สาธารณรัฐมอนเตเนโกร (ค.ศ. 1992–2006)

สาธารณรัฐองค์ประกอบของเซอร์เบียและมอนเตเนโกรระหว่างปี 1992 ถึงปี 2006

สาธารณรัฐมอนเตเนโกร ( เซอร์เบีย: Република Црна Гора, อักษรโรมัน: Republika Crna Gora ) มอนเตเนโกรเป็นรัฐองค์ประกอบของสหพันธ์สาธารณรัฐยูโกสลาเวียและต่อมาคือเซอร์เบียและมอนเตเนโกรระหว่างปี 1992 ถึง 2006 การประกาศเอกราชของมอนเตเนโกรในปี 2006 สิ้นสุดการมีอยู่ของยูโกสลาเวียหลังจากการล่มสลายของสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวีย รัฐที่เหลืออยู่สองแห่งคือมอนเตเนโกรและเซอร์เบียได้ตกลงกันก่อตั้งสหพันธ์สาธารณรัฐยูโกสลาเวีย ซึ่งได้ยกเลิกลัทธิคอมมิวนิสต์อย่างเป็นทางการและรับรองระบอบประชาธิปไตย มอนเตเนโกรเป็นสาธารณรัฐองค์ประกอบของยูโกสลาเวียและเซอร์เบียและมอนเตเนโกรจนถึงเดือนมิถุนายน 2006 เมื่อมอนเตเนโกรประกาศเอกราชจากเซอร์เบียและมอนเตเนโกรหลังจากการลงประชามติแยกตัวเป็นเอกราชของมอนเตเนโกรในปี 2006

สาธารณรัฐมอนเตเนโกร

Република Црна Гора
Republika Crna Gora
19922006

(1993—2004)
(2004—2006)
ธงชาติ

(1993—2004)
(2004—2006)
ตราแผ่นดิน
เพลงชาติХеј, Словени" (1992-2004)
เฮ , สลาฟ
Ој, свијетла мајска зоро (2004–2006)
Oj, svijetla majska zoro
อังกฤษ: "Oh, Bright Dawn of May"
มอนเตเนโกร (สีฟ้า) ใน ยูโกสลาเวีย
มอนเตเนโกร (สีฟ้า) ใน ยูโกสลาเวีย
สถานะรัฐองค์ประกอบของยูโกสลาเวีย
เมืองหลวงพอดกอรีตซา[1]
เซติเญ (เมืองราชวงศ์)
ภาษาราชการภาษาเซอร์เบีย
เดมะนิมชาวมอนเตเนโกร
การปกครองรัฐพรรคการเมืองเดียว สาธารณรัฐระบบรัฐสภา
ประธานาธิบดี 
• 1992–1998 (คนเเรก)
มอมีร์ บูลาตอวิช
• 2003–2006 (คนสุดท้าย)
ฟีลิป วูยานอวิช
นายกรัฐมนตรี 
• 1992–1998 (คนเเรก)
มีลอ กูกานอวิช
• 2003–2006 (คนสุดท้าย)
มีลอ กูกานอวิช
สภานิติบัญญัติสภานิติบัญญัติแห่งมอนเตเนโกร
ประวัติศาสตร์ 
• ก่อตั้ง
28 เมษายน 1992
• รัฐธรรมนูญบังคับใช้
12 ตุลาคม 1992
• ประกาศเอกราช
3 มิถุนายน 2006
พื้นที่
200613,812 ตารางกิโลเมตร (5,333 ตารางไมล์)
รหัส ISO 3166ME
ก่อนหน้า
ถัดไป
สาธารณรัฐสังคมนิยมมอนเตเนโกร
มอนเตเนโกร
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของมอนเตเนโกร

ประวัติศาสตร์

แก้

สหพันธ์สาธารณรัฐยูโกสลาเวีย

แก้

เมื่อมอนเตเนโกรเข้าร่วมสหพันธ์สาธารณรัฐยูโกสลาเวียภายใต้การนำของประธานาธิบดีมอมีร์ บูลาตอวิช ซึ่งเป็นอดีตสมาชิกสันนิบาตคอมมิวนิสต์แห่งยูโกสลาเวียและพันธมิตรของประธานาธิบดีสลอบอดัน มีลอเชวิช ซึ่งบูลาตอวิชได้ช่วยให้มีลอเชวิชขึ้นสู่อำนาจในระหว่างการปฏิวัติต่อต้านระบอบราชการ ที่ทั้งบูลาตอวิชและมีลอเชวิชได้ขึ้นสู่อำนาจในสาธารณรัฐของตนเอง ในปีสุดท้ายของการดำรงอยู่ของสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวีย บูลาตอวิชสนับสนุนข้อเรียกร้องของมีลอเชวิชในการให้ระบบ "หนึ่งสมาชิก หนึ่งเสียง" ในการประชุมสภาสันนิบาตคอมมิวนิสต์ ซึ่งทำให้กลุ่มของเขามีอำนาจมากขึ้นในสภาสันนิบาตคอมมิวนิสต์และในที่สุดสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวียก็ล่มสลายไป ในปี 1992 มอนเตเนโกรเข้าร่วมสหพันธ์สาธารณรัฐยูโกสลาเวียหลังจากมีการทำประชามติในวันที่ 1 มีนาคมในปีนั้น และในปีเดียวกัน เมืองหลวงที่ชื่อว่าติตอกราด (Titograd) ซึ่งตั้งชื่อตามอดีตผู้นำยูโกสลาเวีย ยอซิป บรอซ ตีโต ถูกเปลี่ยนชื่อกลับเป็นชื่อเดิมคือพอดกอรีตซา ในปี 1993 มอนเตเนโกรได้ยกเลิกการใช้ธงสมัยคอมมิวนิสต์และนำธงแบบใหม่มาใช้ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับของเซอร์เบีย แต่ยาวกว่าและมีสีน้ำเงินที่อ่อนกว่าในแถบกลางเพื่อสร้างความแตกต่างจากธงของสองสาธารณรัฐที่มีธงเหมือนกันในสมัยคอมมิวนิสต์ ธงนี้ใช้จนถึงปี 2004

