สมเด็จพระราชาธิบดีอับดุล ฮาลิม มูอัซซัม ชาห์
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง คุณสามารถพัฒนาบทความนี้ได้โดยเพิ่มแหล่งอ้างอิงตามสมควร เนื้อหาที่ขาดแหล่งอ้างอิงอาจถูกลบออก |
สมเด็จพระราชาธิบดีอัลมูตัสสิมู บิลลาฮี มูฮิบบุดดิน สุลต่าน อัลฮัจญ์ อับดุล ฮาลิม มูอัซซัม ชาห์ อิบนี อัลมาฮูม สุลต่าน บาดิรชาฮ์ (มลายู: Al Mu'tassimu Billahi Muhibbuddin Sultan Al-Haj Abdul Halim Mu'adzam Shah ibni Almarhum Sultan Badlishah, سلطان عبدالحاليم معظم شاه ابن المرحوم سلطان بدليشاه) ทรงเป็นสมเด็จพระราชาธิบดีแห่งมาเลเซียลำดับที่ 5 และอดีตสุลต่านแห่งรัฐเกอดะฮ์
สมเด็จพระราชาธิบดี อับดุล ฮาลิม มูอัซซัม ชาห์ | |||||
---|---|---|---|---|---|
ยังดี เปอร์ตวน อากงแห่งมาเลเซีย สุลต่านแห่งรัฐเกอดะฮ์ | |||||
![]() | |||||
ยังดี เปอร์ตวน อากง แห่งมาเลเซีย ลำดับที่ 5 | |||||
ครองราชย์ | 13 ธันวาคม 2554 – 12 ธันวาคม 2559 (ครั้งที่ 2) | ||||
ราชาภิเษก | 11 เมษายน 2555 | ||||
ก่อนหน้า | มีซาน ไซนัล อาบิดีน แห่งตรังกานู | ||||
ถัดไป | มูฮัมมัดที่ 5 แห่งกลันตัน | ||||
นายกรัฐมนตรี | นาจิบ ราซัก | ||||
ครองราชย์ | 21 กันยายน 2513 – 20 กันยายน 2518 (ครั้งที่ 1) | ||||
ราชาภิเษก | 20 กุมภาพันธ์ 2514 | ||||
ก่อนหน้า | อิสมาอิล นาซีรุดดิน แห่งตรังกานู | ||||
ถัดไป | ยะห์ยา เปตรา แห่งกลันตัน | ||||
นายกรัฐมนตรี | อับดุล ราซัก ฮุซเซน | ||||
สุลต่านแห่งรัฐเกอดะฮ์ | |||||
ครองราชย์ | 15 กรกฎาคม 2501 – 11 กันยายน 2560 | ||||
ราชาภิเษก | 20 กุมภาพันธ์ 2502 | ||||
ก่อนหน้า | สุลต่านบาดิร ชาฮ์ | ||||
ถัดไป | สุลต่านตวนกู มาห์มุด ซาเลฮุดดิน | ||||
คู่อภิเษก | รายา ประไหมสุหรี อากง ตวนกู บาไฮยาฮ์ (2499–2546) รายา ประไหมสุหรี อากง ตวนกู ฮัมไมนาล บินดิ ฮาไมดุน (2518-2560) | ||||
พระราชบุตร | ตวนกู ปุตรี อินตัน ซาฟินาซ | ||||
| |||||
พระราชบิดา | สุลต่านบาดิร ชาฮ์ | ||||
พระราชมารดา | โซเฟีย บินติ มาฮ์มุด | ||||
พระราชสมภพ | 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2470 รัฐเกอดะฮ์, นิคมช่องแคบของอังกฤษ | ||||
สวรรคต | 11 กันยายน พ.ศ. 2560 (89 พรรษา) รัฐเกอดะฮ์ มาเลเซีย | ||||
ศาสนา | อิสลามซุนนีย์ |
มีพระธิดา Tunku puteri ชื่อ เจ้าหญิง ซะฟิน่าห์
พระราชประวัติแก้ไข
สุลต่าน อัลมูตัสสิมู บิลลาฮี มูฮิบบุดดิน ตวนกู อัลฮัจญ์ อับดุล ฮาลิม มูฮัซซัม ชาห์ อิบนี อัลมาฮูม สุลต่านบาดิร ชาฮ์ หรือสุลต่านตวนกู อับดุล ฮาลิม สุลต่านแห่งรัฐเกอดะฮ์องค์ที่ 27 พระราชสมภพเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2470 ณ พระราชวังแห่งอลอร์สตาร์ เมืองอลอร์สตาร์ รัฐเกอดะฮ์ พระองค์เป็นพระราชโอรสของสุลต่านบาดิร ชาฮ์ สุลต่านแห่งรัฐเกอดะฮ์องค์ที่ 26 (1943–1958) และพระมารดา ตนกู โซฟิยะห์ บินตี ตนกู มะห์มุด ผู้สิ้นพระชนม์ด้วยอุบัติเหตุก่อนที่พระราชบิดาจะขึ้นครองราชย์
