สุพรรณ บูรณะพิมพ์

(เปลี่ยนทางจาก สุพรรณ บูรณพิมพ์)

สุพรรณ บูรณะพิมพ์ ชื่อเล่น ต้อย (17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2469 – 16 ตุลาคม พ.ศ. 2528) เป็นนักแสดงและผู้กำกับอาวุโสชาวไทย มีผลงานทั้งแสดงและกำกับละครเวที ละครโทรทัศน์ และภาพยนตร์ เคยได้รับรางวัลตุ๊กตาทอง ผู้แสดงประกอบฝ่ายหญิงยอดเยี่ยม 2 ปีติดต่อกัน ในปี พ.ศ. 2505 และ พ.ศ. 2506 และได้รับการยกย่อง รางวัลเกียรติคุณทางการแสดง ครั้งที่ 4 ประจำปี พ.ศ. 2549 จัดโดยหอภาพยนตร์แห่งชาติ [3] เป็นเจ้าของฉายา ราชินีแห่งศิลปิน และ ราชินีแห่งการละคร

สุพรรณ บูรณะพิมพ์
สารนิเทศภูมิหลัง
เกิด17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2469 [1]
สุพรรณ บูรณะพิมพ์
จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม
เสียชีวิต16 ตุลาคม พ.ศ. 2528 (58 ปี)
คู่สมรสประสิทธิ์ ยุวะพุกกะ
บุตรพิมพ์พรรณ บูรณะพิมพ์
กิติกัญญา บูรณะพิมพ์
อาชีพ
  • นักร้อง
  • นักแสดง
  • ผู้กำกับ
ปีที่แสดงพ.ศ. 2484–2528 (44 ปี)
ผลงานเด่นแม่พลอย (คนแรกทางทีวี) - สี่แผ่นดิน (2504)
คุณสาลี่ - นางทาส (2498/2505)
จวงจันทร์ - น้ำผึ้งขม (2511/2520/2523)
เนื้อเย็น - คมพยาบาท (2514)
รางวัล
พระสุรัสวดีผู้แสดงประกอบฝ่ายหญิงยอดเยี่ยม
พ.ศ. 2505 - สุรีรัตน์ล่องหน
พ.ศ. 2506 - นางทาส
โทรทัศน์ทองคำผู้กำกับการแสดงดีเด่น
พ.ศ. 2529 - สายโลหิต[2]
เมขลาผู้กำกับการแสดงดีเด่น
พ.ศ. 2523 - บาปบริสุทธิ์
พ.ศ. 2529 - สายโลหิต

ประวัติ

แก้

สุพรรณ บูรณะพิมพ์ ชื่อเล่น ต้อย เกิดเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2469 เกิดที่ย่านบางลำพู จังหวัดพระนคร เป็นบุตรของนายบุญส่ง และนางพร้อม บูรณะพิมพ์ มีพี่น้อง 9 คน ได้แก่

  1. แช่ม บูรณะพิมพ์
  2. ไพบูลย์ บูรณะพิมพ์
  3. บุญพร้อม บูรณะพิมพ์
  4. ไพพรรณ บูรณะพิมพ์
  5. บุญรอด บูรณะพิมพ์
  6. ลำเภาพรรณ บูรณะพิมพ์
  7. วสันต์ บูรณะพิมพ์
  8. ยุทธเลิศ บูรณะพิมพ์

เริ่มเรียนที่โรงเรียนครูม่วง เมื่ออายุ 3 ขวบ ซึ่งมีศักดิ์เป็นทวด ต่อมาเข้าศึกษาที่โรงเรียนนิยมศึกษา ซึ่งมารดาเป็นครูใหญ่อยู่ที่นั่น หลังจบชั้นเตรียมประถม ก็ได้ศึกษาที่โรงเรียนวัดสังเวชวิทยาราม จนจบ ป.4 และศึกษาระดับมัธยมศึกษาที่โรงเรียนเขียนนิวาศน์ จนจบ ม.4 จึงต้องหยุดเรียน เนื่องจากบิดาป่วยต้องออกจากราชการประจวบกับน้ำท่วมโรงเรียนมีผลให้ต้องปิดโรงเรียน

นักร้อง

แก้

เข้าสู่วงการในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ด้วยการชักชวนของพี่สาว ชื่อ ไพพรรณ บูรณะพิมพ์ โดยสมัครเป็นนักร้องในวงดนตรีของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ควบคุมวงโดยครูนารถ ถาวรบุตร

