คิงส์คอลเลจลอนดอน

(เปลี่ยนทางจาก ราชวิทยาลัยแห่งลอนดอน)

คิงส์คอลเลจลอนดอน (อังกฤษ: King's College London; King's; KCL) หรือชื่อภาษาไทยคือ ราชวิทยาลัยแห่งลอนดอน เป็นมหาวิทยาลัยวิจัยของรัฐ (public research university) ตั้งอยู่ ณ ใจกลางของกรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร และเป็นหนึ่งในสถาบันอุดมศึกษาที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศอังกฤษ[2] ก่อตั้งโดยตราตั้ง (Royal Charter) ในปี ค.ศ. 1829 ภายใต้พระบรมราชูปถัมภ์ของสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 4 (พระมหากษัตริย์ราชวงศ์ฮันโนเฟอร์) และดยุคที่ 1 แห่งเวลลิงตัน (นายกรัฐมนตรีของสหราชอาณาจักร) ภายหลังในปี ค.ศ. 1836 คิงส์คอลเลจลอนดอนได้เป็นหนึ่งในสองมหาวิทยาลัยกับยูนิเวอร์ซิตีคอลลิจลันเดิน (UCL) ในการเป็นผู้ร่วมก่อตั้งมหาวิทยาลัยลอนดอน (University of London) ปัจจุบันมีบุคลากรและศิษย์เก่าจากคิงส์คอลเลจลอนดอนได้รับรางวัลโนเบลไปแล้วจำนวน 12 คน[3]

คิงส์คอลเลจลอนดอน
King's College London
ตราประจำมหาวิทยาลัย
คติพจน์Sancte et Sapienter
คติพจน์อังกฤษ
With Holiness and Wisdom
(ด้วยความศักดิ์สิทธิ์และปัญญา)
ประเภทมหาวิทยาลัยวิจัยของรัฐ
สถาปนา1829; 195 ปีที่แล้ว (1829)
สังกัดการศึกษาUniversity of London
Russell Group (กลุ่มรัสเซล)
Golden Triangle
อธิการบดีพระราชกุมารี
(ในฐานะอธิการบดีของมหาวิทยาลัยลอนดอน)
อาจารย์ใหญ่เอ็ดเวิร์ด เบิร์น
ที่ตั้ง,
วิทยาเขตในเขตเมืองรวมทั้งสิ้น 5 แห่ง ได้แก่
  • สแตรนด์
  • วอเตอร์ลู
  • กายส์
  • เซนต์โทมัส
  • เดนมาร์กฮิลล์
สี
           
Blue & King's red[1]
มาสคอต
Reggie the Lion
เว็บไซต์www.kcl.ac.uk
Olive spiral atop green pinstripes over white
ตราสัญลักษณ์มหาวิทยาลัย
ตราสัญลักษณ์ดั้งเดิมของวิทยาลัยใช้ในปี ค.ศ. 1829-1985

ในปี ค.ศ. 2022 QS World University Rankings จัดอันดับมหาวิทยาลัยไว้ที่ 35 ของโลก ที่ 7 ของสหราชอาณาจักร และที่ 9 ของทวีปยุโรป[4] และเมื่อปี ค.ศ. 2015 คิงส์คอลเลจลอนดอนได้ถูกจัดอันดับได้ที่ 16 ของมหาวิทยาโลก ที่ 5 ของสหราชอาณาจักร และที่ 6 ของทวีปยุโรป ซึ่งถือว่าเป็นทศวรรษที่รุ่งเรืองของคิงส์คอลเลจลอนดอน[5] ก่อนที่อันดับจะมีการเปลี่ยนแปลงไปภายหลังจากผลกระทบของการระบาดของโรคโควิด-19[6]

นอกจากนี้คิงส์คอลเลจลอนดอนยังเป็นสมาชิกของกลุ่ม The Golden Triangle (หรือชื่อเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่าคือ Ivy League ของสหราชอาณาจักร) ซึ่งเป็นการรวมตัวของมหาวิทยาลัยชั้นนำ 6 แห่งของสหราชอาณาจักรจากเมืองเคมบริดจ์, ออกซฟอร์ด และ ลอนดอน อันได้แก่ มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด (University of Oxford), มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ (University of Cambridge), อิมพีเรียลคอลเลจลอนดอน (Imperial College London), ยูนิเวอร์ซิตี้คอลลิจลันเดิน (UCL), คิงส์คอลเลจลอนดอน (King's College London) และวิทยาลัยเศรษฐศาสตร์และรัฐศาสตร์แห่งลอนดอน (London School of Economics and Political Science)[7][8]

