เซติเญ
เซติเญ (มอนเตเนโกร: Cetinje / Цетиње) เป็นเมืองในประเทศมอนเตเนโกร เคยเป็นเมืองหลวงเก่าของแคว้นมอนเตเนโกร จากสำมะโน ค.ศ. 2011 เมืองนี้มีประชากร 14,093 คน ในขณะที่เทศบาลเซติเญมีพลเมือง 16,657 คน[3] เซติเญตั้งอยู่ในเขตภูเขาทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศ มีสุสานของผู้ครองแคว้นมอนเตเนโกร และพิพิธภัณฑ์ซึ่งตั้งอยู่ในพระราชวังเดิม เมืองนี้ก่อตั้งขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 15 และกลายเป็นอู่วัฒนธรรมมอนเตเนโกร
เซติเญ Цетиње | |
---|---|
| |
ตามเข็มนาฬิกาจากบน: สุสาน Petar ที่ 2 Petrovic-Njegos, พิพิธภัณฑ์พระเจ้านิโคลัส, Biljarda, อนุสาวรีย์ Ivan Crnojevic, อารามเซติเญ และพระราชวังน้ำเงิน | |
สมญา: | |
พิกัด: 42°23′N 18°55′E / 42.38°N 18.92°E | |
ประเทศ | มอนเตเนโกร |
เทศบาล | เซติเญ |
ก่อตั้ง | ค.ศ. 1482 |
นิคม | 94 |
การปกครอง | |
• ประเภท | นายก-สมัชชา |
• นายกเทศมนตรี | Nikola Đurašković (SDP) |
• ประธานสมัชชา | Milena Vujačić (Stara garda LSCG) |
• พรรคที่มีเสียงข้างมาก | SDP–(Stara garda LSCG) |
พื้นที่ | |
• เมืองและเทศบาล | 910 ตร.กม. (350 ตร.ไมล์) |
ความสูง | 650 เมตร (2,130 ฟุต) |
ประชากร (สำมะโน 2011) | |
• อันดับ | ที่ 7 ในมอนเตเนโกร |
• ความหนาแน่น | 20 คน/ตร.กม. (50 คน/ตร.ไมล์) |
• เขตเมือง | 14,093 คน |
• นอกเมือง | 2,564 คน |
• เทศบาล | 16,657 |
เขตเวลา | UTC+1 (เวลายุโรปกลาง) |
• ฤดูร้อน (เวลาออมแสง) | UTC+2 (เวลาออมแสงยุโรปกลาง) |
รหัสไปรษณีย์ | 81250 |
รหัสพื้นที่ | +382 41 |
รหัส ISO 3166-2 | ME-06 |
ป้ายทะเบียน | CT |
ภูมิอากาศ | Cfb |
เว็บไซต์ | www |
ชื่อ
แก้รายงานจากข้อมูลที่บันทึกไว้ ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 17 มีแม่น้ำ Cetina ไหลลงมาจากที่ราบ ส่วนหนึ่งของเมืองจึงเรียกตามแม่น้ำสายนั้นว่า Cetinjsko polje (ทุ่งเซติเญ) ในเวลานั้น Cetinjsko polje เคยเป็นหมู่บ้านขนาดเล็ก ภายหลังเมืองที่สร้างใหม่ได้ชื่อเซติเญ (Cetinje) ส่วนในบันทึกทางประวัติศาสตร์ เซติเญได้รับการกล่าวถึงครั้งแรกใน ค.ศ. 1440[4]
ประวัติ
แก้ก่อตั้ง
แก้เซติเญได้รับการจัดตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1482 เมื่ออีวัน เซอร์โนเยวิช (Ivan Crnojević) ย้ายเมืองหลวงจาก Obod ทางตอนเหนือของแม่น้ำเซอร์โนเยวิชไปยังทุ่งที่ตีนเขาLovćenที่ป้องกันได้ง่าย ในปีเดียวกันเขาสั่งให้สร้างราชสำนักขึ้นที่ตำแหน่งใหม่และจัดตั้งอาราม (อุทิศแด่พระนางมารีย์) ด้วยเงินบริจาคส่วนบุคคลใน ค.ศ. 1484 ราชสำนักและอารามเป็นอาคารสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาที่มีการบันทึกหลังแรกในมอนเตเนโกร[5] เซอร์โนเยวิชจำต้องย้ายที่ตั้ง Eparchy แห่งเซตาจาก Vranjina ไปยังเซติเญเนื่องจากการรุกรานของออตโตมันใน ค.ศ. 1485[6] เมืองนี้ตั้งชื่อตามแม่น้ำ Cetina
เขตมุขนายกเซตาได้รับการเลื่อนสถานะเป็น metropolitanate ที่เซติเญ[6] โดยเซตาตกอยู่ภายใต้การปกครองของออตโตมันครั้งแรกใน ค.ศ. 1499 จากนั้นถูกผนวกเข้าไปในซันจักมอนเตเนโกรใน ค.ศ. 1514[7]
ประชากร
แก้ปี | ประชากร | ±% |
---|---|---|
1948 | 9,038 | — |
1953 | 9,102 | +0.7% |
1961 | 9,359 | +2.8% |
1971 | 11,876 | +26.9% |
1981 | 14,088 | +18.6% |
1991 | 15,946 | +13.2% |
2003 | 15,137 | −5.1% |
2011 | 13,918 | −8.1% |
ที่มา: [8] |
ชาติพันธุ์
แก้กลุ่มชาติพันธุ์ | จำนวน | ร้อยละ |
---|---|---|
มอนเตเนโกร | 12,705 | 91.3% |
เซิร์บ | 539 | 3.9% |
แอลเบเนีย | 37 | 0.3% |
โครแอต | 37 | 0.3% |
โรมา | 28 | 0.2% |
อื่น ๆ และไม่ระบุ | 572 | 4.1% |
รวม | 13,918 | 100% |
ภาษา
แก้ภาษา | จำนวน | ร้อยละ |
---|---|---|
มอนเตเนโกร | 11,656 | 83.8% |
เซอร์เบีย | 1,426 | 10.2% |
เซิร์บ-โครแอต | 226 | 1.6% |
อื่น ๆ และไม่ระบุ | 610 | 4.4% |
รวม | 13,918 | 100% |
ศาสนา
