ศรีศักร วัลลิโภดม
ศาสตราจารย์พิเศษ ศรีศักร วัลลิโภดม (เกิด 2 มิถุนายน พ.ศ. 2481)[1] เป็นนักวิชาการด้านโบราณคดีและมานุษยวิทยาชาวไทย เจ้าของ"รางวัลวัฒนธรรมเอเชียฟูกูโอกะ" ประจำปี พ.ศ. 2550 เป็นผู้ทำงานศึกษาค้นคว้าและเรียบเรียงงานวิชาการ ที่เป็นประโยชน์ต่อการศึกษาค้นคว้าทางประวัติศาสตร์โบราณคดีและมานุษยวิทยาไว้อย่างมากมาย และ เป็นบรรณาธิการ"นิตยสารเมืองโบราณ" เป็นเมธีวิจัยอาวุโส สำนักงานสนับสนุนการวิจัย เป็นคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร เป็นที่ปรึกษา"มูลนิธิเล็กประไพ วิริยะพันธุ์"
ศรีศักร วัลลิโภดม | |
---|---|
ศรีศักรในการบรรยายที่แพร่งภูธรเมื่อ พ.ศ. 2553 | |
เกิด | 2 มิถุนายน พ.ศ. 2481 จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม |
นามปากกา | ศรีศักร |
อาชีพ | นักเขียน, นักวิชาการ, นักประวัติศาสตร์ |
สัญชาติ | ไทย |
ช่วงปีที่ทำงาน | พ.ศ. 2514 - ปัจจุบัน |
ศรีศักรสนใจศึกษาแหล่งโบราณคดีในภูมิภาคต่างๆ ของประเทศไทย โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคอีสาน สามารถเขียนบทความและบรรยายได้อย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับความเป็นมาของชุมชนในแอ่งอารยธรรมแห่งนี้ โดยใช้การแบ่งเขตตามสภาพภูมิศาสตร์ที่สัมพันธ์กับลักษณะทางวัฒนธรรม และยังมีผลงานที่ได้รับการจัดพิมพ์อีกเป็นจำนวนมากเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ โบราณคดี และมานุษยวิทยา[2]
ประวัติ
แก้ศรีศักรเกิดที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2481 เป็นบุตรชายของมานิต วัลลิโภดม อดีตหัวหน้ากองโบราณคดี กรมศิลปากร และรจนา วัลลิโภดม จบการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาภาษาอังกฤษและฝรั่งเศส จากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ต่อมาได้ทำงานเป็นอาจารย์สอนวิชาประวัติศาสตร์ไทย ที่คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร และได้ไปศึกษาต่อทางมานุษยวิทยาที่มหาวิทยาลัยเวสเทิร์นออสเตรเลีย
วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์พิเศษ สาขาวิชามานุษยวิทยา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ตั้งแต่วันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2551[3]
การทำงาน
แก้พ.ศ. 2514 สอนวิชามานุษยวิทยาที่คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นเวลาสองปี แล้วจึงไปเป็นอาจารย์ประจำภาควิชามานุษยวิทยา คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
พ.ศ. 2523 ได้รับเชิญไปสอนวิชาโบราณคดีประเทศไทยที่มหาวิทยาลัยคอร์แนล
พ.ศ. 2529 ได้รับเชิญไปร่วมงานค้นคว้าเกี่ยวกับชุมชนโบราณในประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่น กับนักวิชาการญี่ปุ่นที่ Centre for Southeast Asian Studies ของมหาวิทยาลัยเกียวโต และได้รับเชิญให้ไปร่วมประชุมและเสนอผลงานในการประชุมระหว่างประเทศที่สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น อังกฤษ นิวซีแลนด์ ฟิลิปปินส์ เกาหลีใต้ อินโดนีเซีย ศรีลังกา ฯลฯ[4]
การทำงานในคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ
แก้ศรีศักรได้เป็นกรรมการปฏิรูปประเทศภายหลังการชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ พ.ศ. 2553 ยุติลงในช่วงเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2553 โดยทำหน้าที่ยกร่างแผนปฏิบัติการที่สามารถนำไปปฏิบัติ และแก้ไขปัญหาความอยุติธรรมและความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้น คณะกรรมการดังกล่าวประกอบด้วยกรรมการ 19 คน ทำงานคู่ขนานไปกับสมัชชาปฏิรูปประเทศ[5]
ผลงานหนังสือ
แก้- โบราณคดีไทยในทศวรรษที่ผ่านมา (2525)
- กรุงศรีอยุธยาของเรา (2527)
- รายงานวิจัย เมืองโบราณในอาณาจักสุโทัย (2532)
- แอ่งอารยธรรมอีสาน:แฉหลักฐานโบราณคดีพลิกโฉมประวัติศาสตร์ไทย (2533)
- สยามประเทศ: ภูมิหลังของประเทศไทยตั้งแต่ยุคดึกดำบรรพ์จนถึงสมัยกรุงศรีอยุธยาราชอาณาจักรสยาม (2534)
- จ้วง:พี่น้องเผ่าไทยเก่าแก่ที่สุด (2536)
- เรือนไทย บ้านไทย (2537)
- พระเครื่องในเมืองสยาม (2537)