ปัจจุบัน อธิการบดีของคิงส์คอลเลจลอนดอน คือ เจ้าฟ้าหญิงแอนน์ พระวรราชกุมารี (The Princess Royal) พระราชธิดาในสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 กล่าวคือ พระองค์ทรงมีฐานะเป็นอธิการบดีของมหาวิทยาลัยลอนดอน (Chancellor of the University of London) โดยมีศาสตราจารย์ เอ็ดเวิร์ด เบิร์น (Edward Byrne) ดำรงตำแหน่งเป็นอธิการบดีและอาจารย์ใหญ่ (President and Principal) ตั้งแต่เดือนกันยายน ค.ศ. 2014 เป็นต้นมา[9]

ประวัติ

แก้

คิงส์คอลเลจลอนดอน ก่อตั้งอย่างเป็นทางการโดยตราตั้ง (Royal Charter) เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม ค.ศ. 1829 โดยสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 4 (King George IV) และดยุคแห่งเวลลิงตัน (the Duke of Wellington) [10] กล่าวได้ว่า คิงส์คอลเลจลอนดอนเป็นมหาวิทยาลัยที่มีความเก่าแก่มากที่สุดเป็นลำดับที่ 4 ของประเทศอังกฤษ[11] King's ถือเป็นหนึ่งในสองวิทยาลัย - อีกหนึ่งคือ ยูนิเวอร์ซิตีคอลลิจลันเดิน (UCL) ที่ร่วมกันก่อตั้งและสถาปนามหาวิทยาลัยลอนดอนในวันที่ 28 พฤศจิกายน ค.ศ. 1836[12]

การก่อตั้ง

แก้

King's College London ถือกำเนิดขึ้นจากความขัดแย้งทางอุดมการณ์ทางศาสนา โดยในปี ค.ศ. 1826 University College London (UCL) หรือ ยูนิเวอร์ซิตีคอลลิจลันเดิน ได้ถูกก่อตั้งขึ้นให้เป็นวิทยาลัยฆราวาส จากผู้ยึดมั่นในประโยชน์นิยม (Utilitarianism), ชาวยิว (Jews) และกลุ่มลัทธินอกรีต (Nonconformists) กล่าวคือเป็นสถานศึกษาที่จัดตั้งขึ้นโดยไม่นำเรื่องศาสนามาเกี่ยวข้อง เพื่อต่อต้านประเพณีการศึกษาของมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดและมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ในแง่ของการเป็นมหาลัยของศาสนจักร นอกจากนี้ยูนิเวอร์ซิตีคอลลิจลันเดินยังเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกในกรุงลอนดอน ในสามปีต่อมา King's College จึงถูกจัดตั้งขึ้นเป็นเป็นการตอบโต้เชิงอุดมการณ์ทางศาสนากับยูนิเวอร์ซิตีคอลลิจลันเดิน คือในปี ค.ศ. 1829 ได้รับพระบรมราชานุญาตจากสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 4 ให้ใช้ชื่อ King's College, London เป็นวิทยาลัยระดับอุดมศึกษาที่ให้ความรู้ในทางโลกแต่ยึดมั่นในหลักศีลธรรมและศาสนาเป็นสำคัญ โดยถือว่าเป็นสถาบันอุดมศึกษาแห่งที่สองของลอนดอน[13] ซึ่ง King's ยังเป็นหนึ่งในสถาบันแรกๆในบรรดาสถาบันที่เกิดขึ้นในช่วงต้นศตวรรษที่ 19 อันเป็นผลจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมและการเปลี่ยนแปลงทางสังคมครั้งใหญ่ในอังกฤษภายหลังสงครามนโปเลียน[14]

ในช่วงแรกเริ่ม King's ได้ถูกแบ่งออกเป็นสองส่วนได้แก่ แผนกนักศึกษา (Senior Department) ซึ่งสอนเนื้อหาระดับอุดมศึกษา, และแผนกนักเรียน (Junior Department) ซึ่งภายหลังยกระดับเป็น King's College School, Wimbledon ซึ่งปัจจุบันแยกเป็นอิสระจากวิทยาลัยแล้ว[15] แต่ยังคงมีกรรมการบริหารของโรงเรียนบางส่วนอยู่ที่เป็นศิษย์เก่าของวิทยาลัย และปัจจุบันมีการตั้งโรงเรียนสาขาในประเทศไทย (King’s College International School Bangkok)[16]

