เข็มกลัดทารา (อังกฤษ: Tara Brooch) เป็นงานชิ้นสำคัญที่สุดชิ้นหนึ่งของศิลปะสมัยคริสเตียนยุคแรกศิลปะเกาะของไอร์แลนด์ เข็มกลัดทาราที่สร้างขึ้นเมื่อราว ค.ศ. 700 เป็นเข็มกลัดประดับที่มีขนาดยาว 7 นิ้ว ทำด้วยเงินชุบทองตกแต่งด้วยลวดลายลายสอดประสาน หรือ ปมเคลติคอย่างละเอียด ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ประคำมีรูปลักษณ์ของหัวสุนัขป่าและมังกรกว่ายี่สิบหัว

งานศิลปะ/โบราณคดี
“เข็มกลัดทารา”
Tara Brooch

เข็มกลัดทารา
เข็มกลัดประดับ
ราว ค.ศ. 700
พบเมื่อเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1850
ศิลปะเกาะ
พิพิธภัณฑ์แห่งชาติแห่งไอร์แลนด์, ดับลิน
เครื่องประดับ

การออกแบบและกรรมวิธีของการสร้างงานชิ้นนี้ที่รวมทั้งการทำลายทองถักและการฝังประดับด้วยทองคำ, เงิน, ทองแดง, อำพัน และ แก้วเป็นงานฝีมือชั้นดี และแสดงถึงความก้าวหน้าของงานช่างทองในไอร์แลนด์ในคริสต์ศตวรรษที่ 7 โครงสร้างเป็นเชิงวงแหวนที่หมายความว่าเป็นแบบที่มิได้ออกเพื่อใช้เป็นเครื่องตรึงรัดเสื้อผ้า แต่เป็นเครื่องประดับโดยเฉพาะ เข็มกลัดทาราก็เช่นเดียวกับเข็มกลัดอื่น ๆ ในยุคเดียวกันที่ไม่มีรูปสัญลักษณ์ทางศาสนาของทั้งคริสเตียนหรือเพกัน และสร้างขึ้นสำหรับผู้มีฐานะดีและเกือบจะเป็นที่แน่นอนคือเป็นชาย เพื่อใช้เป็นเครื่องแสดงฐานะ

เข็มกลัดตั้งชื่อตามชื่อเนินทาราซึ่งเป็นที่สถิตย์ของประมุขแห่งกษัตริย์ไอร์แลนด์ (High Kings of Ireland) ในตำนาน แต่ตัวเข็มกลัดเองไม่มีหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับทั้งเนินและประมุขแห่งกษัตริย์ เข็มกลัดพบเมื่อเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1850 ที่หาดเบ็ตตีสทาวน์ไม่ไกลจากเลย์ทาวน์ เคานตี้มีธ ผู้พบเป็นหญิงชาวนาหรือลูกชายสองคนผู้อ้างว่าพบในกล่องที่ฝังไว้ในทราย แต่มีหลายคนที่เชื่อกันว่ามิได้พบที่หาด แต่ลึกเข้าไป แต่ที่อ้างว่าพบที่หาดก็เพื่อจะหลีกเลี่ยงปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับผู้ที่เป็นเจ้าของที่ดิน ต่อมาก็ถูกขายให้แก่นักซื้อขายของเก่าผู้ตั้งชื่อใหม่ให้ขลังว่า “เข็มกลัดทารา”[1]

อ้างอิง แก้

  1. Accounts of the brooch's origins and discovery vary - see Exhibition image and decription , also Lynch, Michelle, "Delicate Irish Treasure" in NOW magazine, January 25-31, 2007, V. 26 N. 21, and Orpen, Elizabeth, "The Tara Brooch and the Shrine of St. Patrick's Bell" เก็บถาวร 2008-05-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน in Stories about Famous Stones

บรรณานุกรม แก้

  • Boltin, Lee, ed.: Treasures of Early Irish Art, 1500 B.C. to 1500 A.D.: From the Collections of the National Museum of Ireland, Royal Irish Academy, Trinity College, Dublin, Metropolitan Museum of Art, 1977, ISBN 0-8709-9164-7.
  • Susan Youngs (ed), "The Work of Angels", Masterpieces of Celtic Metalwork, 6th-9th centuries AD, 1989, British Museum Press, London, ISBN 0714105546

ดูเพิ่ม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้