- สยามประเทศภูมิหลังของประเทศไทยตั้งแต่ยุคดึกดำบรรพ์จนถึงสมัยกรุงศรีอยุธยาอาณาจักรสยาม (2539)
- ความหมายของพระบรมธาตุในอารยธรรมสยามประเทศ (2539)
- มองอนาคต: บทวิเคราะห์เพื่อปรับเปลี่ยนทิศทางสังคมไทย นิธิ เอียวศรีวงศ์, ศรีศักร วัลลิโภดม, เอกวิทย์ ณ ถลาง (2538)
- พระที่นั่งสรรเพชรปราสาท (2538)
- ทัศนะนอกรีต: สังคม-วัฒนธรรม ปัจจุบันผันแปร (2543)
- กฎหมายตราสามดวงกับความเชื่อของไทย (2545)
- สังคมสองฝั่งโขงกับอดีตทางวัฒนธรรมที่ต้องลำเลิก (2545)
- อู่อารยยธรรมแหลมทอง คาบสมุทรไทย
(2546)
- ความหมายพระบรมธาตุในอารยธรรมสยามประเทศ (2546)
- ลุ่มนํ้าน่าน: ประวัติศาสตร์โบราณคดี ของ พิษณุโลก "เมืองอกแตก (2546)
- รัฐปัตตานีใน "ศรีวิชัย" เก่าแก่ว่ารัฐสุโขทัยในประวัติศาสตร์ (ประชุมงานค้นคว้าและวิจัยทางวิชาการของ ศรีศักร วัลลิโภดม และคณะ) (2547)
- ประวัติศาสตร์ โบราณคดี เมืองอู่ทอง (2548)
- เหล็ก "โลหปฏิวัติ" เมื่อ 2,500 ปีมาแล้ว: ยุคเหล็กในประเทศไทย : พัฒนาการทางเทคโนโลยีและสังคม (2548)
- การเมือง "อุบายมารยา" แบบ มาคิอาเวลลี (Macchiavelli) ของพระเจ้าปราสาททอง: พระราชกระทู้ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 และคำสนองพระราชกระทู้ของพระยาโบราณราชธานินทร์ (พร เดชะคุปต์)
(2549)
- ไฟใต้ฤๅจะดับ ? (2550)
- เล่าขานตำนานใต้ (2550)
- กับดักสัตว์ไทยประดิษฐ์ ภูมิปัญญาชาวบ้าน กับดักวิถี (2550)
- เขาพระวิหาร:ระเบิดเวลาจากยุคอาณานิคม (2551)
- นครแพร่ จากอดีตมาปัจจุบัน: ภูมินิเวศวัฒนธรรม ระบบความเชื่อ และประวัติศาสตร์ท้องถิ่น (2551)
- พิพิธภัณฑ์และประวัติศาสตร์ท้องถิ่น: กระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน (หนังสือชุดพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น) (2551)
- ความหมายของภูมิวัฒนธรรม: การศึกษาจากภายในและสำนึกของท้องถิ่น (2551)
- เมืองโบราณในอาณาจักรสุโขทัย (2552)
- พัฒนาการทางสังคม-วัฒนธรรมไทย (2552)
- เพื่อแผ่นดินเกิด (2556)
- ผู้นำทางวัฒนธรรม (2556)
- คนไทยไม่มีใครทำร้ายก็ตายเอง (2556)
- ผู้มีบารมีผู้แพ้บารมี (2556)
- ความล้มเหลวในการศึกษาของชาติ (2556)
- เมืองหนองหารหลวง และภูพานมหาวนาสี (2556)
- เรียนรู้จากแผนที่เพื่อรู้จักท้องถิ่น (2557)
- ปฏิบัติการประวัติศาสตร์ท้องถิ่น (2557)
- ประวัติศาสตร์บอกเล่าเพื่อเด็กรักถิ่น (2557)
- สร้างบ้านแปงเมือง (2560)
- ลุ่มน้ำเจ้าพระยา:รากเหง้าแห่งสยามประเทศ (2560)
- พุทธศาสนาและความเชื่อในสังคมไทย (2560)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2537 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[6]
- พ.ศ. 2534 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[7]
- พ.ศ. 2532 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[8]
อ้างอิง
แก้- ↑ ชีวประวัติ ศรีศักร วัลลิโภดม[ลิงก์เสีย]
- ↑ "ฐานข้อมูลนักสังคมวิทยาและนักมานุษยวิทยาไทย". db.sac.or.th.
- ↑ "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งศาสตราจารย์พิเศษ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 125 (ตอนพิเศษ 102 ง): หน้า 7. 18 มิถุนายน 2551. สืบค้นเมื่อ 25 เมษายน 2560.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ฐานข้อมูลนักสังคมวิทยาและนักมานุษยวิทยาไทย". db.sac.or.th.
- ↑ "เปิดรายชื่อกรรมการปฏิรูป และ สมัชชาปฏิรูปประเทศ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-02. สืบค้นเมื่อ 2017-04-25.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๑ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๔๒, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-08-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๘ ตอนที่ ๒๐๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๕๘, ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๓๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา เก็บถาวร 2022-12-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๗ ตอนที่ ๘๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๗๐, ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๓๓