คอร์นวอลล์

(เปลี่ยนทางจาก คอร์นวอล)

คอร์นวอลล์ (อังกฤษ: Cornwall) หรือ แคร์นอว์ (คอร์นวอลล์: Kernow) เป็นเทศมณฑลแห่งหนึ่งของประเทศอังกฤษภายในสหราชอาณาจักร ตั้งอยู่ทางปลายแหลมด้านตะวันตกเฉียงใต้ของสหราชอาณาจักร ทางด้านเหนือและด้านตะวันตกจรดทะเลเคลติก ทางด้านใต้จรดช่องแคบอังกฤษ ด้านตะวันออกติดกับเทศมณฑลเดวอนโดยมีแม่น้ำเทมาร์เป็นเส้นแบ่งเขต คอร์นวอลล์มีประชากรรวมทั้งสิ้นประมาณ 526,300 คน ในเนื้อที่ 3,563 ตารางกิโลเมตร[1] ศูนย์กลางการปกครองตั้งอยู่ที่เมืองทรูโร

คอร์นวอลล์

(ธงนักบุญไพริน)
คำขวัญ: 
Onen hag oll
(ภาษาอังกฤษ: One and all)
เทศมณฑลคอร์นวอลล์ในอังกฤษ
รัฐเอกราชสหราชอาณาจักร
ประเทศอังกฤษ
ภูมิภาคเซาท์เวสต์อิงแลนด์
เขตเวลาUTC±00:00 (เวลามาตรฐานกรีนิช)
 • ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)UTC+01:00 (เวลาฤดูร้อนบริติช)
เทศมณฑลพิธีการ
พื้นที่3,563 km2 (1,376 sq mi)
 • อันดับลำดับที่ 12 จาก 48
ประชากร (2007)531,600
 • อันดับลำดับที่ 39 จาก 48
ความหนาแน่น149
เชื้อชาติ99.0% ขาว
1% อื่น ๆ
เทศมณฑลนอกมหานคร
สภาเทศมณฑล
สภาเทศมณฑลคอร์นวอลล์
http://www.cornwall.gov.uk/
ฝ่ายบริหาร 
ศูนย์กลางการบริหารทรูโร
พื้นที่3,547 km2 (1,370 sq mi)
 • อันดับลำดับที่ 9 จาก 26
ประชากร529,500
 • อันดับลำดับที่ 23 จาก 26
ความหนาแน่น[convert: %s]%s
ISO 3166-2GB-CON
รหัส ONS15
รหัส NUTSUKK30
อำเภอ
อำเภอ
  1. สภาคอร์นวอลล์ (การปกครองชั้นเดียว)
  2. เกาะซิลลี (การปกครองชั้นเดียวรูปแบบพิเศษ)

ดินแดนบริเวณคอร์นวอลล์เดิมเป็นที่ตั้งหลักแหล่งของชนยุคหินจากนั้นก็เป็นชนยุคสำริดและต่อมาในสมัยยุคเหล็กโดยชาวเคลต์ คอร์นวอลล์เป็นส่วนหนึ่งของบริเวณที่พูดภาษากลุ่มบริทอนิก (Brythonic languages) ที่ตัดขาดจากกลุ่มชนที่พูดภาษากลุ่มเดียวกันในเวลส์หลังจากยุทธการเดอรัม (Battle of Deorham) โดยมักขัดแย้งกับชาวแซกซันแห่งราชอาณาจักรเวสเซกซ์ที่พยายามขยายดินแดนเข้ามา ก่อนที่พระเจ้าแอเทลสตันจะกำหนดเขตแดนระหว่างชาวอังกฤษกับชาวคอร์นิชโดยใช้แม่น้ำทามาร์[2] คอร์นวอลล์รวมกับอังกฤษเมื่อใดไม่มีหลักฐานแน่นอน แต่การใช้ภาษาคอร์นิชยังคงใช้กันต่อมาจนคริสต์ศตวรรษที่ 18 การฟื้นฟูการใช้ภาษาคอร์นิชอีกครั้งมาเริ่มต้นขึ้นเมื่อคริสต์ศตวรรษ 20 และเพิ่มความนิยมมากขึ้นในคริสต์ทศวรรษที่ผ่านมา ในปัจจุบันคอร์นวอลล์ประสบปัญหาทางเศรษฐกิจเนื่องจากอุตสาหกรรมเหมืองดีบุกและอุตสาหกรรมการประมงเสื่อมโทรมลงและต้องหันมาพึ่งพาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเป็นหลัก ดินแดนคอร์นวอลล์มีชื่อในทางที่มีภูมิทัศน์เป็นดินแดนสูงที่เป็นทุ่งที่มีแต่พืชพรรณเตี้ย ๆ เติบโตอยู่ที่เรียกว่า "ทุ่งมัวร์" (Moorland) และชายฝั่งทะเลที่น่าดูและอากาศที่อุ่นกว่าบริเวณอื่นของอังกฤษ

อ้างอิง

แก้
  1. "T 09: Quinary age groups and sex for local authorities in the United Kingdom; estimated resident population Mid-2006 Population Estimates". Office for National Statistics. สืบค้นเมื่อ 2008-05-23.
  2. Anglo-Saxon England, Professor F.M. Stenton, Clarendon Press, 1947, p.337)

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

  วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ คอร์นวอลล์

สมุดภาพ

แก้