ศิลปะสมัยการโยกย้ายถิ่นฐาน

ศิลปะสมัยการโยกย้ายถิ่นฐาน (อังกฤษ: Migration Period art) เป็นงานศิลปะของกลุ่มชนเจอร์มานิคระหว่างสมัยการโยกย้ายถิ่นฐานในยุโรป ระหว่าง ค.ศ. 300 จนถึง ค.ศ. 900 ที่รวมทั้งศิลปะของกลุ่มชนเจอร์มานิคเองบนภาคพื้นยุโรป และ “ศิลปะไฮเบอร์โน-แซ็กซอน” หรือ “ศิลปะเกาะ” ซึ่งเป็นศิลปะผสานระหว่างศิลปะของชาวแองโกล-แซ็กซอน และ ชาวเคลต์บนหมู่เกาะบริติช ลักษณะของศิลปะก็ครอบคลุมหลายลักษณะตั้งแต่ “ลักษณะพหุรงค์” และ “ลายรูปสัตว์

ศิลปะสมัยการโยกย้ายถิ่นฐาน
Migration Period art
ส่วนหนึ่งของ: ศิลปะยุคกลาง

เข็มกลัดที่ใช้บนไหล่จากคริสต์ศตวรรษที่ 7
ที่พบที่สุสานฝังศพในเรือที่ซัตตันฮูในอังกฤษ
ประวัติศาสตร์ศิลปะ
ช่วงเวลา ค.ศ. 300 จนถึง ค.ศ. 900
ภูมิภาค ยุโรปเหนือ และ เกาะบริติช
เกี่ยวข้อง ศิลปะแองโกล-แซ็กซอน,
ศิลปะไฮเบอร์โน-แซ็กซอน,
ศิลปะเคลติก
ศิลปะตะวันตก

ศิลปะสมัยการโยกย้ายถิ่นฐานเป็นสมัยประวัติศาสตร์ศิลปะที่สำคัญของศิลปะยุคกลาง

ที่มา แก้

ในคริสต์ศตวรรษที่ 3 จักรวรรดิโรมันก็แทบจะล่ม และทหารในกองทัพส่วนใหญ่ก็เป็นทหารเจอร์มานิคเพิ่มขึ้นทุกขณะ ดังนั้นเมื่อถึงคริสต์ศตวรรษที่ 4 เมื่อชนฮั่นรุกรานเข้ามาจนชนเผ่าเยอรมันต่างต้องถอยร่นไปทางตะวันตก ไปตั้่งถิ่่นฐานอยู่ตามชายแดนของจักรวรรดิ ชาววิซิกอธเข้าไปตั้่งถิ่่นฐานอยู่ในอิตาลี และต่อมาสเปน ส่วนทางตอนเหนือก็มีชาวแฟรงค์เข้าไปตั้่งถิ่่นฐานอยู่ในกอลและทางตะวันตกของเยอรมนี และในคริสต์ศตวรรษที่ 5 กลุ่มชาวสแกนดิเนเวียที่รวมทั้งแองเกิลส์, แซ็กซอน และ จูตก็เดินทางข้ามไปรุกรานบริเตน เมื่อมาถึงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 6 จักรวรรดิโรมันตะวันตกก็แทบจะแทนที่ด้วยกลุ่มชนที่มีขนาดเล็กกว่าที่มีอำนาจทางการเมืองที่ไม่เป็นระเบียบแบบแผน แต่ก้าวร้าวของราชอาณาจักรเจอร์มานิคต่างๆ