ละครเวที

แก้

เริ่มเป็นนางเอกจากการแนะนำของคุณประสิทธิ์ ยุวะพุกกะ เมื่อ พ.ศ. 2487 เรื่อง พันท้ายนรสิงห์ คู่กับ สุรสิทธิ์ สัตยวงษ์ ต่อมาย้ายไปเป็นนางเอกคณะศิวารมย์โดยได้รับการฝึกฝนจากครูเนรมิตและครูมารุต เริ่มมีชื่อเสียงจากเรื่อง ราชินีบอด บทประพันธ์ของสุวัฒน์ วรดิลก พ.ศ. 2493 บทเด่นเรื่องอื่น ๆ เช่น คลีโอพัตรา, ซูสีไทเฮา ฯลฯ

ในช่วงทศวรรษ 2490 แสดงนำและขับร้องคู่กับ ฉลอง สิมะเสถียร พระเอกละครที่มีชื่อเสียงหลายเรื่อง เช่น ผาคำรณ (เพลงอุทยานกุหลาบ), นเรนทร์ริษยา (เพลงวิมานรัก) [4] นับว่าเป็นนักแสดงละครเวทีที่ได้รับความนิยมมากในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่2 โดยส่วนใหญ่มักจะแสดงคู่กับ ส.อาสนจินดา และ ฉลอง สิมะเสถียร โดยมักจะได้รับบทนำแล้วตีบทแตกเสมอ

ภาพยนตร์

แก้

แสดงเรื่องแรกคู่กับ ชูชัย พระขรรค์ชัย ใน พันท้ายนรสิงห์ ของอัศวินภาพยนตร์ อำนวยการสร้างโดย พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล กำกับการแสดงโดย มารุต ฉายครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2493 [5]

บทบาทเด่นในเรื่องอื่น ๆ เช่น นางทาษ รับบท สาลี่ พ.ศ. 2496 และ 2505, ไม่มีสวรรค์สำหรับคุณ พ.ศ. 2516, ความรัก รับบท แม่วิศนี พ.ศ. 2517, พ่อไก่แจ้ (2519), เมืองในหมอก (2521), คุณนายทองคำ ใน แผลเก่า (2520), แม่บานชื่น ใน ดาวเรือง (2522), เลือดสุพรรณ (2522), คุณนายเนื้ออ่อน ใน พ่อปลาไหล (2524) และ เทพเจ้าบ้านบางปูน (2523) ฯลฯ

ละครโทรทัศน์

แก้

รับบท แม่พลอย (คนแรกทางโทรทัศน์) ใน สี่แผ่นดิน พ.ศ. 2504, บท วรรณนรี ใน น้ำเซาะทราย พ.ศ. 2506, บท เนื้อเย็น/นางสันดานเย็น ใน คมพยาบาท[6][7]พ.ศ. 2512, บท หม่อมชุลี ใน ริษยา และ บท จวงจันทร์ ใน น้ำผึ้งขม พ.ศ. 2511 ฯลฯ

บทบาทเด่น ๆ ต่อมา เช่น คุณนายลั่นทม ใน สุสานคนเป็น ช่อง 7 ขาวดำ (ช่อง 5), แม่นางเอกใน ผู้หญิงคนนั้นชื่อบุญรอด ประชันบทกับ มยุรา ธนบุตร ช่อง 7 พ.ศ. 2526, หม่อมชุลี อีกครั้งใน ริษยา ทางช่อง 5 พ.ศ. 2525 และ แม่บานชื่น ใน ดาวเรือง[8] พ.ศ. 2522 โดยตัวละครที่กลับมาแสดงซ้ำมากที่สุดคือ จวงจันทร์' ใน น้ำผึ้งขม เวอร์ชันละคร ช่อง 4 (2511), ช่อง 9 (2520-23) และช่อง 5 (2524)

ผู้จัดละคร

แก้

เริ่มเป็นผู้จัดครั้งแรกโดยซื้อลิขสิทธิ์ หนึ่งในร้อย ของดอกไม้สด มาแสดงเป็นละครเวที ครูเนรมิตเป็นผู้กำกับการแสดง และมีเพลงเอก คือหนึ่งในร้อย สมจิต ตัดจินดา ขับร้อง[5] ต่อมาจึงได้กำกับละครเองหลายเรื่องซึ่งแต่ละเรื่องก็ได้รับความนิยมมาก และยังเป็นผู้ชักชวนดารานักแสดงนักร้องหลายท่านให้เข้าสู่วงการ จึงได้รับฉายาว่า ราชินีแห่งศิลปิน และ ราชินีการละคร

ชีวิตส่วนตัว

แก้

สมรสกับ ประสิทธิ์ ยุวะพุกกะ มีบุตรสาวสองคน คือ พิมพ์พรรณ บูรณะพิมพ์ และ กิติกัญญา บูรณะพิมพ์