พระราชบิดา สุลต่านบาดิร ชาฮ์ เป็นพระราชโอรสของสุลต่านอับดุล ฮามิด ฮาลิม ชาห์ (1881–1943) สุลต่านแห่งรัฐเกอดะฮ์องค์ที่ 25 อดีตเจ้าพระยาไทรบุรี และอดีตข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลเกอดะฮ์ (ไทรบุรี) ของประเทศไทย ก่อนที่จะเปลี่ยนไปอยู่ในความปกครองของประเทศอังกฤษและมาเป็นสหพันธรัฐมาลายูและสหพันธรัฐมาเลเซียตามลำดับ พระราชบิดา สุลต่านบาดิร ชาฮ์ พระราชสมภพที่เมืองไทรบุรีสมัยที่ยังเป็นของราชอาณาจักรสยาม เคยเสด็จพระราชดำเนินมาทรงศึกษาที่โรงเรียนราชวิทยาลัยสายสวลี แล้วทรงรับราชการในสยามอยู่ช่วงหนึ่งที่พระคลังข้างที่และกระทรวงมหาดไทย ก่อนที่จะย้ายไปรับราชการที่ประเทศมาเลเซียและทรงเสกสมรสกับพระมารดาผู้เป็นหญิงไทยถือกำเนิดเกิดในเมืองเกอดะฮ์
พระอัยกาสุลต่านอับดุล ฮามิด ฮาลิม ชาห์ มีพระราชบุตรหลายพระองค์ พระราชโอรสอีกพระองค์หนึ่งคือตนกู อับดุล ระห์มัน (Tunku Abdul Rahman, 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2446 – 6 ธันวาคม พ.ศ. 2533) ซึ่งประสูติจากคุณหญิงเนื่อง นนทนาคร (บุตรีของหลวงบุรานุรักษ์ (เกล็บ นนทะนาคร) เจ้าเมืองนนทบุรีและหลานพระรามัญนนทเขตต์คดี (เนียม นนทนาคร) นายอำเภอปากเกร็ดคนแรก) ซึ่งเป็นผู้นำการเรียกร้องเอกราช และนายกรัฐมนตรีคนแรกของประเทศมาเลเซีย ได้รับยกย่องเป็นบิดาแห่งประเทศมาเลเซียหรือ Bapa of Malaysia ผู้เจรจาให้อังกฤษคืนเอกราชให้มาเลเซีย และเป็นผู้เจรจาให้ชนชาติต่างๆ รวมกันเป็นชาติ ร่วมสร้างประเทศสหพันธ์มลายูด้วยกัน รวมทั้งยังเจรจาให้สุลต่านทั้ง 9 รัฐ สลับกันขึ้นเป็นประมุขของชาติ
สมเด็จพระราชาธิบดีฯ มีพระมเหสี 2 พระองค์ พระองค์แรกสิ้นพระชนม์แล้ว พระมเหสีองค์ปัจจุบันคือ สมเด็จพระราชินี ประไหมสุหรี อากง ตวนกู ฮัจญะห์ ฮามินะห์
การครองราชสมบัติแก้ไข
สุลต่านแห่งเกอดะฮ์แก้ไข
สุลตาน มุซตาซีมุ บิลลาฮ์ อับดุล ฮาลิม มุอัซซัม ชาฮ์ อิบนี อัลมาร์ฮุม สุลตาน บาดิร ชาฮ์ และทรงได้รับราชาภิเษกในฐานะสุลต่างแห่งเกอดะฮ์ต่อจากพระราชบิดา สุลตาน บาดิร ชาฮ์ เมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2501 ในฐานะสุลต่านแห่งเกอดะฮ์
การดำรงพระราชอิสริยยศ ยังดี เปอร์ตวน อากงแก้ไข