แม้ว่าราชอาณาจักรเหล่านี้จะมีเชื้อชาติพันธุ์ที่ต่างกัน แต่ต่างก็มีวัฒนธรรมบางอย่างที่ร่วมกัน เดิมทีชนกลุ่มนี้มีวิถีชีวิตแบบชนร่อนเร่แต่ต่อมาก็เริ่มตั้่งถิ่่นฐานอย่างเป็นการถาวรกันมากขึ้น และกลายเป็นเกษตรกรและคนหาปลา หลักฐานทางโบราณคดีไม่ปรากฏว่ามีการสร้างงานศิลปะชิ้นใหญ่กันขึ้น เช่นสิ่งก่อสร้างหรือประติมากรรมชิ้นใหญ่ๆ แต่จะเป็นศิลปะแบบ “เคลื่อนที่” สำหรับการใช้สอย เช่นอาวุธ , เครื่องมือ และ เครื่องประดับ ศิลปะของชนเจอร์มานิคแทบทั้งหมดจะเป็นเครื่องประดับส่วนตัว, เคลื่อนที่ได้ และ นำติดตัวไปกับร่างเมื่อฝัง เพื่อที่จะเป็นสักการะวิญญาณเพื่อที่ให้ช่วยพิทักษ์ผู้ที่ยังคงมีชีวิตอยู่

ศิลปะของชนเจอร์มานิคมีลักษณะเด่นอยู่สามอย่างคือ “ลักษณะพหุรงค์” (polychrome style) ที่มาจากกอธผู้ตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณทะเลดำ และ “ลายรูปสัตว์” (Animal style) ที่พบในสแกนดิเนเวีย, ทางตอนเหนือของเยอรมนี และ ในบริเวณแองโกล-แซ็กซอนอังกฤษ และสุดท้ายก็คือ “ลักษณะไฮเบอร์โน-แซ็กซอน” ที่เกิดเพียงชั่วระยะเวลาอันสั้นแต่ก็เป็นสมัยศิลปะที่รุ่งเรืองที่แสดงการผสานระหว่าง “ลักษณะสัตว์” , เคลติก และ ลวดลายและกรรมวิธีการสร้างงานต่างๆ เข้าด้วยกัน

ศิลปะสมัยการโยกย้ายถิ่นฐาน แก้

 
เครื่องประดับเข็มขัดอลามานนิจากสุสานคริสต์ศตวรรษที่ 7 ลานสุสานที่ไวน์การ์เตน, เวือร์ทเทิมแบร์คในประเทศเยอรมนี

ลักษณะพหุรงค์ แก้

ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 2 ชาวกอธทางตอนใต้ของรัสเซียก็เริ่มนิยมการสร้างรูปลักษณ์ขนาดเล็ก และ สิ่งของที่มีการฝังประดับด้วยหินมีค่า ลักษณะดังกล่าวที่มาจากชาวซิเธียน และ ชาวซาร์มาเชียนมีอิทธิพลจากโรมันอยู่บ้าง และ เป็นลักษณะเดียวกันกับที่นิยมโดยชาวฮั่น งานชิ้นที่อาจจะมีชื่อเสียงที่สุดเป็นงานที่เป็นส่วนหนึ่งของสมบัติเปียโตรอาเซเลของคริสต์ศตวรรษที่ 4 ทีพบในโรมาเนีย ที่รวมทั้งเข็มกลัดอินทรีทอง (ภาพ เก็บถาวร 2007-01-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน) ลายอินทรีมาจากเอเชียตะวันออกที่เกิดขึ้นจากการแลกเปลี่ยนติดต่อระหว่างบรรพบุรุษชาวกอธและจักรวรรดิฮั่นในอดีต เช่นในหัวเข็มขัดพหุรงค์ของกอธิคที่เป็นรูปหัวเหยี่ยวของคริสต์ศตวรรษที่ 4 (ภาพ เก็บถาวร 1999-10-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน) จากทางตอนใต้ของรัสเซีย

ชาวกอธนำลักษณะงานนี้ไปยังอิตาลี, ฝรั่งเศสตอนใต้ และ สเปน ตัวอย่างสำคัญก็ได้แก่เข็มกลัดตรึงอินทรีของออสโตรกอธจากเซเซนาในอิตาลี งานอีกชิ้นหนึ่งก็คือมงกุฎสักการะพหุรงค์ของวิซิกอธ (ภาพ เก็บถาวร 1999-10-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน) ของพระเจ้าเรคเซสวินธ์พระมหากษัตริย์แห่งโทเลโด ที่พบในกรุสมบัติมงกุฎสักการะของราวปี ค.ศ. 670 ที่ Fuente de Guarrazar ไม่ไกลจากเมืองโทเลโดในประเทศสเปน ความนิยมอันแพร่หลายของงานลักษณะนี้จะเห็นได้จากดาบพหุรงค์ (ภาพ เก็บถาวร 1999-10-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน) ที่พบในที่บรรจุพระบรมศพของพระมหากษัตริย์แฟรงค์ชิลเดอริคที่ 1 ทางตอนเหนือของเทือกเขาแอลป์ในคริสต์ศตวรรษที่ 5

