สุทธิพันธ์ จิตพิมลมาศ
ศาสตราจารย์ นายแพทย์สุทธิพันธ์ จิตพิมลมาศ อดีตผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) อดีตผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) อดีตรองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและการถ่ายทอดเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นอายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสมองและระบบประสาท และเป็น Fellow ของราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งลอนดอน (Royal College of Physicians of London)
ศาสตราจารย์ นายแพทย์ สุทธิพันธ์ จิตพิมลมาศ | |
---|---|
เกิด | 20 มิถุนายน พ.ศ. 2501 ประเทศไทย |
ปีปฏิบัติงาน | 2 พฤษภาคม 2562 - 24 กรกฎาคม 2563 |
มีชื่อเสียงจาก | อดีตผู้อำนวยการ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) และ อดีตผู้อำนวยการ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) |
ผู้สืบตำแหน่ง | รศ. ดร.ปัทมาวดี โพชนุกูล (รักษาการ) |
คู่สมรส | บุษกร จิตพิมลมาศ |
การศึกษา
แก้ศาสตราจารย์สุทธิพันธ์สำเร็จการศึกษาจาก คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เกียรตินิยมอันดับ 2 (พ.ศ. 2524)
- ได้รับวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาอายุรศาสตร์ (พ.ศ. 2528)
- ได้รับ Diploma in Clinical Neurology จาก Institute of Neurology and National Hospital for Nervous Diseases, University of London สหราชอาณาจักร ค.ศ. 1988 (พ.ศ. 2531)
- ได้รับอนุมัติบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบอาชีพเวชกรรม สาขาประสาทวิทยาจากแพทยสภา (พ.ศ. 2539)
ศาสตราจารย์สุทธิพันธ์ฝึกอบรมต่อแพทย์เฉพาะทางอายุรศาสตร์ที่โรงพยาบาลรามาธิบดี โดยมีศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์อรรถสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา และเป็นผู้แนะนำชักชวนให้เป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางระบบประสาท และมี ศาสตราจารย์ P. K. Thomas เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา ในขณะศึกษา Clinical Neurology ที่ประเทศอังกฤษ
สาขาวิจัยที่เชี่ยวชาญ
แก้- เป็นผู้เชี่ยวชาญการวิจัยสาขาประสาทวิทยาศาสตร์ประสาทวิทยา โดยมีผลงานวิจัยสำคัญเรื่อง Botulinum toxin therapy [1][2] ในโรคทางระบบประสาท เช่น โรคใบหน้ากระตุกครึ่งซีก กล้ามเนื้อเกร็ง คอเอียง เป็นต้น
ประวัติการทำงาน
แก้ศาสตราจารย์สุทธิพันธ์ เริ่มบรรจุเข้ารับราชการในตำแหน่งอาจารย์ประจำคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในปี พ.ศ. 2525 และดำรงตำแหน่ง ดังนี้
- ได้รับการโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์สาขาประสาทวิทยา ปี พ.ศ. 2542
- ดำรงตำแหน่งหัวหน้าภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (พ.ศ. 2545 – พ.ศ. 2549)
- ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา (RDI) มหาวิทยาลัยขอนแก่น (พ.ศ. 2550 – พ.ศ. 2554 )
- รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและการถ่ายทอดเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น (พ.ศ. 2554 - พ.ศ. 2556)
- ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) (พ.ศ. 2556 - พ.ศ. 2562)
- ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) (พ.ศ. 2562 - พ.ศ. 2563)
การปฏิบัติหน้าที่คณะกรรมการ
แก้- ประธานฝ่ายวิจัย สมาคมประสาทวิทยาแห่งประเทศไทย (พ.ศ. 2546 – พ.ศ. 2548)
- ประธานอนุกรรมการวิจัย ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย (พ.ศ. 2547 – พ.ศ. 2549)
- สมาชิกสมัชชาแห่งชาติ พ.ศ. 2549
- กรรมาธิการในคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... กระทรวงการอุดมศึกษาฯ (พ.ศ. 2561 – พ.ศ. 2562)
- กรรมการอำนวยการ สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) (พ.ศ. 2562 – พ.ศ. 2563)
สมาชิกองค์การวิชาชีพระดับนานาชาติ
แก้- สมาชิกสมาคมแพทย์โรคสมองและระบบประสาทของประเทศอังกฤษ (Association of British Neurologists)
- เป็น Fellow ของราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งลอนดอน สหราชอาณาจักร (Royal College of Physicians of London) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 – ปัจจุบัน
การทำงานด้านการบริหารจัดการงานวิจัย (Research Management)
แก้สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
แก้- ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) คนที่ 4 (9 พฤษภาคม 2556 – 1 พฤษภาคม 2562)
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)
แก้- ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) คนที่ 1 ตามบทเฉพาะกาลในพระราชบัญญัติที่จัดตั้ง สกสว.[3]
เหตุการณ์สำคัญ
แก้ในขณะที่ศาสตราจารย์สุทธิพันธ์ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ สกสว. อยู่นั้น ได้เป็นผู้ทำหน้าที่ชี้แจงงบประมาณด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ประจำปี 2563 ของกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กองทุน ววน.) เป็นครั้งแรก โดยในชั้นการพิจารณางบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2563 ของกรรมาธิการวิสามัญสภาผู้แทนราษฎรได้เกิดเหตุการณ์ปรับลดงบประมาณลง 8,000 ล้านบาท จนก่อให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์เป็นวงกว้าง และภายหลังจากการยื่นอุทธรณ์จึงได้รับการพิจารณาใหม่ให้ได้รับงบประมาณเต็มจำนวน[4] [5]
ครอบครัว
แก้สมรสกับ นางบุษกร จิตพิมลมาศ มีบุตร - ธิดา รวม 2 คน คือ
- นายแพทย์จักรภพ จิตพิมลมาศ
- นางสาวสิริยา จิตพิมลมาศ
รางวัลที่เคยได้รับ
แก้- รางวัลผู้บริหารทุนหมุนเวียนดีเด่น ประจำปี 2561 [6]
- รางวัลกระแส ชนะวงศ์ ประจำปี 2561 จากมูลนิธิหมอกระแส ชนะวงศ์ และวิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2555 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[7]
- พ.ศ. 2550 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[8]
- พ.ศ. 2551 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[9]
อ้างอิง
แก้- ↑ https://www.researchgate.net/profile/Suthipun_Jitpimolmard
- ↑ Long term results of botulinum toxin type A (Dysport) in the treatment of hemifacial spasm: a report of 175 cases
- ↑ "พระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับการก่อตั้งสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-05-01. สืบค้นเมื่อ 2020-07-15.
- ↑ สกสว. ยื่นอุทธรณ์ถูกตัดงบวิจัยหาย 8,000 ล้านบาท
- ↑ กมธ.งบฯ ปี '63 มีมติคืนงบวิจัย สกสว. 8 พันล้านบาท
- ↑ "นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีมอบรางวัลทุนหมุนเวียนดีเด่น ประจำปี 2561". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-07-21. สืบค้นเมื่อ 2020-07-21.
- ↑ ราชกิจบานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๕ เก็บถาวร 2013-10-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๓๕ ข หน้า ๔, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2010-10-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๔ ตอนที่ ๑๘ ข หน้า ๑๗, ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๑๑ ข หน้า ๒๖, ๑๕ สิงหาคม ๒๕๕๒