กรกฎาคม พ.ศ. 2513 เมื่อมีการแต่งตั้ง ยังดี เปอร์ตวน อากง ประมุขแห่งประเทศมาเลเซีย พระองค์ใหม่ ในฐานะที่ทรงเป็นสุลต่านแห่งเกอดะฮ์แล้ว ตามลำดับวาระการขึ้นครองราชย์ ทำให้ทรงเป็นสมเด็จพระราชาธิบดีแห่งมาเลเซียพระองค์ที่ 5 ต่อจากสุลตาน นาซีรุดดิน แห่งรัฐตรังกานูและเป็นพระมหากษัตริย์จนครบวาระสมัย 5 ปี
ธันวาคม พ.ศ. 2554 ทรงได้รับการบรมราชาภิเษกเป็นสมเด็จพระราชาธิบดีแห่งมาเลเซียพระองค์ที่ 14 อีกครั้ง ต่อจากสุลต่าน มีซาน ไซนัล อาบิดีน แห่งรัฐตรังกานู นับเป็นสุลต่านพระองค์แรก ที่ได้ดำรงพระราชอิสริยยศนี้ถึงสองครั้ง พระองค์นับเป็น ลำดับที่ 2 ของกษัตริย์ที่ครองราชสมบัติยาวนานที่สุดของโลกในปัจจุบัน โดยมีพระราชดำรัสในพิธีบรมราชาภิเษกตอนหนึ่งว่า
กษัตริย์ถือเป็นร่มโพธิ์ร่มไทรของปวงประชา และปวงประชาถือเป็นเสาค้ำจุนของกษัตริย์ หน้าที่สำคัญที่สุดของกษัตริย์คือจะต้องทำให้แผ่นดินไม่มีความชั่วร้ายและการทำลายล้าง ให้บังเกิดขึ้นแก่ปวงชนในประเทศ [1]
— สมเด็จพระราชาธิบดี สุลต่าน ตวนกู อับดุล ฮาลิม
เครื่องราชอิสริยาภรณ์แก้ไข
เครื่องราชอิสริยาภรณ์มาเลเซียแก้ไข
- Darjah Yang Maha Utama Kerabat Diraja Malaysia (D.K.M.) (The Most Excellent Order of the Royal Family of Malaysia)
- Darjah Utama Seri Mahkota Negara (D.M.N.)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศแก้ไข
- พ.ศ. 2516 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นมงคลยิ่งราชมิตราภรณ์ (ร.ม.ภ.) ( ไทย)
- พ.ศ. 2556 – เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ (ม.จ.ก.) (ฝ่ายหน้า) ( ไทย)[2]
- Knight of the Order of St John (KStJ) ( บริเตนใหญ่)
- Knight Grand Cross of the Order of the Bath (GCB) ( บริเตนใหญ่)
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ [1] สุลต่านเคดาห์ขึ้นครองบัลลังก์"กษัตริย์มาเลเซีย"องค์ใหม่
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์แด่สมเด็จพระราชาธิบดี และสมเด็จพระราชินีแห่งมาเลเซีย เก็บถาวร 2019-05-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๐, ตอน ๖ ข, ๑๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๖, หน้า ๑
ดูเพิ่มแก้ไข
ภาษาไทยแก้ไข
- สนธิสัญญา พ.ศ. 2451 รัฐบาลไทย ยอมยก ไทรบุรี กลันตัน ตรังกานู และปะลิส รวมทั้งเกาะใกล้เคียง ให้แก่อังกฤษ เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- สามจังหวัดชายแดนภาคใต้สมัยต้นรัตนโกสินทร์ถึงสมัยรัชกาลที่ 5 [ลิงก์เสีย]
- รอยไทรบุรีที่บ้านท่าพรุ[ลิงก์เสีย]
ภาษาอังกฤษแก้ไข
- The Kedah Sultanate Website เก็บถาวร 2013-03-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- KEDAH : BRIEF HISTORY
- KEDAH : ORDERS & DECORATIONS