ลายรูปสัตว์ แก้

การศึกษาการตกแต่งด้วยลวดลายรูปสัตว์เริ่มขึ้นโดยแบร์นฮาร์ด ซาลินเมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ซาลินจัดกลุ่มลายรูปสัตว์ของงานที่สร้างระหว่างปี ค.ศ. 400 ถึงปี ค.ศ. 900 ออกเป็นสามช่วง: แบบสแกนดิเนเวีย I, II และ III สำหรับศิลปะสมัยการโยกย้ายถิ่นฐานสองลักษณะแรกเป็นลักษณะที่สำคัญ

แบบสแกนดิเนเวีย I เริ่มปรากฏขึ้นทางตะวันตกเฉียงเหนือของยุโรป ที่อาจจะมาจากธรรมเนียมนิยมของประชากรร่อนเร่ของทุ่งหญ้าสเตปป์ของเอเชีย ลักษณะเริ่มวิวัฒนาการมาเป็นลักษณะใหม่โดยการใช้เทคนิคการแกะที่เรียกว่า “chip carving” มาใช้กับการแกะสำริดและเงินในคริสต์ศตวรรษที่ 5 การตกแต่งลายรูปสัตว์ก็จะเป็นตามขอบงานที่เป็นลายบิด, เกินเลยลักษณะที่เป็นจริง, เหนือจริง, เป็นชิ้นส่วนของร่างกายที่ตกแต่งเต็มพื้นที่ยังว่างอยู่ทั้งหมด ที่เป็นการสร้างลวดลายที่แน่นไปด้วยลายละเอียดและสร้างความรู้สึกว่าเป็นภาพที่เต็มไปด้วยพลัง ตัวอย่างของงานดังกล่วก็เช่นด้ามดาบเวนเดิลจากหลุม V, Snartemo Hägebostad, Vest Agder, นอร์เวย์ และเข็มกลัดตรึง (ภาพ เก็บถาวร 2006-06-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน) จาก เกาะโอลแลนด์ของราว ค.ศ. 400 ถึง ค.ศ. 450

แบบสแกนดิเนเวีย II หลังจากราว ค.ศ. 600 แบบสแกนดิเนเวีย I ก็เริ่มเสื่อมโทรมลง และแบบสแกนดิเนเวีย II ก็เข้ามาแทนที่ รูปลักษณ์ของลายสัตว์ที่เป็นแบบเหนือจริงและเป็นชิ้นส่วนของแบบสแกนดิเนเวีย I ก็หายไป สัตว์ในแบบที่ II เป็นสัตว์ทั้งตัว, ยาว และสอดประสานกันเป็นทรงที่มีความสมมาตร เช่นหมีสองตัวหันหน้าเข้าหากันอย่างมีความสมมาตรเป็นทรงรูปหัวใจ ตัวอย่างของงานลักษณะนี้ก็ได้แก่ฝากระเป๋าทอง (ภาพ) จากซัททันฮู (ราว ค.ศ. 625)

