สุทธวรรณ สุบรรณ ณ อยุธยา

สุทธวรรณ สุบรรณ ณ อยุธยา (เกิด 20 กันยายน พ.ศ. 2531) อดีตโฆษกพรรคก้าวไกล[1] และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครปฐม สังกัดพรรคก้าวไกล ปัจจุบันเป็นสมาชิกพรรคประชาชน

สุทธวรรณ สุบรรณ ณ อยุธยา
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครปฐม
ดำรงตำแหน่ง
24 มีนาคม พ.ศ. 2562 – 20 มีนาคม พ.ศ. 2566
(3 ปี 361 วัน)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด20 กันยายน พ.ศ. 2531 (36 ปี)
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
พรรคการเมืองอนาคตใหม่ (2561–2563)
ก้าวไกล (2563–2567)
ประชาชน (2567–ปัจจุบัน)

ประวัติ

แก้

สุทธวรรณ เกิดเมื่อวันอังคารที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2531 เป็นบุตรนายนรภัทร สุบรรณ ณ อยุธยา อดีตรองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดอุบลราชธานี และนางนัยนา เกิดวิชัย อดีตคณบดีคณะตำรวจศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ

สุทธวรรณ เป็นสมาชิกราชสกุลสุบรรณ สืบเชื้อสายมาจากพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 แห่งราชวงศ์จักรี ต้นราชสกุลคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนภูวนัยนฤเบนทราธิบาล (พระนามเดิม พระองค์เจ้าสุบรรณ) ราชโอรสลำดับที่ 46 ในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

ชื่อ "สุทธวรรณ" แปลว่า วรรณะอันบริสุทธิ์ เป็นชื่อพระราชทานจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งพระราชทานไว้เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2531

การศึกษา

แก้

ประกาศนียบัตร

แก้
  • หลักสูตรประกาศนียบัตร ผู้นำยุคใหม่ในระบอบประชาธิปไตย รุ่นที่ 9 (ปนป.9) สถาบันพระปกเกล้า
  • หลักสูตรประกาศนียบัตรชั้นสูง การเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยสำหรับนักบริหารระดับสูง รุ่นที่ 24 (ปปร.24) สถาบันพระปกเกล้า

วุฒิบัตร

แก้
  • หลักสูตรกลยุทธ์การบริหารธุรกิจอสังหาริมทรัพย์สำหรับคนรุ่นใหม่ รุ่นที่ 11 (RE-CU Junior 11) คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • หลักสูตรนักบริหารยุคใหม่เพื่องานพิทักษ์สันติราษฎร์ รุ่นที่ 4 (บพส.4) โรงเรียนนายร้อยตำรวจ

การทำงาน

แก้

สุทธวรรณ เป็นอดีตที่ปรึกษาระบบ SAP ในบริษัท ไอแอมคอนซัลติ้ง จำกัด เป็นอดีตนักวิเคราะห์ระบบคอมพิวเตอร์ ของศูนย์การจัดการทรัพยากรของมหาวิทยาลัย (ศจท.) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเป็นอดีตกรรมการบริหาร บริษัท จีราฟ มิวสิค จำกัด ซึ่งเปิดกิจการสอนดนตรี โดยใช้ชื่อว่า สถาบันดนตรีจีราฟ[2]

งานการเมือง

แก้

สุทธวรรณ เริ่มเข้าสู่เส้นทางการเมือง โดยการลงสมัครเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครปฐม เขต 3 สังกัดพรรคอนาคตใหม่ ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2562 โดยได้รับคะแนนเสียง 40,661 คะแนน ชนะนายพรศักดิ์ เปี่ยมคล้า อดีต ส.ส. 2 สมัย จากพรรคพลังประชารัฐ ซึ่งได้คะแนน 23,441 คะแนน และชนะนายก่อเกียรติ สิริยะเสถียร อดีต ส.ส. 3 สมัย แชมป์เก่าจากพรรคชาติไทยพัฒนา ซึ่งได้คะแนน 12,258 คะแนน [3]

ต่อมาเมื่อพรรคอนาคตใหม่ถูกยุบ เธอจึงย้ายมาสังกัดพรรคก้าวไกล พร้อมกับสมาชิกเดิม และเป็นโฆษกพรรคก้าวไกล ร่วมกับวิโรจน์ ลักขณาอดิศร ณัฐชา บุญไชยอินสวัสด์ และธัญญ์วาริน สุขะพิศิษฐ์ ตั้งแต่วันที่ 13 มีนาคม 2563 ถึง 29 เมษายน 2565[4] หลังจากนั้นมีการปรับโครงสร้างทีมโฆษก จากเดิมที่มีโฆษก 4 คน ได้เปลี่ยนให้รังสิมันต์ โรม เป็นโฆษกเพียงคนเดียว และมีสุทธวรรณกับกรุณพล เทียนสุวรรณ เป็นรองโฆษก

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2566 สุทธวรรณแจ้งว่า ประสงค์ไม่ลงสมัครรับเลือกตั้งสภาชิกสภาผู้แทนราษฎร โดยจะพักการลงเลือกตั้ง 1 สมัย เนื่องจากตั้งครรภ์และอยากใช้เวลาดูแลบุตรสาวให้เต็มที่ พร้อมทั้งต้องการศึกษาปริญญาเอกที่ยังค้างอยู่ให้สำเร็จ แต่ยังคงทำงานร่วมกับพรรคก้าวไกลเช่นเดิมในบทบาทอื่น ๆ[5]

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

แก้

สุทธวรรณ สุบรรณ ณ อยุธยา ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 1 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 จังหวัดนครปฐม สังกัดพรรคอนาคตใหม่พรรคก้าวไกล

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

ลำดับสาแหรก

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. ไม่ผิดคาด “ทิม พิธา” นั่งหัวหน้าพรรคก้าวไกล พร้อมเปิดตัวโลโก้ใหม่
  2. ประวัติส่วนตัว สุทธวรรณ สุบรรณ ณ อยุธยา
  3. "นครปฐม - รายงานผลการเลือกตั้ง 62 : PPTVHD36". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-20. สืบค้นเมื่อ 2020-03-22.
  4. "'พิธา ลิ้มเจริญรัตน์' นั่งหัวหน้า 'พรรคก้าวไกล' ยืนยันไม่ใช่พรรคชั่วคราว". prachatai.com.
  5. matichon (2023-02-03). "ส.ส.สุทธวรรณ แจงปม ไม่ลงสมัคร รักษาเก้าอี้นครปฐม ยันไม่คิดย้ายออกก้าวไกล". มติชนออนไลน์.
  6. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๕, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๖, ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๑๓, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้