คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (อังกฤษ : Faculty of Humanities and Social Sciences, Mahasarakham University) เป็นส่วนราชการไทยระดับคณะวิชาสังกัดมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นคณะ 1 ใน 3 คณะแรกที่ก่อตั้งมาพร้อมกับมหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยก่อตั้งในสมัยวิทยาลัยวิชาการศึกษามหาสารคามพร้อมกับ คณะวิชาการศึกษาและคณะวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์[1] คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์เป็นคณะด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ระดับปริญญาบัณฑิตแห่งแรกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
Faculty of Humanities and Social sciences, Mahasarakham University
ชื่อย่อมนส. / HUSOC
คติพจน์ความหลากหลายทางภาษา ภูมิปัญญาคู่คุณธรรม นำชุมชนสู่สากล
สถาปนา27 มีนาคม พ.ศ. 2511 (56 ปี)
สังกัดการศึกษามหาวิทยาลัยมหาสารคาม
คณบดีรศ.ดร.นิตยา วรรณกิตร์
ที่อยู่
อาคารศูนย์เรียนรู้พัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น เลขที่ 41 หมู่ 20 ตำบลขามเรียง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม 44150
โทร 043-754369
วารสารวารสารมนุษย์กับสังคม
วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
สี███ สีม่วงอ่อน
มาสคอต
อินทนิล
เว็บไซต์http://human.msu.ac.th/husoc/

ประวัติ แก้

 
อาคารศูนย์เรียนรู้พัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เดิมคือ "คณะวิชามนุษยธรรมศึกษาและสังคมศาสตร์" ซึ่งก่อตั้งในปี 2511 สังกัดวิทยาลัยวิชาการศึกษามหาสารคาม[2] พร้อมกับอีก 2 คณะวิชาคือคณะวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ และคณะวิชาการศึกษา โดยคณะวิชามนุษยธรรมศึกษาฯ และคณะวิชาวิทยาศาสตร์ฯ เป็นคณะวิชาที่เปิดสอนวิชาพื้นฐานให้กับคณะวิชาการศึกษา จึงยังไม่ได้เปิดรับนิสิตเข้าศึกษาในว่วนของตนเอง แต่มีหน้าที่ในการจัดการเรียนการสอนในกลุ่มวิชาที่เกี่ยวข้องให้แก่หลักสูตรการศึกษาบัณฑิตของคณะวิชาการศึกษาเท่านั้น ซึ่งคณะวิชามนุษยธรรมศึกษาและสังคมศาสตร์ ประกอบด้วยแผนกวิชาต่าง ๆ คือ แผนกวิชาภาษาและวรรณคดีไทย, แผนกวิชาภาษาและวรรณคดีต่างประเทศ, แผนกวิชาศิลปะและวัฒนธรรม, แผนกวิชาศาสนาและปรัชญา, แผนกวิชาประวัติศาสตร์, แผนกวิชาภูมิศาสตร์ และแผนกวิชาสังคมวิทยา

ต่อมาเมื่อวิทยาลัยวิชาการศึกษามหาสารคามยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตมหาสารคาม ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ในวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2517[3] และได้มีพระราชกฤษฎีกาประกาศแบ่งส่วนราชการจัดตั้งให้เป็นคณะต่างๆ จึงได้มีการแยกคณะวิชามนุษยธรรมศึกษาและสังคมศาสตร์ออกเป็น 2 หน่วยงานคือ คือ "คณะมนุษยศาสตร์ (Faculty of Humanities)" และ"คณะสังคมศาสตร์ (Faculty of Social Sciences)" โดยมีวิทยาเขตหลักอยู่ที่ประสานมิตร (ที่ตั้งหลักของคณะ)[4] และแผนกวิชาต่างๆ จึงได้แปรสภาพเป็นภาควิชาอันได้แก่ คณะมนุษยศาสตร์ ประกอบไปด้วย ภาควิชาภาษาและวรรณคดีไทย, ภาควิชาภาษาและวรรณคดีต่างประเทศ และภาควิชามานุษยวิทยา และคณะสังคมศาสตร์ ประกอบไปด้วย ภาควิชาศาสนาและปรัชญา, ภาควิชาประวัติศาสตร์, ภาควิชารัฐศาสตร์ และภาควิชาสังคมวิทยา

