มหาวิทยาลัยลอนดอน
University of London | ||||||||||||
ตราสัญลักษณ์มหาวิทยาลัย | ||||||||||||
ละติน: Universitas Londiniensis | ||||||||||||
ประเภท | มหาวิทยาลัยรัฐ | |||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
สถาปนา | 1836 | |||||||||||
อธิการบดี | แอนน์ พระราชกุมารี | |||||||||||
ที่ตั้ง | , อังกฤษ สหราชอาณาจักร | |||||||||||
สี | ||||||||||||
เครือข่าย | ||||||||||||
เว็บไซต์ | www |
มหาวิทยาลัยลอนดอน (อังกฤษ: University of London)
มหาวิทยาลัยลอนดอน (อักษรย่อโดยส่วนมาก Lond หรือในบางโอกาส LONDIN) เป็น มหาวิทยาลัยซึ่งประกอบด้วยวิทยาลัยซึ่งเป็นภาคีสมาชิกและเป็นมหาวิทยาลัยวิจัยตั้งอยู่ที่ลอนดอน ประเทศอังกฤษ จากข้อมูลในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2018 มหาวิทยาลัยประกอบด้วยสถาบันการศึกษาที่เป็นวิทยาลัยภาคีสมาชิก 18 แห่ง, สถาบันการศึกษาและสถาบันวิจัยซึ่งขึ้นตรงต่อมหาวิทยาลัยโดยตรงอีกสามแห่ง ปัจุบันมหาวิทยาลัยลอนดอนมีนักศึกษาซึ่งในสังกัด University of London (Worldwide) โดยการศึกษาทางไกลมากกว่า 52,000 คนและ นักศึกษากำลังภายในวิทยาเขต 161,270 คนซึ่งสังกัดวิทยาลัยที่เป็นภาคีสมาชิกหรือสถาบันในสังกัดของมหาวิทยาลัย ทำให้มหาวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัยที่ใหญ่ที่สุด มหาวิทยาลัยก่อตั้งขึ้นโดยพระบรมราชานุญาตในปี ค.ศ. 1836 เพื่อเป็นทำหน้าที่ดำเนินการสอบและออกปริญญาบัตรแก่นักศึกษาได้รับประกาศนียบัตรจาก University College London และ King's College London และ "สถาบัน องค์กรหรือคณะบุคคลอื่นๆ ที่จัดตั้งเพื่อจุดประสงค์ทางการศึกษา ที่อยู่ในพระนครหรือแห่งหนใดก็ภายใต้พระบรมโพธิสมภารแห่งสหราชอาณาจักร", หากนับจากวันที่ได้รับพระบรมราชาอนุญาตให้จัดตั้งมหาวิทยาลัยลอนดอนเป็นหนึ่งในสามสถาบันที่สามารถอ้างสิทธิ์ในความเป็นมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดเป็นอันดับสามในประเทศอังกฤษและในปี ค.ศ. 1900 ทางมหาวิทยาลัยและวิทยาลัยในกำกับได้เปลี่ยนแปลงโครงสร้างไปเป็นสหพันธ์ซึ่งมีวิทยาลัยที่เป็นภาคีสมาชิกของมหาวิทยาลัย โดยปัจจุบันได้ดำเนินการภายใต้พระบรมราชโองการจัดตั้งฉบับที่สี่ซึ่งประกาศในปี ค.ศ. 1863 และอยู่ความควบคุมภายใต้พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยลอนดอน ค.ศ. 2018
วิทยาลัยและสถาบันในสังกัด
แก้เมื่อเดือนตุลาคม ค.ศ. 2018 มหาวิทยาลัยลอนดอนเป็นองค์กรสหพันธ์ที่ประกอบจากองค์กรร่วม 18 องค์กร[1][2] อาทิ มหาวิทยาลัยคอลเลจลอนดอน (UCL), ราชวิทยาลัยแห่งลอนดอน (KCL), วิทยาลัยเศรษฐศาสตร์และรัฐศาสตร์แห่งลอนดอน (LSE), วิทยาลัยบูรพศึกษาและอาฟริกาศึกษา (SOAS), วิทยาลัยเบอร์เบค, วิทยาลัยโกลด์สมิทส์, วิทยาลัยธุรกิจลอนดอน (LBS), วิทยาลัยควีนแมรี, วิทยาลัยรอยัลฮอลโลเวย์ และวิทยาลัยสุขภาพและเวชศาสตร์เขตร้อน (LSHTM) ส่วนหนึ่งในวิทยาลัยที่เป็นที่รู้จักดีที่สุดคือ วิทยาลัยอิมพีเรียลลอนดอน ได้ออกจากมหาวิทยาลัยลอนดอนไปแล้วอย่างเป็นทางการ ระหว่างการฉลองครบรอบหนึ่งศตวรรษของมหาวิทยาลัย เมื่อ 9 กรกฎาคม ค.ศ. 2007
บัณฑิตจากมหาวิทยาลัยลอนดอนอาจใช้ตัวอักษร 'Lond' (Londiniensis) ตามท้ายชื่อย่อวุฒิการศึกษา
ภายใต้พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยลอนดอน ค.ศ.2018 วิทยาลัยในสังกัดจะถูกจำกัดความว่าเป็น สถาบันเชิงการศึกษา วิชาการ และการวิจัยซึ่งสถาบันเหล่านี้จะสามารถเป็นได้ทั้ง
1. มีสถานะเป็นวิทยาลัยภายในสังกัด และ
2. มีสถานะเป็นมหาวิทยาลัยโดยตนเอง
โดยการขอสถานะเป็นมหาวิทยาลัยในนามของตนเองนั้นจะไม่มีผลต่อการเป็นสมาชิกในสังกัดของมหาวิทยาลัยลอนดอน รวมไปถึงปริญญาบัตรในนามของมหาวิทยาลัย [3]
โดยในปัจจุบัน (ค.ศ.2019)ยังมีวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยในสังกัดอยู่ 17 แห่ง[4] และมี 10 สถาบันที่สามารถออกปริญญาบัตรในนามของตัวสถาบันเองได้ [5]
อ้างอิง
แก้- ↑ "About us". University of London. สืบค้นเมื่อ 29 กันยายน 2018.
- ↑ "How the University is run". University of London. สืบค้นเมื่อ 29 กันยายน 2018.
- ↑ https://www.lse.ac.uk/News/Latest-news-from-LSE/2019/02-Feb-19/University-status
- ↑ https://web.archive.org/web/20181001181959/https://london.ac.uk/ways-study/study-campus-london/member-institutions
- ↑ https://www.lse.ac.uk/News/Latest-news-from-LSE/2019/02-Feb-19/University-status
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อGrove