หม่อมเอลิสะเบธ จักรพงษ์ ณ อยุธยา
หม่อมเอลิสะเบธ จักรพงษ์ ณ อยุธยา (29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2458 – 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514) มีนามเดิมว่า เอลิสะเบธ เคอร์ลิง ฮันเตอร์ (อังกฤษ: Elisabeth Curling Hunter) เป็นหม่อมในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ พระโอรสพระองค์เดียวในสมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ กับหม่อมคัทริน ณ พิศณุโลก หม่อมมารดาชาวรัสเซีย
หม่อม เอลิสะเบธ จักรพงษ์ ณ อยุธยา | |
---|---|
หม่อมเอลิสะเบธ | |
เกิด | เอลิสะเบธ เคอร์ลิง ฮันเตอร์ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2458 สหราชอาณาจักร |
เสียชีวิต | 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 (55 ปี) คอร์นวอล ประเทศอังกฤษ สหราชอาณาจักร[1] |
คู่สมรส | พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ (สมรส 2481; เสียชีวิต 2506) |
บุตร | หม่อมราชวงศ์นริศรา จักรพงษ์ |
บิดามารดา |
|
ประวัติ
แก้หม่อมเอลิสะเบธ จักรพงษ์ ณ อยุธยา หรือนามเดิมว่า เอลิสะเบธ ฮันเตอร์ เป็นที่รู้จักในหมู่ญาติพี่น้องและสหายสนิทว่า ลิสบา (อังกฤษ: Lisba) เกิดมาในตระกูลชั้นเยนตรี้ (Gentry) ครอบครัวมีเชื้อสายอังกฤษและสกอต[2] บิดาชื่อเอ็ดเวิร์ด วิลเลียม ฮันเตอร์ กับมารดาชื่อมาเบล เอลิซาเบท (สกุลเดิม ไพล์) มีน้องสาวอีกสองคนคือไอลีนและแคลร์ ตามลำดับ[1]
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์และเอลิสะเบธได้จดทะเบียนสมรสที่สำนักงานทะเบียนถนนมาร์โลส์ เมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2481 หลังเสกสมรส พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ทรงดำริที่จะไม่มีบุตร ในจดหมายฉบับหนึ่งที่เขียนถึงหม่อมเอลิสะเบธ ได้ตรัสไว้ว่า "ถ้าเผื่อเราแต่งงานกัน อย่ามีลูกกันเลย เพราะเด็กที่เกิดมาหลายเชื้อชาติ จะมีปัญหาตลอด" แต่ถึงกระนั้นหลังเสกสมรสเป็นเวลา 18 ปี หม่อมเอลิสะเบธจึงตั้งครรภ์ เมื่อหม่อมอายุ 41 ปี[3] และเป็นทายาทเพียงคนเดียวของทั้งสองคือ หม่อมราชวงศ์นริศรา จักรพงษ์ (เกิด 2 สิงหาคม พ.ศ. 2499) สมรสกับแอลเลน เลวี และกอสวัสดิ์ สวัสดิวัตน์ ทอมสัน มีบุตรชายสองคนคือจุลจักร จักรพงษ์ และภูวสวัสดิ์ จักรพงษ์
หม่อมเอลิสะเบธ จักรพงษ์ ณ อยุธยา ได้เยี่ยมประเทศไทยพร้อมพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ เมื่อครั้งงานฉลองรัฐธรรมนูญเมื่อปี 2481
หม่อมเอลิสะเบธถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 ขณะอายุ 56 ปี ณ คอร์นวอล สหราชอาณาจักร[1]
สถานที่ที่ตั้งตามนาม
แก้- ตึกเอลิสะเบธ จักรพงษ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์[4]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2505 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.) (ฝ่ายใน)[5]
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 1.2 "Elisabeth Curling C (Hunter) Chakrabongse". Wiki Tree. สืบค้นเมื่อ 23 กันยายน 2561.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "วิชาการ.คอม เจ้าวังปารุสก์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-03-11. สืบค้นเมื่อ 2010-05-13.
- ↑ นิตยสารเฮลโล ฉบับที่ 8 วันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2551 หน้า 64-78
- ↑ "สาขารังสีรักษาและมะเร็งวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-07-03. สืบค้นเมื่อ 2010-05-06.
- ↑ แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เล่ม 79 ตอนที่ 46 ราชกิจจานุเบกษา 15 พฤษภาคม 2505
เอกสารอ่านเพิ่ม
แก้- เกิดวังปารุสก์ ประพันธ์โดยพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ สำนักพิมพ์ River Books ,ISBN 974-8225-22-4