รวมไปถึงคณะวิชาการศึกษาได้เปลี่ยนชื่อเป็นคณะศึกษาศาสตร์ ส่วนคณะวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์เปลี่ยนชื่อเป็นคณะวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (คณะวิทยาศาสตร์ในปี 2518) ในส่วนของวิทยาเขตมหาสารคามนั้น คณะมนุษยศาสตร์พร้อมด้วยคณะสังคมศาสตร์ รับผิดชอบในการผลิตบัณฑิตทางการศึกษาในหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต (กศ.บ.) สาขาวิชาประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ภาษาไทย สังคมศึกษา ศิลปศึกษา และภาษาอังกฤษ ให้กับคณะศึกษาศาสตร์ และในภายหลังคณะได้พัฒนาหลักสูตรของตนเองขึ้น (หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต) และเริ่มเปิดรับนิสิตเข้าศึกษาในคณะตนเอง

ต่อมาเมื่อมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตมหาสารคามได้ยกฐานะเป็น "มหาวิทยาลัยมหาสารคาม" ในวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2537 จึงได้มีการควบรวมคณะมนุษยศาสตร์และคณะสังคมศาสตร์เข้าด้วยกันเป็นหน่วยงานเดียวคือ "คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม" ใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า "Faculty of Humanities and Social sciences, Mahasarakham University"[5][6] ซึ่งมีการบริหารจัดการและแบ่งส่วนราชการแยกเป็นภาควิชาและสำนักงานเลขานุการ ในส่วนสำนักงานเลขานุการคณะ แบ่งกลุ่มงานภายในเป็น 4 กลุ่มงานคือ กลุ่มงานบริหารและธุรการ กลุ่มงานคลังและพัสดุ กลุ่มงานวิเคราะห์นโยบายและแผน และกลุ่มงานบริการวิชาการและบริการโสตทัศนศึกษา ในส่วนภาควิชาแบ่งเป็น 9 ภาควิชา คือ ภาควิชาภาษาตะวันตกและภาษาศาสตร์, ภาควิชาภาษาไทยและภาษาตะวันออก, ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา, ภาควิชาประวัติศาสตร์, ภาควิชาภูมิศาสตร์, ภาควิชาบริหารธุรกิจ, ภาควิชารัฐศาสตร์, ภาควิชาบรรณารักศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ และภาควิชาทัศนศิลป์และศิลปะการแสดง

ในปี 2540 ภาควิชาทัศนศิลป์และศิลปะการแสดง ได้ขอแยกตัวเพื่อไปจัดตั้งเป็น "โครงการจัดตั้งคณะศิลปกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์"[7] แต่ในภายหลังมีการแยกหน่วยงานเป็นคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ฯ ในปี 2543 และคณะศิลปกรรมศาสตร์ ในปี 2545 ซึ่งแรกเริ่มนั้น ในสมัยวิทยาลัยวิชาการศึกษามหาสารคาม ได้มีการจัดการเรียนการสอนวิชาศิลปะกับมนุษย์เป็นวิชาพื้นฐานของสถาบัน ต่อโดยสังกัดคณะวิชามนุษยธรรมศึกษาและสังคมศาสตร์ และได้พัฒนาสู่การเปิดสอนเป็นวิชาโทศิลปศึกษาในปี พ.ศ. 2516 ต่อมาเมื่อวิทยาลัยวิชาการศึกษามหาสารคามยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตมหาสารคาม ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ในวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2517[1] ได้มีพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการจัดตั้งให้เป็นคณะ จึงได้มีการแยกคณะวิชามนุษยธรรมศึกษาและสังคมศาสตร์ออกเป็น 2 คณะ คือ "คณะมนุษยศาสตร์ (Faculty of Humanities)" และ"คณะสังคมศาสตร์ (Faculty of Social Sciences)" วิชาโทศิลปศึกษาจึงได้โอนย้ายมาสังกัดภาควิชามานุษยวิทยา คณะมนุษยศาสตร์และได้พัฒนาเป็นวิชาเอกศิลปศึกษา (สาขาศิลปศึกษา) ในปี พ.ศ. 2523 และเมื่อมีการจัดตั้ง "มหาวิทยาลัยมหาสารคาม" ในวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2537 สาขาวิชาศิลปศึกษาจึงได้รวมกับสาขาวิชาดุริยางคศิลป์ จัดตั้งเป็น “ภาควิชาทัศนศิลป์และศิลปะการแสดง” สังกัดคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และได้แยกตัวเป็นศิลปกรรมศาสตร์ในเวลาต่อมา