อิทธิพลของศิลปะคริสต์ศาสนา แก้

สถาบันศาสนาในสมัยการโยกย้ายถิ่นฐานในยุโรปตอนต้นกลายมาเป็นสถาบันที่เป็นตัวแทนของอำนาจของชาติในยุโรปหลังจากการล่มสลายของจักรวรรดิโรมัน สถาบันศาสนาเป็นแหล่งที่เป็นองค์ประกอบของความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และเป็นสถาบันเดียวที่ยังเหลืออยู่ที่ทำการอนุรักษ์วัฒนธรรมคลาสสิกเอาไว้ เมื่อการเปลี่ยนชนเจอร์มานิคในยุโรปตะวันตกให้มานับถือคริสต์ศาสนาในคริสต์ศตวรรษที่ 7 ใกล้จะสิ้นสุดลง สถาบันศาสนาก็กลายมามีบทบาทสำคัญในการเป็นผู้อุปถัมภ์ศิลปะ, จ้างงานเขียนหนังสือวิจิตรและวัสดุอุปกรณ์สิ่งของทางศาสนา หลักฐานระบุว่าลักษณะงานแบบเจอร์มานิคเสื่อมถอยลงไป ขณะที่ลักษณะแบบเมดิเตอเรเนียนเริ่มมีอิทธิพลให้เห็นมากขึ้น ความเปลี่ยนแปลงนี้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในบรรดาชาวกอธในอิตาลีและสเปน แต่ช้ากว่าทางตอนเหนือของยุโรป ที่เห็นได้จาก “หนังสือประกอบพิธีเจลาเซียน” เมโรแว็งเชียงของคริสต์ศตวรรษที่ 8 ที่ไม่มีร่องรอยของแบบสแกนดิเนเวีย II แต่แสดงอิทธิพลของแบบเมดิเตอเรเนียน

ศิลปะไฮเบอร์โน-แซ็กซอน แก้

ศิลปะไฮเบอร์โน-แซ็กซอน (ที่มักจะเรียกกันว่า “ศิลปะเกาะ” โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับหนังสือวิจิตร) เป็นลักษณะของงานศิลปะที่พบเฉพาะในบริเตนใหญ่และไอร์แลนด โดยการผสานระหว่างธรรมเนียมนิยมของเจอร์มานิค (ผ่านทางแองโกล-แซ็กซอน) กับธรรมเนียมนิยมของเคลติก (ผ่านทางนักบวชชาวไอร์แลนด์) งานลักษณะนี้เห็นกันเป็นครั้งแรกในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 7 และดำเนินต่อมาในบริเตนอีกเป็นเวลาราว 150 จนกระทั่งเมื่อมาถูกรุกรานโดยไวกิงในคริสต์ศตวรรษที่ 9 (หลังจากนั้นก็เป็นการเริ่มต้นของศิลปะแองโกล-แซ็กซอน) แต่ในไอร์แลนด์งานลักษณะนี้ดำเนินต่อมาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 12 (หลังจากนั้นก็เป็นศิลปะโรมาเนสก์)

ประวัติ แก้

 
เข็มกลัดตรึงเจอร์มานิค, ครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 4

ไอร์แลนด์เปลี่ยนไปนับถือคริสต์ศาสนาโดยคณะนักเผยแพร่ศาสนาจากบริเตนและแผ่นดินใหญ่ยุโรปที่เริ่มต้นขึ้นในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 5 ขณะเดียวกันกับที่เพกันชาวแองเกิลส์, แซ็กซอน และ จูตเข้ามาตั้งถิ่นฐานในอังกฤษ ความแตกแยกอย่างรุนแรงทางการเมืองในไอร์แลนด์และความขาดการพัฒนาเมืองเป็นการจำกัดโครงสร้างทางการปกครองโดยสถาบันศาสนา สำนักสงฆ์จึงวิวัฒนาการขึ้นมาเป็นอำนาจอันสำคัญของสังคมของไอร์แลนด์ซึ่งทำให้เกิดลักษณะงานศิลปะที่เรียกว่างานศิลปะคริสต์ศาสนาของไอร์แลนด์