การที่มอนเตเนโกรยังคงเป็นส่วนหนึ่งกับเซอร์เบียช่วยให้การดำรงอยู่ของรัฐยูโกสลาเวียยังคงมีความชอบธรรมซึ่งเป็นสิ่งสำคัญสำหรับเซอร์เบีย เนื่องจากการที่รัฐยูโกสลาเวียยังคงดำเนินต่อไปจะช่วยให้สามารถอ้างสิทธิ์ในดินแดนเดิมของยูโกสลาเวียในบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา และโครเอเชียที่มีประชากรชาวเซิร์บนอกจากนี้ มอนเตเนโกรยังมีทางออกสู่ทะเล ซึ่งช่วยให้เซอร์เบียไม่ต้องเป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล และทำให้สามารถมีเรือรบ (ทั้งพาณิชย์และทหาร) ได้ เมื่อเวลาผ่านไปลักษณะการปกครองของประธานาธิบดีมีลอเชวิชและพันธมิตรของเขาภายในสหพันธรัฐทำให้ชาวมอนเตเนโกรทั่วไปหันไปสนับสนุนการแยกตัวเป็นเอกราช และสร้างความปรารถนาที่จะเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองและการสนับสนุนฝ่ายค้านในเซอร์เบีย ความตึงเครียดกับเซอร์เบียเกี่ยวกับนโยบายทางเศรษฐกิจทำให้มอนเตเนโกรใช้เงินมาร์คของเยอรมนีในปี 1996 ขณะรอให้ประชาคมยุโรปดำเนินการจัดตั้งสกุลเงินยูโร เมื่อบูลาโตวิชลงจากตำแหน่งประธานาธิบดีมอนเตเนโกรในปี 1998 ประธานาธิบดีคนใหม่ มิลอ กูกานอวิช ได้ต่อต้านมีลอเชวิช (ซึ่งตอนนั้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของยูโกสลาเวีย) และได้เริ่มต้นการแยกตัวของมอนเตเนโกรออกจากยูโกสลาเวีย[2][3]

สมาพันธรัฐ และ เอกราช

แก้

เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 1999 มอนเตเนโกรได้ร่างแผนที่จะเสนอให้ยูโกสลาเวียถูกแทนที่ด้วย "สมาคมแห่งรัฐเซอร์เบียและมอนเตเนโกร" ซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อให้มอนเตเนโกรได้รับสิทธิในด้านการต่างประเทศ สกุลเงิน และกองทัพเพื่อเตรียมการแยกตัวในอนาคต การบริหารงานโดยคลินตันได้แสดงการสนับสนุนแผนนี้ แต่ได้เร่งให้มอนเตเนโกรคงความเป็นส่วนหนึ่งกับเซอร์เบียต่อไปเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2002 ภายใต้การอำนวยการของสหภาพยุโรป ได้มีการทำข้อตกลงที่มีผลทำให้ยูโกสลาเวียสิ้นสุดลง ข้อตกลงนี้อนุญาตให้มอนเตเนใช้สกุลเงินยูโรแทนที่จะใช้เงินดีนาร์ยูโกสลาฟ ในปี 2003 สหพันธ์สาธารณรัฐยูโกสลาเวียได้เปลี่ยนเป็นสมาพันธรัฐภายใต้ชื่อ "เซอร์เบียและมอนเตเนโกร" และมอบสิทธิและอำนาจอิสระให้กับมอนเตเนโกรมากขึ้น โดยที่มีเพียงนโยบายด้านความมั่นคงและการต่างประเทศเท่านั้นที่ยังคงเป็นหน้าที่ของรัฐบาลกลาง ในปี 2006 มอนเตเนโกรได้จัดการลงประชามติแยกตัวเป็นเอกราช ซึ่ง 55% ของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งลงคะแนนเห็นชอบกับการแยกตัวเป็นเอกราช แต่การชนะในครั้งนี้ถือเป็นชัยชนะที่สูสีมาก มอนเตเนโกรประกาศเอกราชอย่างเป็นทางการในเดือนมิถุนายน 2006 ส่งผลให้เซอร์เบียกลายเป็นประเทศเอกราช และทำให้สหภาพของอดีตยูโกสลาเวียที่ดำรงอยู่มายาวนานตั้งแต่ปี 1918 สิ้นสุดลง[4]

อ้างอิง

แก้
  1. "Constitution of the Republic of Montenegro". Article 7
  2. Miller, Nicholas (2005). "Serbia and Montenegro". Eastern Europe: An Introduction to the People, Lands, and Culture. Vol. 3. Santa Barbara, California: ABC-CLIO. pp. 529–581. ISBN 9781576078006.
  3. Montenegro: Country Profile, balkaninsight.com
  4. Montenegro declares independence BBC News, 4 June 2006