ต่อมาในปี 2541 ภาควิชาบริหารธุรกิจ ได้แยกตัวเพื่อไปตั้งเป็น "คณะการบัญชีและการจัดการ"[8] โรงเรียนบริหารธุรกิจแห่งที่ 2 ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เดิมที มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตมหาสารคาม ได้มีการเปิดสอนสาขาวิชาการบัญชีและบริหารธุรกิจในลักษณะของวิชาโท สังกัดคณะสังคมศาสตร์ ต่อมาจึงได้มีการก่อตั้งภาควิชาบริหารธุรกิจขึ้นมาในปีการศึกษา 2538 หลังจากที่มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตมหาสารคาม ยกฐานะเป็น มหาวิทยาลัยมหาสารคาม[9] โดยได้เปิดสอนหลักสูตรบริหารธุรกิจ (ต่อเนื่อง 2 ปี) สาขาวิชาการบัญชี และสาขาวิชาการตลาดขึ้น เพื่อรองรับการเติบโตทางเศรษฐกิจ (จากเดิมที่เปิดสอนเฉพาะวิชาโทบริหารธุรกิจ) โดยจัดสอนในวันเสาร์-อาทิตย์ โดยเป็นโครงการพิเศษ ในปีการศึกษา 2540 ได้เปิดหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (ต่อเนื่อง 2 ปี) สาขาวิชาการจัดการ สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ และหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตขึ้น พร้อมทั้งปรับปรุงหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (ต่อเนื่อง 2ปี) สาขาวิชาการบัญชีและสาขาวิชาการตลาดด้วย และได้แยกตัวเป็นคณะการบัญชีและการจัดการในเวลาต่อมา

 
ด้านข้างอาคารศูนย์เรียนรู้พัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นและสระบัว

ในปี 2544 ภาควิชาบรรณารักศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ ได้แยกไปรวมกับภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ สังกัดคณะวิศวกรรมศาสตร์และวิทยาการคอมพิวเตอร์ เพื่อจัดตั้งเป็น "คณะวิทยาการสารสนเทศ"[10][11] โดยในปี พ.ศ. 2539 คณะวิทยาศาสตร์ได้จัดตั้งภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ และผลิตบัณฑิตหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) สาขาวิชาวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ ต่อมาในปี 2542 ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ได้แยกออกจากคณะวิทยาศาสตร์เพื่อไปจัดตั้งเป็น คณะวิศวกรรมศาสตร์และวิทยาการคอมพิวเตอร์ ในฐานะ“ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์” ก่อนที่จะแยกจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ เพื่อมาจัดตั้งคณะวิทยาการสารสนเทศ โดยร่วมกับภาควิชาบรรณารักศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์

และในปี 2546 ภาควิชารัฐศาสตร์ โครงการหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต และศูนย์การเมืองท้องถิ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้ขอแยกไปจัดตั้งเป็น "วิทยาลัยการเมืองการปกครอง"[12] คณะวิชาด้านรัฐศาสตร์แห่งแรกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยแรกเริ่มเดิมทีนั้น มีการเรียนการสอนวิชารัฐศาสตร์ในฐานะวิชาโทในสมัยวิทยาลัยวิชาการศึกษามหาสารคาม ต่อมาเมื่อมีการจัดตั้งมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิชาโทรัฐศาสตร์ จึงได้แปรสภาพเป็นภาควิชารัฐศาสตร์ สังกัดคณะสังคมศาสตร์ และคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ตามลำดับ ก่อนที่จะแยกตัวมาจัดตั้งวิทยาลัยการเมืองการปกครองในปี 2546 พร้อมทั้งจัดการเรียนการสอนรุ่นแรกในปี 2546

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ได้มีคณะวิชาที่แยกออกจากคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คือ "คณะการบัญชีและการจัดการ" "คณะศิลปกรรมศาสตร์และวัฒนธรรมศาสตร์" "คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์" "คณะวิทยาการสารสนเทศ" และ"วิทยาลัยการเมืองการปกครอง"

ปัจจุบันคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เป็นหน่วยงานในระบบราชการสังกัดมหาวิทยาลัยมหาสารคาม แบ่งการบริหารงานออกเป็นภาควิชาจำนวน 5 ภาควิชาและสำนักเลขานุการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ [13] จัดการเรียนการสอน ระดับปริญญาตรี จำนวน 13 สาขาวิชา ระดับปริญญาโท จำนวน 5 สาขาวิชา และระดับปริญญาเอก จำนวน 3 สาขาวิชา รวมทั้งสิ้น 21 สาขาวิชา

หน่วยงานภายในคณะ แก้

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม แบ่งการบริหารหน่วยงานภายในดังนี้