นอกจากนั้นแล้วคริสต์ศาสนาของไอร์แลนด์ก็ยังเน้นกิจการต่างที่เกี่ยวข้องกับการเผยแพร่คริสต์ศาสนา ราว ค.ศ. 563 นักบุญโคลัมบาก่อตั้งฐานบนเกาะไอโอนาของสกอตแลนด์ จากที่นั่นโคลัมบาก็ทำการเปลี่ยนชาวพิคท์ที่เป็นเพกันให้มานับถือคริสต์ศาสนา การก่อตั้งสำนักสงฆ์กลายมาเป็นศูนย์กลางสำคัญของวัฒนธรรมคริสเตียนทางตอนเหนือของบริเตนต่อมาอีกเป็นเวลานาน ต่อมากลุ่มนักบวชโคลัมบาก็ย้ายไปยังนอร์ทธัมเบรีย ในปี ค.ศ. 635 ไปก่อตั้งสำนักสงฆ์บนเกาะลินดิสฟาร์น ที่ใช้เป็นฐานในการทำการเปลี่ยนศาสนาในประชาคมทางตอนเหนือของอังกฤษ แต่โรมก็ได้เริ่มทำการเปลี่ยนศาสนาของชาวแองโกล-แซ็กซอนจากทางตอนใต้โดยมีฐานอยู่ที่เค้นท์ในปี ค.ศ. 597 ความขัดแย้งระหว่างนักบวชไอร์แลนด์และนักบวชจากโรมเกี่ยวกับวันที่จะสมโภชน์อีสเตอร์นำไปสู่การถอนตัวของขบวนการเผยแพร่ศาสนาไอร์แลนด์จากเกาะลินดิสฟาร์นกลับไปยังเกาะไอโอนา แต่ความนิยมในการใช้การตกแต่งแบบไอร์แลนด์ในศิลปะที่สร้างขึ้นในอังกฤษเป็นการแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมทั้งสอง อังกฤษมาได้รับอิทธิพลจากเมดิเตอเรเนียนเพิ่มขึ้น แต่หลังจากที่ศิลปะเคลติกไอร์แลนด์ และศิลปะแองโกล-แซ็กซอนได้ผสานเข้ามาเป็นอย่างมากแล้ว

งานชิ้นสำคัญที่เรียกได้ว่าเป็นศิลปะไฮเบอร์โน-แซ็กซอนที่แท้จริงคือ “พระวรสารเดอร์โรว์” ของปลายคริสต์ศตวรรษที่ 7 หลังจากนั้นก็เป็นยุคทองของงานโลหร และ งานแกะสลักหิน ในคริสต์ศตวรรษที่ 9 ศิลปะไฮเบอร์โน-แซ็กซอนก็เกือบถึงจุดสิ้นสุดเมื่อมาถูกรุกรานโดยการปล้นฆ่าของไวกิง และอิทธิพลของรูปลักษณ์จากเมดิเตอเรเนียนที่เพิ่มขึ้นทุกขณะ

หนังสือวิจิตร แก้

 
พระวรสารเดอร์โรว์” งานหนังสือวิจิตรไอร์แลนด์ของคริสต์ศตวรรษที่ 7 เป็นงานชิ้นแรกที่ชิ้นหนึ่งของศิลปะไฮเบอร์โน-แซ็กซอน (หอสมุดทรินิตี, ดับลิน)

ศิลปะไอริชเคลติกตั้งแต่ยุคเหล็กเป็นต้นมาจะเป็นศิลปะที่มีอิทธิพลจากงานโลหะของวัฒนธรรมลาเทเนอชามแขวนเคลติกเช่นที่พบที่ซัททันฮูเป็นงานลักษณะหนึ่งที่สำคัญที่สุดของศิลปะหัตถกรรมประเภทนี้ เมื่อนักสอนศาสนาไอร์แลนด์เริ่มเข้ามาเผยแพร่พระวจนะ ก็จะเป็นที่จะต้องมีหนังสือ และแทบจะตั้งแต่เริ่มต้นนักบวชก็เริ่มตกแต่งประกอบเนื้อหาที่เป็นตัวเขียนด้วยงานศิลปะที่เลียนแบบมาจากลวดลายของงานโลหะ การตกแต่งอักษรตัวแรกให้ผสานกับลายโค้งงอพันไปมารอบตัวอักษร—ที่พบเช่นในงานเขียนหนังสือวิจิตร “หนังสือสวดมนต์โคลัมบา” ของคริสต์ศตวรรษที่ 7—เป็นงานที่นำลวดลายเครื่องเคลือบเคลติกและงานโลหะลาเทเนอมาใช้โดยตรง