เสียชีวิต

แก้

เสียชีวิตเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2528 อายุ 59 ปี ขณะทำหน้าที่กำกับละครโทรทัศน์เรื่อง สายโลหิต บทประพันธ์ของโสภาค สุวรรณ ทางช่อง 3 และกำลังเตรียมงานละคร วิวาห์พระสมุทร บทพระราชนิพนธ์ละครร้อง ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว กับ แผลเก่า บทประพันธ์ของ ไม้ เมืองเดิม

ตัวอย่างผลงาน

แก้

ภาพยนตร์

แก้
  • พันท้ายนรสิงห์ (2493)
  • ชายใจเพชร (2493)
  • ลุ่มน้ำเจ้าพระยา (2494)
  • ห้าชีวิต (2495)
  • ฆ่าชู้แม่ (2495)
  • สุภาพบุรุษทมิฬ (2495)
  • เสียงสาป (2496)
  • เทพบุตรจากโลกันตร์ (2496)
  • หนูจ๋า (2497)
  • มาตุภูมิ (2497)
  • คำสาบาน (2497)
  • สามเสือสมุทร (2497)
  • นางทาส (2498)
  • ห้วงรักเหวลึก (2498)
  • ชะอำอำพราง (2498)
  • ไพรกว้าง (2500)
  • โชคมนุษย์ (2500)
  • ก่อนอรุณจะรุ่ง (2500)
  • สุดชีวิต (2503)
  • ม่านไข่มุก (2504)
  • สุรีรัตน์ล่องหน (2504)
  • ดาวประกาย (2504)
  • นางทาส (2505)
  • ตะวันยอแสง (2505)
  • ทับเทวา (2507)
  • เสือไม่ทิ้งลาย (2507)
  • ขวัญชีวิต (2508)
  • เงิน เงิน เงิน (2508)
  • โนห์รา (2509)
  • ลูกกรอก (2510)
  • แหลมหัก (2510)
  • เนื้อคู่ (2511)
  • วังสีทอง (2511)
  • หนึ่งนุช (2514)
  • ชาละวัน (2515)
  • เพชรตาแมว (2515)
  • ไม่มีสวรรค์สำหรับคุณ (2516)
  • รัญจวนจิต (2516)
  • ความรัก (2517)
  • วังน้ำค้าง (2517)
  • เจ้าดวงดอกไม้ (2517)
  • ดาวสวรรค์ฉันรักเธอ (2518)
  • เหยื่ออารมณ์ (2518)
  • ฝ้ายแกมแพร (2518)
  • เทพบุตร (2518)
  • ทางโค้ง (2518)
  • เพื่อเธอที่รัก (2518)
  • สวรรค์ไม่มีวันรู้ (2519)
  • ท้องนาสะเทือน (2519)
  • พ่อไก่แจ้ (2519)
  • เกม (2519)
  • แผลเก่า (2520)
  • หนักแผ่นดิน (2520)
  • เมืองในหมอก (2521)
  • พ่อครัวหัวป่าก์ (2521)
  • ผีเพื่อนรัก (2521)
  • สายทิพย์ (2522)
  • ดาวเรือง (2522)
  • รอยไถ (2522)
  • เลือดสุพรรณ (2522)
  • ฉุยฉาย (2523)
  • เทพเจ้าบางปูน (2523)
  • กำแพงหัวใจ (2524)
  • พ่อปลาไหล (2524)
  • พันท้ายนรสิงห์ (2525)

ละครโทรทัศน์

แก้

ละครเวที

แก้
  • 2489: พันท้ายนรสิงห์
  • 2490: อะบูกาเซ็ม
  • 2491: เปลวสุริยา
  • 2491: จอมมาร
  • 2492: ราชินีบอด
  • 2492: ทะเลทม
  • 2492: ธิดาอสูร
  • 2492: จอมภพมฤตยู
  • 2493: กุหลาบดำ
  • 2493: สายโลหิต
  • 2493: สุดฟากฟ้า
  • 2493: อมรพิมาน
  • 2493: ใครฆ่าพระเจ้ากรุงธนฯ
  • 2493: คาเมน
  • 2494: เสียงสาปจากโลกันตร์
  • 2494: เมืองในหมอก
  • 2494: ม้วนแผ่นดิน
  • 2495: สาวสวรรค์
  • 2495: วนิดา
  • 2495: หยกฟ้า
  • 2495: มาดามบัตเตอร์ฟลาย
  • 2495: ชั่วฟ้าดินสลาย
  • 2495: ผู้ชนะสิบทิศ
  • 24**: แอนนากับพระเจ้ากรุงสยาม
  • 24**: ผาคำรณ
  • 2497: แผ่นดินของเรา
  • 2497: เป็นไทต้องสู้
  • 2498: นเรนทร์ริษยา
  • 2500: จุ๊ฟุ
  • 2502: บัวบานแผ่นดินทอง
  • 2508: ราโชมอน