 
การบริหารงานภายในคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ด้านการบริหารงาน ด้านการเรียนการสอน ด้านการวิจัยและพัฒนา
  • สำนักงานเลขานุการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
    • กลุ่มงานบริหาร
    • กลุ่มงานนโยบาย แผนและคลัง
    • กลุ่มงานวิชาการและพัฒนานิสิต
  • ภาควิชาภาษาตะวันตกและภาษาศาสตร์
  • ภาควิชาภาษาไทยและภาษาตะวันออก
  • ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
  • ภาควิชาประวัติศาสตร์
  • ภาควิชาภูมิศาสตร์
  • ศูนย์ข้อมูลและวัฒนธรรมอเมริกัน
  • ศูนย์ภาษาและวัฒนธรรมเกาหลีเซจง
  • ศูนย์ สอวน. ภูมิศาสตร์โอลิมปิก
  • งานวารสารมนุษย์กับสังคม
  • งานวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
  • ศูนย์ข้อมูลและวัฒนธรรมอเมริกัน (American Corner) ศูนย์ศึกษาวัฒนธรรมอเมริกันนี้ เป็นศูนย์ฯที่ส่งเสริมให้นิสิตระดับปริญญาตรีได้มีทักษะการใช้ภาษาต่างประเทศโดยอย่าง ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งมีความรู้ความเข้าใจด้านภาษาและวัฒนธรรมอเมริกันมากยิ่งขึ้น ตลอดจนเป็นเวทีกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภาษาต่างประเทศให้แก่นิสิตระดับปริญญาตรีให้สามารถแข่งขันกับอารยประเทศเพื่อย่างเข้าสู่สมาคมอาเซียน 2015
  • ศูนย์ภาษาและวัฒนธรรมเกาหลีเซจง (Mahasarakham Sejong Institute) มีการเรียนการสอนหลักสูตรภาษาเกาหลี และมีหลักสูตรการเรียนวัฒนธรรมที่หลากหลาย ซึ่งสอนโดยอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญ อีกทั้งทางศูนย์เซจงมหาสารคามยังมีหลักสูตรภาษาเกาหลีมากมาย ไม่ว่าจะเป็นภาษาเกาหลีพื้นฐาน, ติวสอบวัดระดับทางภาษาเกาหลี (TOPIK), ภาษาเกาหลีเพื่อธุรกิจ และยังมีหลักสูตรภาษาเกาหลีสำหรับผู้ที่ต้องการขอวีซ่าแต่งงานอีกด้วย และสำหรับผู้ที่เรียนหลักสูตรภาษาเกาหลีสำหรับผู้ที่ต้องการขอวีซ่าแต่งงานนั้น ทางศูนย์ฯยังมีหลักสูตรเกี่ยวกับวัฒนธรรมและกฎหมายของเกาหลี
  • ศูนย์ สอวน. ภูมิศาสตร์โอลิมปิก เป็นสถานที่จัดสอบเพื่อคัดเลือกตัวแทนประเทศไทยไปแข่งขันภูมิศาสตร์โอลิมปิกระดับนานาชาติในแต่ละปี โดยคณะมนุษยศาสตร์ฯ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้รับเลือกให้เป็นศูนย์สอบคัดเลือกตัวแทนประเทศไทยในด้านภูมิศาสตร์โอลิมปิก[14][15]

หลักสูตรการศึกษา แก้

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์จัดการเรียนการสอน ระดับปริญญาตรี จำนวน 13 สาขาวิชา ระดับปริญญาโท จำนวน 5 สาขาวิชา และระดับปริญญาเอก จำนวน 3 สาขาวิชา รวมทั้งหมด 21 สาขาวิชาใน 5 หลักสูตรดังนี้

 
หลักสูตรที่เปิดสอนในคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม[16]
ภาควิชา ระดับปริญญาบัณฑิต ระดับปริญญามหาบัณฑิต ระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิต

ภาควิชาภาษาตะวันตกและภาษาศาสตร์

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.)

  • สาขาวิชาภาษาอังกฤษ
  • สาขาวิชาภาษาฝรั่งเศส
  • สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารนานาชาติ (หลักสูตรนานาชาติ)
  • สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อธุรกิจ

หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)

  • สาขาวิชาภาษาอังกฤษ

หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)

  • สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)

  • สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ

ภาควิชาภาษาไทยและภาษาตะวันออก

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.)

