล่ม 1805
  6. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ในงานพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา, เล่ม 47, ตอน 0 ง, 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2473, หน้า 3078
  7. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ เก็บถาวร 2011-12-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 55, ตอน 0 ง, 16 มกราคม พ.ศ. 2481, หน้า 3421

แหล่งข้อมูลอื่น แก้