กำกับภาพยนตร์

  • 2498: ชะอำอำพราง
  • 2510: ลูกกรอก

กำกับละครโทรทัศน์

  • 2514: พระอภัยมณี ช่อง 7
  • 2517: สี่แผ่นดิน ช่อง 5
  • 2523: มัจจุราชสีน้ำผึ้ง ช่อง 5
  • 2523: เรือมนุษย์ ช่อง 5
  • 2525: สุสานคนเป็น ช่อง 7
  • 2526: ผู้หญิงคนนั้นชื่อบุญรอด ช่อง 7
  • 2526: เลื่อมสลับลาย ช่อง 7
  • 2527: สาวสองหน้า ช่อง 7
  • 2527: คอนโดมิเนียม ช่อง 7
  • 2528: พิมพิลาไล ช่อง 5
  • 2528: ล่าวิญญาณ ช่อง 7
  • 2528: ลูกแม่ ช่อง 7
  • 2529: สายโลหิต ช่อง 3

ผลงานเพลง

แก้
  • แก้มดอกท้อ
  • ขวัญเรือน
  • คุณหนู
  • ทานตะวันเพ้อ
  • เทพบุตรในนิมิตร
  • เที่ยวรถม้า
  • นกน้อยในเปลวทอง
  • พรวันเกิด
  • ฟ้าเปลี่ยว
  • ใยสวาท
  • วิญญาณรัก
  • สุขใจ

รางวัล

แก้
  • รางวัลตุ๊กตาทอง ผู้ประกอบฝ่ายหญิงยอดเยี่ยม จากเรื่อง สุรีรัตน์ล่องหน พ.ศ. 2505
  • รางวัลตุ๊กตาทอง ผู้ประกอบฝ่ายหญิงยอดเยี่ยม จากเรื่อง นางทาส พ.ศ. 2506
  • รางวัลดาราทอง ของส.บ.ท. ประเภทละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2509
  • รางวัลนักแสดงดีเด่น จากหนังสือพิมพ์สยามมิตร พ.ศ. 2518
  • เหรียญกาชาด ชั้น 3 พ.ศ. 2519
  • เหรียญกาชาด ชั้น 2 พ.ศ. 2523
  • รางวัลเมขลา ผู้กำกับละครดีเด่น จากเรื่อง บาปบริสุทธิ์ พ.ศ. 2523
  • รางวัลตุ๊กตาทองมหาชน ของหนังสือพิมพ์บ้านเมือง ผู้กำกับละครดีเด่น จากละครบาปบริสุทธิ์ พ.ศ. 2525
  • รางวัลดาวเทียมทองคำ จากละครผู้หญิงคนหนึ่ง พ.ศ. 2525
  • รางวัลโทรทัศน์ทองคำ ผู้กำกับละครดีเด่น จาก ละครเรื่องสายโลหิต พ.ศ. 2529
  • รางวัลเมขลา ผู้กำกับละครดีเด่น จากละครเรื่องสายโลหิต พ.ศ. 2529

อ้างอิง

แก้
  1. "กระทู้จาก Thai Film Foundation". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-24. สืบค้นเมื่อ 2008-02-13.
  2. สายโลหิต จากนวนิยายสู่ละครโทรทัศน์
  3. "รางวัลเกียรติคุณทางการแสดง ครั้งที่ 4/2549 หอภาพยนตร์แห่งชาติ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-24. สืบค้นเมื่อ 2008-02-13.
  4. ซีดีผลงานเพลงของ สุนทรียา ณ เวียงกาญจน์ ศิลปินแห่งชาติ, 2551
  5. 5.0 5.1 แถลง พยัคฆวรรณ, "สุพรรณ บูรณะพิมพ์ ค่าตัวแสดงครั้งแรกของเธอเพียง 4 บาท", โลกดารา, ปักษ์หลัง เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2513
  6. อารีย์ นักดนตรี, โลกมายาของอารีย์, กายมารุต 2546 ISBN 974-91018-4-7 หน้า 397-405
  7. คมพยาบาท เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน มูลนิธิหนังไทย
  8. คุยกันเรื่องของครูสุพรรณ บูรณพิมพ์ เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน thaifilm.com

[[หมวดหมู่:นักแสดงภาพยนตร์หญิงชาวไทย]