  • สาขาวิชาภาษาไทย
  • สาขาวิชาภาษาจีน
  • สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น
  • สาขาวิชาภาษาเกาหลี
  • สาขาวิชาการสร้างสรรค์คอนเทนท์และนวัตกรรมสื่อดิจิทัล
  • สาขาวิชาภาษาและวัฒนธรรมอาเซียน
    • วิชาเอกภาษาลาว
    • วิชาเอกภาษาเขมร
    • วิชาเอกภาษาเวียดนาม

หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)

  • สาขาวิชาภาษาไทย

หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)

  • สาขาวิชาการสอนภาษาและวรรณกรรมไทย

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)

  • สาขาวิชาภาษาไทย

ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.)

  • สาขาวิชาการพัฒนาชุมชนและสังคม

หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)

สาขาวิชา สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)

  • สาขาวิชา สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม

ภาควิชาประวัติศาสตร์

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.)

  • สาขาวิชาประวัติศาสตร์

ภาควิชาภูมิศาสตร์

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.)

  • สาขาภูมิศาสตร์

สถานที่ตั้งและพื้นที่ แก้

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ตั้งอยู่ที่อาคารศูนย์เรียนรู้พัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น เลขที่ 41 หมู่ 20 ตำบลขามเรียง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม อยู่ระหว่างคณะนิติศาสตร์ (อาคารราชนครินทร์) และวิทยาลัยการเมืองการปกครอง ด้านหลังติดกับคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ ด้านหน้าอยู่ตรงข้ามกับโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฝ่ายมัธยม)

ทำเนียบคณบดี แก้

รายนามคณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ตั้งแต่ก่อตั้งยุควิทยาลัยวิชาการศึกษามหาสารคาม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตมหาสารคาม จนถึงยุคมหาวิทยาลัยมหาสารคามมีดังนี้ (เท่าที่มีการบันทึก)

 
ทำเนียบผู้บริหารคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
หัวหน้าคณะมนุษยธรรมศึกษาและสังคมศาสตร์ วิทยาลัยวิชาการศึกษา มหาสารคาม
รายนามหัวหน้าคณะ วาระการดำรงตำแหน่ง
ไม่ปรากฏ พ.ศ. 2511 - 2517
คณบดีคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตมหาสารคาม[17] คณบดีคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตมหาสารคาม[18]
รายนามคณบดี วาระการดำรงตำแหน่ง รายนามคณบดี วาระการดำรงตำแหน่ง
1. รศ.ดร.ปรีชา ธรรมา พ.ศ. 2518 - 2520 1.ศ.ดร.ประสาท หลักศิลา พ.ศ. 2517-2522
2. รศ. ปราณี ธนะชานันท์ พ.ศ. 2520 - 2528 2. ผศ.ดร.อนันต์ เจียมเจริญ พ.ศ. 2522-2526
3. ผศ. สะรัช บุณยรัตพันธ์ พ.ศ. 2538 -2532 3. รศ.ดร.ธวัช บุรีรักษ์ พ.ศ. 2526-2530
4. ผศ.วิพุธ โสภวงศ์ พ.ศ. 2532 - 2536 4. รศ.ดร.ธำรงค์ อุดมไพจิตรกุล พ.ศ. 2530 - 2534
5. รศ.ดร.ประพาศน์ พฤทธิประภา พ.ศ. 2536 - 2537 5. ผศ.ดร.ชลัช จงสืบพันธ์ พ.ศ. 2534 - 2537
คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม[19]
รายนามคณบดี วาระการดำรงตำแหน่ง
1. ผศ.วีญา วิสเพ็ญ พ.ศ. 2538 - 2542
2. รศ.จารุวรรณ ธรรมวัตร พ.ศ. 2542 - 2546
3. ผศ.ทวีศลิป์ สืบวัฒนะ พ.ศ. 2546 - 2550
4. ผศ.สมเกียรติ ภู่พัฒน์วิบูลย์ พ.ศ. 2550 - 2554
5. ผศ.ทวีศลิป์ สืบวัฒนะ พ.ศ. 2554 - 2557
6. ผศ.สมเกียรติ ภู่พัฒน์วิบูลย์ (รักษาการแทนฯ) พ.ศ. 2557 - 2558
7. ผศ.อนุชิตา มุ่งงาม พ.ศ. 2560 - 2564
8. อาจารย์กนกพร รัตนธีระกุล พ.ศ. 2558 - 2562
9. อาจารย์กนกพร รัตนธีระกุล (วาระที่สอง) พ.ศ. 2562 - 2562
10. ผศ.ดร.กนกพร รัตนธีระกุล (รักษาการแทนฯ) พ.ศ. 2562 - 2563
11. รศ.ดร.นิตยา วรรณกิตร์ พ.ศ. 2563 - 2567
12. รศ.ดร.นิตยา วรรณกิตร์ (วาระที่สอง) พ.ศ. 2567 - ปัจจุบัน