แก้ข้อมูล: สำนักงานสถิติแห่งมอนเตเนโกร - MONSTAT, สำมะโน ค.ศ. 2011[9]
ศาสนา | จำนวน | ร้อยละ |
---|---|---|
อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ | 12,844 | 92.28% |
อเทวนิยม | 233 | 1.67% |
โรมันคาทอลิก | 133 | 0.95% |
อิสลาม | 103 | 0.74% |
อื่น ๆ | 178 | 1.27% |
ไม่ระบุ | 364 | 2.61 |
รวม | 13,918 | 100% |
ความสัมพันธ์นานาชาติ
แก้เมืองพี่น้อง
แก้เซติเญเป็นเมืองพี่น้องกับเมืองดังนี้:[10][11]
- อัลบายูลียา ประเทศโรมาเนีย[12]
- กาเอตา ประเทศอิตาลี
- กาซีอันเท็พ ประเทศตุรกี
- ดีฌง ประเทศฝรั่งเศส
- ดูบรอฟนีก ประเทศโครเอเชีย
- คาร์กิว ประเทศยูเครน
- คอสโตรมา ประเทศรัสเซีย
- ลาร์นากา ประเทศไซปรัส
- Mali Iđoš ประเทศเซอร์เบีย
- มาริบอร์ ประเทศสโลวีเนีย
- Nafplio ประเทศกรีซ
- โนโวซาราเยโว ประเทศบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา
- เนือร์นแบร์ค ประเทศเยอรมนี
- ริเยกา ประเทศโครเอเชีย
- Santa Severina ประเทศอิตาลี
- ชกอเดอร์ ประเทศแอลเบเนีย
- ซินายา ประเทศโรมาเนีย
- สปลิต ประเทศโครเอเชีย
- สโปเลโต ประเทศอิตาลี
- Velika Kladuša ประเทศบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนาอ
- แวลีโกเตอร์โนโว ประเทศบัลแกเรีย
- วิแชกราด ประเทศฮังการี
- Vranje ประเทศเซอร์เบีย
- West Achaea ประเทศกรีซ
- ซีเอนา ประเทศอิตาลี
อ้างอิง
แก้- ↑ "Legenda o nastanku Cetinja". สืบค้นเมื่อ 22 June 2022.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "ŽURNAL U DOLINI BOGOVA: Ovo đe sada stojim neka se zove Cetinje". สืบค้นเมื่อ 15 September 2014.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "Cetinje". Visit-Montenegro.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-04-18. สืบค้นเมื่อ 28 February 2012.
- ↑ "The History of Cetinje". สืบค้นเมื่อ 22 June 2022.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ Žarko Domljan; Jugoslavenski leksikografski zavod "Miroslav Krleža."; Jugoslavenski leksikografski zavod "Miroslav Krleža". (1984). Likovna enciklopedija Jugoslavije. Zavod. p. 245. สืบค้นเมื่อ 26 April 2013.
Ivan Crnojević podigao dvorac, kasnije i crkvu zetske mitropolije... to su prvi datirani spomenici renesanse u Crnoj Gori
- ↑ 6.0 6.1 Glasnik Srpskog istorijsko-kulturnog društva "Njegoš". Vol. 61–62. Njegoš. 1989. p. 49.
Николе на острво Врањина у Скадарском Језеру. Године 1485. под навалом Турака морала је бити премештена на Цетиње, где је и подигнута на степен митрополије. Она ће касније одиграти видну улогу како у верском тако и у националном животу Срба Црне Горе.
- ↑ Ćorović, Vladimir (1933). Istorija Jugoslavije (ภาษาเซอร์เบีย). Beograd: Narodno Delo. สืบค้นเมื่อ 27 April 2011.
Год. 1499. припојена је била Црна Гора скадарском санџакату. Али, год. 1514. одвојио је султан поново и поставио јој за управника, као санџак-бега, потурченог Станишу, односно Скендер-бега Црнојевића.
- ↑ "Popis stanovništva, domaćinstava i stanova u Crnoj Gori 2011. godine" (PDF). MONSTAT. สืบค้นเมื่อ 12 July 2011.
- ↑ "Popis 2011". สืบค้นเมื่อ 2011-09-29.
- ↑ "Partnerski gradovi". bar.me (ภาษาMontenegrin). Cetinje. สืบค้นเมื่อ 29 December 2019.
- ↑ "Bratimljenje" (PDF). database.uom.me (ภาษาMontenegrin). Zajednica opština Crne Gore. January 2013. p. 29. สืบค้นเมื่อ 2019-12-29.
- ↑ "Orașe înfrățite cu Alba Iulia". apulum.ro (ภาษาโรมาเนีย). Alba Iulia. สืบค้นเมื่อ 2022-10-18.
บรรณานุกรม
แก้- Fleming, Thomas (2002). Montenegro: The Divided Land. Chronicles Press. ISBN 978-0-9619364-9-5.
- Vujović, Mišo (2003). Crnja i Gora. Nova Pazova. ISBN 9788650301838.