หลังจาก “หนังสือสวดมนต์โคลัมบา” การตกแต่งหนังสือก็เริ่มที่จะซับซ้อนขึ้นและมีการนำลักษณะรูปแบบใหม่จากวัฒนธรรมต่างๆ เข้ามาผสาน หน้าลายพรมs—หน้าหนังสือที่ตกแต่งด้วยลวดลายทั้งหน้าโดยไม่มีบทเขียนใดใด—ก็เริ่มนำมาใช้ โดยเฉพาะเป็นหน้าคั่นระหว่างพระวรสาร ลวดลายเรขาคณิตและลายสอดประสานที่ทำกันอาจจะมีอิทธิพลมาจากค็อพท์อียิปต์ หรือแหล่งอื่นในตะวันออกกลาง ส่วนความนิยมในการใช้รูปสัตว์ในการตกแต่งที่เพิ่มมากขึ้นก็อาจจะมาจากอิทธิพลของลายรูปสัตว์ของแองโกล-แซ็กซอน อิทธิพลต่างๆ เหล่านี้รวมเข้ากันเป็นลักษณะงานศิลปะที่อาจจะเรียกว่าศิลปะไฮเบอร์โน-แซ็กซอนใหม่ เช่นในงานหนังสือวิจิตร “พระวรสารเดอร์โรว์” ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 7 ซึ่งเป็นงานแรกที่ใช้ลักษณะดังกล่าว “พระวรสารลินดิสฟาร์น” ก็เป็นตัวอย่างสำคัญอีกตัวอย่างหนึ่ง

พระวรสารเคลล์ส” อาจจะเขียนขึ้นที่ไอโอนาในคริสต์ศตวรรษที่ 8 เมื่อนักบวชหนีการรุกรานของไวกิงไปยังไอร์แลนด์หลในปี ค.ศ. 807 ก็อาจจะนำพระวรสารเล่มนี้ติดตัวไปยังเคลล์สในไอร์แลนด์ด้วย “พระวรสารเคลล์ส” เป็นหนังสือที่ตกแต่งอย่างงดงามแพรวพราวด้วยตามแบบฉบับของหนังสือวิจิตรแบบศิลปะไฮเบอร์โน-แซ็กซอน และเป็นหนังสือที่ประกอบด้วยกรรมวิธีและลวดลายต่างๆ ที่ใช้กันในคริสต์ศตวรรษที่ 8

งานโลหะ แก้

ในคริสต์ศตวรรษที่ 7 งานโลหะที่ใช้กรรมวิธีใหม่เช่นการใช้ลายทองถักที่ทำให้สามารถสร้างงานที่มีความละเอียดขึ้นก็เริ่มเป็นที่นิยมทำกัน ตัวอย่างที่สำคัญที่สุดของศิลปะเกาะก็ได้แก่เข็มกลัดทารา และ ถ้วยอาร์ดาห์ ขณะที่เครื่องประดับอัญมณีของคริสต์ศตวรรษที่ 7 เรือศพที่พบที่ในสุสานซัททันฮูแสดงให้เห็นถึงงานศิลปะแองโกล-แซ็กซอนที่สร้างขึ้นก่อนสมัยคริสเตียน งานหลากหลายที่พบที่ซัททันฮูเป็นงานที่แสดงให้เห็นถึงความเชี่ยวชาญต่างๆ ของช่างทองในงานแต่ละชิ้น ที่รวมทั้งการประดับตกแต่งโดยวัสดุหลายอย่าง, การแกะสลัก, การตกแต่งด้วยทองถัก, คลัวซอนเน และ หินควอตซ์

ประติมากรรมหิน แก้

ฝีมือในการสร้างงานโลหะเห็นได้ในงานประติมากรรมแกะสลักหิน ประเพณีไอร์แลนด์ที่รุ่งเรืองอยู่หลายร้อยปีนิยมที่จะติดตั้งกางเขนที่ทำด้วยไม้ภายในคริสต์ศาสนสถาน กางเขนแปลงไปเป็นกางเขนที่สลักด้วยหินที่เรียกว่ามหากางเขนที่ตกแต่งด้วยลวดลายกระหวัดอันละเอียดซับซ้อนที่ใช้โดยช่างทอง

อ้างอิง แก้

ดูเพิ่ม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

  วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ ศิลปะสมัยการโยกย้ายถิ่นฐาน