หมายเหตุ คำนำหน้านามของผู้ดำรงตำแหน่งคณบดี เป็นคำนำหน้านามตามตำแหน่งทางวิชาการในขณะนั้น

ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

  1. เว็บไซต์ทางการ
  2. HU-SOC เก็บถาวร 2016-09-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

อ้างอิง แก้

  1. คณะศึกษาศาสตร์. ประวัติคณะศึกษาศาสตร์ เก็บถาวร 2021-01-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. สืบค้นเมื่อ 26 มีนาคม 2564.
  2. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ราชกิจจานุเบกษา. "พระราชบัญญัติวิทยาลัยวิชาการศึกษา พ.ศ. 2497". สืบค้นเมื่อ 28 มีนาคม 2566.
  3. ราชกิจจานุเบกษา. พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พ.ศ. ๒๕๑๗. เก็บถาวร 2022-03-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สืบค้นเมื่อ 28 สิงหาคม 2564.
  4. ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศทบวงมหาวิทยาลัย. การแบ่งส่วนราชการภายในมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พ.ศ. ๒๕๒๙. สืบค้นเมื่อ 28 สิงหาคม 2564.
  5. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. ประวัติโดยย่อ. สืบค้นเมื่อ 28 สิงหาคม 2564.
  6. สำนักงานอธิการบดี. พระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยการจัดตั้งส่วนราชการในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ทบวงมหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๓๘. สืบค้นเมื่อ 19 กันยายน 2564.
  7. คณะศิลปกรรมศาสตร์และวัฒนธรรมศาสตร์. ประวัติคณะศิลปกรรมศาสตร์และวัฒนธรรมศาสตร์. เก็บถาวร 2021-08-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 2 เมษายน 2564.
  8. คณะการบัญชีและการจัดการ. ประวัติคณะการบัญชีและการจัดการ. เก็บถาวร 2021-04-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 2 เมษายน 2564.
  9. สำนักงานอธิการบดี. พระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยการจัดตั้งส่วนราชการในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ทบวงมหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๓๘. สืบค้นเมื่อ 19 กันยายน 2564.
  10. คณะวิทยาการสารสนเทศ. ประวัติคณะวิทยาการสารสนเทศ. เก็บถาวร 2020-12-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 2 เมษายน 2564.
  11. รองศาสตราจารย์ ดร.อนงค์ฤทธิ์ แข็งแรง. วีดิทัศน์ครบรอบ 20 ปี คณะวิศวกรรมศาสตร์ 18 มีนาคม 2562 (วีดีทัศน์). คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. เหตุการณ์เกิดขึ้นที่ 11.55 นาที.
  12. วิทยาลัยการเมืองการปกครอง. ประวัติวิทยาลัยการเมืองการปกครอง. 2 เมษายน 2564.
  13. คณะมนุษยสาสตร์และสังคมศาสตร์. ภาควิชาในคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 2 เมษายน 2564
  14. สอวน. ภูมิศาสตร์ - มูลนิธิ สอวน. 1 เมษายน 2565.
  15. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. ศูนย์ภูมิศาสตร์โอลิมปิก มหาวิทลัยมหาสารคาม. 1 เมษายน 2565.
  16. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. รายงานข้อมูลพื้นฐานประจำปี 2563 หน้า 139. เก็บถาวร 2021-04-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 1 เมษายน 2564
  17. คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ทำเนียบคณบดีคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 2 กันยายน 2564.
  18. คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ทำเนียบคณบดีคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. เก็บถาวร 2021-09-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 2 กันยายน 2564.
  19. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. ทำเนียบคณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 23 มีนาคม 2564
  20. ประวัตินายชิงชัย
  21. "ประวัติลิขิต บุตรพรม". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-05. สืบค้นเมื่อ 2020-06-26.
  22. นายฉลาด สืบค้นเมื่อ 13 มกราคม 2565.
  23. ประวัตินายนที สืบค้นเมื่อ 13 มกราคม 2565.
  24. ประวัตินายมนตรี สืบค้นเมื่อ 13 มกราคม 2565.
  25. ประวัติโน่ ภัทชดล