- Malaysiafactbook : Encyclopedia of Malaysia เก็บถาวร 2013-02-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Lists Sultans of Kedah (1136–present) เก็บถาวร 2012-12-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- The 14th Yang-di-Pertuan Agong ; The 27th Sultan of Kedah : Sultan Abdul Halim Mu'adzam Shah ( 1958 - present ) เก็บถาวร 2013-01-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- The 26th Sultan of Kedah : Sultan Badlishah ibni al-Marhum Sultan Abdul Hamid Halim Shah (1894–1958) เก็บถาวร 2013-01-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Malaysiafactbook - The 25th Sultan of Kedah : Sultan Abdul Hamid Halim Shah ibni Ahmad Taj ud-din al-Mukarram Shah (1864 – 1943) เก็บถาวร 2013-01-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Mykedah- The 25th Sultan of Kedah : Sultan Abdul Hamid Halim Shah ibni Ahmad Taj ud-din al-Mukarram Shah (1864 – 1943) เก็บถาวร 2013-03-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
รูปภาพแก้ไข
- The 14th Yang-di-Pertuan Agong ; The 27th Sultan of Kedah : Sultan Abdul Halim Mu'adzam Shah ( 1958 - present ) เก็บถาวร 2013-03-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- The 26th Sultan of Kedah : Sultan Badlishah ibni al-Marhum Sultan Abdul Hamid Halim Shah (1894–1958) เก็บถาวร 2013-03-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- The 25th Sultan of Kedah : Sultan Abdul Hamid Halim Shah ibni Ahmad Taj ud-din al-Mukarram Shah (1864 – 1943) เก็บถาวร 2013-03-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- The 21th Sultan of Kedah : Sultan Ahmad Tajuddin Halim Shah II ( 1797 - 1843 ) เก็บถาวร 2013-03-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
ก่อนหน้า | สมเด็จพระราชาธิบดีอับดุล ฮาลิม มูอัซซัม ชาห์ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
สมเด็จพระราชาธิบดีสุลต่าน อิสมาอิล นาซีรุดดิน ชาห์ | ยังดี เปอร์ตวน อากง (พ.ศ. 2513 - พ.ศ. 2518) |
สมเด็จพระราชาธิบดียะห์ยา เปตรา | ||
สมเด็จพระราชาธิบดีสุลต่าน มีซาน ไซนัล อาบิดีน | ยังดี เปอร์ตวน อากง (13 ธันวาคม พ.ศ. 2554 - 12 ธันวาคม 2559) |
สมเด็จพระราชาธิบดีมูฮัมมัดที่ 5 | ||
สุลต่านบาดิร ชาฮ์ | สุลต่านแห่งรัฐเกอดะฮ์ (15 มกราคม พ.ศ. 2501 - 11 กันยายน พ.ศ. 2560 ) |
สุลต่านตวนกู มาห์มุด ซาเลฮุดดิน |
บทความเกี่ยวกับชีวประวัตินี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล |