ตุนกู อับดุล ระฮ์มัน
ตุนกู อับดุล ระฮ์มัน ปูตรา อัล-ฮัจ อิบนี อัลมาร์ฮุม ซุลตัน อับดุล ฮามิด ฮาลิม ชะฮ์ (มลายู: Tunku Abdul Rahman Putra Al-Haj ibni Almarhum Sultan Abdul Hamid Halim Shah, ยาวี: تونكو عبد الرحمن ڤوترا الحاج ابن سلطان عبد الحميد حليم شاه) หรือ ตุนกู อับดุล ระฮ์มัน (8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2446 – 6 ธันวาคม พ.ศ. 2533) เป็นผู้นำการเรียกร้องเอกราชและนายกรัฐมนตรีคนแรกของประเทศมาเลเซีย ได้รับยกย่องเป็นบิดาแห่งเอกราช (Bapa Kemerdekaan) หรือบิดาแห่งประเทศมาเลเซีย (Bapa Malaysia)[1][2]
ตุนกู อับดุล ระฮ์มัน | |
---|---|
تونكو عبد الرحمن | |
นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย คนที่ 1 | |
ได้รับเกียรติเป็น บิดาแห่งอิสรภาพ / บิดาแห่งมาเลเซีย Bapa Kemerdekaan / Bapa Malaysia باڤ مليسيا / باڤ کمرديکاءن | |
ดำรงตำแหน่ง 31 สิงหาคม ค.ศ. 1957 – 22 กันยายน ค.ศ. 1970 | |
กษัตริย์ | |
รอง | อับดุล ราซัก ฮุซเซน |
ก่อนหน้า | จัดตั้งตำแหน่ง |
ถัดไป | อับดุล ราซัก ฮุซเซน |
มุขมนตรีมาลายาคนที่ 1 | |
ดำรงตำแหน่ง 1 สิงหาคม ค.ศ. 1955 – 31 สิงหาคม ค.ศ. 1957 | |
กษัตริย์ | เอลิซาเบธที่ 2 |
ข้าหลวงใหญ่ | ดอนัลด์ แมคกิลลิฟเรย์ |
ก่อนหน้า | จัดตั้งตำแหน่ง |
ถัดไป | ยุบเลิกตำแหน่ง |
ประธานองค์การมลายูรวมแห่งชาติ คนที่ 2 | |
ดำรงตำแหน่ง 25 สิงหาคม ค.ศ. 1951 – 23 กมราคม ค.ศ. 1971 | |
ก่อนหน้า | อน จาฟาร์ |
ถัดไป | อับดุล ราซัก ฮุซเซน |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ | |
ดำรงตำแหน่ง 1 กันยายน ค.ศ. 1960 – 22 กันยายน ค.ศ. 1970 | |
กษัตริย์ | |
นายกรัฐมนตรี | ตุนกู อับดุล ระฮ์มัน |
ก่อนหน้า | อิซมาอิล อับดุล ระฮ์มัน |
ถัดไป | อับดุล ราซัก ฮุซเซน |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเยาวชนและกีฬา | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. 1964 – ค.ศ. 1966 | |
กษัตริย์ | |
นายกรัฐมนตรี | ตุนกู อับดุล ระฮ์มัน |
ก่อนหน้า | จัดตั้งตำแหน่ง |
ถัดไป | เซอนู อับดุล ระฮ์มัน |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ | |
ดำรงตำแหน่ง 31 สิงหาคม ค.ศ. 1957 – 2 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1959 | |
กษัตริย์ | |
นายกรัฐมนตรี | ตุนกู อับดุล ระฮ์มัน |
ก่อนหน้า | จัดตั้งตำแหน่ง |
ถัดไป | อิซมาอิล อับดุล ระฮ์มัน |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 9 สิงหาคม ค.ศ. 1955 – 30 สิงหาคม ค.ศ. 1957 | |
กษัตริย์ | เอลิซาเบธที่ 2 |
ข้าหลวงใหญ่ | ดอนัลด์ แมคกิลลิฟเรย์ |
ก่อนหน้า | จัดตั้งตำแหน่ง |
ถัดไป | อิซมาอิล อับดุล ระฮ์มัน |
เลขาธิการองค์การความร่วมมืออิสลาม คนที่ 1 | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. 1970 – ค.ศ. 1973 | |
ก่อนหน้า | จัดตั้งตำแหน่ง |
ถัดไป | ฮะซัน อัตตุฮามี |
ประธานเอเอฟซี คนที่ 5 | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. 1958 – 11 ธันวาคม ค.ศ. 1977 | |
ก่อนหน้า | Nam Cheong Chan |
ถัดไป | คอมบีซ ออทอบอย |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 8 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1903 อาโลร์เซอตาร์ รัฐสุลต่านเกอดะฮ์ ประเทศสยาม (ปัจจุบันอยู่ในประเทศมาเลเซีย) |
เสียชีวิต | 6 ธันวาคม ค.ศ. 1990 กัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย | (87 ปี)
ที่ไว้ศพ | สุสานหลวงรัฐเกอดะฮ์ |
สัญชาติ | มาเลเซีย |
พรรคการเมือง | องค์การมลายูรวมแห่งชาติ (1946–1988) |
คู่สมรส |
|
บุตร | 7 |
บุพการี |
|
การศึกษา | วิทยาลัยสุลต่านอับดุล ฮามิด โรงเรียนเทพศิรินทร์ ฟรีสกูลปีนัง |
ศิษย์เก่า | St Catharine's College, Cambridge (BA สาขากฎหมายและประวัติศาสตร์) Inner Temple |
วิชาชีพ | ทนาย |
ลายมือชื่อ | |
พระประวัติ
แก้ตุนกู อับดุล ระฮ์มัน ประสูติเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2446 ที่วังเปอลามิน เมืองอาโลร์เซอตาร์ มณฑลไทรบุรี ประเทศสยาม เป็นพระโอรสในเจ้าพระยาฤทธิสงครามรามภักดีศรีสุลต่าน (สุลต่านอับดุลฮามิด) (เจ้าพระยาฤทธิสงคราม)[3] สุลต่านองค์ที่ 25 แห่งไทรบุรี กับหม่อมชาวไทยเชื้อสายมอญนามว่า หม่อมเนื่อง นนทนาคร[4] หรือมะเจ๊ะเนื่อง หรืออีกชื่อว่า ปะดูกา ซรี เจ๊ะเมินยาราลา (Paduka Seri Cik Menyelara) ชายาองค์ที่ 6 ซึ่งเป็นบุตรีของหลวงนราบริรักษ์ (เกล็บ นนทนาคร) เจ้าเมืองนนทบุรีในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยตุนกู อับดุล ระฮ์มันเป็นพระโอรพระองค์ที่ 14 จากบรรดาพระบุตร 20 พระองค์ของสุลต่านอับดุลฮามิด
ตุนกู อับดุล ระฮ์มัน มีพระเชษฐาร่วมพระมารดาคือ ร้อยเอกตุนกู ยูซุฟ (รับราชการในกรมตำรวจ) เพื่อนสนิทของพระยาอนุสาสน์พณิชย์การ
ตุนกู อับดุล ระฮ์มัน มีพระเชษฐาต่างพระมารดาคือ สุลต่านบาดิร ชาฮ์ (Sultan Badlishah) สุลต่านแห่งรัฐเกอดะฮ์องค์ที่ 26 (ค.ศ. 1943 – ค.ศ. 1958) ผู้เป็นพระราชบิดาของสมเด็จพระราชาธิบดี อัลมูตัสสิมู บิลลาฮี มูฮิบบุดดิน ตวนกู อัลฮัจญ์ อับดุล ฮาลิม มูฮัซซัม ชาห์ อิบนี อัลมาฮูม สุลต่าน บาดลิชาห์ สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งมาเลเซียลำดับที่ 5 และ 14 หรือสุลต่านตวนกู อับดุล ฮาลิม สุลต่านแห่งรัฐเกอดะฮ์องค์ที่ 27
สมรส
แก้ตุนกู อับดุล ระฮ์มัน ได้สมรสรวมทั้งหมด 4 ครั้ง ได้แก่
- ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2476 กับสตรีชาวไทยเชื้อสายจีนชื่อ ท่านผู้หญิงมาเรียม จง หรือมาเรียม อับดุลละห์ (Meriam Chong หรือ Meriam Abdullah) มีบุตร 2 พระองค์คือ ตุนกู คาดีจะฮ์ (Tunku Khadijah) และตุนกู อะฮ์มัด เนอรัง (Tunku Ahmad Nerang) และพระชายาคนแรกมาเรียม จง ได้เสียชีวิตลงในปี พ.ศ. 2478
- ครั้งที่สอง สมรสใหม่ที่อังกฤษกับสตรีชาวอังกฤษที่ชื่อว่า ไวโอเลต คอลสัน (Violet Coulson) แต่ได้หย่าร้างกันในปี พ.ศ. 2489
- ครั้งที่สามในปี พ.ศ. 2482 กับสตรีเชื้อสายอาหรับและมลายู ชื่อชารีฟะฮ์ โรเซียะฮ์ บินตี ไซยิด อัลวี บารักบะฮ์ (Sharifah Rodziah binti Syed Alwi Barakbah) ที่ต่อมากลายเป็นสุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งของมาเลเซียในเวลาต่อมาที่ท่านดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี มีพระบุตรธิดา 4 ท่าน คือ ซูไลมัน (Sulaiman), มาเรียม (Mariam), ชารีฟะฮ์ ฮานีซะฮ์ (Sharifah Hanizah) และฟารีดะฮ์ (Faridah)
- ครั้งที่สี่ กับสตรีเชื้อสายจีน ชื่อบีบี จง (Bibi Chong) มีพระบุตร 2 พระองค์ คือ ตุนกู นูร์ ฮายาตี (Tunku Noor Hayati) และตุนกู มัซตูรา (Tunku Mastura)[ต้องการอ้างอิง]
อับดุล ระฮ์มัน สิ้นพระชนม์ เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2533 ที่กัวลาลัมเปอร์ สิริพระชันษา 87 ปี พระศพถูกฝังที่ the Langgar Royal Mausoleum ในเมืองอาโลร์เซอตาร์ รัฐเกอดะฮ์
ประวัติการศึกษา
แก้เมื่อปี พ.ศ. 2452 (ค.ศ. 1909) ตุนกู อับดุล ระฮ์มัน ทรงได้เข้าศึกษาในชั้นประถมมลายู (Malay Primary School) ที่ถนนบาฮารู (Jalan Baharu) ในเมืองอาโลร์เซอตาร์ ประเทศมาเลเซีย ต่อด้วยเข้าเรียนต่อที่โรงเรียนในปกครองของอังกฤษ ซึ่งปัจจุบันเป็นวิทยาลัยสุลต่านอับดุลฮามิด
ตุนกู อับดุล ระฮ์มัน ทรงเป็นนักเรียนเก่าของโรงเรียนมัธยมเทพศิรินทร์ (ท.ศ.1233) ในปี พ.ศ. 2456 ขณะที่มีพระชันษาเพียง 10 ขวบ ถูกส่งตัวมาเรียนหนังสือที่กรุงเทพมหานคร ร่วมกับพระเชษฐาอีก 3 พระองค์ ทรงเข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนเทพศิรินทร์ ในกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย โดยมีพระสหายร่วมรุ่นและพระสหายสนิท คือ หลวงถวิลเศรษฐพณิชยการ (ถวิล คุปตารักษ์) (อดีตปลัดกระทรวงพาณิชย์ของไทย ช่วง พ.ศ. 2498-2503) เรียนอยู่ที่โรงเรียนเทพศิรินทร์ 2 ปี จนถึงปี พ.ศ. 2456-2458 ต่อมาปี พ.ศ. 2458 เข้าเรียนต่อที่โรงเรียนปีนังฟรีสกูล (Penang Free School)
ปี พ.ศ. 2461 ทรงเป็นนักเรียนคนแรกที่ได้ทุนจากรัฐบาลของรัฐเกอดะฮ์ ที่ไปศึกษาในสหราชอาณาจักร ไปศึกษาต่อที่วิทยาลัยเซนต์แคทรีน (St Catharine's College) ในมหาวิทยาลัยแคมบริดจ์ และได้รับปริญญาบัณฑิตสาขาศิลปศาสตร์ ในปี ค.ศ. 1925
หลังจากกลับมาจากอังกฤษทรงได้ทำงานอยู่ช่วงเวลาหนึ่ง ได้ทรงเดินทางไปศึกษาวิชากฎหมายต่อ ที่ Inner Temple ที่ประเทศอังกฤษ แต่ต้องหยุดเรียน ในปี ค.ศ. 1938 เนื่องจากช่วงนั้นได้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2ขึ้น ทำให้พระองค์ต้องทรงหยุดเรียนและเสด็จกลับมาที่มาเลเซีย หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง ในปี ค.ศ. 1947 จึงเสด็จกลับไปศึกษาที่ Inner Temple อีก และจบการศึกษาในปี ค.ศ. 1949
ประวัติการทำงาน
แก้หลังทรงจบการศึกษาอับดุลระฮ์มันเข้ารับราชการในเกอดะฮ์ และได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าหน้าที่ปกครองที่เขตกูลิม (Kulim) และซูไงเปอตานี (Sungai Petani) ในอาณานิคมของสหราชอาณาจักร ได้รับเลือกให้เป็นประธานของสมาคมมลายูของสหราชอาณาจักร (the Malay Society of Great Britain)
ปี ค.ศ. 1949 ในช่วงแรกของอาชีพนักการเมือง พระองค์ได้เข้ารับงานราชการเป็นที่แรกที่สำนักงานกฎหมายของเมืองอาโลร์เซอตาร์ ต่อมาเมื่อทรงได้รับการแต่งตั้งเป็นอัยการก็มีคำสั่งให้ย้ายไปประจำที่ กัวลาลัมเปอร์ และหลังจากนั้นก็ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นประธานศาล ในช่วงเวลานั้นได้มีกลุ่มลัทธิชาตินิยมในมลายู ในการต่อต้านสหภาพมาลายาของอังกฤษ (Britain's Malayan Union) นำโดย ดาโต๊ะอันจาฟาร์ (Datuk Onn Jaafar) นักการเมืองของมาเลเซียที่เป็นผู้นำขององค์การประชาชาติมาเลเซียหรือพรรคแนวร่วมแห่งสหพันธ์มลายา (UMNO ที่เป็นพรรคการเมืองขนาดใหญ่ในมาเลเซีย) และพระองค์ตุนกู อับดุล ระฮ์มัน ได้สมัครเข้าร่วมกับพรรคอัมโน (UMNO) ทรงเป็นนักการเมืองเชื้อสายชาวมลายูที่ได้รับความนิยมและยอมรับจนได้รับการแต่งตั้งเป็นหัวหน้าสาขาของพรรคอัมโนในรัฐเกอดะฮ์
เดือนสิงหาคม ปี ค.ศ. 1951 เกิดวิกฤตทางการเมืองขึ้นทรงได้รับเลือกให้เป็นประธานพรรคแนวร่วมแห่งสหพันธ์มาลายา (UMNO) คนใหม่และทรงดำรงตำแหน่งเป็นเวลานานถึง 20 ปี และ จนในปี ค.ศ.1954 ทรงเป็นตัวแทนคณะผู้แทนเจรจาขอเอกราชมาเลเซียคืนจากสหราชอาณาจักร
ปี ค.ศ. 1955 มีการเลือกตั้งขึ้นเป็นครั้งแรก พรรคชนะการเลือกตั้งได้เสียงข้างมากแบบถล่มทลายในสภา พระองค์ได้รับเลือกให้เป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกของประเทศมาเลเซีย นับเป็นทางการตั้งแต่วันที่ 31 สิงหาคม ค.ศ. 1957 จนถึง 22 กันยายน ค.ศ. 1970 และหลังชัยชนะจากการเลือกตั้งพระองค์ยังทรงรณรงค์ต่อสู่เรียกร้องเอกราชคืนจากสหราชอาณาจักรอย่างต่อเนื่อง จนประสบความสำเร็จในเวลาต่อมา
31 สิงหาคม ค.ศ. 1957 เป็นวันที่สหพันธ์มาเลเซียได้รับอิสรภาพคืนจากอังกฤษ พระองค์ได้ทรงนำฝูงชน ไปตะโกนร้องว่า "Merdeka!" หมายถึง อิสรภาพ ต่อมาในปี ค.ศ. 1963 รวมรัฐซาบะฮ์และซาราวัก รวมทั้งสิงคโปร์เข้าด้วยกัน จึงเป็นประเทศมาเลเซียอย่างสมบูรณ์แบบ
ปี ค.ศ. 1961 ได้ร่วมเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งสมาคมอาเซียน (ASA - the Association of Southeast Asia) ที่ภายหลังในวันที่ 8 สิงหาคม ค.ศ. 1967 เปลี่ยนมาเป็น ASEAN (the Association of Southeast Asian Nations)
ในด้านศาสนา ทรงเป็นผู้ริเริ่มงานให้กับศาสนาอิสลามในรัฐเกอดะฮ์ มาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1951 จนพัฒนาความคิดต่อยอด จัดตั้งองค์กร Islamic Welfare Organisation (PERKIM) ในปี ค.ศ. 1960 ทรงได้รับการแต่งตั้งเป็นประธานของ PERKIM จนถึงปี ค.ศ. 1989 รวมทั้งใน ค.ศ. 1969 มีส่วนช่วยในการจัดตั้ง the Organisation of Islamic Conference (OIC) และจัดตั้งธนาคารเพื่อการพัฒนาอิสลามขึ้น (the Islamic Development Bank) และได้รับการแต่งแต่งเป็นผู้นำเป็นประธานของ the Regional Islamic Da’wah council of South East Asia and Pacific (RISEAP) ตั้งแต่ปี ค.ศ.1982-1988
ในด้านการกีฬาทรงส่งเสริมสนับสนุนให้มาเลเซีย จัดการแข่งขันกีฬาระดับนานาชาติขึ้นมากมาย โดยเฉพาะการแข่งขันฟุตบอลเฉลิมฉลองเอกราชมาเลเซียหรือฟุตบอลเมเดก้า (an International football tournament ,the Pestabola Merdeka) ขึ้นในปี ค.ศ. 1957 หลังจากที่ได้เอกราชคืนจากอังกฤษ ทรงได้รับเลือกเป็นประธานคนแรกของสมาคมฟุตบอลอาเซียน (the Asian Football Confederation –AFC ) ดำรงตำแหน่งจนถึงปี ค.ศ. 1976
ในด้านกีฬาแข่งม้า ทรงชื่นชอบโปรดปรานชมและเล่นพนันเสี่ยงโชคเป็นประจำที่ the Selangor Turf Club
ในด้านสื่อสารมวลชน พระองค์ได้เข้าเป็นประธานของหนังสือพิมพ์ในปีนังที่ชื่อว่าThe Star เขียนคอลัมน์ “Looking Back”และ “As I see It”
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้เครื่องราชอิสริยาภรณ์มาเลเซีย
แก้เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
แก้- ไทย :
- พ.ศ. 2505 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 1 ปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.) (ฝ่ายหน้า)[5]
อ้างอิง
แก้- ↑ "Tunku Abdul Rahman, 87, Dead; First Prime Minister of Malaysia". New York Times. 7 December 1990. สืบค้นเมื่อ 25 June 2015.
- ↑ Cheah, Boon Kheng (2002). "The Tunku as "Founding Father of the Nation"". Malaysia: The Making of a Nation. Singapore: Institute of Southeast Asian Studies. pp. 109–110. ISBN 9812301542.
- ↑ สุลต่าน อับดุลฮามิด
- ↑ เกร็ดกระทู้ - ตอน ตุนกู อับดุล ระฮ์มัน สายสัมพันธ์สองแผ่นดิน
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ รวม ๒ เรื่อง, เล่ม 79, ตอน 71 ง, 7 สิงหาคม พ.ศ. 2505 , หน้า 1725
อ่านเพิ่ม
แก้- Case, William. "Comparative Malaysian Leadership: Tunku Abdul Rahman and Mahathir Mohamad". Asian Survey 31.5 (1991): 456–473. online เก็บถาวร 2022-10-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Liow, Joseph Chinyong. "Tunku Abdul Rahman and Malaya's Relations with Indonesia, 1957–1960". Journal of Southeast Asian Studies 36.1 (2005): 87-109.
- Miller, Harry. Prince and premier: a biography of Tunku Abdul Rahman Putra Al-Haj, first prime minister of the Federation of Malaya (GG Harrap, 1959).
- "Tunku Abdul Rahman, 87, dead, First Prime Minister of Malaysia", New York Times, Obituaries, 12 July 1990.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- tunkuabdulrahman.com เก็บถาวร 2012-10-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- The Tunku Abdul Rahman centennial PhD scholarship fund at Cambridge University
วิกิคำคม มีคำคมที่กล่าวโดย หรือเกี่ยวกับ ตุนกู อับดุล ระฮ์มัน