ในส่วนของการเรียนการสอนระดับอุดมศึกษาในช่วงแรกของการก่อตั้งนั้นแบ่งออกเป็นสามหลักสูตรอันได้แก่

  • หลักสูตรศึกษาทั่วไป ได้แก่ ภาษาโบราณ, คณิตศาสตร์, วรรณกรรม, และประวัติศาสตร์
  • หลักสูตรการแพทย์
  • กลุ่มหลักสูตรสหวิทยาการ อันได้แก่ กฎหมาย เศรษฐศาสตร์และการเมือง และภาษาสมัยใหม่[13]

ก่อตั้งและเข้าร่วมสังกัดมหาวิทยาลัยลอนดอน (University of London)

แก้
 
ครุยวิทยฐานะใหม่ของวิทยาลัย ออกแบบโดยวิเวียน เวสต์วูด (สีเหลือง : คณะสังคมศาสตร์ และนโยบายสาธารณะ)

เป็นเวลาเกือบ 7 ปีของความขัดแย้งทางอุดการณ์ทางศาสนาของสองมหาวิทยาลัยแห่งแรกในกรุงลอนดอน ยูนิเวอร์ซิตีคอลลิจลันเดินและคิงส์คอลเลจลอนดอนจึงได้ทำการรวมตัวกันเพื่อก่อตั้งมหาวิทยาลัยแบบสหพันธ์ (federal university) ที่ชื่อว่ามหาวิทยาลัยลอนดอน กล่าวคือวิทยาลัยและสถาบันต่างๆภายใต้การดูแลของมหาวิทยาลัยมีการบริหารจัดการที่เป็นอิสระ แต่ยังคงร่วมกันออกปริญญาภายใต้ชื่อ University of London [17]

ภายหลังเมื่อคิงส์คอลเลจมีการร่วมสถาปนามหาวิทยาลัยลอนดอนกับทางยูนิเวอร์ซิตีคอลลิจลันเดิน และเข้าเป็นวิทยาลัยในสังกัด ในปี 1836 คิงส์คอลลเลจจึงได้มีสถานะเป็น King's College, University of London[18] เช่นเดียวกันกับยูนิเวอร์ซิตีคอลลิจลัน เป็น University College, University of London และวิทยาลัยอื่นๆที่เกิดขึ้นตามหลังสองวิทยาลัยนี้ก็จะใช้ชื่อที่พ่วงท้ายด้วย University of London และในปี ค.ศ. 1980 ทางวิทยาลัยได้รับสถานะเป็นวิทยาลัยอิสระในสังกัดมหาวิทยาลัยลอนดอน กล่าวคือมีอิสระจากทางมหาวิทยาลัยส่วนกลางมากขึ้น แต่ยังมอบปริญญาในนามมหาวิทยาลัยลอนดอนอยู่ สุดท้ายในปี 2006 ทางวิทยาลัยได้รับมอบอำนาจเต็มจากมหาวิทยาลัยลอนดอนในการออกใบปริญญาในนามของวิทยาลัยเอง โดยนักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ในวิทยาลัยในเดือนสิงหาคม 2007 สามารถเลือกได้ว่าจะให้มีการออกปริญญาให้ในนาม University of London หรือ King's College London นำมาซึ่งภายหลังปี 2008 เป็นต้นมาการออกใบปริญญาทั้งหมดจะกระทำการในนาม King's College London และตัววิทยาลัยได้ยกระดับมาสู่เป็นมหาวิทยาลัยอิสระเต็มตัว แต่อย่างไรก็ตามยังมีการระบุว่า King's College London ยังเป็นวิทยาลัยในสังกัด University of London อยู่ท้ายใบปริญญาอยู่ ซึ่งเป็นการคงไว้ซึ่งตามธรรมเนียม กล่าวคืออำนาจการบริหารทุกอย่างแยกขาดเป็นอิสระออกจากกัน แต่คงเหลือไว้ซึ่งสถานะของการเป็นสมาชิกหนึ่งในผู้ก่อตั้ง[19] นอกจากนี้ในปีเดียวกันยังมีการเปลี่ยนการใช้ครุยวิทยฐานะจากรูปแบบมาตรฐานของมหาวิทยัลลอนดอน มาสู่ครุยวิทยฐานะแบบเฉพาะของทางวิทยาลัย ซึ่งถูกออกแบบขึ้นใหม่ทั้งหมดโดยวิเวียน เวสต์วูด[20]

การควบรวมกับวิทยาลัยอื่น

แก้
 
Reggie the Lion มาสคอตของมหาวิทยาลัย ตั้งแต่ ค.ศ. 1923

King's ได้ดำเนินการรวมวิทยาลัยทางด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์หลายแห่งในกรุงลอนดอนเข้าด้วยกัน โดยวิทยาลัยที่ถูกควบรวมบางแห่งก็เคยเป็นส่วนหนึ่งของวิทยาลัยที่แยกตัวออกไป ได้แก่ Queen Elizabeth College (ค.ศ. 1985) Chelsea College of Science and Technology (ค.ศ. 1985) the Institute of Psychiatry (ค.ศ. 1997) และ the United Medical and Dental Schools of Guy's (ค.ศ. 1998) and St Thomas' Hospitals (ค.ศ. 1998) และ Florence Nightingale School of Nursing and Midwifery (ค.ศ. 1998)[21] กล่าวได้ว่าคิงส์คอลเลจลอนดอนเป็นศูนย์กลางการเรียนการสอนและการวิจัยด้านการแพทย์ที่ใหญ่ที่สุดในทวีปยุโรป[22] นอกเหนือจากความโดดเด่นด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์แล้ว King's ยังได้รับการยกย่องว่าเป็นหนึ่งในสถาบันการศึกษาชั้นนำของโลกที่มีผลงานการค้นคว้าและการวิจัยที่ได้รับการยอมรับมาอย่างต่อเนื่องในอีกหลายสาขาวิชา เช่น มนุษยศาสตร์ กฎหมาย การระหว่างประเทศ และสังคมศาสตร์[23]

การศึกษา

แก้

คณะ

แก้

ปัจจุบัน (ค.ศ. 2017) การการเรียนการสอนและการวิจัยของมหาวิทยาลัยได้ดำเนินการและแบ่งการจัดการออกเป็นจำนวน 9 คณะ (academic faculties) ได้แก่

    • คณะศิลปศาสตร์และมนุษยศาสตร์ (Faculty of Arts and Humanities)
    • สถาบันทันตกรรม (Dental Institute)
    • คณะชีววิทยาศาสตร์และแพทยศาสตร์ (Faculty of Life Sciences and Medicine)
    • สถาบันจิตเวช จิตวิทยา และประสาทวิทยาศาสตร์ (Institute of Psychiatry, Psychology and Neuroscience)
    • สำนักวิชากฎหมายดิ๊กสัน พูน (The Dickson Poon School of Law)
    • คณะวิทยาศาสตร์ธรรมชาติและคณิตศาสตร์ (Faculty of Natural and Mathematical Sciences)
    • คณะพยาบาลศาสตร์และการผดุงครรภ์ฟลอเรนซ์ ไนติงเกล (Florence Nightingale Faculty of Nursing and Midwifery)
    • คณะสังคมศาสตร์และนโยบายสาธารณะ (Faculty of Social Science and Public Policy)
    • สำนักวิชาธุรกิจคิงส์ (King's Business School)

โดยจำนวน 9 คณะดังกล่าวนี้ ได้ถูกแบ่งย่อยออกเป็นสำนักวิชา (schools) ภาควิชา (departments) ศูนย์และแผนกวิจัย (centres and research divisions) อีกเป็นจำนวนมาก[24]

วิทยาเขต

แก้

มหาวิทยาลัยมีพื้นที่ตั้งอยู่ในกรุงลอนดอนจำนวนถึง 5 วิทยาเขต โดยวิทยาเขตแห่งแรกและเป็นวิทยาเขตหลักคือ Strand Campus ซึ่งตั้งอยู่ในศูนย์กลางของกรุงลอนดอน (Central London) อีก 3 วิทยาเขต ได้แก่ Guy's Campus, St Thomas' Campus และ Waterloo Campus ตั้งอยู่บริเวณริมฝั่งแม่น้ำเทมส์ (Thames-side campuses) และอีกหนึ่งวิทยาเขตคือ Denmark Hill Campus ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของลอนดอน (South London)[25]

 
อาคาร King's Building วิทยาเขต Strand
 
อาคาร Bush House วิทยาเขต Strand อดีตที่ทำการสำนักข่าว BBC
 
หอสมุด Maughan Library อดีตที่ทำการสำนักงานสถิติแห่งชาติ สหราชอาณาจักร

บุคลากร

แก้

ปัจจุบัน คิงส์คอลเลจลอนดอน มีบุคลากรประมาณ 7,000 คน และมีนักศึกษามากกว่า 26,500 คน ในจำนวนนี้เป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรีประมาณ 10,400 คน โดยมาจาก 150 ประเทศทั่วโลก[26] ศิษย์เก่าที่จบการศึกษาจากวิทยาลัยแห่งนี้ได้รับการยอมรับในหลากหลายสาขาวิชาชีพ เช่น ด้านการเมือง การปกครอง การทหาร กฎหมาย การระหว่างประเทศ การเงิน การแพทย์ การศึกษา สื่อมวลชน ดนตรี วรรณกรรม ศาสนา ตลอดจนภาคธุรกิจ[27] จนถึงปัจจุบัน บุคลากรและศิษย์เก่าจากคิงส์คอลเลจลอนดอนได้รับรางวัลโนเบลไปแล้วจำนวน 12 คน[28] ถือเป็นหนึ่งใน Top 50 Universities with the Most Nobel Prize Winners[29]

อันดับและมาตรฐานของมหาวิทยาลัย

แก้

ในปี ค.ศ. 2022 QS World University Rankings จัดอันดับวิทยาลัยไว้ที่ 35 ของโลก ที่ 7 ของสหราชอาณาจักร และ 9 ของทวีปยุโรป[4] โดยสาขาที่มีความโดดเด่นอย่างยิ่งใน 20 อันดับแรกของโลก[30] ได้แก่

สายสังคมศาสตร์
แก้

Philosophy อันดับ 9 ของโลก

History อันดับ 12 ของโลก

Classic and Ancient History อันดับ 12 ของโลก

Politics อันดับ 13 ขอบโลก

Law and Legal Studies อันดับ 15 ของโลก

English Language and Literature อันดับ 16 ของโลก

สายวิทยาศาสตร์
แก้

Nursing อันดับ 2 ของโลก

Dentistry อันดับ 9 ของโลก

Life Science and Medicine อันดับ 14 ของโลก

Anatomy and Physiology อันดับ 16 ของโลก

Medicine อันดับ 16 ของโลก

Pharmacy อันดับ 17 ของโลก

นอกจากนี้คิงส์คอลเลจลอนดอนยังได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกกับองค์กรการศึกษาหลายแห่ง เช่น the Association of Commonwealth Universities, the European University Association และ the Russell Group

ความเป็นคู่แข่งระหว่าง King's College London และ UCL

แก้

การแข่งขันระหว่าง King's College London และ University College London เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตผู้คนในลอนดอนมาเกือบสองศตวรรษ โดยทั้งสองมหาวิทยาลัยเปรียบได้กับเป็นมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด (UCL) และ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ (King's College London) ในแบบฉบับของกรุงลอนดอน รวมไปถึงการเป็นคู่แข่งระหว่าง King's และ UCL นี้ยังนำมาซึ่งการแข่งขันกีฬาประจำปีระหว่างสองสถาบันนี้ คล้ายกับงานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ–ธรรมศาสตร์ของไทย โดยนักเรียนชาวไทยที่ศึกษาอยู่ในสหราชอาณาจักรมักจะให้ความคิดเห็นเปรียบเทียบไปในทำนองว่า UCL คือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ King's คือมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตามลำดับการก่อตั้งของสองสถาบันนี้

สำหรับจุดเริ่มต้นของความขัดแย้ง กล่าวคือ ยูนิเวอร์ซิตีคอลลิจลันเดิน หรือ UCL ก่อตั้งขึ้นด้วยการสนับสนุนจากชาวยิว ผู้ยึดมั่นในประโยชน์นิยม และคริสเตียนที่ไม่ใช่นิกายแองกลิกัน ในฐานะสถาบันฆราวาสที่มุ่งหวังจะให้การศึกษาแก่เยาวชนของกลุ่มคนรวยระดับกลางที่มีอายุระหว่าง 15 หรือ 16 ปี และ 20 ปีขึ้นไป ในทางตรงกันข้าม King's ได้รับการก่อตั้งโดยกฎบัตรของราชวงศ์เพื่อให้การศึกษาทั่วไปสำหรับเยาวชน โดยมุ่งเน้นการสอนสาขาต่างๆ ของวรรณกรรมและวิทยาศาสตร์ และยังรวมถึงหลักคำสอนและหน้าที่ของศาสนาคริสต์ โดยมีกษัตริย์จอร์จที่ 4 และนายกรัฐมนตรีในขณะนั้นคือ ดยุคแห่งเวลลิงตัน รวมถึงนักการเมืองและนักเทววิทยาที่มีชื่อเสียงคนอื่นๆเป็นผู้อุปถัมภ์ King's ในช่วงแรก[31]

ผลจากความขัดแย้งทางอุดมการณ์ทางศาสนาของสหราชอาณาจักรในขณะนั้นนำมาซึ่งในช่วงต้นปี ค.ศ. 1829 เอิร์ลแห่งวินเชลซีนักการเมืองผู้ที่นับถือนิกายโปรเตสแตนต์และอยู่ฝั่งของมหาวิทยาลัยที่ไม่ใช่แองกลิกัน ได้ท้าทายดยุกเวลลิงตันต่อหน้าสาธารณชนเกี่ยวกับการสนับสนุน King's ของนิกายแองกลิกันและพระราชบัญญัติบรรเทาทุกข์โรมันคาธอลิก (The Roman Catholic Relief Bill) ปี ค.ศ. 1829 ของดยุคเวลลิงตัน ผลที่ตามมาคือการดวลปืนกันที่แบตเตอร์ซีฟิลด์ในวันที่ 21 มีนาคม ซึ่งได้มีการยิงปืนเกิดขึ้น แต่ไม่มีใครได้รับบาดเจ็บ ส่งผลให้ปัจจุบันนี้วันดวลยังคงจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีที่ King's [32]

London Varsity เป็นงานประจำปีที่เต็มไปด้วยประเพณีและการแข่งขัน มีต้นกำเนิดมาจากการก่อตั้งยูนิเวอร์ซิตีคอลลิจลันเดิน (UCL) และ King's College London (KCL) โดยมี Adam Sommerfeld ได้จัดตั้งในปี ค.ศ. 2004 เพื่อใช้จัดการแข่งขันรักบี้ โดย London Varsity รวบรวมการแข่งขันที่ดุเดือดระหว่างสถาบันอันทรงเกียรติทั้งสองแห่งนี้ไว้ด้วยกัน เพื่อรำลึกถึงการแข่งขันในประวัติศาสตร์ที่ยาวนานเกือบสองศตวรรษ ซึ่งมีงาน 'Rag' เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ร่วมกันระดมทุนเพื่อการกุศล ขณะเดียวกันก็ท้าทายอำนาจและแสดงจิตวิญญาณของมหาวิทยาลัย อย่างไรก็ตาม งานเหล่านี้มักกลายเป็นการเผชิญหน้าระหว่างนักศึกษาจาก UCL และ King's ซึ่งบางครั้งจำเป็นต้องมีเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้ามาแทรกแซง ท่ามกลางการเผชิญหน้าอันดุเดือดเหล่านี้ นำมาซึ่งประเพณีการจับมาสคอตกลายมาเป็นจุดเด่นของการแข่งขันระหว่างสองมหาวิทยาลัย[33]

ย้อนกลับไปในปี ค.ศ. 1923 King's College ได้นำ Reggie สิงโตมาเป็นสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัย ซึ่งกลายมาเป็นเป้าหมายหลักของนักศึกษา UCL ที่ต้องการแสดงความเป็นผู้นำ มีความพยายามนับไม่ถ้วนที่จะลักพาตัว Reggie ไป โดยนักศึกษา UCL พยายามอย่างยิ่งที่จะย้ายสิงโตไปยังสถานที่ต่างๆ ตั้งแต่ อินเวอร์เนสส์ เซอร์รีย์ ไปจนถึงข่าวลือว่าถูกซ่อนไปยังกรุงเทพมหานคร[34] เพื่อตอบโต้ นักศึกษาของ King's ได้เสริมกำลังให้ Reggie โดยครั้งหนึ่งได้เติมคอนกรีตให้กับมาสคอตเพื่อขัดขวางความพยายามลักพาตัว นักศึกษาของ King's ตอบโต้ด้วยการเล็งเป้าไปที่ Phineas มาสคอตของ UCL หลายครั้ง การแข่งขันยังถึงขั้นที่แปลกประหลาด โดยมีรายงานว่านักศึกษาของ King's เล่นฟุตบอลกับศีรษะของ Jeremy Bentham ผู้ก่อตั้ง UCL ที่ถูกเก็บรักษาไว้ การกระทำเหล่านี้ทำให้การแข่งขันระหว่างสองสถาบันซึ่งเคยเข้มข้นอยู่แล้วยิ่งเข้มข้นขึ้นไปอีก

ตลอดหลายปีที่ผ่านมา London Varsity ได้พัฒนาจากจุดเริ่มต้นที่แสนธรรมดาเป็นการแข่งขันรักบี้ยูเนี่ยนให้กลายเป็นงานกีฬาที่ยิ่งใหญ่ ดึงดูดความสนใจและการมีส่วนร่วมจากนักศึกษา ศิษย์เก่า และผู้สนับสนุนอย่างกว้างขวาง งานดังกล่าวซึ่งจัดโดย UCLU และ KCLSU ร่วมกัน ถือเป็นจุดสุดยอดของฤดูกาลรักบี้ของมหาวิทยาลัย ซึ่งโดยปกติจะจัดขึ้นในเดือนมีนาคม ในปี ค.ศ. 2012 สถานที่จัด London Varsity ได้ย้ายไปที่ Twickenham Stoop ซึ่งถือเป็นบทใหม่ในประวัติศาสตร์ของงานนี้ แม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงสถานที่และรูปแบบ แต่แก่นแท้ของการแข่งขันยังคงไม่เปลี่ยนแปลง โดยทั้ง UCL และ King's แข่งขันกันอย่างดุเดือดเพื่อชิงความเป็นใหญ่และถ้วย Jeremy George Cup ที่เป็นที่ปรารถนา ซึ่งตั้งชื่อตามผู้ก่อตั้งสถาบันของตน ในขณะที่ London Varsity ยังคงดึงดูดผู้ชมและแสดงให้เห็นถึงจิตวิญญาณแห่งการแข่งขันที่เป็นมิตรและประเพณี การแข่งขันระหว่าง UCL และ King's ยังคงมีอยู่ต่อไป ซึ่งเป็นเครื่องพิสูจน์ถึงมรดกที่ยั่งยืนของสถาบันอันทรงเกียรติเหล่านี้[35]

บุคคลสำคัญ

แก้

ศิษย์เก่าชาวไทยที่มีชื่อเสียง

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "Branding Essentials" (PDF). Branding Essentials November 2018. สืบค้นเมื่อ 24 March 2019.[ลิงก์เสีย]
  2. https://russellgroup.ac.uk/about/our-universities/kings-college-london/
  3. Frishberg, Aron. "Universities with the Most Nobel Prizes". www.aronfrishberg.com (ภาษาอังกฤษ).
  4. 4.0 4.1 "Top Universities in the UK 2022". Top Universities (ภาษาอังกฤษ).
  5. "QS World University Rankings® 2014/15". Top Universities (ภาษาอังกฤษ). 2024-09-04.
  6. Hogan, Fintan (2023-10-09). "London Universities: King's Needs To Mind The Gap". Roar News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช).
  7. Golden opportunities - Nature สืบค้นเมื่อ 24.12.2015
  8. Savage, Michael (2015). Social class in the 21st century. [London]: Penguin. pp. p. 167. ISBN 978-0-241-00422-7. OCLC 928843792. Higher education researchers often talk about a 'Golden Triangle' of universities. The 'triangle' describes an imaginary three-sided shape with corners in Oxford, Cambridge and London. The exact composition of the London 'corner' can vary, but typically it includes the London School of Economics, King's College London, University College London and Imperial College London. {{cite book}}: |pages= has extra text (help)
  9. The Principal เก็บถาวร 2013-03-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน - King's College London สืบค้นเมื่อ 24.12.2015
  10. History of King's - King's College London สืบค้นเมื่อ 24.12.2015
  11. King's Facts at a glance เก็บถาวร 2016-01-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน - King's College London สืบค้นเมื่อ 24.12.2015
  12. A brief history - the foundation of the university, 1836 เก็บถาวร 2014-02-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน - University of London สืบค้นเมื่อ 24.12.2015
  13. 13.0 13.1 J S Cockburn; H P F King; K G T McDonnell (1969). The University of London: The Constituent Colleges. A History of the County of Middlesex. Victoria County History. pp. 345–359 – via British History Online. https://www.british-history.ac.uk/vch/middx/vol1/pp345-359#h3-0005
  14. "Somerset House booklet circa 1963 by King's College London - Issuu". issuu.com (ภาษาอังกฤษ). 2010-03-19.
  15. "King's College School". www.kcs.org.uk (ภาษาอังกฤษ).
  16. "King's College School". www.kcs.org.uk (ภาษาอังกฤษ).
  17. "University of London", Wikipedia (ภาษาอังกฤษ), 2024-09-05, สืบค้นเมื่อ 2024-09-05
  18. Freedman, Lawrence (1982). "The War of the Falkland Islands, 1982". Foreign Affairs. 61 (1): 196–210. doi:10.2307/20041358. ISSN 0015-7120. (The author stated that he is the professor at "King's College, University of London")
  19. "Wayback Machine: Certificate FAQs" (PDF). web.archive.org. King's College London. 2013-09-03. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-09-03. สืบค้นเมื่อ 2023-04-19.
  20. London, King's College. "Remembering Dame Vivienne Westwood". King's College London (ภาษาอังกฤษ).
  21. History of King's - timeline - King's College London สืบค้นเมื่อ 24.12.2015
  22. About เก็บถาวร 2010-10-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน - King's Health Partner สืบค้นเมื่อ 24.12.2015
  23. King's Facts at a glance เก็บถาวร 2016-01-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน - King's College London สืบค้นเมื่อ 24.12.2015
  24. Academic faculties at King's - King's College London สืบค้นเมื่อ 14.04.2017
  25. Our campuses เก็บถาวร 2015-11-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน - King's College London สืบค้นเมื่อ 24.12.2015
  26. King's Facts at a glance เก็บถาวร 2016-01-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน - King's College London สืบค้นเมื่อ 24.12.2015
  27. Fellows of King's - King's College London สืบค้นเมื่อ 24.12.2015
  28. King's Nobel Laureates - King's College London สืบค้นเมื่อ 24.12.2015
  29. Alder, Jeremy (2014-03-06). "50 Universities with the Most Nobel Prize Winners". https://www.bestmastersprograms.org (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). {{cite web}}: แหล่งข้อมูลอื่นใน |website= (help)
  30. "King's College London". Top Universities (ภาษาอังกฤษ).
  31. "History | About | King's College London". www.kcl.ac.uk.
  32. "Alumni | King's alumni | King's College London". www.kcl.ac.uk.
  33. 33.0 33.1 Jumsai, Sumet. 2004. "Prince Prisdang and the Proposal for the First Siamese Constitution, 1885" Journal of the Siam Society Vol. 92 2004. 107. https://thesiamsociety.org/wp-content/uploads/2004/03/JSS_092_0g_SumetJumsai_PrincePrisdangAndProposalForConstitut.pdf
  34. "Dark Days: 1961 - 1981 | Feature from King's College London". www.kcl.ac.uk (ภาษาอังกฤษแบบบริติช).
  35. "A History of Varsity". www.kclsu.org (ภาษาอังกฤษแบบบริติช).
  36. ปฤษฎางค์, พระองค์เจ้า. 2472. ประวัติย่อนายพันเอกพิเศษ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ แต่ประสูติ พ.ศ. 2392 ถึง 2472. กรุงเทพฯ. 10-12. https://www.car.chula.ac.th/display7.php?bib=b2209972 . http://eresource.car.chula.ac.th/chula-ebooks/redirect.php?name=clra56_0058
  37. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 2499. ประวัติกระทรวงเกษตร. พิมพ์แจกเป็นที่ระลึกในวันเปิดที่ทำการใหม่ วันที่ 1 เมษายน 2500. โรงพิมพ์รุ่งเรืองธรรม. ประเทศไทย. http://archives.psd.ku.ac.th/kuout/p042.html เก็บถาวร 2023-04-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  38. คำโพธิ์ทอง. รวินทร์. 2565. "ทวี บุณยเกตุ กับ ปรีดี พนมยงค์​ ในการรักษาเอกราชและประชาธิปไตยสมบูรณ์". อ้างอิงจาก อนุสรณ์พิมพ์เป็นบรรณาการในงานพระราชทานเพลิงศพ นายทวี บุณยเกตุ. พ.ศ. 2515. สถาบันปรีดี พนมยงค์. https://pridi.or.th/th/content/2022/11/1311
  39. https://era.ed.ac.uk/bitstream/handle/1842/7790/Pongsapan2013.pdf?sequence=2&isAllowed=n. 208
  40. "Sophon Ratanakorn", Wikipedia (ภาษาอังกฤษ), 2022-04-17, สืบค้นเมื่อ 2023-09-07